ความจริงผมคิดว่าเรื่องธุดงค์ธรรมชัยนี้มันน่าจะจบลงแล้ว เพียงแต่มีสมาชิกท่านหนึ่งได้ตั้งประเด็นขอสงสัยเรื่องธุดงค์กับความสัมพันธ์กับการเดิน ซึ่งก็มีสมาชิกท่านหนึ่งได้ตอบ แต่ลักษณะคำตอบออกจะแปลกๆ อยู่ ทำให้ผมสนใจจะวิเคราะห์ในประเด็นนี้
สมาชิกท่านหนึ่งได้ตอบเรื่องการเดินเข้าเมือง มีข้อที่น่าสนใจอยู่ว่า
-------------------------------------------
"พระที่ธุดงค์ตามป่า เพื่อหาทางหลุดพ้นเพื่อตนเอง พระที่ธรรมยาตรา ไปที่เมืองเพื่อ ไปโปรดญาติโยมเพื่อเผยแผ่ให้พ้นทุกข์พ้นจากวิบากกรรม
กระตุ้นให้ ถือศีล นั่งสมาธิ ทำทาน คนมัวแต่ทำงานหาเงินทุกข์ยาก ไม่เคยเอ๊ะใจเรื่อง กฎแห่งกรรม
ถ้าบุญบาป อยู่เบื้องหลังชีวิตเรานี้ ว่าจะเกิดมา มากดีมีจน พิการสมบูรณ์ อดอยากมั่งมี ถ้าไม่ทำบุญ ทำแต่งาน ชีวิตนี้ก็ยากที่จะดีขึ้น ไม่ถือศีล นั่งสมาธิ สังคมก็จะยิ่ง มีแต่ขโมย เห็นแก่ตัวมากขึ้น"
.....
วัดพระธรรมกาย แต่ก่อนมีธุดงค์ไปที่วัดร้าง เพื่อบูรณะวัดร้าง ก็ได้บุญแต่พระ โยมก็ไม่ได้บุญและจะไม่รู้เรื่องธรรมะอะไรเลย
-------------------------------------------
สมาชิกท่านไหนจะเป็นผู้ลงข้อความนี้ก็เป็นที่ปรากฏในกระทู้ดังกล่าวนั้นแล้ว คงไม่ต้องยกเอามาบอกกันในที่นี้อีก
สิ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจก็คือทัศนคติของสมาชิกท่านนี้ ที่ว่า ถ้าพระธุดงค์ไปในป่าปฏิบัติหลุดพ้นเพื่อตัวเอง แต่ถ้าเข้าเมืองก็เป็นการช่วยผู้อื่นพ้นวิบากกรรม
ปัญหาสำคัญในประเด็นนี้อยู่ที่การมองว่า ถ้าจะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ก็ต้องเข้ามาในเมืองเท่านั้น ไม่ใช่ไปอยู่ในป่า (พระสนิทวงศ์เองก็เคยออกรายการคุณสรยุทธ์และพูดทำนองนี้เช่นกันว่าต้องมาสอนคนในเมืองไม่ใช่ไปเข้าป่า)
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเมืองหรือป่า เข้าป่าหรือเข้าเมือง มันก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าจะทำเพื่อตัวเอง หรือเพื่อผู้อื่นแต่อย่างใด
ถ้าพระโพธิสัตว์เข้าป่าเพื่อค้นหาวิธีหลุดพ้น ก็คงจะถูกหาว่าหลุดพ้นเพื่อตัวเองไม่ใช่ทำเพื่อผู้อื่นใช่หรือไม่? ก็คงไม่ใช่เช่นนั้น
การมองแบบนี้มันคล้ายกับทัศนคติเชิงวัตถุนิยมว่า ป่ามีลักษณะเป็นสภาพที่เงียบเหงา ไม่มีผู้คน จะไปเข้าป่าทำไม ทำไมไม่ยอมเข้าเมือง และอาจกลายเป็นทัศนคติให้กลายเป็นว่า การมาเข้าเมือง ดีกว่าไปเข้าป่า (และต้องเป็นเมืองหลวงของประเทศเสียอีกด้วย)
