โตแล้ว จะรีวิวยังไงก็ได้ 13
The Imitation Game | เครื่องจักรคนนี้ก็มีหัวใจ
(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
ในบางตำรา เครื่องจักร หมายถึงสิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงมนุษย์ เป็นสิ่งซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจ - ผมขอเห็นต่างจากตำราเล่มนั้น
เพราะสิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้น ล้วนมีส่วนประกอบสำคัญคือลมหายใจของผู้สร้าง แล้วจะบอกว่ามันไม่มีชีวิตได้อย่างไรกัน
The Imitation Game ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงของอลัน ทูริ่ง นักคณิตศาสตร์ผู้สร้างเครื่องถอดรหัสลับอินิกมาของกองทัพนาซีได้สำเร็จ ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่แทนที่เขาและพรรคพวกจะได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญในฐานะวีรบุรุษสงคราม รัฐบาลอังกฤษกลับสั่งให้ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ ต่อมาทูริ่งถูกตั้งข้อหาอนาจารเนื่องจากไปยุ่งเกี่ยวกับผู้ชายขายบริการ และเนื่องด้วยกฎหมายในสมัยนั้น โฮโมเซ็กซ์ชวลถือเป็นเรื่องต้องห้ามและผิดกฎหมาย อดีตฮีโร่ผู้ช่วยชีวิตคนได้นับสิบๆล้าน เลยต้องกลายเป็นผู้ซึ่งไม่มีที่ยืนในสังคม
หน้าหนังถูกฉาบด้วยเรื่องราวของ ‘ทีมงานที่รับหน้าที่สร้างเครื่องถอดรหัสลับอินิกมาของนาซีเพื่อเอาชนะสงคราม’ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไปไกลกว่าหนังชีวประวัติบุคคลสำคัญทั่วไปมากนัก
ประเด็นหนึ่งซึ่งใหญ่มาก และหนังก็ถ่ายทอดเรื่องนี้ออกมาอย่างชัดเจน นั่นคือประเด็นของความเป็นโฮโมเซ็กซ์ชวล – ผ่านตัวของอลัน ทูริ่ง
ในสมัยก่อนนั้น อังกฤษ มีกฎหมายห้ามมิให้คนมีรสนิยมทางเพศแบบโฮโมเซ็กซ์ชวล หรือก็คือเป็นการบังคับไม่ให้เรารักคนที่มีเพศภาพเดียวกันกับเรา (เกย์ ทอม ดี้) และจะมีบทลงโทษที่รุนแรงมาก อย่างในสมัยกลาง ผู้ที่รักเพศเดียวกันจะต้องถูกลงโทษด้วยวิธีแขวนคอ แม้ต่อมาวิธีการดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปเพราะมันแลดูป่าเถื่อนเกินไป แต่กระนั้นการรักคนเพศเดียวกันก็ยังถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายอังกฤษอยู่ดี (ในสมัยนั้น) ซึ่งหากมองให้ลึกซึ้ง นี่เป็นเรื่องของรสนิยมความชมชอบส่วนบุคคล ถือเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ไม่ใช่หรือ
เราจะรักใครมันก็เป็นสิทธิ์ของเราไม่ใช่หรือ – หนังอาจต้องการสื่อสารในประเด็นคำถามนี้
