สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
( ต่อ )
มีเคสนึงเป็นอุทาหรณ์ เจ๊คนนึงแกอายุสี่สิบกว่า บ่นกับผมว่าลูกแกจะ 10 ขวบแล้ว ยังอ่านเขียนหนังสือไม่คล่อง แถมวันๆ เอาแต่เล่นเกมในมือถือ ผมถามแกว่าแล้วทำไมคุณไม่สอนล่ะ? แกตอบว่า "ไม่ไหวอะ ทำงานกลับบ้านมาเย็นๆ เหนื่อย เครียด ขอระบายด้วยการเล่นเกมบนเฟสบุ๊คหน่อย" ผมก็ถามต่อว่าคุณรู้ไหม? เล่นเกมให้ลูกเห็นบ่อยๆ แถมเล่นนานๆ แล้วคุณจะไปบอกลูกให้เลิกเล่น หรือเล่นแต่พอดีได้ไง เจ๊แกก็ตอบว่า “ก็ไม่รู้สินะ คือมันเลิกไม่ได้ มันติดแล้ว” แล้วก็ย้ำแล้วย้ำอีกว่าตัวเองเครียด ( คือแกเป็น Single Mom ไง ทำงานราชการ สามีเลิกกันไปหลายปีแล้ว ) ทุกวันนี้ก็ยังคุยกันอยู่ ก็หวังว่าสักวันแกจะเปลี่ยนนิสัยได้ ลูกแกจะได้โตมาแบบมีอนาคตบ้าง
.
หมดหวังไหมครับ? พ่อแม่ผู้ปกครองแบบนี้มีเยอะในบ้านเรา ประเภทมือคีบบุหรี่สูดควันปุ๋ยๆ มือถือขวดเหล้ากระดกเมาแอ๋ให้ลูกเห็นทุกวัน แต่ปากสอนลูกว่าอย่าดูดบุหรี่นะลูก อย่ากินเหล้านะลูก มันไม่ดี มันคงจะสอนได้หรอกครับ!!!
.
เมื่อหวังกับบทบาทของครอบครัวไม่ได้ ก็ต้องมาหวังกันที่ครูหรือโรงเรียนนี่แหละครับ พ่อแม่ผู้ปกครองไทยพาลูกมาส่งโรงเรียน แต่มักไม่ติดตามดูแลลูกไปตลอด ( ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นด้านการทำงาน หรือไม่ใส่ใจก็ตาม ) ว่ากันตรงๆ ก็คือเอาลูกหลานมาฝากครูเลี้ยงแทนนั่นแหละ ให้สอนหนังสือด้วย อบรมบ่มนิสัยด้วย ถ้าครอบครัวไหนปลูกฝังระเบียบวินัยตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่ทำเป็นแบบอย่างให้ดูทุกวันมาก่อนจากที่บ้านแล้ว ไม้เรียวก็คงไม่จำเป็น แค่คำพูดเล็กๆ น้อยๆ ก็เพียงพอ แต่ครอบครัวไทยอีกมากคงไม่ได้ทำแบบนี้
.
อย่าลืมว่าเด็กก็มีสังคมของเด็กนะครับ ไม่ต่างจากสังคมผู้ใหญ่หรอก บางคนไม่มีความคิดที่จะทำผิดกฎหมาย ยังไงเขาก็จะไม่ทำ แต่บางคนนอกจากจะมีกฎหมายแล้ว ต้องใช้มาตรการมาควบคุมบังคับอย่างเข้มงวด ไม่งั้นก็จะหาทางละเมิดกฏหมายกันตลอด แล้วถ้าคนละเมิดกฎหมายไม่ถูกลงโทษ คนอื่นๆ ก็จะเอาอย่างบ้าง ท้ายที่สุดก็เลียนแบบกันไปหมด ทุกวันนี้ การสอบตกติด "0 ร มส" กลายเป็นเรื่องขำๆ ไปแล้ว จากเมื่อก่อนใครๆ ก็ไม่อยากตก คะแนนเก็บนี่ทุกคนต้องคว้าให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่เหนื่อยตอนสอบ แล้วถ้าตกนี่ก็ต้องรีบหาทางซ่อมให้ผ่านให้ไวที่สุด เรียกว่าต้องหาทางไปดักรอครู ทุกที่ ทุกเวลา จนบางทีอดบ่นไม่ได้ว่า “’จารย์ครับ..’จารย์จะเล่นตัวไปถึงไหนครับ รีบๆ ให้งานผมซ่อมเถอะ” แถมถ้าใครปล่อยไว้นานแล้วค่อยมาซ่อม มีโอกาสโดนฝ่ายปกครองหวดก้นแถมอีกด้วย
.
