ช่วงเวลาต้นปีแบบนี้ มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพอย่างเราๆนั้นคงได้รับหรือกำลังจะได้รับโบนัสหลังจากที่ได้ทำงานหนักมาทั้งปีเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้เราทำผลงานได้ดียิ่งขึ้นในปีต่อๆไป
โบนัสเฉลี่ยของทุกอุตสาหกรรมจากงบการเงินปีที่แล้วอยู่ที่ 2.42 เท่าของเงินเดือน เมื่อรวมกับเงินเดือนและเงินพิเศษที่บางบริษัทให้เพิ่มนั้น จะเป็นเงินที่ไม่น้อยทีเดียว หลายๆท่านอาจจะมีแผนอยู่แล้วว่าจะใช้เงินก้อนนี้ไปกับอะไร และหลายๆท่านคงได้ใช้ไปบางส่วนแล้ว
วันนี้ทาง Main Street Bull มีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการโบนัสประจำปีให้ได้ผลตอบแทนและประโยชน์สูงสุดกับทุกๆท่านตามนี้ :
1 ในกรณีที่มีหนี้สินอยู่เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือ บัตรเครดิต ควรนะเอาเงินส่วนหนึ่งมาปิดหนี้สินเพื่อลดเงินต้นก่อน
o บางท่านอาจจะมีความรู้เรื่องการบริหารเงิน และสามารถหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าดอกเบี้ยที่จะเสียให้หนี้สินเหล่านี้ก็ควรจะเอาเงินก้อนนี้ไปลงทุนก่อน
2 ให้รางวัลตัวเองและครอบครัว
o ให้รางวัลตัวเองและครอบครัวที่ทำงานอย่างหนักเมื่อปีที่แล้ว อีกทั้งยังเป็นกำลังใจในการเผชิญสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในปีนี้อีกด้วย
o ไม่ควรจะเกิน 30% ของเงินจำนวนนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ได้รับและภาระความรับผิดชอบของแต่ละคนด้วย
3 ออม หรือ ลงทุน เพื่อให้เงินจำนวนนี้งอกเงย
o อาจจะเป็นการลงทุนใน หุ้น ตราสารหนี้ กองทุน หรือ พันธบัตรรัฐบาล ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
o ในส่วนของกองทุน ท่านที่มีสิทธิทางภาษี อาจจะเลือกที่จะทยอยออมในกองทุน LTF หรือ RMF เพื่อที่เอามาลดหย่อนภาษีในปีต่อไปได้อีกด้วย –
รอบหน้าเราจะมาคุยกันว่าเราควรจะซื้อ LTF/RMF เมื่อไหร ซื้อกองไหนดี และ ควรจะซื้อจำนวนเท่าไหรถึงจะได้ประโยจน์สูงสุด
4 กันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ท่องเที่ยวต่างประเทศและหาประสบการณ์ชีวิต
o ส่วนนี้เป็นส่วนที่นอกเหนือจากการให้รางวัลตัวเอง เพราะทางเราคิดว่าการที่เราได้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติอื่นๆจะทำให้เรามีไอเดียใหม่ๆนอกเหนือจากที่เราเห็นและได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันและสามารถเอามาต่อยอดชีวิตของเราเองได้
5 ให้พ่อแม่
o ควรจะกันเงินก้อนหนึ่งเอาไว้ให้พ่อกับแม่โดยเฉพาะถ้าท่านเกษียนอายุแล้ว
6 กันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ยามฉุกเฉิน
o ท่านที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อเราต้องการใช้เงินด่วน แล้วเราต้องไปหาเงินสดมามันลำบากขนาดไหน เพราะฉะนั้นการเก็บเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินจึงสำคัญมาก
o เงินจำนวนนี้ควรจะทำให้เราอยู่ได้โดยที่ไม่มีรายได้เป็นเวลา 5 ถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นการกันเงินจำนวนนี้ควรจะเป็นแค่การเริ่มต้น หลังจากนี้ควรจะทยอยกันเงินออกมาจากเงินเดือนเพื่อให้เก็บได้ถึงเป้า