นอกจากที่ตัวกฎหมายจะมีบทลงโทษที่รุนแรงชัดเจนแล้ว สถานะของโฮโมเซ็กซ์ชวลในสังคมอังกฤษ ณ เวลานั้น ก็ยังถูกมองไม่ต่างไปจากตัวประหลาด, สิ่งแปลกปลอม หรือพวกโรคจิตผิดมนุษย์ เกย์ในสมัยก่อนจึงไม่กล้าและไม่อาจเปิดเผยตัวตนและรสนิยมของตนได้เลย – ซึ่งเมื่อเรามองไปยังฟากฝั่งของนาซี ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอย่างโหดร้าย ไม่เลือกหน้า ใครเกิดมาเป็นคนยิวในสมัยนั้นก็ถือว่ามีความผิด และเป็นปิศาจร้ายที่ต้องกำจัดทิ้งเสีย ไปโดยอัตโนมัติ (สำหรับพวกนาซี)
มันก็แทบไม่ต่างไปจากสายตาของคนอังกฤษที่มองเกย์เลย
แต่แม้สายตาชาวบริติชนับล้านๆคู่จะมองว่าโฮโมเซ็กซ์ชวลคือพวกวิปริตผิดเพศ ก็ยังมีสายตาอยู่หนึ่งคู่ที่ไม่ได้มองอย่างนั้น – ผมกำลังหมายถึงโจน คลาร์ก หญิงสาวหนึ่งเดียวในทีมสร้างเครื่องถอดรหัส ซึ่งเกือบจะได้แต่งงานกับทูริ่ง – เธอคือตัวละครที่สะท้อนภาพลักษณ์ของคนยุคใหม่ ที่พร้อมจะยอมรับการมีอยู่ของโฮโมเซ็กซ์ชวล ไม่ได้มองคนเหล่านี้ว่าประหลาดแต่อย่างใด กลับเข้าใจ และยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถใช้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยาร่วมกับโฮโมเซ็กซ์ชวลได้อีกด้วย (สะท้อนรูปแบบความสัมพันธ์หนึ่งซึ่งเริ่มพบได้มากขึ้นแล้วในปัจจุบัน)
นอกจากนั้น การมีตัวตนอยู่ของคลาร์ก ยังตอกย้ำถึงการถูกจำกัดซึ่งสิทธิเสรีภาพ โดยใช้เพศสภาพเป็นตัวตัดสินได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ผู้หญิงในสมัยนั้น ยังไม่ได้ถูกมองว่าเท่าเทียมกับผู้ชายเหมือนในตอนนี้ มันจึงมีข้อบังคับและกฎเกณฑ์ทางสังคมมากมายมาบีบรัด เช่น เธอต้องแต่งงานและเป็นแม่บ้าน คอยดูแลสามีและลูก – ดังนั้นการที่เธอยอมโกหก เพื่อจะได้มาทำงานกับทูริ่ง (ซึ่งอาจเพราะเธอชอบพอกับทูริ่ง นั่นอีกเรื่อง) ก็ยิ่งตอกย้ำความคิดในเชิงขบถของเธอมากขึ้นไปอีก
โจน คลาร์กเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของทีม และเป็นคนที่เปิดมุมมองใหม่ๆให้แก่ทูริ่ง สอนให้เขารู้จักการเอาใจใส่คนรอบข้าง สอนให้เข้าใจคำว่าทีมเวิร์ก และแสดงให้ทูริ่งเห็นในความรักแท้ที่ไม่ต้องการการรักตอบ – แม้ว่าคลาร์กอาจจะไม่ใช่แรงผลักดันหลัก แต่เธอก็มีส่วนทำให้ทูริ่งสร้างเครื่องถอดรหัสที่ชื่อว่า ‘คริสโตเฟอร์’ ได้สำเร็จ
แล้วอะไรคือแรงผลักดันหลักที่ว่าล่ะ
‘คริสโตเฟอร์’ คือชื่อของเพื่อนชายในวัยเด็กของทูริ่ง – เป็นรักแรก ที่ไม่สมหวัง และฝังใจทูริ่งตลอดมา – การที่เขาตั้งชื่อให้กับเครื่องถอดรหัสเป็นชื่อเดียวกันนี้ อาจเป็นการแสดงออกและเทิดทูนซึ่งความรักของเขาที่มีต่อคริสโตเฟอร์ตัวจริง แต่กระนั้นมันก็ยังไม่ใช่แรงผลักดันหลัก (รวมถึงก็ไม่ใช่เรื่องการช่วยให้ชาติของตนเอาชนะสงครามด้วย)