แท้ที่จริงแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมควรที่จะกระทำประโยชน์ตนเองให้สมบูรณ์พร้อมเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำเพื่อผู้อื่น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายก็ต้องค้นหาความหลุดพ้นเสียก่อน เมื่อหลุดพ้นแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่น
สมาชิกท่านดังกล่าวมองว่า ถ้าเข้าป่า คนก็ไม่รู้ไม่เห็น ทำไมไม่เข้าเมือง คนจะได้รู้ได้เห็น แต่การเข้าเมืองนั้น ก็ทำให้เกิดผลเพียงแค่ สองลักษณะ คือ
๑. คนมองเห็นพระจำนวนมาก ก็มองเห็นแต่พระจำนวนมากที่มาจากต่างจังหวัด เดินๆ เสร็จแล้วก็กลับ อาจจะได้ร่วมโปรยดอกไม้ได้ร่วมทำบุญบ้าง ก็เฉพาะคราวนั้นเท่านั้น ในขณะที่ชีวิตของเขา ต้องอยู่กับเมืองกรุงตลอดเกือบทั้งปี
๒. ภาพการเดินเช่นนั้น ถูกทำให้สื่อไปว่า นี่เป็นการธุดงค์ ถ้าเป็นพระที่ปฏิบัติอยู่เองตามวัด ก็จะไม่ใช่ธุดงค์ ยิ่งจะต้องแบกกลดสะพายย่าม ก็ทำให้การธุดงค์ถูกจำกัดอยู่แค่รูปแบบเท่าที่เห็น
ปัญหาอีกอย่างก็คือที่สมาชิกท่านั้นบอกว่า ว่า แต่เดิมมีการธุดงค์ไปตามวัดร้าง ไปพัฒนาวัดร้าง โยมไม่ได้บุญและไม่รู้เรื่องธรรมะอะไรเลย
ผมกลับมองว่า การที่ทางวัดพระธรรมกายจะพาพระไปตามวัดร้าง นั่นแหละ เป็นประโยชน์มากกว่าการเดินเข้าเมือง
เพราะอะไร? ก็เพราะในเมืองนั้น ทั้งวัดและพระก็เยอะอยู่พอแล้ว แต่วัดร้าง และวัดที่ยังขาดการพัฒนานั้น อยู่ตามท้องถิ่นห่างไกลอีกมากมาย
ทำไมครูบาอาจารย์สมัยก่อนๆ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์จวน ครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายท่าน จึงไม่ใช้วิธีเดินทางรอนแรมเข้าเมือง ด้วยข้ออ้างแบบเดียวกันว่าต้องเข้าเมืองคนจะได้ทำบุญ?
นั่นเพราะท่านต้องการจะให้ชาวบ้านที่ห่างไกลได้รับประโยชน์จากธรรมะใช่หรือไม่?
ความเข้าใจอย่างหนึ่งที่สมาชิกท่านนั้นและชาวธรรมกาย รวมถึงพระสงฆ์วัดพระธรรมกายมักตอบและมักแสดงความเข้าใจนั้นอยู่เสมอๆ ก็คือ "ต้องมาให้คนเมืองได้ทำบุญ เขามัวทำแต่งานไม่ได้ เขาจะไม่ได้ธรรมะ เขาจะไม่พ้นวิบากกรรม"
ทำไมจึงลืมคิดไปว่า คนเมืองเจอวัด เจอพระเยอะพออยู่แล้ว โอกาสการได้พบกับธรรมะ จากหนังสือ จากเสียง จากวีดีทัศน์ บรรยายธรรม นั้นเยอะอยู่มากแล้ว แต่คนห่างไกลเมือง คนในท้องถิ่นที่อาจไม่มีแม้แต่วัดพระพุทธศาสนาอยู่เลย จะไม่ได้รับประโยชน์จากธรรมะ?
