สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
มีหลายปัจจัยครับ เช่น
1. การหยิบยืมคำจากภาษาอื่น
(ระบบ)เสียงในแต่ละภาษามีมานานตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ครับ ภาษาแต่ละตระกูลก็มีจำนวนเสียงมากน้อยไม่เท่ากัน บางเสียงก็มีซ้ำๆ กันในหลายภาษา บางเสียงก็มีแค่บางภาษา
ไม่มีภาษาไหนที่อยู่โดดเดี่ยว ทุกภาษาจะมีการหยิบยื่นคำศัพท์หรืออะไรต่างๆ ของภาษาใกล้เคียงมาใช้ (หรือภาษาที่สำคัญและมีอิทธิพลในขณะนั้น) แต่เมื่อยืมคำมาใช้ เสียงบางเสียงในภาษาเดิมที่ไม่สะดวกลิ้นก็จะถูกดัดแปลงเป็นเสียงในภาษาของเราให้ออกเสียงง่ายๆ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค
ยกตัวอย่างเช่น คุณมีคอมพิวเตอร์หรือเปล่า เวลาเราออกเสียงในภาษาไทยเราจะพูดว่า คอม-พิ้ว-เต้อ เพราะมันกลมกลืนกับคำอื่นในประโยคและสำเนียงภาษาไทยของเราที่มีวรรณยุกต์และออกเสียงทุกพยางค์ค่อนข้างชัด เราจะไม่ออกเสียงว่า คุณมี-คอม-พยู่-เถอะ-หรือเปล่า เพราะมันไม่กลมกลืนกัน
ทีนี้บางเสียงที่ภาษาเจ้าของคำเดิมเขามีแต่ภาษาเราไม่มี เราก็จะแทนด้วยเสียงที่หูเราฟังแล้วใกล้เคียงครับ เช่น van เสียง v ในภาษาอังกฤษนั้นเราไม่มี เราฟังแล้วนึกถึงเสียง ว.แหวน เราก็เลยออกเสียงเป็น แวน
ในสมัยโบราณเราได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างจากทางอินเดีย ทั้งผ่านพุทธศาสนาและพราหมณ์ สองศาสนานี้ใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นสื่อกลาง ซึ่งระบบเสียงคล้ายกันมาก พอเข้ามาถึงประเทศไทย ปรากฏว่าเสียงเยอะแยะเลยในภาษาบาลีสันสกฤตเราไม่มี เราก็เลยต้องแทนด้วยเสียงของเราแบบอุตลุดครับ
แต่เพื่อเป็นการรักษารูปศัพท์เดิมไว้ให้รู้ว่าคำไหนมาจากต้นตอไหน เราจึงยังสะกดแบบที่คำต้นตอเขาเขียนในภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ แทนที่จะสะกดตามเสียงอ่านแบบไทย ตัวอักษรของบาลีสันสกฤตที่แทนเสียงต่างๆ กันเราก็เก็บไว้เกือบทุกตัวครับ เพียงแต่พอมาออกเสียงในภาษาไทยมันก็กลายเป็นเสียงเดียวกันหมด แถมเป็นคนละเสียงกับภาษาเดิมเขาอีกต่างหาก
ถ้าจะนำเสนอให้ชัด ก็ใช้พยัญชนะวรรคเข้าช่วยครับ เพราะพยัญชนะวรรคนั้นจัดตามระบบเสียงของบาลีสันสกฤตเป๊ะเลย
ตัวอย่างวรรคที่ชัดที่สุดคือ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
สองวรรคนี้ ตัวบนกับตัวล่างในภาษาเดิมเขาออกเสียงต่างกันทุกคู่ครับ แต่ในภาษาไทยเราออกเสียงเหมือนกันทั้งบนและล่าง เช่น