มาดูสมัยนี้สิครับ ครูต่างหากที่ต้องไปตามเด็กมาซ่อม ตามแล้วตามอีกก็ไม่ยอมมา แถมถ้าให้ตก อาจมีผลต่อการประเมินโรงเรียนอีก ก็เลยให้ตกไม่ได้ แล้วก็ต้องให้ผ่านไปแบบงงๆ หรือพอห้ามตีเด็ก แต่ให้มาตัดคะแนน พักการเรียน ให้ออก แล้วไง? ออกก็ออก ก็ไม่ต้องแปลกใจที่จะมีคนจบมาด้วยเกรด 0.XX เพิ่มขึ้นในยุคนี้ ทั้งที่ยุคก่อนหน้า ต่อให้เรียนอ่อนยังไง เกรดก็ควรจะปริ่มๆ 2.00 เกินขึ้นมาเป็นอย่างต่ำ เพราะได้คะแนนเก็บช่วย และคะแนนเก็บจากการทำงานส่งให้ครบตามกำหนดนี่แหละ เป็น “กุศโลบาย” ที่ปลูกฝังนิสัย “รับผิดชอบ-ตรงต่อเวลา” ให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจบไปแล้วจะไปทำอะไร เป็นชนชั้นไหนก็ตาม
.
ถึงเป็นคนเก่งไม่ได้..อย่างน้อยๆ ให้เป็นคนดีก็ยังพอทน!!!
ทำไมผมถึงบอกว่ากฎระเบียบที่เข้มงวดจำเป็นกับการอบรมเด็ก เรื่องของเรื่องมันมาจากพัฒนาการทางสมองครับ สมองคนเรา อธิบายแบบหยาบๆ ไม่มีศัพท์วิชาการ อาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ “สมองส่วนอยาก” และ “สมองส่วนคิด” ( ใครที่สนใจในเชิงวิชาการ กรุณาไปหาอ่านเอาเอง ) สมองส่วนอยากจะบงการให้คนเราทำตามสัญชาตญาณความพอใจของตน ขณะที่สมองส่วนคิด จะทำหน้าที่ถ่วงดุล ไม่ให้ทำตามความอยากมากเกินไป
.
ปัญหาคือ สมอง 2 ส่วนนี้ ดันโตไม่พร้อมกัน สมองส่วนอยากโตเร็วกว่าตั้งแต่วัยเด็ก และสมบูรณ์ในวัยรุ่น ขณะที่สมองส่วนคิด กว่าจะโตสมบูรณ์ตามทัน ก็ต้องรอให้เลยวัยรุ่น หรืออายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเราๆ ท่านๆ ตอนเป็นวัยรุ่น ถึงทำอะไรกันแบบไม่ค่อยยั้งคิด บางคนโชคดีผ่านมาได้ไม่สูญเสียอะไรก็ดีไป แต่บางคนโชคร้าย บาดเจ็บ พิการ ล้มตายไปก็มี แล้วก็มาบ่นเสียใจภายหลัง บอกว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะไม่ทำเด็ดขาด
.
