EPCO เริ่มฟื้นแล้ว

กระทู้สนทนา
EPCO         บมจ. โรงพิมพ์ตะวันออก
โรงพิมพ์เริ่มฟื้นและมีโอกาสได้โซล่าร์ที่ญี่ปุ่นเพิ่ม “ซื้อ”

          2 ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีทองของ EPCO กำไรสุทธิโตเฉลี่ย 85% ต่อปี เพราะหันมาจับธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ได้เหมาะเจาะกับช่วงที่โรงพิมพ์กำลังแย่ ปีนี้อาจพักฐานเนื่องจากไม่มีเปิดโรงไฟฟ้าใหม่ แต่ปีหน้าจะโตแรงกว่า 1.5 เท่าตัวจากการเริ่มจ่ายไฟของโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น ทั้งหมดรวมกันได้ราคาเป้าหมายปี 2015 ตามวิธี SOTP 8.20 บาท Upside หลังจากนี้อยู่ที่การซื้อโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นเพิ่มและการทำโซล่าร์บนหลังค่าแบบปล่อยเช่า ทุก 1 MW ที่ได้จะเพิ่มมูลค่า 0.15 บาท/หุ้น รวมถึงการนำบ่อพลอย โซล่าร์ ที่เป็นบริษัทย่อยเข้าตลาด ซึ่งจะทำให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขึ้นตามมูลค่าตลาดของบ่อพลอยที่เพิ่มขึ้น    

โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ช่วยให้ EPCO รอดพ้นจากช่วงตกต่ำของโรงพิมพ์

          เดิมที EPCO ทำธุรกิจหน้าเดียวคือโรงพิมพ์ กำไรจึงผันแปรตามเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น การก้าวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 2012 ถือว่ามาถูกที่ถูกเวลา เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาทรุดอีกรอบ โดย EPCO มีจุดยืนชัดเจนที่จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะสามารถสร้างได้เร็วและไม่กระทบสายส่ง แม้กำลังการผลิตที่มีอยู่ 16.1 MW สำหรับในประเทศ (จ่ายไฟให้ กฟภ. หมดแล้ว) และ 23 MW ในญี่ปุ่นที่กำลังก่อสร้างจะดูน้อย แต่เพราะธุรกิจเดิมมีฐานกำไรต่ำเพียงปีละ 80-120 ล้านบาท จึงทำให้กำไรสุทธิ 2 ปีที่ผ่านมาโตเฉลี่ยสูงถึง 85% ต่อปี

คาดกำไรสุทธิ 4Q14 โตต่อเนื่องอีก 23% Q-Q และกว่า 2 เท่าตัว Y-Y  

          ด้วยความที่ปีนี้ EPCO จ่ายไฟเพิ่มได้อีก 6.1 MW คือ ที่ลพบุรี 5 MW เมื่อ 4 ก.พ.และบนหลังคาโรงงานที่บางเสาธง 1.078 MW เมื่อ 18 ก.ย. ทำให้กำไรสุทธิ 4Q14 โตก้าวกระโดดกว่า 2 เท่าตัว Y-Y ส่วนเมื่อเทียบ Q-Q ที่โตได้ 23% เพราะธุรกิจโรงพิมพ์ฟื้นตัวทั้งในแง่งานพิมพ์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรียนที่ภาครัฐโยนงานให้ต่อเนื่อง และต้นทุนนำเข้ากระดาษที่ถูกลงตามราคาน้ำมัน+เงินบาทที่แข็งค่าเร็วเมื่อเทียบกับยูโร ซึ่งทำให้คาดอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 44.2% จาก 43.3%    

ปี 2015 อาจพักฐานแต่จะกลับมาโตแรงเป็นคูณทวีในปี 16  

          คาดกำไรสุทธิปี 2015 เพิ่มขึ้นเพียง 15% Y-Y อยู่ที่ 259 ล้านบาท บนสมมติฐานที่ไม่มีการเปิดโรงไฟฟ้าเพิ่ม การเติบโตจึงอิงฐานโรงพิมพ์ที่ในภาวะปกติจะโต 10-15% ต่อปี อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรสุทธิจะกลับมาโตแรงกว่า 1.5 เท่าตัวในปี 2016 ที่ 658 ล้านบาท จากการเริ่มจ่ายไฟของโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังก่อสร้าง 2 แห่งในมิยากิ แบ่งเป็นขนาด 10 MW ที่ราคารับซื้อ 40 เยนต่อหน่วย (หรือ 11.2 บาทต่อหน่วยอิงค่าเงินที่ 0.28 บาทต่อเยน) และ 13 MW ที่ราคารับซื้อ 36 เยนต่อหน่วย (หรือ 10.1 บาทต่อหน่วย) มีกำหนดเสร็จภายในปีนี้  

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ค่อยๆ มาแต่มาชัวร์

          EPCO กำลังเจรจาซื้อใบอนุญาตที่ญี่ปุ่นเพิ่ม โดยจะซื้อโรงเล็กต่ำกว่า 2 MW เพราะหาง่าย ก่อสร้างเร็ว และสามารถนำเข้าสายส่งได้ทันที ตั้งเป้า 8 MW คาดว่า 1Q15 ได้ 4 MW (อยู่ในช่วงเตรียมเซ็นต์สัญญา) และ 2Q15 ได้อีก 4 MW  ขณะที่ ในประเทศจะหันไปทำโซล่าร์บนหลังคาแล้วปล่อยเช่ากลับให้เจ้าของอาคาร แม้ในเชิงของรายได้จะไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับขายให้รัฐ แต่ถ้าเทียบกับการรอใบอนุญาตที่กำหนดราคารับซื้อต่ำลงและการไล่ซื้อโรงเล็กที่มีพรีเมี่ยมสูงมาก กลยุทธ์นี้อาจสร้าง IRR ได้สูงกว่าและเพียงพอที่จะชดเชยความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นได้ (แบงค์อาจปล่อยกู้ไม่ถึง 80%) ซึ่งทั้งหมดเรายังไม่รวมในประมาณการ ถ้าทำได้ทุก 1 MW จะเพิ่มมูลค่าประมาณ 0.15 บาท/หุ้น

เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2015 เท่ากับ 8.20 บาท

          ประเมินราคาเป้าหมายปี 2015 ด้วยวิธี SOTP ได้ 8.20 บาท โดยธุรกิจโรงพิมพ์อิง PE เฉลี่ย 13 เท่าได้ 1.83 บาท โรงไฟฟ้าในประเทศและญี่ปุ่นคิดลดกระแสเงินสดด้วย Ke 6.9% และ 7.0% ได้ 2.43 บาท และ 3.95 บาท  นอกจากกำไรสุทธิจะอยู่ในช่วงโตแรงแล้ว ยังมีประเด็นการนำ บ่อพลอย โซล่าร์ ที่เป็นบริษัทย่อยเข้าตลาด ซึ่งจะช่วยให้ฐานะการเงินของ EPCO แข็งแกร่งขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่