สอบถามปรึกษาเรื่องกฏหมาย เกี่ยวกับรถยนตร์ชน หน่อยครับ

พอดีว่าเรื่องเกิดมาแล้วปีกว่าแล้วครับ แต่จะขอเล่าคราวๆ พี่ชายได้ขับรถยนต์(กระบะ)มาส่งผ้า แถวถนนเอกชัย แต่พอจังหวะจะกลับรถ
U-TURN เกิดรถชนกับคู่กรณี เป็นรถ Benz สองประตู T_T (ขอไม่เจาะลึกรายละเอียดนะครับเพราะมันผ่านไปปีกว่าแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าพี่ชายก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเลยยอมรับผิดทุกอย่าง )   หลังจากนั้นบริษัทประกันได้แจ้งเรียกค่าเสียหาย มาประมาณ 7 แสน แต่ทางพี่ชายด้วยอาชีพแล้ว ไม่สามารถจ่ายได้ บริษัทประกันเลย นำเรื่องขึ้นศาล เพื่อฟ้องร้อง  จนมาอาทิตย์ที่ผ่านมา พี่ชายก็ได้ไปขึ้นศาลแพ่งธนบุรี แต่ระหว่างรอขึ้น ฝ่ายกฏหมายของบริษัทประกันได้ ขอคุยเกลี่ยไกล่ ว่าถ้าเราไม่มีจ่าย ให้เลือกวิธีแรก   ส่วนวิธีสองถ้าไม่มีเงิน ไม่ควรขึ้นศาลให้ศาลพิพากษา เราจึงเลือกวิธีแรก

วิธีแรก  ให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทประกัน แจ้งต่อศาลว่าเราไม่มาตามนัด (ณ ตอนนั้นเรามาถึงศาลแล้ว) แล้วรอให้ศาลตัดสินคดีเอง แล้วฝ่ายกฏหมายค่อยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากพี่ชาย โดยถ้าเราไม่มีจ่าย บริษัทประกันก็เก็บเงินไม่ได้ ก็ปล่อยให้พี่ชายติดแบล็คลิส ด้านธุรกรรม หรือว่าถ้าวันหนึ่งพี่ชายหาเงินมาจ่ายเท่าไรก็ เสนอกับทนายว่าขอจบคดี โดยนำเงินมาจ่ายกับบริษัทประกัน โดยจะยินยอมหรือเปล่าก็ ณ ตอนนั้นเจรจากันอีกครั้ง

วิธีสอง ถ้าเราเข้าไปคุยกับศาลและให้ขอเจรจากับศาลว่าบริษัทประกันเรียกค่าเสียหาย เยอะจนเราไม่มีเงินจ่ายขอความเห็นใจว่าศาลจะลดให้ได้เท่าไรแล้ว ถ้าศาลสั่งให้ลดแล้ว เราจะสามารถจ่ายได้เท่าไร อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลอีกที แต่วิธีนี้ถ้าศาลพิจารณาแล้ว จะบังคับเราจ่าย เราก็ต้องจ่ายตามที่ศาลพิพากษา  

ผมจึงอยากสอบถามดังนี้ครับ
1.ทางพี่ชายได้เลือกวิธีแรกครับ แต่อยากทราบว่าจะเป็นไปอย่างที่ทหายความบอกหรือเปล่าครับ ถ้าพี่ชายไม่มีเงินจ่าย ไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง ทางเค้าก็จะทำอะไรพี่ชายไม่ได้ ทำได้แค่ติดแบร็คลิส  แล้วบริษัทประกันเค้าจะสามารถบังคับให้พ่อแม่จ่ายได้หรือเปล่าครับ  (พี่ชายอายุ 34 ปี)  

2. หลังจากนี้คดีจะเป็นไปในทางไหนอีกครับ อันนี้ถามแบบไม่รู้อะไรเลยครับ แล้วเราควรจะทำยังไงต่อครับ


*ปล.ด้วยความที่ฐานะการเงินของพี่ชาย ทำเกษตรกรรม หาเช้ากินค่ำ เลยทำให้เราไม่รู้จะตัดสินใจยังไง ถ้าเลือกวิธีที่สอง ถ้าศาลบังคับจ่าย ถึงตอนนั้นเราก็ไม่มีจะจ่ายและมากขนาดไหน เลยคิดว่าเลือกหนทางแรก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่