ยกตัวอย่างนะครับ เคยขี้เกียจกันไหม? ไม่ว่าจะเป็นขี้เกียจทำงาน ขี้เกียจออกกำลังกาย ฯลฯ ความขี้เกียจนี่เป็นอิทธิฤทธิ์ของสมองส่วนอยากนะครับ มันจะหาเหตุผลร้อยแปดมาโน้มน้าวไม่ให้เราทำสิ่งต่างๆ ที่เหนื่อยแต่ได้ผลดีในระยะยาว เช่น ผมตั้งโปรแกรมว่า ตอนเย็นหลังเลิกงาน จะต้องวิ่งให้ได้สัก 3 กิโลเมตร ก่อนจะไปกินข้าวเย็นแล้วอาบน้ำ แต่พอถึงตอนเลิกงานจริงๆ มันมาละครับ มีเสียงแว่วในหัว บอกว่า “เห้ย..เหนื่อยนะ” , “เห้ย..หิวนะ” , “น่า..ไม่วิ่งสักวันไม่ตายหรอก” ฯลฯ อะไรแบบนี้ ขณะที่สมองส่วนคิด จะปล่อยเสียงแว่วมาเช่นกัน “วันนี้ไม่วิ่งไม่ได้..ถ้าผลัดวันนี้ แล้วพรุ่งนี้เกิดมีธุระล่ะ ก็ไม่ได้ออกกำลังน่ะสิ” , “ไม่ได้ๆ..ถ้าเราหยุด คนที่มันดูถูกเราก็จะยิ่งเยาะเย้ยซ้ำ” ฯลฯ แล้วตอนนี้แหละครับ จุดตัดสินคือที่ผ่านมาคุณฟังสมองส่วนไหนมามากกว่ากัน? ถ้าคุณเคยชินกับสมองส่วนอยากมากกว่า คุณก็จะไม่วิ่ง แต่ถ้าคุณเคยชินกับสมองส่วนคิดมากกว่า คุณก็จะวิ่งไปจนครบตามที่กำหนดไว้
.
แต่เด็กเล็กๆ จนถึงวัยรุ่น สมองส่วนอยากมีพลังมากกว่า ลองดูเถอะครับ บอกให้ลูกหลานทำการบ้าน-ทำงานบ้าน พูดแล้วพูดอีกไม่ยอมลุกไปทำเสียที แต่พอเล่นเกม ดูทีวี ก็ติดหนึบกับมันแบบไม่ยอมไปทำอย่างอื่นเลย นี่ก็อิทธิฤทธิ์ของสมองส่วนอยาก ดังนั้นจึงต้องมีปัจจัยภายนอกมาช่วยประคับประคอง เสริมแรงสมองส่วนคิดที่ยังไม่มีกำลังเพียงพอ ซึ่งหากเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ปัจจัยนี้ก็คือการที่พ่อแม่กับครูประสานงานตลอดเวลา แต่หากเป็นประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเรา การติดอาวุธหรือก็คือไม้เรียวให้ครู ตรงนี้แหละครับคือปัจจัยที่จำเป็น
.
ถ้าจะห้ามครูตีเด็ก..ถามว่าครอบครัวไทยโดยรวม มีความพร้อมจะประสานงานกับครูได้ตลอดเวลา แบบสังคมฝรั่ง-สังคมญี่ปุ่นหรือเปล่า?
.
ฝากไว้ให้คิดครับ
.
………………………..
