ลงข่าวดี ..... จำนนต่อหลักฐาน...
ข้อมูลจาก
http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000016885
-------------
ปลัดยุติธรรมแจงสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดียักยอกเงิน 1.3 หมื่นล้าน ไม่มีความซับซ้อนจ่อสั่งฟ้อง 3 ข้อหา ปปง. เผยเส้นทางธุรกรรมอดีตประธานสหกรณ์ฯ พบมีการสั่งจ่ายเช็ค878ฉบับ มูลค่ากว่า11,367ล้านบาท ไล่อายัดทรัพย์แล้ว 4,000ล้านบาท ขณะที่ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาค 700 ล้านบาท
ปลัดยุติธรรมแจงสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดียักยอกเงิน 1.3 หมื่นล้าน ไม่มีความซับซ้อนจ่อสั่งฟ้อง 3 ข้อหา ปปง. เผยเส้นทางธุรกรรมอดีตประธานสหกรณ์ฯ พบมีการสั่งจ่ายเช็ค878ฉบับ มูลค่ากว่า11,367ล้านบาท ไล่อายัดทรัพย์แล้ว 4,000ล้านบาท ขณะที่ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาค 700 ล้านบาท
วันนี้( 11 ก.พ. ) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นกว่า200คนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯและพวกร่วมยักยอกทรัพย์ มูลค่ากว่า1.3หมื่นล้านบาท เดินทางเข้ารับฟังความคืบหน้าการดำเนินคดี โดยมีพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน( ปปง.) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมแถลงความคืบหน้า รวมไปถึงการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผู้ต้องหาคดีนี้ด้วย
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ กล่าวว่า ภายหลังที่สำนักงาน ปปง. ตรวจสอบการทรัพย์สินของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ชุดที่29 กับพวก ที่มีพฤติการณ์ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 12,402 ล้านบาท ซึ่ง ปปง. ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและรวบรวมพยานหลักฐาน จนพบว่าอดีตประธานสหกรณ์ฯ กับพวก นำเงินที่ได้จากการยักยอกไปซื้อทรัพย์สินต่างๆ โดยใส่ชื่อตนเองหรือผู้อื่น เพื่อเจตนาซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน อันเข้าข่ายความผิดพรบ.การฟอกเงิน
ต่อมา คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย โดยยึดและอายัดทรัพย์สินได้ทั้งสิ้นจำนวน 609 รายการ ไว้ชั่วคราว มูลค่ากว่า 3,793 ล้านบาท พร้อมส่งเรื่องให้ดีเอสไอดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตามกฎหมาย ซึ่งหากมีการส่งให้ศาลยึดและอายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดตามกระบวนการทางกฎหมาย ก็จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้
“ที่ผ่านมา ปปง. ส่งเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตามกฎหมายแล้ว และทางปปง.ยังคงทำงานต่อเนื่องโดยตรวจสอบเส้นทางธุรกรรมการเงิน ล่าสุดพบว่ามีการออกเช็คในนามของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ไปยังบริษัทและบุคคลต่างๆ กว่า 878 ฉบับ รวมเป็นเงิน 11,367,218,813.68 บาท” เลขาธิการ ปปง. กล่าว
เลขาธิการปปง. กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบเส้นทางการพบว่าเงินจำนวนดังกล่าวมีการโอน เข้าบัญชีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด จำนวน 21 ฉบับ มีการออกแคชเชียร์เช็ค และถอนเงินสด จำนวน 961 ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตาม ทั้งนี้ ยังพบเช็คนำฝากเข้าบัญชีของนายจิรเดช วงเพียรกุล และนายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ จำนวน 135 ฉบับ เป็นเงินกว่า 2,566,176,037.40 บาท รวมถึงเช็คฝากเข้าธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ไทย 8 ฉบับ เป็นเงิน 321 ล้านบาท นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิต ยูเนียนคลองจั่น จำกัด เอาไปซื้อหุ้นและที่ดิน ของบริษัท เอ็ม โฮม เอส พีวี 2 จำกัด และคณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดหุ้นและที่ดินของบริษัทฯดังกล่าวแล้ว มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท
นอกจากนี้ พ.ต.อ.สีหนาท ระบุว่า ตอนนี้ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาคจากสหกรณ์เครดิตยูเนียนจำนวนกว่า 700 ล้านบาท หลังจำนนต่อหลักฐานที่ ปปง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบการออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกาย จำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน 714 ล้านบาท ทั้งนี้ยังพบว่ามีการออกเช็คให้บริษัท ยูเนียนอินเตอร์ประกันภัย จำกัด จำนวน 4 ฉบับ รวมเป็นเงิน 399.9 ล้านบาท และบริษัท รัฐประชา จำกัด จำนวน 4 ฉบับ รวมเป็นเงิน 10.5 ล้านบาท โดย ปปง. ได้ส่งข้อมูลเส้นทางการเงินดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2556
อย่างไรก็ตาม หาก ปปง. ตรวจสอบพบว่ามีทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิดก็จะเร่งเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาและมีมติยึดและอายัดทรัพย์สินโดยเร็ว เพื่อนำมาเยียวยาประชาชน ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่อายัดส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท แน่นอนว่าจะมีเงินจำนวนดังกล่าวที่จะกลับคืนสู่สมาชิก
ขณะที่ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า สำหรับคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไม่มีความซับซ้อน เพียงแต่มีผู้เสียหายจำนวนมากจึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และอาจมีการแบ่งกลุ่มผู้เสียหายตามความเสียหาย เพราะลักษณะการเกิดเหตุมีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งการสอบสวนไม่จำเป็นต้องสอบสวนหมดทุกคนแต่จะสอบปากคำบางคนตามกลุ่มพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยขณะนี้ดีเอสไอได้แยกการดำเนินคดีเป็น 3 สำนวน ได้แก่ คดียักยอกทรัพย์2คดี ฉ้อโกงประชาชน และปลอมแปลงเอกสาร ทั้งนี้ ตนในฐานะปลัดกระทรวงยุติธรรม แม้เป็นผู้บังคับบัญชายืนยันจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำคดี และไม่มีการปล่อยให้การดำเนินคดีมีความล่าช้า โดยจะทำงานในกรอบของกฎหมาย เพราะเป็นความเดือดร้อนของประชาชนจำนวนมาก
“หากสมาชิกมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ขอให้แจ้งทาง ปปง.หรือ ดีเอสไอ เพื่อเข้าตรวจสอบ ทั้งนี้ยืนยันว่าจะดำเนินการกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยไล่ตรวจสอบเช็คว่ามีการสั่งจ่ายเช็คไปให้ใครบ้าง และสืบสวนว่าผู้รับเงินนั้นได้เงินมาโดยสุจริตหรือไม่ รวมถึงเงินที่สั่งจ่ายไปนั้นยังอยู่ด้วยหรือเปล่า ซึ่งหากตรวจสอบพบว่ามีการทำความผิดก็จะดำเนินการใช้กฎหมายฟอกเงินดำเนินคดีด้วย ยืนยันมีการทำงานรวมกันระหว่างอัยการกับดีเอสไอมาโดยตลอด” พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว
-------จบข่าว---
คห ส่วนตัว
....
1.ควรสืบต่อไปว่าเงินที่จะมาคืน มีเส้นทางเดินไปอย่างไร มีอะไรผิดปรกติหรือไม่
2.เงินที่คืน ไม่ใช่แค่จำนวนตามที่ได้จากศุภชัย แต่ควรบวกดอกเบี้ยด้วย เพราะแทนที่สหกรณ์จะนำเงินนั้นไปทำให้งอกเงยกับจมที่ลัทธินี้อยู่นาน แถมพอข่าวออก ก็ยังไม่คิดจะคืน ต้องให้จะขึ้นโรงขึ้นศาลถึงจะบอกว่าจะยอม...