o ไม่ควรเก็บเงินจำนวนนี้ในสินสรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและสภาพคล่องต่ำเพราะเวลาเราต้องการเอาเงินก้อนนี้ออกมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน จะได้สามารถเอาออกมาใช้ได้
ทางเราได้แบ่งการจัดสรรโบนัสออกมาเป็น 4 รูปแบบง่ายๆดังนี้
ยกตัวอย่างเช่นถ้านาย A มีเงินเดือนสุทธิ 20,000 บาท ได้รับโบนัสตามค่าเฉลี่ยของตลาดคือ 2.42 เท่าของเงินเดือน และได้รับเงินพิเศษเพิ่มเป็นจำนวน 1,600 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ถ้ารวมเงินเดือนในเดือนนั้นๆด้วยก็จะเป็น 70,000 บาท ถ้าจะแบ่งเงินโบนัสให้ได้ตามรูปแบบทั้ง 4 นั้น จะได้เป็นจำนวนเงิน (ขออนุญาติทำให้เป็นเลขกลมๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ)
จะเห็นได้ว่าเราจะให้ความสำคัญกับหนี้สินมาก เพราะการปลดหนี้นั้นนอกจากจะลดภาระดอกเบี้ยแล้ว โดยรวมยังลดความเครียดของผู้ติดหนี้อีกด้วย
ทาง Main Street Bull อยากจะให้ผู้อ่านทุกๆท่านลองเอาสูตรทั้ง 4 สูตรนี้ไปลองทำนะครับ สิ่งนี้น่าจะทำให้ทุกๆท่านบริหารเงินก้อนนี้ได้ดีหรือถ้าดีอยู่แล้วก็อาจจะทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
สูตรนี้ไม่ได้เป็นสูตรตายตัว และอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกคนนะครับ แต่ละคนมีรายได้ หน้าที่การงาน ภาระ และความรับผิดชอบต่างกัน สัดส่วนของแต่ละอย่างอาจจะต้องปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบของแต่ละคน แต่คงจะพอช่วยให้เป็น guideline ได้ว่าควรจะแบ่งสรรยังไงให้มีประสิทธิภาพสูงสุดครับ
จัดสรรเงินโบนัสยังไงดี?
โบนัสเฉลี่ยของทุกอุตสาหกรรมจากงบการเงินปีที่แล้วอยู่ที่ 2.42 เท่าของเงินเดือน เมื่อรวมกับเงินเดือนและเงินพิเศษที่บางบริษัทให้เพิ่มนั้น จะเป็นเงินที่ไม่น้อยทีเดียว หลายๆท่านอาจจะมีแผนอยู่แล้วว่าจะใช้เงินก้อนนี้ไปกับอะไร และหลายๆท่านคงได้ใช้ไปบางส่วนแล้ว
วันนี้ทาง Main Street Bull มีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการโบนัสประจำปีให้ได้ผลตอบแทนและประโยชน์สูงสุดกับทุกๆท่านตามนี้ :
1 ในกรณีที่มีหนี้สินอยู่เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือ บัตรเครดิต ควรนะเอาเงินส่วนหนึ่งมาปิดหนี้สินเพื่อลดเงินต้นก่อน
o บางท่านอาจจะมีความรู้เรื่องการบริหารเงิน และสามารถหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าดอกเบี้ยที่จะเสียให้หนี้สินเหล่านี้ก็ควรจะเอาเงินก้อนนี้ไปลงทุนก่อน
2 ให้รางวัลตัวเองและครอบครัว
o ให้รางวัลตัวเองและครอบครัวที่ทำงานอย่างหนักเมื่อปีที่แล้ว อีกทั้งยังเป็นกำลังใจในการเผชิญสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในปีนี้อีกด้วย
o ไม่ควรจะเกิน 30% ของเงินจำนวนนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ได้รับและภาระความรับผิดชอบของแต่ละคนด้วย
3 ออม หรือ ลงทุน เพื่อให้เงินจำนวนนี้งอกเงย
o อาจจะเป็นการลงทุนใน หุ้น ตราสารหนี้ กองทุน หรือ พันธบัตรรัฐบาล ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
