กรมอนามัยเตือนวัยทำงานสังเกต 3 อาการ สัญญาณเสี่ยงโรคออฟฟิศ ซินโดรม 'ปวดหลังเรื้อรัง - ปวดศีรษะเรื้อรัง - มือชา นิ้วล็อก' แนะ 7 วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน
5 ก.พ. 58 นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วัยทำงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือน และพบบ่อย คือ 1. ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอน ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย 2. ไมเกรน หรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และ 3. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือ พบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท และเส้นเอ็น จนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้
"หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรงจนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้ และอาการออฟฟิศ ซินโดรม ยังรวมไปถึงกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ และภูมิแพ้ จากการอยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศไม่สะอาด รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ และเครื่องพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานด้วย"
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การจะให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกาย และจิตใจ จึงควรใส่ใจจัดการสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพของคนทำงาน ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม จัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดห้องส้วมอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อีกทั้ง สถานประกอบกิจการยังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ส่วนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมในขณะทำงาน ได้แก่ 1. ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย 2. หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า 3. ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือ และแขน ทุก 1 ชั่วโมง 4. ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ 5. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ 6. ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้าง อย่างน้อยในตอนเช้า และพักกลางวัน และ 7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
จาก คมชัดลึก
3อาการเสี่ยง'ออฟฟิศซินโดรม'
5 ก.พ. 58 นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วัยทำงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Office syndrome) ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือน และพบบ่อย คือ 1. ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอน ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย 2. ไมเกรน หรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และ 3. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือ พบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท และเส้นเอ็น จนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้
"หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรงจนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้ และอาการออฟฟิศ ซินโดรม ยังรวมไปถึงกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ และภูมิแพ้ จากการอยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศไม่สะอาด รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ และเครื่องพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานด้วย"
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การจะให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกาย และจิตใจ จึงควรใส่ใจจัดการสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพของคนทำงาน ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม จัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดห้องส้วมอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อีกทั้ง สถานประกอบกิจการยังต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ส่วนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมในขณะทำงาน ได้แก่ 1. ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย 2. หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า 3. ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือ และแขน ทุก 1 ชั่วโมง 4. ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ 5. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ 6. ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้าง อย่างน้อยในตอนเช้า และพักกลางวัน และ 7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
จาก คมชัดลึก