มีเคสนึงเป็นอุทาหรณ์ เจ๊คนนึงแกอายุสี่สิบกว่า บ่นกับผมว่าลูกแกจะ 10 ขวบแล้ว ยังอ่านเขียนหนังสือไม่คล่อง แถมวันๆ เอาแต่เล่นเกมในมือถือ ผมถามแกว่าแล้วทำไมคุณไม่สอนล่ะ? แกตอบว่า "ไม่ไหวอะ ทำงานกลับบ้านมาเย็นๆ เหนื่อย เครียด ขอระบายด้วยการเล่นเกมบนเฟสบุ๊คหน่อย" ผมก็ถามต่อว่าคุณรู้ไหม? เล่นเกมให้ลูกเห็นบ่อยๆ แถมเล่นนานๆ แล้วคุณจะไปบอกลูกให้เลิกเล่น หรือเล่นแต่พอดีได้ไง เจ๊แกก็ตอบว่า “ก็ไม่รู้สินะ คือมันเลิกไม่ได้ มันติดแล้ว” แล้วก็ย้ำแล้วย้ำอีกว่าตัวเองเครียด ( คือแกเป็น Single Mom ไง ทำงานราชการ สามีเลิกกันไปหลายปีแล้ว ) ทุกวันนี้ก็ยังคุยกันอยู่ ก็หวังว่าสักวันแกจะเปลี่ยนนิสัยได้ ลูกแกจะได้โตมาแบบมีอนาคตบ้าง
.
หมดหวังไหมครับ? พ่อแม่ผู้ปกครองแบบนี้มีเยอะในบ้านเรา ประเภทมือคีบบุหรี่สูดควันปุ๋ยๆ มือถือขวดเหล้ากระดกเมาแอ๋ให้ลูกเห็นทุกวัน แต่ปากสอนลูกว่าอย่าดูดบุหรี่นะลูก อย่ากินเหล้านะลูก มันไม่ดี มันคงจะสอนได้หรอกครับ!!!
.
เมื่อหวังกับบทบาทของครอบครัวไม่ได้ ก็ต้องมาหวังกันที่ครูหรือโรงเรียนนี่แหละครับ พ่อแม่ผู้ปกครองไทยพาลูกมาส่งโรงเรียน แต่มักไม่ติดตามดูแลลูกไปตลอด ( ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นด้านการทำงาน หรือไม่ใส่ใจก็ตาม ) ว่ากันตรงๆ ก็คือเอาลูกหลานมาฝากครูเลี้ยงแทนนั่นแหละ ให้สอนหนังสือด้วย อบรมบ่มนิสัยด้วย ถ้าครอบครัวไหนปลูกฝังระเบียบวินัยตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่ทำเป็นแบบอย่างให้ดูทุกวันมาก่อนจากที่บ้านแล้ว ไม้เรียวก็คงไม่จำเป็น แค่คำพูดเล็กๆ น้อยๆ ก็เพียงพอ แต่ครอบครัวไทยอีกมากคงไม่ได้ทำแบบนี้
.
อย่าลืมว่าเด็กก็มีสังคมของเด็กนะครับ ไม่ต่างจากสังคมผู้ใหญ่หรอก บางคนไม่มีความคิดที่จะทำผิดกฎหมาย ยังไงเขาก็จะไม่ทำ แต่บางคนนอกจากจะมีกฎหมายแล้ว ต้องใช้มาตรการมาควบคุมบังคับอย่างเข้มงวด ไม่งั้นก็จะหาทางละเมิดกฏหมายกันตลอด แล้วถ้าคนละเมิดกฎหมายไม่ถูกลงโทษ คนอื่นๆ ก็จะเอาอย่างบ้าง ท้ายที่สุดก็เลียนแบบกันไปหมด ทุกวันนี้ การสอบตกติด "0 ร มส" กลายเป็นเรื่องขำๆ ไปแล้ว จากเมื่อก่อนใครๆ ก็ไม่อยากตก คะแนนเก็บนี่ทุกคนต้องคว้าให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่เหนื่อยตอนสอบ แล้วถ้าตกนี่ก็ต้องรีบหาทางซ่อมให้ผ่านให้ไวที่สุด เรียกว่าต้องหาทางไปดักรอครู ทุกที่ ทุกเวลา จนบางทีอดบ่นไม่ได้ว่า “’จารย์ครับ..’จารย์จะเล่นตัวไปถึงไหนครับ รีบๆ ให้งานผมซ่อมเถอะ” แถมถ้าใครปล่อยไว้นานแล้วค่อยมาซ่อม มีโอกาสโดนฝ่ายปกครองหวดก้นแถมอีกด้วย
.