เป็นปัญหาที่ดักดานนานหนักหนาแล้ว ที่วัดห่างไกล ไม่มีพระ มีแต่หลวงตาที่ไม่รู้เรื่องพระพุทธศาสนา บางทีก็เป็นคนในหมู่บ้านนั้นเองที่จะต้องมาช่วยกันบวชเพื่อดูแลวัด และคอยรับบำเพ็ญกุศลให้สาธุชน
ถ้าหากว่าวัดพระธรรมกายสามารถฝึกฝนบุคลากรได้ดีจริงบริสุทธิ์วิเศษจริง ทำไมถึงลืมนึกถึงข้อนี้ว่า คนเมืองโอกาสเข้าถึงธรรมะได้ง่าย แต่คนห่างไกล แม้แต่พระยังไม่มีโอกาสได้เห็น
สมาชิกท่านนั้นอาจจะมองผิดไป คือ การบูรณะวัดร้าง ไม่ใช่การได้บุญแต่พระ แต่เมื่อใดที่ไปพัฒนาวัดนั้นๆ แล้ว ชาวบ้านท้องถิ่นมีวัดที่พัฒนาขึ้น ได้คนในท้องถิ่นมาบวชเป็นพระ รักษาพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น ไม่ใช่ได้แต่บุญของพระ แต่ช่วยรักษาพระพุทธศาสนา และรักษาวัดให้ญาติโยม ให้เขาได้มีพระไว้รักษาพระศาสนาในท้องถิ่นของเขาไปตลอด
ถามว่า การที่วัดพระธรรมกายมาเดินในเมือง ถึงในกรุงเทพเช่นนี้ ประโยชน์อะไรเกิดขึ้นกับชาวเมืองหรือไม่ นอกจาก รถติด ได้เห็นพระจำนวนมาก แล้วก็จบกันไป แล้วก็เจอกับปัญหาเดิมๆ (แถมยังเพิ่มปัญหาใหม่คือเทศกาลรถติดประจำปีอีก)
การธุดงค์ธรรมชัย ธรรมยาตราอะไรก็แล้วแต่ จึงกลายเป็นได้แค่ "อีเวนท์ประจำปี" ที่ต้องทำทุกปี แต่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ไม่ได้ ใช่หรือไม่?
ผมจึงบอกว่า ทัศนคติแปลกๆ ที่ว่า พระธุดงค์ปฏิบัติในป่าหลุดพ้นเพื่อตัวเอง แต่ถ้าเข้าเมืองก็เท่ากับช่วยคนอื่น นี่เท่ากับว่ามองคนที่คิดว่าจะต้องช่วย มีแต่คนเมือง ที่เขามีโอกาสเข้าถึงแหล่งทางธรรมะ ได้มากกว่าคนในท้องถิ่นห่างไกล ที่ห่างจากโอกาสได้รับธรรมะใช่หรือไม่?
หรือเป็นเพราะถ้าไปแต่ท้องถิ่นห่างไกล จะไม่มีใครมาโปรยดาวรวย จะมีแต่แบงค์ ๒๐ ใส่ลงในถุงบริจาค ไม่มีแบงค์ร้อยแบงค์พัน? แถมจะจัดที่พักให้ก็ลำบาก ไม่มีสนามกีฬาใหญ่ๆ ไม่มีวัดที่มีลานกว้างๆ
อันนี้ก็เสนอไว้ให้คิดกัน
ป.ล. ถึงผู้ศรัทธาวัดพระธรรมกาย ถ้าจะมาคอมเมนท์ กรุณาตอบในประเด็นที่ผมตั้งทัศนะนี้ งดเว้นการโพสต์ภาพ เพราะท่านโพสต์กันมาเยอะแล้ว มันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เว้นแต่ท่านจะมี "สมอง" ไม่พอที่จะคอมเมนท์อะไรในประเด็น ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะผมรู้ดีว่า อมีบาไม่สามารถวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นมนุษย์ได้ ก็สุดแท้แต่ความต้องการของท่านก็แล้วกัน
ทัศนคติแปลกๆ ว่าด้วย "พระธุดงค์ปฏิบัติในป่าหลุดพ้นเพื่อตัวเอง พระธุดงค์เข้าเมืองช่วยคนพ้นวิบากกรรม" ?