3.เป็นบทเรียนของชาวไทยที่ควรจะให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของพระหรือวัด อย่างโปร่งใส
----
ปปง.แจงวัดธรรมกาย จ่อคืนเงินบริจาคสหกรณ์ยูเนี่ยน 700 ล้าน
ข้อมูลจาก
http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000016885
-------------
ปลัดยุติธรรมแจงสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดียักยอกเงิน 1.3 หมื่นล้าน ไม่มีความซับซ้อนจ่อสั่งฟ้อง 3 ข้อหา ปปง. เผยเส้นทางธุรกรรมอดีตประธานสหกรณ์ฯ พบมีการสั่งจ่ายเช็ค878ฉบับ มูลค่ากว่า11,367ล้านบาท ไล่อายัดทรัพย์แล้ว 4,000ล้านบาท ขณะที่ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาค 700 ล้านบาท
ปลัดยุติธรรมแจงสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดียักยอกเงิน 1.3 หมื่นล้าน ไม่มีความซับซ้อนจ่อสั่งฟ้อง 3 ข้อหา ปปง. เผยเส้นทางธุรกรรมอดีตประธานสหกรณ์ฯ พบมีการสั่งจ่ายเช็ค878ฉบับ มูลค่ากว่า11,367ล้านบาท ไล่อายัดทรัพย์แล้ว 4,000ล้านบาท ขณะที่ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาค 700 ล้านบาท
วันนี้( 11 ก.พ. ) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นกว่า200คนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯและพวกร่วมยักยอกทรัพย์ มูลค่ากว่า1.3หมื่นล้านบาท เดินทางเข้ารับฟังความคืบหน้าการดำเนินคดี โดยมีพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน( ปปง.) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมแถลงความคืบหน้า รวมไปถึงการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผู้ต้องหาคดีนี้ด้วย
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ กล่าวว่า ภายหลังที่สำนักงาน ปปง. ตรวจสอบการทรัพย์สินของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ชุดที่29 กับพวก ที่มีพฤติการณ์ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 12,402 ล้านบาท ซึ่ง ปปง. ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและรวบรวมพยานหลักฐาน จนพบว่าอดีตประธานสหกรณ์ฯ กับพวก นำเงินที่ได้จากการยักยอกไปซื้อทรัพย์สินต่างๆ โดยใส่ชื่อตนเองหรือผู้อื่น เพื่อเจตนาซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน อันเข้าข่ายความผิดพรบ.การฟอกเงิน
ต่อมา คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย โดยยึดและอายัดทรัพย์สินได้ทั้งสิ้นจำนวน 609 รายการ ไว้ชั่วคราว มูลค่ากว่า 3,793 ล้านบาท พร้อมส่งเรื่องให้ดีเอสไอดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตามกฎหมาย ซึ่งหากมีการส่งให้ศาลยึดและอายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดตามกระบวนการทางกฎหมาย ก็จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้
“ที่ผ่านมา ปปง. ส่งเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายตามกฎหมายแล้ว และทางปปง.ยังคงทำงานต่อเนื่องโดยตรวจสอบเส้นทางธุรกรรมการเงิน ล่าสุดพบว่ามีการออกเช็คในนามของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ไปยังบริษัทและบุคคลต่างๆ กว่า 878 ฉบับ รวมเป็นเงิน 11,367,218,813.68 บาท” เลขาธิการ ปปง. กล่าว
เลขาธิการปปง. กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบเส้นทางการพบว่าเงินจำนวนดังกล่าวมีการโอน เข้าบัญชีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด จำนวน 21 ฉบับ มีการออกแคชเชียร์เช็ค และถอนเงินสด จำนวน 961 ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตาม ทั้งนี้ ยังพบเช็คนำฝากเข้าบัญชีของนายจิรเดช วงเพียรกุล และนายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ จำนวน 135 ฉบับ เป็นเงินกว่า 2,566,176,037.40 บาท รวมถึงเช็คฝากเข้าธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ไทย 8 ฉบับ เป็นเงิน 321 ล้านบาท นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิต ยูเนียนคลองจั่น จำกัด เอาไปซื้อหุ้นและที่ดิน ของบริษัท เอ็ม โฮม เอส พีวี 2 จำกัด และคณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดหุ้นและที่ดินของบริษัทฯดังกล่าวแล้ว มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท
นอกจากนี้ พ.ต.อ.สีหนาท ระบุว่า ตอนนี้ทางวัดธรรมกายกำลังจะคืนเงินที่ได้รับบริจาคจากสหกรณ์เครดิตยูเนียนจำนวนกว่า 700 ล้านบาท หลังจำนนต่อหลักฐานที่ ปปง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบการออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกาย จำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน 714 ล้านบาท ทั้งนี้ยังพบว่ามีการออกเช็คให้บริษัท ยูเนียนอินเตอร์ประกันภัย จำกัด จำนวน 4 ฉบับ รวมเป็นเงิน 399.9 ล้านบาท และบริษัท รัฐประชา จำกัด จำนวน 4 ฉบับ รวมเป็นเงิน 10.5 ล้านบาท โดย ปปง. ได้ส่งข้อมูลเส้นทางการเงินดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2556
อย่างไรก็ตาม หาก ปปง. ตรวจสอบพบว่ามีทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิดก็จะเร่งเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาและมีมติยึดและอายัดทรัพย์สินโดยเร็ว เพื่อนำมาเยียวยาประชาชน ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่อายัดส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท แน่นอนว่าจะมีเงินจำนวนดังกล่าวที่จะกลับคืนสู่สมาชิก
ขณะที่ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า สำหรับคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไม่มีความซับซ้อน เพียงแต่มีผู้เสียหายจำนวนมากจึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และอาจมีการแบ่งกลุ่มผู้เสียหายตามความเสียหาย เพราะลักษณะการเกิดเหตุมีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งการสอบสวนไม่จำเป็นต้องสอบสวนหมดทุกคนแต่จะสอบปากคำบางคนตามกลุ่มพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยขณะนี้ดีเอสไอได้แยกการดำเนินคดีเป็น 3 สำนวน ได้แก่ คดียักยอกทรัพย์2คดี ฉ้อโกงประชาชน และปลอมแปลงเอกสาร ทั้งนี้ ตนในฐานะปลัดกระทรวงยุติธรรม แม้เป็นผู้บังคับบัญชายืนยันจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำคดี และไม่มีการปล่อยให้การดำเนินคดีมีความล่าช้า โดยจะทำงานในกรอบของกฎหมาย เพราะเป็นความเดือดร้อนของประชาชนจำนวนมาก
“หากสมาชิกมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ขอให้แจ้งทาง ปปง.หรือ ดีเอสไอ เพื่อเข้าตรวจสอบ ทั้งนี้ยืนยันว่าจะดำเนินการกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยไล่ตรวจสอบเช็คว่ามีการสั่งจ่ายเช็คไปให้ใครบ้าง และสืบสวนว่าผู้รับเงินนั้นได้เงินมาโดยสุจริตหรือไม่ รวมถึงเงินที่สั่งจ่ายไปนั้นยังอยู่ด้วยหรือเปล่า ซึ่งหากตรวจสอบพบว่ามีการทำความผิดก็จะดำเนินการใช้กฎหมายฟอกเงินดำเนินคดีด้วย ยืนยันมีการทำงานรวมกันระหว่างอัยการกับดีเอสไอมาโดยตลอด” พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว
-------จบข่าว---
คห ส่วนตัว
....
1.ควรสืบต่อไปว่าเงินที่จะมาคืน มีเส้นทางเดินไปอย่างไร มีอะไรผิดปรกติหรือไม่
2.เงินที่คืน ไม่ใช่แค่จำนวนตามที่ได้จากศุภชัย แต่ควรบวกดอกเบี้ยด้วย เพราะแทนที่สหกรณ์จะนำเงินนั้นไปทำให้งอกเงยกับจมที่ลัทธินี้อยู่นาน แถมพอข่าวออก ก็ยังไม่คิดจะคืน ต้องให้จะขึ้นโรงขึ้นศาลถึงจะบอกว่าจะยอม...
3.เป็นบทเรียนของชาวไทยที่ควรจะให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของพระหรือวัด อย่างโปร่งใส
----