.
.
‘ประชาธิปไตย’ ในงานฟุตบอลประเพณี
ระหว่างประชาธิปไตยกับความรอดหรือความ
ของประเทศชาติ อะไรสำคัญกว่ากัน
นิสิตนักศึกษาปรารถนา “ประชาธิปไตย” ที่สร้างความ
แก่กฎหมาย แก่งบประมาณ หลักการด้านศีลธรรม และแก่ประชาชนอย่างนั้นหรือ?
ขณะที่หลายคนกำลังสนุก ตื่นเต้น และขำขัน กับข้อความทั้งหลายในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ผมกลับเห็นศิษย์เก่าหลายคนออกอาการหดหู่
ได้คุยกับศิษย์ธรรมศาสตร์บางคน เขาสะท้อนความเห็นของเขาให้ฟังว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศชาติ โดยเฉพาะธรรมศาสตร์นั้น มีคำขวัญสั้น ง่าย แต่กินใจ และพูดกันต่อๆ มาโดยมิขาดสายว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน”
ทว่าในมุมมองของใครหลายคน ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัย กลายเป็นเบ้าหลอมอารมณ์แบบ “ปัจเจกชน” มากกว่าการอุทิศตัวเพื่อเรียนรู้สังคม และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และปกป้องสังคม
ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งด้านหนึ่งได้รับการชื่นชมว่า งดงามด้วยเสรีภาพและไม่ปิดกั้นการแสดงออก แต่ในภาวะเดียวกันนั้น ก็เห็นการ “ลอยตัว” และทอดทิ้งธุระแห่งการหล่อหลอมความคิดจิตใจที่เป็นแก่นแกนให้แก่บัณฑิตอยู่ในที
เด็กๆ ด่าอธิการบดีได้โดยไร้เหตุไร้ผล และมิวิธีแสดงออกที่ไม่สะท้อนความมีการศึกษา
เด็กบางคนแสดงกิริยาจาบจ้วงบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยและองค์พระประมุขของชาติ ซึ่งเป็นการรับช่วงอารมณ์มาจากอาจารย์ขี้ขลาดบางคนที่รอโดยสารความบ้าบิ่นของเด็กเหล่านี้เป็นเครื่อง “บำบัดความใคร่” ทางอุดมการณ์-การเมือง ของตนเอง
ใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดแสดงละครxxxxxxx จนเยาวชนผู้แสดงต้องคดีอาญา มาตรา 1xxxx อย่างน่าเศร้า โดยผู้ใหญ่ที่เป็นตัวบงการ ซ่อนตัวอยู่ข้างหลัง ปล่อยคนหนุ่มคนสาวต้องสู้กับกฎหมายอย่างน่าเป็นห่วง
ต่อสู้ แสดงออก อย่างสุดกำลังกับคำว่า “เสรีภาพ” แต่คิดถึง “ความรับผิดชอบ” ต่อการใช้เสรีภาพเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน
ในการแปรอักษรในงานฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ก็มีประเด็นที่ท้าทายการมองของสังคม 2 ด้าน อีกเช่นเคย โดยเฉพาะการแปรอักษรเป็นข้อความว่า
"หนูขอได้ไหม ขอพูดถึงเมืองไทย
ขออภัย หากขัดเคือง
ขอไบก้อน ฉีดเห็บศาสนา
ขอศรัทธา คืนผ้าเหลือง
ขอลดราคา อาหารโรงกลาง
ขอราคายาง แพงเท่าข้าวแกง
ขอเมสซี่เจ ให้ชาติไว้ลุย
ขอชัปปุยส์ อุ๊ยสส์ ซักคืนก็พอ
ขอโบกเท็กซี่ แล้วไปตลอด
ขอ low-cost เขกหัวเจ๊เกียว
ขอความสุข คืนคนในชาติ
ขอมารยาท คืนประ..ยุ... คืนประเทศยูเอส
พี่ขอเวลาหนู ไม่ขัดข้อง
พี่ขอปรองดอง แต่ฟังหนูมั้ย
ขอตรวจสอบ จะฉุนทำไม
ขอประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะคืน"
ศิษย์เก่าหลายคนยิ้มไม่ออกกับวลีสุดท้าย!!