สมาชิกท่านหนึ่งได้ตอบเรื่องการเดินเข้าเมือง มีข้อที่น่าสนใจอยู่ว่า
-------------------------------------------
"พระที่ธุดงค์ตามป่า เพื่อหาทางหลุดพ้นเพื่อตนเอง พระที่ธรรมยาตรา ไปที่เมืองเพื่อ ไปโปรดญาติโยมเพื่อเผยแผ่ให้พ้นทุกข์พ้นจากวิบากกรรม
กระตุ้นให้ ถือศีล นั่งสมาธิ ทำทาน คนมัวแต่ทำงานหาเงินทุกข์ยาก ไม่เคยเอ๊ะใจเรื่อง กฎแห่งกรรม
ถ้าบุญบาป อยู่เบื้องหลังชีวิตเรานี้ ว่าจะเกิดมา มากดีมีจน พิการสมบูรณ์ อดอยากมั่งมี ถ้าไม่ทำบุญ ทำแต่งาน ชีวิตนี้ก็ยากที่จะดีขึ้น ไม่ถือศีล นั่งสมาธิ สังคมก็จะยิ่ง มีแต่ขโมย เห็นแก่ตัวมากขึ้น"
.....
วัดพระธรรมกาย แต่ก่อนมีธุดงค์ไปที่วัดร้าง เพื่อบูรณะวัดร้าง ก็ได้บุญแต่พระ โยมก็ไม่ได้บุญและจะไม่รู้เรื่องธรรมะอะไรเลย
-------------------------------------------
สมาชิกท่านไหนจะเป็นผู้ลงข้อความนี้ก็เป็นที่ปรากฏในกระทู้ดังกล่าวนั้นแล้ว คงไม่ต้องยกเอามาบอกกันในที่นี้อีก
สิ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจก็คือทัศนคติของสมาชิกท่านนี้ ที่ว่า ถ้าพระธุดงค์ไปในป่าปฏิบัติหลุดพ้นเพื่อตัวเอง แต่ถ้าเข้าเมืองก็เป็นการช่วยผู้อื่นพ้นวิบากกรรม
ปัญหาสำคัญในประเด็นนี้อยู่ที่การมองว่า ถ้าจะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ก็ต้องเข้ามาในเมืองเท่านั้น ไม่ใช่ไปอยู่ในป่า (พระสนิทวงศ์เองก็เคยออกรายการคุณสรยุทธ์และพูดทำนองนี้เช่นกันว่าต้องมาสอนคนในเมืองไม่ใช่ไปเข้าป่า)
แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเมืองหรือป่า เข้าป่าหรือเข้าเมือง มันก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าจะทำเพื่อตัวเอง หรือเพื่อผู้อื่นแต่อย่างใด
ถ้าพระโพธิสัตว์เข้าป่าเพื่อค้นหาวิธีหลุดพ้น ก็คงจะถูกหาว่าหลุดพ้นเพื่อตัวเองไม่ใช่ทำเพื่อผู้อื่นใช่หรือไม่? ก็คงไม่ใช่เช่นนั้น
การมองแบบนี้มันคล้ายกับทัศนคติเชิงวัตถุนิยมว่า ป่ามีลักษณะเป็นสภาพที่เงียบเหงา ไม่มีผู้คน จะไปเข้าป่าทำไม ทำไมไม่ยอมเข้าเมือง และอาจกลายเป็นทัศนคติให้กลายเป็นว่า การมาเข้าเมือง ดีกว่าไปเข้าป่า (และต้องเป็นเมืองหลวงของประเทศเสียอีกด้วย)