มาดูสมัยนี้สิครับ ครูต่างหากที่ต้องไปตามเด็กมาซ่อม ตามแล้วตามอีกก็ไม่ยอมมา แถมถ้าให้ตก อาจมีผลต่อการประเมินโรงเรียนอีก ก็เลยให้ตกไม่ได้ แล้วก็ต้องให้ผ่านไปแบบงงๆ หรือพอห้ามตีเด็ก แต่ให้มาตัดคะแนน พักการเรียน ให้ออก แล้วไง? ออกก็ออก ก็ไม่ต้องแปลกใจที่จะมีคนจบมาด้วยเกรด 0.XX เพิ่มขึ้นในยุคนี้ ทั้งที่ยุคก่อนหน้า ต่อให้เรียนอ่อนยังไง เกรดก็ควรจะปริ่มๆ 2.00 เกินขึ้นมาเป็นอย่างต่ำ เพราะได้คะแนนเก็บช่วย และคะแนนเก็บจากการทำงานส่งให้ครบตามกำหนดนี่แหละ เป็น “กุศโลบาย” ที่ปลูกฝังนิสัย “รับผิดชอบ-ตรงต่อเวลา” ให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจบไปแล้วจะไปทำอะไร เป็นชนชั้นไหนก็ตาม
.
ถึงเป็นคนเก่งไม่ได้..อย่างน้อยๆ ให้เป็นคนดีก็ยังพอทน!!!
ทำไมผมถึงบอกว่ากฎระเบียบที่เข้มงวดจำเป็นกับการอบรมเด็ก เรื่องของเรื่องมันมาจากพัฒนาการทางสมองครับ สมองคนเรา อธิบายแบบหยาบๆ ไม่มีศัพท์วิชาการ อาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ “สมองส่วนอยาก” และ “สมองส่วนคิด” ( ใครที่สนใจในเชิงวิชาการ กรุณาไปหาอ่านเอาเอง ) สมองส่วนอยากจะบงการให้คนเราทำตามสัญชาตญาณความพอใจของตน ขณะที่สมองส่วนคิด จะทำหน้าที่ถ่วงดุล ไม่ให้ทำตามความอยากมากเกินไป
.
ปัญหาคือ สมอง 2 ส่วนนี้ ดันโตไม่พร้อมกัน สมองส่วนอยากโตเร็วกว่าตั้งแต่วัยเด็ก และสมบูรณ์ในวัยรุ่น ขณะที่สมองส่วนคิด กว่าจะโตสมบูรณ์ตามทัน ก็ต้องรอให้เลยวัยรุ่น หรืออายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเราๆ ท่านๆ ตอนเป็นวัยรุ่น ถึงทำอะไรกันแบบไม่ค่อยยั้งคิด บางคนโชคดีผ่านมาได้ไม่สูญเสียอะไรก็ดีไป แต่บางคนโชคร้าย บาดเจ็บ พิการ ล้มตายไปก็มี แล้วก็มาบ่นเสียใจภายหลัง บอกว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะไม่ทำเด็ดขาด
.
