เราสามารถเปลี่ยนชื่อนามสกุลหรือตั้งชื่อลูก ด้วยเครื่องหมาย ๆ (ไม้ยมก) ได้ไหม

กระทู้คำถาม
ลองหาในเน็ต เกี่ยวกับกฎหมายการตั้งชื่อ ไม่ได้บอกว่าห้ามใช้ไม้ยมก หรือผมหาไม่เจอรึป่าวไม่รู้ ตกลงมันได้รึป่าว ถ้าไม่ได้เพราะอะไร

กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
1. ชื่อบุคคล เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะบุคคล ประกอบด้วยชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุล ( แต่คนไทยไม่นิยมชื่อรอง )                                                           1.1 ชื่อตัว เป็นชื่อประจำตัวบุคคลแต่ละคน ใช้บ่งชี้เฉพาะตัวบุคคลได้ แต่มิอาจซ้ำกัน                                                      
1.2 ชื่อรอง เป็นชื่อถัดจากชื่อตัว กฎหมายไม่บังคับใช้ชื่อรอง                                                      
1.3 ชื่อสกุล เป็นชื่อประจำวงศ์ตระกูล ใช้ร่วมกับชื่อตัว ทำให้สามารถบ่งชี้บุคคล และเฉพาะเจาะจงได้ดีขึ้น
   2. การตั้งชื่อตัว และชื่อรอง มีหลักเกณฑ์คือ                                                                                                                    
2.1 หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง                                                                                                           
- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินีหรือราชทินนาม                                                   
- ต้องไม่มีคำหรือความหมายที่หยาบคาย ต้องไม่มีเจตนาส่อทุจริต มีความหมายรู้ว่าเป็นชายหรือหญิง                                                                                                                                                                                               
- ผู้ที่เคยได้รับหรือได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
   3. การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง มีหลักเกณฑ์คือ                                                                                                                           
- มีเหตุสมควรไม่เป็นไปเพื่อการทุจริต ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล ชื่อเปลี่ยนเหมาะสม ไม่ยาวเกินไป ไม่เป็นภาษาต่างประเทศ ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง ให้ความยินยอม
- วิธีการ คือ ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ นายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติชื่อบุคคลก็จะอนุญาตและออกหนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อให้                                                                                         
   4. การตั้งชื่อสกุลมีหลักเกณฑ์ดังนี้                                                                                            
- ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี
- ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของบุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
- ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทาน หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
- ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย ไม่ยาวเกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่ในกรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล   
   5. การขอร่วมชื่อสกุล                                                                                                                                  
- ผู้เป็นเจ้าของชื่อสกุลเท่านั้นมีสิทธิ์ขอให้มีการร่วมใช้ชื่อสกุลได้ ทายาทไม่มีสิทธิ์                                                                    
  - เจ้าของชื่อสกุลคนแรกยื่นคำร้องพร้อมหนังสือสำคัญการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลและหนังสือยินยอม                                                                         
- การอนุญาตจะสมบูรณ์เมื่อนายทะเบียนออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่