เราต้องการ “เปลือกประชาธิปตย” ไว้สวมใส่ แต่เนื้อแท้แห่งประชาธิปไตยกลับ “เน่าใน” จนเหม็นโฉ่อย่างนั้นหรือครับ
เรากราบกรานรัฐบาลประชาธิปไตยที่ “ทำอะไรก็ได้” เพราะว่าเขา “มาจากการเลือกตั้ง” เท่านั้นหรือครับ
เราอยากได้ประชาธิปไตยจอมปลอมคืน มากกว่าให้โอกาสแก่ประเทศชาติได้หยุดพัก ทบทวน ซ่อมแซม แก้ไข บ้านเมืองที่กำลังเจ็บป่วยเพราะประชาธิปไตยปลอมๆ อย่างนั้นหรือครับ
เราอยากหวนกลับสู่ยุค “ธุรกิจการเมือง” ครอบงำประเทศไทย ทำตามอำเภอใจ แก้กฎหมายเพื่อตนเอง ใช้งบประมาณอีลุ่ยฉุยแฉก ทำลายระบบดุลและคานอำนาจ ซื้อสื่อ ซุกหนี้ หนีสภา บ้าแต่งตัว มั่วข้อมูล ฯลฯ ที่มิได้ถือเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่อย่างนั้นหรือครับ
อยากเห็นบ้านเมืองเป็นอย่างไร จงพร้อมใจกันเสนอความเห็นเพื่อการปฏิรูป ดีกว่าโดยหาอย่างตื้นเขินว่า “ประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะคืน” ไม่ดีกว่าหรือ
หากวันนี้ “นิสิต-นักศึกษา” ยังไม่มีปัญญาจะแยกแยะ “ประชาธิปไตย” ว่าจริง-ปลอม แค่ไหน วันข้างหน้า เราจะฝากบ้านเมืองไว้กับพวกเขาซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และปกป้องบ้านเมืองได้อย่างไร
วางป้ายแปรอักษรลง แล้วลงพื้นที่คุยกับชาวนาบ้าง ว่าพวกเขาต้องการอะไร
นำความรู้สู่เรือกสวนไร่นา เรียนรู้ปัญหาของชาวสวนยางพารา มากกว่าฉยใช้เขาเป็นเครื่องมือทิ่มแทงเสียดสี เพื่อดื่มกินรอยยิ้มที่มุมปากจากคนที่สนุกกับการแปรอักษรของเรา
และลองพยายามคิดใหม่ในเรื่องง่ายๆ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ที่หลายครั้งตอบคำถามอย่างฉุนฉียว กับยิ่งลักษณ์ซึ่งไม่เคยตอบคำถามอะไรเลย หรือคนไทยแทบไม่ได้อะไรจากการตอบคำถามตามโพยของเธอเลย โดยเฉพาะการไม่เข้าประชุมสภา ไม่ตอบกระทู้สดของสภา ฯลฯ
คือประชาธิปไตยที่คุณกำลังขอคืน!!
http://www.naewna.com/politic/columnist/16819
ความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ กับ ประชาธิปไตยแบบ(aิเบอs่าu)
.
.
‘ประชาธิปไตย’ ในงานฟุตบอลประเพณี
ระหว่างประชาธิปไตยกับความรอดหรือความของประเทศชาติ อะไรสำคัญกว่ากัน
นิสิตนักศึกษาปรารถนา “ประชาธิปไตย” ที่สร้างความแก่กฎหมาย แก่งบประมาณ หลักการด้านศีลธรรม และแก่ประชาชนอย่างนั้นหรือ?
ขณะที่หลายคนกำลังสนุก ตื่นเต้น และขำขัน กับข้อความทั้งหลายในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ผมกลับเห็นศิษย์เก่าหลายคนออกอาการหดหู่
ได้คุยกับศิษย์ธรรมศาสตร์บางคน เขาสะท้อนความเห็นของเขาให้ฟังว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศชาติ โดยเฉพาะธรรมศาสตร์นั้น มีคำขวัญสั้น ง่าย แต่กินใจ และพูดกันต่อๆ มาโดยมิขาดสายว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน”
ทว่าในมุมมองของใครหลายคน ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัย กลายเป็นเบ้าหลอมอารมณ์แบบ “ปัจเจกชน” มากกว่าการอุทิศตัวเพื่อเรียนรู้สังคม และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และปกป้องสังคม
ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งด้านหนึ่งได้รับการชื่นชมว่า งดงามด้วยเสรีภาพและไม่ปิดกั้นการแสดงออก แต่ในภาวะเดียวกันนั้น ก็เห็นการ “ลอยตัว” และทอดทิ้งธุระแห่งการหล่อหลอมความคิดจิตใจที่เป็นแก่นแกนให้แก่บัณฑิตอยู่ในที
เด็กๆ ด่าอธิการบดีได้โดยไร้เหตุไร้ผล และมิวิธีแสดงออกที่ไม่สะท้อนความมีการศึกษา
