The Theory of Everything (2014)
1) ก่อนดูผมก็ได้ยินกระแสมาบ้างว่าบทมันไม่ค่อยโอเคเท่าไร แต่ไม่คิดว่าพอดูจริงแล้วบทมันจะเรียกว่า "โคตรแย่" แย่ในที่นี้คือเล่าชีวประวัติ '
สตีเฟน ฮอว์คิง' ได้ทื่อมาก เป็นเส้นตรงแบบจับยัดเหตุการณ์มาร้อยเป็นหนังยาวสองชั่วโมง เป็นความทื่อที่ไร้มิติ ไม่มีอะไรมารองรับแต่ละเหตุการณ์ เป็นบทหนังที่แย่มาก (ทันทีที่เขียนข้อแรกจบ รู้สึกเอะใจว่าหนังจะได้ชิงบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์ และมันก็ชิงจริง ๆ ด้วย ส่วนตัวค่อนข้างเซอไพรส์มาก)
2) เราไม่ได้คาดหวังอะไรจากหนังมากไปกว่าอยากสัมผัสด้านโรแมนติกของ 'เจน' (
Felicity Jones) หญิงสาวที่อยู่เคียงข้างคนรักที่ป่วยทุพพลภาพ แต่หนังไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ด้วยตัวบทหนัง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งคู่แต่งงานกันคือเลื่อนลอยไม่เห็นความสัมพันธ์ขั้นนั้นเลย ยิ่งช่วงเริ่มต้นชีวิตคู่ยากลำบากนี่มันไม่มีให้เห็นเลยว่าทำไมเจนถึงอยู่ดูแลเขา (แถมยังกระโดดข้ามสิ่งที่หมอบอกว่าจะฮอว์คิงจะตายใน 2 ปีไปขั้นมีลูกด้วยกันเลย) เริ่มต้นก็แย่แล้ว มาเริ่มดีตอนกลางเรื่องที่มีบุคคลที่สามเข้ามาในชีวิตของทั้งคู่ ซึ่งเป็นช่วงที่เจนเริ่มอึดอัดกับสภาพชีวิตตัวเอง เพียงแต่ว่าส่วนประกอบก่อนหน้านั้นมันถูกใส่มาแบบจับยัดโดยตลอดพอมาถึงฉากนี้มันก็เข็นไม่ขึ้นแล้ว
3) บทหนังแย่ ๆ นี่อยู่รอดได้ด้วยการแสดงของทั้ง '
เอ็ดดี้ เรดเมย์น' และ '
เฟลิซิตี้ โจนส์' จริง ๆ อย่างที่บอกว่าแต่ละฉากมันถูกจับยัดเข้ามาเรื่อย ๆ แบบไม่มีอะไรมารองรับเลย ดังนั้นการแสดงจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้คนดูคล้อยตามตัวละคร ซึ่งทั้งสองคนทำหน้าที่ส่วนการแสดงประสบความสำเร็จ
4) หนังพยายามออกจากสเกลการเป็นหนังรักด้วยการออกไปแตะด้านผลงานของฮอว์คิงให้คนดูที่ไม่รู้จักเขาได้สัมผัสถึงความอัจฉริยะของเขา แต่บอกเลยว่าเหลวเป๋วมาก จะออกไปเต็มตัวก็ไม่กล้าเพราะมันเป็นเรื่องจักรวาลวิทยาเข้าใจยาก จะไม่พูดถึงผลงานเลยก็ไม่ได้ พอด้านผลงานออกมาแบบผิวเผินไปรวมกับพาร์ทโรแมนติกอันย่ำแย่มันยิ่งฉุดหนังให้ลงเหวเร็วขึ้นอีก (คงมีแต่การแสดงที่ช่วยประคองเอาไว้)
5) พูดถึงการแสดงของ '
เอ็ดดี้ เรดเมย์น' อยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับเข้าชิงรางวัลแต่ยังไม่ถึงขั้นว้าวสำหรับผม เขาทำหน้าที่ได้ดีมาก ๆ ในการเลียนแบบกายภาพของฮอว์คิง แต่พอพูดถึงการถ่ายทอดอารมณ์แล้วเขาดีแต่ยังไม่โดดเด่นขนาดต้องทึ่งอะไร ซึ่งอาจจะมาจากหลายปัจจัยเช่นบทครึ่งหลังนี่เริ่มโฟกัสไปที่เจน รวมถึงบทหนังที่ย่ำแย่จนเขาทำได้เพียงแสดงประคองฉากนั้นให้จบ ๆ ไป (ปีนี้คนที่ทำให้ทึ่งได้ยังมีคนเดียวคือมาริยง กอตียาร์ ส่วนฝ่ายชายถ้าวัดกันที่การถ่ายทอดอารมณ์เพียว ๆ ยกให้สตีฟ คาเรลล์นำอยู่)