ส่วนตัวผมคิดว่า แรงผลักที่แท้จริง อาจจะเป็นการพิสูจน์ให้สังคมได้เห็นว่า เขาสามารถทำให้เครื่องจักรซึ่งถูกตราหน้าในตอนต้นเรื่องว่าทำไปทำไม เสียเวลาเปล่าๆ และซึ่งแน่นอนว่าคือสิ่งซึ่งไม่มีชีวิต – ให้มีเลือดเนื้อจิตใจไม่ต่างไปจากมนุษย์ และสามารถทำในสิ่งที่เหนือความสามารถของมนุษย์ขึ้นมาได้สำเร็จ
เหมือนกับการที่เขาเป็นเกย์ – ทูริ่งอาจไม่สามารถกู่ร้องก้องตะโกนบอกได้ว่า ผมเป็นเกย์ ฉะนั้นการที่เขาสร้างเครื่องถอดรหัสนี้ได้สำเร็จ จึงอาจเป็นการบอกกล่าวเป็นนัยๆ ว่า เกย์ก็คือคน เหมือนกันกับพวกคุณๆท่านๆแหละครับ เข้าใจหรือยัง
ซึ่งกว่าที่เราจะเข้าใจก็ต้องรอเวลาถึง 50 ปี
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ ก็ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องถอดหัสชื่อคริสโตเฟอร์ที่ทูริ่งทุ่มเททั้งร่างกายและจิตวิญญาณสร้างขึ้นมานั่นแหละ
ซึ่งถ้ามันหมายถึงร่างกายจริงๆแล้วล่ะก็ ในนั้นก็ต้องมีหัวใจของเขาประกอบอยู่ด้วย
และทุกวันนี้หัวใจดวงนั้นก็ยังคงเต้นอยู่
PAGE |
โตแล้ว จะดูหนังเรื่องอะไรก็ได้ |
www.facebook.com/tohlaew
[วิจารณ์] The Imitation Game | เครื่องจักรคนนี้ก็มีหัวใจ (SPOIL)
The Imitation Game | เครื่องจักรคนนี้ก็มีหัวใจ
(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
ในบางตำรา เครื่องจักร หมายถึงสิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงมนุษย์ เป็นสิ่งซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจ - ผมขอเห็นต่างจากตำราเล่มนั้น
เพราะสิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้น ล้วนมีส่วนประกอบสำคัญคือลมหายใจของผู้สร้าง แล้วจะบอกว่ามันไม่มีชีวิตได้อย่างไรกัน
The Imitation Game ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงของอลัน ทูริ่ง นักคณิตศาสตร์ผู้สร้างเครื่องถอดรหัสลับอินิกมาของกองทัพนาซีได้สำเร็จ ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่แทนที่เขาและพรรคพวกจะได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญในฐานะวีรบุรุษสงคราม รัฐบาลอังกฤษกลับสั่งให้ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ ต่อมาทูริ่งถูกตั้งข้อหาอนาจารเนื่องจากไปยุ่งเกี่ยวกับผู้ชายขายบริการ และเนื่องด้วยกฎหมายในสมัยนั้น โฮโมเซ็กซ์ชวลถือเป็นเรื่องต้องห้ามและผิดกฎหมาย อดีตฮีโร่ผู้ช่วยชีวิตคนได้นับสิบๆล้าน เลยต้องกลายเป็นผู้ซึ่งไม่มีที่ยืนในสังคม