ฏ กับ ต ในบาลี/สันสกฤตออกไม่เหมือนกัน ของเรามีเสียงเดียวก็เลยเหมาทั้งสองตัว
ฐ/ฑ/ฒ/ถ/ท/ธ ในบาลีสันสกฤตออกเสียงหกแบบ ไม่เหมือนกันเลย ของเราออกเสียง ท เหมือนกันหมด
ที่แปลกอีกอย่างคือ ตัว ท ในภาษาบาลี/สันสกฤตจริงๆ เขาออกเสียงเหมือน ด.เด็ก เรา แต่ทีนี้ภาษาไทยเรามีเสียง ด.เด็ก อยู่ก่อนแล้ว แทนที่เราจะออกเสียง ท เป็น ด.เด็ก เรากลับไปออกเสียงเดียวกับ ฐ/ฒ/ถ/ธ แทน
ในขณะที่ส่วนตัว ฑ เกิดอาการ "อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน" คือบางคำก็ออกเสียง ด (มณฑป) บางคำก็ออกเสียง ท (มณฑล)
หรืออย่างสระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ในภาษาบาลีสันสกฤตเป็นเสียงสระรัวลิ้น (แบบแขก) ที่เราไม่มีในภาษาไทยครับ พอเราออกเสียงไม่ได้ เราก็เลยออกเสียง ฤ เป็น ริ/รึ/เรอะ แทน กะว่านี่ใกล้เคียงเสียงเดิมแล้วสำหรับหูเรา
2. เสียงเดิมในภาษาเรามันหายไป
ในภาษาตระกูลไท-ไต-ไทยของเรา เมื่อก่อนนี้มีเสียงอื่นที่ตอนนี้เราไม่ได้ใช้แล้ว ออกเสียงกันไม่เป็นแล้วครับ เช่น
ฃ/ฅ เมื่อก่อนออกเสียงในลำคอ (คงจะคล้ายๆ กับเสียง ch ของสก๊อตหรือเยอรมันมั้งครับ) ตอนนี้ออกเหมือน ข/ค
ญ เมื่อก่อนออกเสียงขึ้นจมูก ตอนนี้ออกเสียงเหมือน ย (ในภาษาถิ่นหลายถิ่นยังออกขึ้นจมูกอยู่ครับ เช่นภาษาอีสาน)
สระ ใอ เมื่อก่อนออกเสียง อะ+อึ ตอนนี้ออกเสียง อะ+อิ แบบเดียวกับสระไอ
3. รูปสระบางรูปเป็นรูปย่อหรือรูปซ้ำของเสียงอื่นครับ เช่น
สระอำ เป็นเสียง อะ+ม.สะกด ถ้าเขียนในรูปตัวสะกดจะเขียนได้ว่า อัม (ออกเสียงเหมือนกัน คือซ้ำกัน)
สระไอ เป็นเสียง อะ+อิ ถ้าเขียนในรูปตัวสะกดจะเขียนได้ว่า อัย
(นอกประเด็นหน่อย สระเอา เป็นเสียง อะ+อุ แต่เขียนในรูปตัวสะกดไม่ได้ เพราะ อัว เราอ่านเป็นเสียง อุ+อะ ไปแล้ว เลยไม่ซ้ำกับใคร)
ตอนนี้นึกออกแค่นี้ครับ
1. การหยิบยืมคำจากภาษาอื่น
(ระบบ)เสียงในแต่ละภาษามีมานานตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ครับ ภาษาแต่ละตระกูลก็มีจำนวนเสียงมากน้อยไม่เท่ากัน บางเสียงก็มีซ้ำๆ กันในหลายภาษา บางเสียงก็มีแค่บางภาษา
ไม่มีภาษาไหนที่อยู่โดดเดี่ยว ทุกภาษาจะมีการหยิบยื่นคำศัพท์หรืออะไรต่างๆ ของภาษาใกล้เคียงมาใช้ (หรือภาษาที่สำคัญและมีอิทธิพลในขณะนั้น) แต่เมื่อยืมคำมาใช้ เสียงบางเสียงในภาษาเดิมที่ไม่สะดวกลิ้นก็จะถูกดัดแปลงเป็นเสียงในภาษาของเราให้ออกเสียงง่ายๆ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค
ยกตัวอย่างเช่น คุณมีคอมพิวเตอร์หรือเปล่า เวลาเราออกเสียงในภาษาไทยเราจะพูดว่า คอม-พิ้ว-เต้อ เพราะมันกลมกลืนกับคำอื่นในประโยคและสำเนียงภาษาไทยของเราที่มีวรรณยุกต์และออกเสียงทุกพยางค์ค่อนข้างชัด เราจะไม่ออกเสียงว่า คุณมี-คอม-พยู่-เถอะ-หรือเปล่า เพราะมันไม่กลมกลืนกัน
ทีนี้บางเสียงที่ภาษาเจ้าของคำเดิมเขามีแต่ภาษาเราไม่มี เราก็จะแทนด้วยเสียงที่หูเราฟังแล้วใกล้เคียงครับ เช่น van เสียง v ในภาษาอังกฤษนั้นเราไม่มี เราฟังแล้วนึกถึงเสียง ว.แหวน เราก็เลยออกเสียงเป็น แวน
ในสมัยโบราณเราได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างจากทางอินเดีย ทั้งผ่านพุทธศาสนาและพราหมณ์ สองศาสนานี้ใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นสื่อกลาง ซึ่งระบบเสียงคล้ายกันมาก พอเข้ามาถึงประเทศไทย ปรากฏว่าเสียงเยอะแยะเลยในภาษาบาลีสันสกฤตเราไม่มี เราก็เลยต้องแทนด้วยเสียงของเราแบบอุตลุดครับ
แต่เพื่อเป็นการรักษารูปศัพท์เดิมไว้ให้รู้ว่าคำไหนมาจากต้นตอไหน เราจึงยังสะกดแบบที่คำต้นตอเขาเขียนในภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ แทนที่จะสะกดตามเสียงอ่านแบบไทย ตัวอักษรของบาลีสันสกฤตที่แทนเสียงต่างๆ กันเราก็เก็บไว้เกือบทุกตัวครับ เพียงแต่พอมาออกเสียงในภาษาไทยมันก็กลายเป็นเสียงเดียวกันหมด แถมเป็นคนละเสียงกับภาษาเดิมเขาอีกต่างหาก
ถ้าจะนำเสนอให้ชัด ก็ใช้พยัญชนะวรรคเข้าช่วยครับ เพราะพยัญชนะวรรคนั้นจัดตามระบบเสียงของบาลีสันสกฤตเป๊ะเลย
ตัวอย่างวรรคที่ชัดที่สุดคือ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
สองวรรคนี้ ตัวบนกับตัวล่างในภาษาเดิมเขาออกเสียงต่างกันทุกคู่ครับ แต่ในภาษาไทยเราออกเสียงเหมือนกันทั้งบนและล่าง เช่น
ฏ กับ ต ในบาลี/สันสกฤตออกไม่เหมือนกัน ของเรามีเสียงเดียวก็เลยเหมาทั้งสองตัว
ฐ/ฑ/ฒ/ถ/ท/ธ ในบาลีสันสกฤตออกเสียงหกแบบ ไม่เหมือนกันเลย ของเราออกเสียง ท เหมือนกันหมด
ที่แปลกอีกอย่างคือ ตัว ท ในภาษาบาลี/สันสกฤตจริงๆ เขาออกเสียงเหมือน ด.เด็ก เรา แต่ทีนี้ภาษาไทยเรามีเสียง ด.เด็ก อยู่ก่อนแล้ว แทนที่เราจะออกเสียง ท เป็น ด.เด็ก เรากลับไปออกเสียงเดียวกับ ฐ/ฒ/ถ/ธ แทน
ในขณะที่ส่วนตัว ฑ เกิดอาการ "อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน" คือบางคำก็ออกเสียง ด (มณฑป) บางคำก็ออกเสียง ท (มณฑล)