6) ตัววัตถุดิบสำหรับทำบทหนังค่อนข้างมีความนุ่มนวลเพราะสร้างมาจากหนังสือที่เขียนโดยเจน อดีตภรรยาของฮอว์คิง ในภาพรวมแล้วเราสัมผัสได้นะว่าเจนต้องรักสามีขนาดไหนถึงจะอยู่กับคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ยากลำบาก แล้วฮอว์คิงต้องเสียสละขนาดไหนถึงจะยอมเสียคนรักของตัวเองให้คนอื่นที่เหมาะสมเพราะอยากให้เธอได้ใช้ชีวิตที่ปกติ
7) อย่างไรก็ตามตัววัตถุดิบเดียวกันนี้ถ้าหากไม่ใช่การทำหนังคนที่ยังมีชีวิตอยู่มันคงจะเป็นด้านหม่นหมองพอสมควร เพราะเราจะได้เห็นทั้งประเด็นการหย่าร้าง สถานะการถูกพูดถึงในสังคม และการมีใจให้คนอื่นในขณะที่ตัวเองมีครอบครัวอยู่แล้ว ถึงกระนั้นมันก็น่าสนใจใช่ไหมที่วัตถุดิบชิ้นนี้นำมาถ่ายทอดเป็นหนังโรแมนติกได้ทั้งที่มันมีมุมเช่นนี้
8) คงไม่ต้องบอกว่า
The Theory of Everything คืออีกหนึ่งหนัง Oscar bait ที่มาทั้งสูตรหนังชีวประวัติแบบอนุรักษ์นิยมเล่าเรื่องทื่อ ๆ เป็นเส้นตรง พูดถึงการต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิต และส่วนตัวรู้สึกผิดหวังพอสมควรที่หนังคุณภาพแค่นี้มีชื่อในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การเปิดทางให้หนังนอมินีเพิ่มขึ้น มันควรจะเพิ่มหนังดีที่ไม่ใช่จริตกรรมการออสการ์มากกว่าจะเป็นหนังสูตรออสการ์แต่คุณภาพไม่ถึงขั้น
Director: James Marsh
book: Jane Hawking
screenplay: Anthony McCarten
Genre: biography, romance, drama
6/10
หนังโปรดของข้าพเจ้า:
https://www.facebook.com/MyFavouriteFilms
รีวิว The Theory of Everything บทหนังทื่อไร้มิติใด ๆ มารองรับ ยังดีว่าสองนักแสดงนำช่วยกันประคองหนังไว้ได้จนจบ
1) ก่อนดูผมก็ได้ยินกระแสมาบ้างว่าบทมันไม่ค่อยโอเคเท่าไร แต่ไม่คิดว่าพอดูจริงแล้วบทมันจะเรียกว่า "โคตรแย่" แย่ในที่นี้คือเล่าชีวประวัติ 'สตีเฟน ฮอว์คิง' ได้ทื่อมาก เป็นเส้นตรงแบบจับยัดเหตุการณ์มาร้อยเป็นหนังยาวสองชั่วโมง เป็นความทื่อที่ไร้มิติ ไม่มีอะไรมารองรับแต่ละเหตุการณ์ เป็นบทหนังที่แย่มาก (ทันทีที่เขียนข้อแรกจบ รู้สึกเอะใจว่าหนังจะได้ชิงบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์ และมันก็ชิงจริง ๆ ด้วย ส่วนตัวค่อนข้างเซอไพรส์มาก)
2) เราไม่ได้คาดหวังอะไรจากหนังมากไปกว่าอยากสัมผัสด้านโรแมนติกของ 'เจน' (Felicity Jones) หญิงสาวที่อยู่เคียงข้างคนรักที่ป่วยทุพพลภาพ แต่หนังไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ด้วยตัวบทหนัง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งคู่แต่งงานกันคือเลื่อนลอยไม่เห็นความสัมพันธ์ขั้นนั้นเลย ยิ่งช่วงเริ่มต้นชีวิตคู่ยากลำบากนี่มันไม่มีให้เห็นเลยว่าทำไมเจนถึงอยู่ดูแลเขา (แถมยังกระโดดข้ามสิ่งที่หมอบอกว่าจะฮอว์คิงจะตายใน 2 ปีไปขั้นมีลูกด้วยกันเลย) เริ่มต้นก็แย่แล้ว มาเริ่มดีตอนกลางเรื่องที่มีบุคคลที่สามเข้ามาในชีวิตของทั้งคู่ ซึ่งเป็นช่วงที่เจนเริ่มอึดอัดกับสภาพชีวิตตัวเอง เพียงแต่ว่าส่วนประกอบก่อนหน้านั้นมันถูกใส่มาแบบจับยัดโดยตลอดพอมาถึงฉากนี้มันก็เข็นไม่ขึ้นแล้ว