หน้าหนังถูกฉาบด้วยเรื่องราวของ ‘ทีมงานที่รับหน้าที่สร้างเครื่องถอดรหัสลับอินิกมาของนาซีเพื่อเอาชนะสงคราม’ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไปไกลกว่าหนังชีวประวัติบุคคลสำคัญทั่วไปมากนัก
ประเด็นหนึ่งซึ่งใหญ่มาก และหนังก็ถ่ายทอดเรื่องนี้ออกมาอย่างชัดเจน นั่นคือประเด็นของความเป็นโฮโมเซ็กซ์ชวล – ผ่านตัวของอลัน ทูริ่ง
ในสมัยก่อนนั้น อังกฤษ มีกฎหมายห้ามมิให้คนมีรสนิยมทางเพศแบบโฮโมเซ็กซ์ชวล หรือก็คือเป็นการบังคับไม่ให้เรารักคนที่มีเพศภาพเดียวกันกับเรา (เกย์ ทอม ดี้) และจะมีบทลงโทษที่รุนแรงมาก อย่างในสมัยกลาง ผู้ที่รักเพศเดียวกันจะต้องถูกลงโทษด้วยวิธีแขวนคอ แม้ต่อมาวิธีการดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปเพราะมันแลดูป่าเถื่อนเกินไป แต่กระนั้นการรักคนเพศเดียวกันก็ยังถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายอังกฤษอยู่ดี (ในสมัยนั้น) ซึ่งหากมองให้ลึกซึ้ง นี่เป็นเรื่องของรสนิยมความชมชอบส่วนบุคคล ถือเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ไม่ใช่หรือ
เราจะรักใครมันก็เป็นสิทธิ์ของเราไม่ใช่หรือ – หนังอาจต้องการสื่อสารในประเด็นคำถามนี้
นอกจากที่ตัวกฎหมายจะมีบทลงโทษที่รุนแรงชัดเจนแล้ว สถานะของโฮโมเซ็กซ์ชวลในสังคมอังกฤษ ณ เวลานั้น ก็ยังถูกมองไม่ต่างไปจากตัวประหลาด, สิ่งแปลกปลอม หรือพวกโรคจิตผิดมนุษย์ เกย์ในสมัยก่อนจึงไม่กล้าและไม่อาจเปิดเผยตัวตนและรสนิยมของตนได้เลย – ซึ่งเมื่อเรามองไปยังฟากฝั่งของนาซี ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอย่างโหดร้าย ไม่เลือกหน้า ใครเกิดมาเป็นคนยิวในสมัยนั้นก็ถือว่ามีความผิด และเป็นปิศาจร้ายที่ต้องกำจัดทิ้งเสีย ไปโดยอัตโนมัติ (สำหรับพวกนาซี)
มันก็แทบไม่ต่างไปจากสายตาของคนอังกฤษที่มองเกย์เลย
แต่แม้สายตาชาวบริติชนับล้านๆคู่จะมองว่าโฮโมเซ็กซ์ชวลคือพวกวิปริตผิดเพศ ก็ยังมีสายตาอยู่หนึ่งคู่ที่ไม่ได้มองอย่างนั้น – ผมกำลังหมายถึงโจน คลาร์ก หญิงสาวหนึ่งเดียวในทีมสร้างเครื่องถอดรหัส ซึ่งเกือบจะได้แต่งงานกับทูริ่ง – เธอคือตัวละครที่สะท้อนภาพลักษณ์ของคนยุคใหม่ ที่พร้อมจะยอมรับการมีอยู่ของโฮโมเซ็กซ์ชวล ไม่ได้มองคนเหล่านี้ว่าประหลาดแต่อย่างใด กลับเข้าใจ และยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถใช้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยาร่วมกับโฮโมเซ็กซ์ชวลได้อีกด้วย (สะท้อนรูปแบบความสัมพันธ์หนึ่งซึ่งเริ่มพบได้มากขึ้นแล้วในปัจจุบัน)