เด็กบางคนแสดงกิริยาจาบจ้วงบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยและองค์พระประมุขของชาติ ซึ่งเป็นการรับช่วงอารมณ์มาจากอาจารย์ขี้ขลาดบางคนที่รอโดยสารความบ้าบิ่นของเด็กเหล่านี้เป็นเครื่อง “บำบัดความใคร่” ทางอุดมการณ์-การเมือง ของตนเอง
ใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดแสดงละครxxxxxxx จนเยาวชนผู้แสดงต้องคดีอาญา มาตรา 1xxxx อย่างน่าเศร้า โดยผู้ใหญ่ที่เป็นตัวบงการ ซ่อนตัวอยู่ข้างหลัง ปล่อยคนหนุ่มคนสาวต้องสู้กับกฎหมายอย่างน่าเป็นห่วง
ต่อสู้ แสดงออก อย่างสุดกำลังกับคำว่า “เสรีภาพ” แต่คิดถึง “ความรับผิดชอบ” ต่อการใช้เสรีภาพเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน
ในการแปรอักษรในงานฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ก็มีประเด็นที่ท้าทายการมองของสังคม 2 ด้าน อีกเช่นเคย โดยเฉพาะการแปรอักษรเป็นข้อความว่า
"หนูขอได้ไหม ขอพูดถึงเมืองไทย
ขออภัย หากขัดเคือง
ขอไบก้อน ฉีดเห็บศาสนา
ขอศรัทธา คืนผ้าเหลือง
ขอลดราคา อาหารโรงกลาง
ขอราคายาง แพงเท่าข้าวแกง
ขอเมสซี่เจ ให้ชาติไว้ลุย
ขอชัปปุยส์ อุ๊ยสส์ ซักคืนก็พอ
ขอโบกเท็กซี่ แล้วไปตลอด
ขอ low-cost เขกหัวเจ๊เกียว
ขอความสุข คืนคนในชาติ
ขอมารยาท คืนประ..ยุ... คืนประเทศยูเอส
พี่ขอเวลาหนู ไม่ขัดข้อง
พี่ขอปรองดอง แต่ฟังหนูมั้ย
ขอตรวจสอบ จะฉุนทำไม
ขอประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะคืน"
ศิษย์เก่าหลายคนยิ้มไม่ออกกับวลีสุดท้าย!!
เราต้องการ “เปลือกประชาธิปตย” ไว้สวมใส่ แต่เนื้อแท้แห่งประชาธิปไตยกลับ “เน่าใน” จนเหม็นโฉ่อย่างนั้นหรือครับ
เรากราบกรานรัฐบาลประชาธิปไตยที่ “ทำอะไรก็ได้” เพราะว่าเขา “มาจากการเลือกตั้ง” เท่านั้นหรือครับ
เราอยากได้ประชาธิปไตยจอมปลอมคืน มากกว่าให้โอกาสแก่ประเทศชาติได้หยุดพัก ทบทวน ซ่อมแซม แก้ไข บ้านเมืองที่กำลังเจ็บป่วยเพราะประชาธิปไตยปลอมๆ อย่างนั้นหรือครับ
เราอยากหวนกลับสู่ยุค “ธุรกิจการเมือง” ครอบงำประเทศไทย ทำตามอำเภอใจ แก้กฎหมายเพื่อตนเอง ใช้งบประมาณอีลุ่ยฉุยแฉก ทำลายระบบดุลและคานอำนาจ ซื้อสื่อ ซุกหนี้ หนีสภา บ้าแต่งตัว มั่วข้อมูล ฯลฯ ที่มิได้ถือเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่อย่างนั้นหรือครับ
อยากเห็นบ้านเมืองเป็นอย่างไร จงพร้อมใจกันเสนอความเห็นเพื่อการปฏิรูป ดีกว่าโดยหาอย่างตื้นเขินว่า “ประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะคืน” ไม่ดีกว่าหรือ
หากวันนี้ “นิสิต-นักศึกษา” ยังไม่มีปัญญาจะแยกแยะ “ประชาธิปไตย” ว่าจริง-ปลอม แค่ไหน วันข้างหน้า เราจะฝากบ้านเมืองไว้กับพวกเขาซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และปกป้องบ้านเมืองได้อย่างไร
วางป้ายแปรอักษรลง แล้วลงพื้นที่คุยกับชาวนาบ้าง ว่าพวกเขาต้องการอะไร
นำความรู้สู่เรือกสวนไร่นา เรียนรู้ปัญหาของชาวสวนยางพารา มากกว่าฉยใช้เขาเป็นเครื่องมือทิ่มแทงเสียดสี เพื่อดื่มกินรอยยิ้มที่มุมปากจากคนที่สนุกกับการแปรอักษรของเรา
และลองพยายามคิดใหม่ในเรื่องง่ายๆ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ที่หลายครั้งตอบคำถามอย่างฉุนฉียว กับยิ่งลักษณ์ซึ่งไม่เคยตอบคำถามอะไรเลย หรือคนไทยแทบไม่ได้อะไรจากการตอบคำถามตามโพยของเธอเลย โดยเฉพาะการไม่เข้าประชุมสภา ไม่ตอบกระทู้สดของสภา ฯลฯ
คือประชาธิปไตยที่คุณกำลังขอคืน!!http://www.naewna.com/politic/columnist/16819