หรืออย่างสระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ในภาษาบาลีสันสกฤตเป็นเสียงสระรัวลิ้น (แบบแขก) ที่เราไม่มีในภาษาไทยครับ พอเราออกเสียงไม่ได้ เราก็เลยออกเสียง ฤ เป็น ริ/รึ/เรอะ แทน กะว่านี่ใกล้เคียงเสียงเดิมแล้วสำหรับหูเรา
2. เสียงเดิมในภาษาเรามันหายไป
ในภาษาตระกูลไท-ไต-ไทยของเรา เมื่อก่อนนี้มีเสียงอื่นที่ตอนนี้เราไม่ได้ใช้แล้ว ออกเสียงกันไม่เป็นแล้วครับ เช่น
ฃ/ฅ เมื่อก่อนออกเสียงในลำคอ (คงจะคล้ายๆ กับเสียง ch ของสก๊อตหรือเยอรมันมั้งครับ) ตอนนี้ออกเหมือน ข/ค
ญ เมื่อก่อนออกเสียงขึ้นจมูก ตอนนี้ออกเสียงเหมือน ย (ในภาษาถิ่นหลายถิ่นยังออกขึ้นจมูกอยู่ครับ เช่นภาษาอีสาน)
สระ ใอ เมื่อก่อนออกเสียง อะ+อึ ตอนนี้ออกเสียง อะ+อิ แบบเดียวกับสระไอ
3. รูปสระบางรูปเป็นรูปย่อหรือรูปซ้ำของเสียงอื่นครับ เช่น
สระอำ เป็นเสียง อะ+ม.สะกด ถ้าเขียนในรูปตัวสะกดจะเขียนได้ว่า อัม (ออกเสียงเหมือนกัน คือซ้ำกัน)
สระไอ เป็นเสียง อะ+อิ ถ้าเขียนในรูปตัวสะกดจะเขียนได้ว่า อัย
(นอกประเด็นหน่อย สระเอา เป็นเสียง อะ+อุ แต่เขียนในรูปตัวสะกดไม่ได้ เพราะ อัว เราอ่านเป็นเสียง อุ+อะ ไปแล้ว เลยไม่ซ้ำกับใคร)
ตอนนี้นึกออกแค่นี้ครับ
ความคิดเห็นที่ 1
จริงๆ แล้ว อักษร ษ ส ศ ออกเสียงไม่เหมือนกัน เพราะมาจากบาลีสันสกฤต
จะต้องใช้ลิ้นกับฟันช่วยในการออกเสียง แต่คนไทยไม่ชินในการใช้เสียง Voice
หรือการใช้ลิ้นหรือฟันในการออกเสียง เสียงที่ได้จึงออกมาเหมือนกัน คือ ส
สมัยนี้ ร ล ก็เช่นกัน ไม่ใช่ทุกคนจะออกเสียงได้ดี นับวันจะออกเสียงเหมือนกันเข้าไปทุกที
แต่อันนี้จะโทษคนไม่ได้เพราะคนที่ทำไม่ได้มันก็ไม่ได้จริงๆตั้งแต่เกิดแล้ว (ผมก็ทำไม่ได้)
จะต้องใช้ลิ้นกับฟันช่วยในการออกเสียง แต่คนไทยไม่ชินในการใช้เสียง Voice
หรือการใช้ลิ้นหรือฟันในการออกเสียง เสียงที่ได้จึงออกมาเหมือนกัน คือ ส
สมัยนี้ ร ล ก็เช่นกัน ไม่ใช่ทุกคนจะออกเสียงได้ดี นับวันจะออกเสียงเหมือนกันเข้าไปทุกที
แต่อันนี้จะโทษคนไม่ได้เพราะคนที่ทำไม่ได้มันก็ไม่ได้จริงๆตั้งแต่เกิดแล้ว (ผมก็ทำไม่ได้)
แสดงความคิดเห็น
ทำไมต้องมีตัวอักษรมากมายในภาษาไทย ทั้งที่มีการออกเสียงไม่ต่างกัน
ตามหัวข้อเลยค่ะ ทำไมต้องมีอักษรซ้ำกัน ทั้งๆที่มีเสียงที่เหมือนกัน เช่น ข,ฃ ค,ฅ ษ,ส,ศ ฯลฯ
ขอบคุณสำหรับความร่วมมือนะคะ