o ในส่วนของกองทุน ท่านที่มีสิทธิทางภาษี อาจจะเลือกที่จะทยอยออมในกองทุน LTF หรือ RMF เพื่อที่เอามาลดหย่อนภาษีในปีต่อไปได้อีกด้วย – รอบหน้าเราจะมาคุยกันว่าเราควรจะซื้อ LTF/RMF เมื่อไหร ซื้อกองไหนดี และ ควรจะซื้อจำนวนเท่าไหรถึงจะได้ประโยจน์สูงสุด
4 กันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ท่องเที่ยวต่างประเทศและหาประสบการณ์ชีวิต
o ส่วนนี้เป็นส่วนที่นอกเหนือจากการให้รางวัลตัวเอง เพราะทางเราคิดว่าการที่เราได้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติอื่นๆจะทำให้เรามีไอเดียใหม่ๆนอกเหนือจากที่เราเห็นและได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันและสามารถเอามาต่อยอดชีวิตของเราเองได้
5 ให้พ่อแม่
o ควรจะกันเงินก้อนหนึ่งเอาไว้ให้พ่อกับแม่โดยเฉพาะถ้าท่านเกษียนอายุแล้ว
6 กันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ยามฉุกเฉิน
o ท่านที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อเราต้องการใช้เงินด่วน แล้วเราต้องไปหาเงินสดมามันลำบากขนาดไหน เพราะฉะนั้นการเก็บเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินจึงสำคัญมาก
o เงินจำนวนนี้ควรจะทำให้เราอยู่ได้โดยที่ไม่มีรายได้เป็นเวลา 5 ถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นการกันเงินจำนวนนี้ควรจะเป็นแค่การเริ่มต้น หลังจากนี้ควรจะทยอยกันเงินออกมาจากเงินเดือนเพื่อให้เก็บได้ถึงเป้า
o ไม่ควรเก็บเงินจำนวนนี้ในสินสรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและสภาพคล่องต่ำเพราะเวลาเราต้องการเอาเงินก้อนนี้ออกมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน จะได้สามารถเอาออกมาใช้ได้
ทางเราได้แบ่งการจัดสรรโบนัสออกมาเป็น 4 รูปแบบง่ายๆดังนี้
ยกตัวอย่างเช่นถ้านาย A มีเงินเดือนสุทธิ 20,000 บาท ได้รับโบนัสตามค่าเฉลี่ยของตลาดคือ 2.42 เท่าของเงินเดือน และได้รับเงินพิเศษเพิ่มเป็นจำนวน 1,600 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ถ้ารวมเงินเดือนในเดือนนั้นๆด้วยก็จะเป็น 70,000 บาท ถ้าจะแบ่งเงินโบนัสให้ได้ตามรูปแบบทั้ง 4 นั้น จะได้เป็นจำนวนเงิน (ขออนุญาติทำให้เป็นเลขกลมๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ)
จะเห็นได้ว่าเราจะให้ความสำคัญกับหนี้สินมาก เพราะการปลดหนี้นั้นนอกจากจะลดภาระดอกเบี้ยแล้ว โดยรวมยังลดความเครียดของผู้ติดหนี้อีกด้วย
ทาง Main Street Bull อยากจะให้ผู้อ่านทุกๆท่านลองเอาสูตรทั้ง 4 สูตรนี้ไปลองทำนะครับ สิ่งนี้น่าจะทำให้ทุกๆท่านบริหารเงินก้อนนี้ได้ดีหรือถ้าดีอยู่แล้วก็อาจจะทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
สูตรนี้ไม่ได้เป็นสูตรตายตัว และอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกคนนะครับ แต่ละคนมีรายได้ หน้าที่การงาน ภาระ และความรับผิดชอบต่างกัน สัดส่วนของแต่ละอย่างอาจจะต้องปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบของแต่ละคน แต่คงจะพอช่วยให้เป็น guideline ได้ว่าควรจะแบ่งสรรยังไงให้มีประสิทธิภาพสูงสุดครับ