ยกตัวอย่างนะครับ เคยขี้เกียจกันไหม? ไม่ว่าจะเป็นขี้เกียจทำงาน ขี้เกียจออกกำลังกาย ฯลฯ ความขี้เกียจนี่เป็นอิทธิฤทธิ์ของสมองส่วนอยากนะครับ มันจะหาเหตุผลร้อยแปดมาโน้มน้าวไม่ให้เราทำสิ่งต่างๆ ที่เหนื่อยแต่ได้ผลดีในระยะยาว เช่น ผมตั้งโปรแกรมว่า ตอนเย็นหลังเลิกงาน จะต้องวิ่งให้ได้สัก 3 กิโลเมตร ก่อนจะไปกินข้าวเย็นแล้วอาบน้ำ แต่พอถึงตอนเลิกงานจริงๆ มันมาละครับ มีเสียงแว่วในหัว บอกว่า “เห้ย..เหนื่อยนะ” , “เห้ย..หิวนะ” , “น่า..ไม่วิ่งสักวันไม่ตายหรอก” ฯลฯ อะไรแบบนี้ ขณะที่สมองส่วนคิด จะปล่อยเสียงแว่วมาเช่นกัน “วันนี้ไม่วิ่งไม่ได้..ถ้าผลัดวันนี้ แล้วพรุ่งนี้เกิดมีธุระล่ะ ก็ไม่ได้ออกกำลังน่ะสิ” , “ไม่ได้ๆ..ถ้าเราหยุด คนที่มันดูถูกเราก็จะยิ่งเยาะเย้ยซ้ำ” ฯลฯ แล้วตอนนี้แหละครับ จุดตัดสินคือที่ผ่านมาคุณฟังสมองส่วนไหนมามากกว่ากัน? ถ้าคุณเคยชินกับสมองส่วนอยากมากกว่า คุณก็จะไม่วิ่ง แต่ถ้าคุณเคยชินกับสมองส่วนคิดมากกว่า คุณก็จะวิ่งไปจนครบตามที่กำหนดไว้
.
แต่เด็กเล็กๆ จนถึงวัยรุ่น สมองส่วนอยากมีพลังมากกว่า ลองดูเถอะครับ บอกให้ลูกหลานทำการบ้าน-ทำงานบ้าน พูดแล้วพูดอีกไม่ยอมลุกไปทำเสียที แต่พอเล่นเกม ดูทีวี ก็ติดหนึบกับมันแบบไม่ยอมไปทำอย่างอื่นเลย นี่ก็อิทธิฤทธิ์ของสมองส่วนอยาก ดังนั้นจึงต้องมีปัจจัยภายนอกมาช่วยประคับประคอง เสริมแรงสมองส่วนคิดที่ยังไม่มีกำลังเพียงพอ ซึ่งหากเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ปัจจัยนี้ก็คือการที่พ่อแม่กับครูประสานงานตลอดเวลา แต่หากเป็นประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเรา การติดอาวุธหรือก็คือไม้เรียวให้ครู ตรงนี้แหละครับคือปัจจัยที่จำเป็น
.
ถ้าจะห้ามครูตีเด็ก..ถามว่าครอบครัวไทยโดยรวม มีความพร้อมจะประสานงานกับครูได้ตลอดเวลา แบบสังคมฝรั่ง-สังคมญี่ปุ่นหรือเปล่า?
.
ฝากไว้ให้คิดครับ
.
………………………..
แสดงความคิดเห็น
[Loser Voice] ห้ามใช้ไม้เรียว..ถามว่า “ครอบครัวไทย” พร้อมช่วย “ครูไทย” อบรม “เด็กไทย” หรือเปล่า?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
คุณภาพเด็กไทยต่ำลง..ไปไหนก็มีแต่คนบ่นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางวิชาการ ชนิดที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ บวกลบคูณหารง่ายๆ ไม่เป็น แต่จบ ป.6 มาได้ เท่านั้นยังไม่พอ นิสัยยังแย่ลงอีกต่างหาก แล้วก็ไปพาลโทษว่าครูสอนไม่ดี ปล่อยมาได้ยังไง?
.
ก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์นี้ได้ไงล่ะครับ? ครูทุกวันนี้ไม่มีทางเลือกสักอย่าง เด็กสอบตกซ้ำชั้นก็ไม่ได้ เอาละ..เข้าใจว่าการซ้ำชั้นจะทำให้เป็นปมด้อยของเด็ก ดังที่มีสำนวน “เด็กโข่ง” หรือ “ปู่เฝ้าโรงเรียน” ที่หมายถึงเด็กตกซ้ำชั้น จนอายุมากกว่าเพื่อนร่วมชั้นคนอื่นๆ จึงต้องยกเลิกไป ก็สมเหตุสมผลดี
.