แท้ที่จริงแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมควรที่จะกระทำประโยชน์ตนเองให้สมบูรณ์พร้อมเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำเพื่อผู้อื่น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายก็ต้องค้นหาความหลุดพ้นเสียก่อน เมื่อหลุดพ้นแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่น
สมาชิกท่านดังกล่าวมองว่า ถ้าเข้าป่า คนก็ไม่รู้ไม่เห็น ทำไมไม่เข้าเมือง คนจะได้รู้ได้เห็น แต่การเข้าเมืองนั้น ก็ทำให้เกิดผลเพียงแค่ สองลักษณะ คือ
๑. คนมองเห็นพระจำนวนมาก ก็มองเห็นแต่พระจำนวนมากที่มาจากต่างจังหวัด เดินๆ เสร็จแล้วก็กลับ อาจจะได้ร่วมโปรยดอกไม้ได้ร่วมทำบุญบ้าง ก็เฉพาะคราวนั้นเท่านั้น ในขณะที่ชีวิตของเขา ต้องอยู่กับเมืองกรุงตลอดเกือบทั้งปี
๒. ภาพการเดินเช่นนั้น ถูกทำให้สื่อไปว่า นี่เป็นการธุดงค์ ถ้าเป็นพระที่ปฏิบัติอยู่เองตามวัด ก็จะไม่ใช่ธุดงค์ ยิ่งจะต้องแบกกลดสะพายย่าม ก็ทำให้การธุดงค์ถูกจำกัดอยู่แค่รูปแบบเท่าที่เห็น
ปัญหาอีกอย่างก็คือที่สมาชิกท่านั้นบอกว่า ว่า แต่เดิมมีการธุดงค์ไปตามวัดร้าง ไปพัฒนาวัดร้าง โยมไม่ได้บุญและไม่รู้เรื่องธรรมะอะไรเลย
ผมกลับมองว่า การที่ทางวัดพระธรรมกายจะพาพระไปตามวัดร้าง นั่นแหละ เป็นประโยชน์มากกว่าการเดินเข้าเมือง
เพราะอะไร? ก็เพราะในเมืองนั้น ทั้งวัดและพระก็เยอะอยู่พอแล้ว แต่วัดร้าง และวัดที่ยังขาดการพัฒนานั้น อยู่ตามท้องถิ่นห่างไกลอีกมากมาย
ทำไมครูบาอาจารย์สมัยก่อนๆ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์จวน ครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายท่าน จึงไม่ใช้วิธีเดินทางรอนแรมเข้าเมือง ด้วยข้ออ้างแบบเดียวกันว่าต้องเข้าเมืองคนจะได้ทำบุญ?
นั่นเพราะท่านต้องการจะให้ชาวบ้านที่ห่างไกลได้รับประโยชน์จากธรรมะใช่หรือไม่?
ความเข้าใจอย่างหนึ่งที่สมาชิกท่านนั้นและชาวธรรมกาย รวมถึงพระสงฆ์วัดพระธรรมกายมักตอบและมักแสดงความเข้าใจนั้นอยู่เสมอๆ ก็คือ "ต้องมาให้คนเมืองได้ทำบุญ เขามัวทำแต่งานไม่ได้ เขาจะไม่ได้ธรรมะ เขาจะไม่พ้นวิบากกรรม"
ทำไมจึงลืมคิดไปว่า คนเมืองเจอวัด เจอพระเยอะพออยู่แล้ว โอกาสการได้พบกับธรรมะ จากหนังสือ จากเสียง จากวีดีทัศน์ บรรยายธรรม นั้นเยอะอยู่มากแล้ว แต่คนห่างไกลเมือง คนในท้องถิ่นที่อาจไม่มีแม้แต่วัดพระพุทธศาสนาอยู่เลย จะไม่ได้รับประโยชน์จากธรรมะ?