นอกจากนั้น การมีตัวตนอยู่ของคลาร์ก ยังตอกย้ำถึงการถูกจำกัดซึ่งสิทธิเสรีภาพ โดยใช้เพศสภาพเป็นตัวตัดสินได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ผู้หญิงในสมัยนั้น ยังไม่ได้ถูกมองว่าเท่าเทียมกับผู้ชายเหมือนในตอนนี้ มันจึงมีข้อบังคับและกฎเกณฑ์ทางสังคมมากมายมาบีบรัด เช่น เธอต้องแต่งงานและเป็นแม่บ้าน คอยดูแลสามีและลูก – ดังนั้นการที่เธอยอมโกหก เพื่อจะได้มาทำงานกับทูริ่ง (ซึ่งอาจเพราะเธอชอบพอกับทูริ่ง นั่นอีกเรื่อง) ก็ยิ่งตอกย้ำความคิดในเชิงขบถของเธอมากขึ้นไปอีก
โจน คลาร์กเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของทีม และเป็นคนที่เปิดมุมมองใหม่ๆให้แก่ทูริ่ง สอนให้เขารู้จักการเอาใจใส่คนรอบข้าง สอนให้เข้าใจคำว่าทีมเวิร์ก และแสดงให้ทูริ่งเห็นในความรักแท้ที่ไม่ต้องการการรักตอบ – แม้ว่าคลาร์กอาจจะไม่ใช่แรงผลักดันหลัก แต่เธอก็มีส่วนทำให้ทูริ่งสร้างเครื่องถอดรหัสที่ชื่อว่า ‘คริสโตเฟอร์’ ได้สำเร็จ
แล้วอะไรคือแรงผลักดันหลักที่ว่าล่ะ
‘คริสโตเฟอร์’ คือชื่อของเพื่อนชายในวัยเด็กของทูริ่ง – เป็นรักแรก ที่ไม่สมหวัง และฝังใจทูริ่งตลอดมา – การที่เขาตั้งชื่อให้กับเครื่องถอดรหัสเป็นชื่อเดียวกันนี้ อาจเป็นการแสดงออกและเทิดทูนซึ่งความรักของเขาที่มีต่อคริสโตเฟอร์ตัวจริง แต่กระนั้นมันก็ยังไม่ใช่แรงผลักดันหลัก (รวมถึงก็ไม่ใช่เรื่องการช่วยให้ชาติของตนเอาชนะสงครามด้วย)
ส่วนตัวผมคิดว่า แรงผลักที่แท้จริง อาจจะเป็นการพิสูจน์ให้สังคมได้เห็นว่า เขาสามารถทำให้เครื่องจักรซึ่งถูกตราหน้าในตอนต้นเรื่องว่าทำไปทำไม เสียเวลาเปล่าๆ และซึ่งแน่นอนว่าคือสิ่งซึ่งไม่มีชีวิต – ให้มีเลือดเนื้อจิตใจไม่ต่างไปจากมนุษย์ และสามารถทำในสิ่งที่เหนือความสามารถของมนุษย์ขึ้นมาได้สำเร็จ
เหมือนกับการที่เขาเป็นเกย์ – ทูริ่งอาจไม่สามารถกู่ร้องก้องตะโกนบอกได้ว่า ผมเป็นเกย์ ฉะนั้นการที่เขาสร้างเครื่องถอดรหัสนี้ได้สำเร็จ จึงอาจเป็นการบอกกล่าวเป็นนัยๆ ว่า เกย์ก็คือคน เหมือนกันกับพวกคุณๆท่านๆแหละครับ เข้าใจหรือยัง
ซึ่งกว่าที่เราจะเข้าใจก็ต้องรอเวลาถึง 50 ปี
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ ก็ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องถอดหัสชื่อคริสโตเฟอร์ที่ทูริ่งทุ่มเททั้งร่างกายและจิตวิญญาณสร้างขึ้นมานั่นแหละ
ซึ่งถ้ามันหมายถึงร่างกายจริงๆแล้วล่ะก็ ในนั้นก็ต้องมีหัวใจของเขาประกอบอยู่ด้วย
และทุกวันนี้หัวใจดวงนั้นก็ยังคงเต้นอยู่
PAGE | โตแล้ว จะดูหนังเรื่องอะไรก็ได้ | www.facebook.com/tohlaew