3) บทหนังแย่ ๆ นี่อยู่รอดได้ด้วยการแสดงของทั้ง 'เอ็ดดี้ เรดเมย์น' และ 'เฟลิซิตี้ โจนส์' จริง ๆ อย่างที่บอกว่าแต่ละฉากมันถูกจับยัดเข้ามาเรื่อย ๆ แบบไม่มีอะไรมารองรับเลย ดังนั้นการแสดงจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้คนดูคล้อยตามตัวละคร ซึ่งทั้งสองคนทำหน้าที่ส่วนการแสดงประสบความสำเร็จ
4) หนังพยายามออกจากสเกลการเป็นหนังรักด้วยการออกไปแตะด้านผลงานของฮอว์คิงให้คนดูที่ไม่รู้จักเขาได้สัมผัสถึงความอัจฉริยะของเขา แต่บอกเลยว่าเหลวเป๋วมาก จะออกไปเต็มตัวก็ไม่กล้าเพราะมันเป็นเรื่องจักรวาลวิทยาเข้าใจยาก จะไม่พูดถึงผลงานเลยก็ไม่ได้ พอด้านผลงานออกมาแบบผิวเผินไปรวมกับพาร์ทโรแมนติกอันย่ำแย่มันยิ่งฉุดหนังให้ลงเหวเร็วขึ้นอีก (คงมีแต่การแสดงที่ช่วยประคองเอาไว้)
5) พูดถึงการแสดงของ 'เอ็ดดี้ เรดเมย์น' อยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับเข้าชิงรางวัลแต่ยังไม่ถึงขั้นว้าวสำหรับผม เขาทำหน้าที่ได้ดีมาก ๆ ในการเลียนแบบกายภาพของฮอว์คิง แต่พอพูดถึงการถ่ายทอดอารมณ์แล้วเขาดีแต่ยังไม่โดดเด่นขนาดต้องทึ่งอะไร ซึ่งอาจจะมาจากหลายปัจจัยเช่นบทครึ่งหลังนี่เริ่มโฟกัสไปที่เจน รวมถึงบทหนังที่ย่ำแย่จนเขาทำได้เพียงแสดงประคองฉากนั้นให้จบ ๆ ไป (ปีนี้คนที่ทำให้ทึ่งได้ยังมีคนเดียวคือมาริยง กอตียาร์ ส่วนฝ่ายชายถ้าวัดกันที่การถ่ายทอดอารมณ์เพียว ๆ ยกให้สตีฟ คาเรลล์นำอยู่)
6) ตัววัตถุดิบสำหรับทำบทหนังค่อนข้างมีความนุ่มนวลเพราะสร้างมาจากหนังสือที่เขียนโดยเจน อดีตภรรยาของฮอว์คิง ในภาพรวมแล้วเราสัมผัสได้นะว่าเจนต้องรักสามีขนาดไหนถึงจะอยู่กับคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ยากลำบาก แล้วฮอว์คิงต้องเสียสละขนาดไหนถึงจะยอมเสียคนรักของตัวเองให้คนอื่นที่เหมาะสมเพราะอยากให้เธอได้ใช้ชีวิตที่ปกติ
7) อย่างไรก็ตามตัววัตถุดิบเดียวกันนี้ถ้าหากไม่ใช่การทำหนังคนที่ยังมีชีวิตอยู่มันคงจะเป็นด้านหม่นหมองพอสมควร เพราะเราจะได้เห็นทั้งประเด็นการหย่าร้าง สถานะการถูกพูดถึงในสังคม และการมีใจให้คนอื่นในขณะที่ตัวเองมีครอบครัวอยู่แล้ว ถึงกระนั้นมันก็น่าสนใจใช่ไหมที่วัตถุดิบชิ้นนี้นำมาถ่ายทอดเป็นหนังโรแมนติกได้ทั้งที่มันมีมุมเช่นนี้
8) คงไม่ต้องบอกว่า The Theory of Everything คืออีกหนึ่งหนัง Oscar bait ที่มาทั้งสูตรหนังชีวประวัติแบบอนุรักษ์นิยมเล่าเรื่องทื่อ ๆ เป็นเส้นตรง พูดถึงการต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิต และส่วนตัวรู้สึกผิดหวังพอสมควรที่หนังคุณภาพแค่นี้มีชื่อในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การเปิดทางให้หนังนอมินีเพิ่มขึ้น มันควรจะเพิ่มหนังดีที่ไม่ใช่จริตกรรมการออสการ์มากกว่าจะเป็นหนังสูตรออสการ์แต่คุณภาพไม่ถึงขั้น
Director: James Marsh
book: Jane Hawking
screenplay: Anthony McCarten
Genre: biography, romance, drama
6/10
หนังโปรดของข้าพเจ้า: https://www.facebook.com/MyFavouriteFilms