เป็นปัญหาที่ดักดานนานหนักหนาแล้ว ที่วัดห่างไกล ไม่มีพระ มีแต่หลวงตาที่ไม่รู้เรื่องพระพุทธศาสนา บางทีก็เป็นคนในหมู่บ้านนั้นเองที่จะต้องมาช่วยกันบวชเพื่อดูแลวัด และคอยรับบำเพ็ญกุศลให้สาธุชน
ถ้าหากว่าวัดพระธรรมกายสามารถฝึกฝนบุคลากรได้ดีจริงบริสุทธิ์วิเศษจริง ทำไมถึงลืมนึกถึงข้อนี้ว่า คนเมืองโอกาสเข้าถึงธรรมะได้ง่าย แต่คนห่างไกล แม้แต่พระยังไม่มีโอกาสได้เห็น
สมาชิกท่านนั้นอาจจะมองผิดไป คือ การบูรณะวัดร้าง ไม่ใช่การได้บุญแต่พระ แต่เมื่อใดที่ไปพัฒนาวัดนั้นๆ แล้ว ชาวบ้านท้องถิ่นมีวัดที่พัฒนาขึ้น ได้คนในท้องถิ่นมาบวชเป็นพระ รักษาพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น ไม่ใช่ได้แต่บุญของพระ แต่ช่วยรักษาพระพุทธศาสนา และรักษาวัดให้ญาติโยม ให้เขาได้มีพระไว้รักษาพระศาสนาในท้องถิ่นของเขาไปตลอด
ถามว่า การที่วัดพระธรรมกายมาเดินในเมือง ถึงในกรุงเทพเช่นนี้ ประโยชน์อะไรเกิดขึ้นกับชาวเมืองหรือไม่ นอกจาก รถติด ได้เห็นพระจำนวนมาก แล้วก็จบกันไป แล้วก็เจอกับปัญหาเดิมๆ (แถมยังเพิ่มปัญหาใหม่คือเทศกาลรถติดประจำปีอีก)
การธุดงค์ธรรมชัย ธรรมยาตราอะไรก็แล้วแต่ จึงกลายเป็นได้แค่ "อีเวนท์ประจำปี" ที่ต้องทำทุกปี แต่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ไม่ได้ ใช่หรือไม่?
ผมจึงบอกว่า ทัศนคติแปลกๆ ที่ว่า พระธุดงค์ปฏิบัติในป่าหลุดพ้นเพื่อตัวเอง แต่ถ้าเข้าเมืองก็เท่ากับช่วยคนอื่น นี่เท่ากับว่ามองคนที่คิดว่าจะต้องช่วย มีแต่คนเมือง ที่เขามีโอกาสเข้าถึงแหล่งทางธรรมะ ได้มากกว่าคนในท้องถิ่นห่างไกล ที่ห่างจากโอกาสได้รับธรรมะใช่หรือไม่?
หรือเป็นเพราะถ้าไปแต่ท้องถิ่นห่างไกล จะไม่มีใครมาโปรยดาวรวย จะมีแต่แบงค์ ๒๐ ใส่ลงในถุงบริจาค ไม่มีแบงค์ร้อยแบงค์พัน? แถมจะจัดที่พักให้ก็ลำบาก ไม่มีสนามกีฬาใหญ่ๆ ไม่มีวัดที่มีลานกว้างๆ
อันนี้ก็เสนอไว้ให้คิดกัน
ป.ล. ถึงผู้ศรัทธาวัดพระธรรมกาย ถ้าจะมาคอมเมนท์ กรุณาตอบในประเด็นที่ผมตั้งทัศนะนี้ งดเว้นการโพสต์ภาพ เพราะท่านโพสต์กันมาเยอะแล้ว มันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เว้นแต่ท่านจะมี "สมอง" ไม่พอที่จะคอมเมนท์อะไรในประเด็น ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะผมรู้ดีว่า อมีบาไม่สามารถวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นมนุษย์ได้ ก็สุดแท้แต่ความต้องการของท่านก็แล้วกัน