แต่เมื่อซ้ำชั้นไม่ได้ ยุคต่อมา ครูก็ยังมีเครื่องมืออื่นเพื่อทำให้เด็กตั้งใจเรียน นั่นคือ “ไม้เรียว”!!!
.
ในอดีตครูใช้ไม้เรียวได้ เด็กรุ่นผมหรือรุ่นแก่กว่าผม เราโดนหวดกันมาแล้วทั้งนั้น เลยค่อนข้างกลัวกันไม่กล้านอกลู่นอกทาง อย่างตอนประถม ครูสั่งการบ้านนี่ต้องรีบทำเลยนะครับ ทำแล้วก็ต้องเช็คแล้วตรวจอีก ให้ท่องศัพท์ทั้งไทยและอังกฤษ หรือท่องสูตรคูณ เด็กรุ่นนั้นท่องกันแบบลืมตาย เพราะกลัวว่าท่องผิดจะถูกหวด แม้จะเป็นโรงเรียนเอกชนที่มุ่งหากำไรเข้าโรงเรียนก็ตาม ธรรมเนียมนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากโรงเรียนรัฐบาลเลย ( ผมเรียนประถมเอกชน อย่างวิชาภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษนี่ เขียนคำผิดกันทีนอกจากโดนหวดแล้ว ยังโดนให้คัดคำนั้นด้วยลายมือบรรจง 1-3 หน้ากระดาษสมุดด้วยนะครับ เรียกว่าจบมาที จำกันแม่นเลยล่ะ เพราะคัดกันจนมือหงิก )
.
หรือพอมาถึงมัธยม สมัยก่อนการ “โดดเรียน” เป็นสัญลักษณ์ในหมู่วัยรุ่นว่าเป็นเรื่อง “ใจถึง” อย่างหนึ่ง ( เยาวชนอ่านแล้วอย่าเอาเป็นแบบอย่างนะครับ ) ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? เพราะถ้าคุณโดดเรียน วันรุ่งขึ้นมาโรงเรียนก็โดนส่งเข้าห้องฝ่ายปกครอง แล้วก็โดนหวดก้นที่ห้องปกครองแหละครับ เสียงไม้เรียวนี่ดังออกมาข้างนอกห้องเลย ( สยองฝุดๆ ) รวมถึงพฤติกรรมนอกลู่นอกทางอื่นๆ ด้วย เช่น แอบสูบบุหรี่ในห้องน้ำ แอบเล่นไพ่ใบห้องเรียน ทะเลาะวิวาทชกต่อย แสดงท่าทีชู้สาวกันเกินงาม ( อย่างที่พี่แดน D2B ร้องในเพลงต่อหน้าฉันฯ นั่นแหละครับ “จะจับมือเธอเบาๆ สักครั้งฉันยังห้ามใจ ก็กลัวว่าใครจะมองไม่ดี” สมัยนั้นแค่จับมือกันระหว่างเด็กหนุ่มสาว ก็อาจโดนครูหวดก้นลายแล้วครับ )
.
แน่นอนล่ะว่าแม้ไม้เรียวจะไม่ได้กำจัดพฤติกรรมพวกนี้ออกไปจากโรงเรียนได้จริง เพราะเด็กก็ยังคงทำอยู่ แถมกลายเป็นเรื่องท้าทายกันในกลุ่มเพื่อนอีกต่างหาก แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้จิตใต้สำนึกของเด็ก ซึมซับรับรู้ว่าพฤติกรรมที่ว่ามานี่มันไม่ดีนะ ไม่ควรทำนะ ดังนั้นหากคิดจะทำ ก็จะต้องรับผลที่ตามมาด้วย และเอาจริงๆ เด็กกลุ่มที่มีวีรกรรมแสบๆ แบบนี้นี่แหละ ที่พอจบไปทำงาน ได้ดิบได้ดี ดันกลับมาไหว้ครู มาบอกครูว่าเพราะโดนหวดนี่แหละ ถึงทำให้วันนี้ได้ทำงานมีอนาคตมั่นคง
.
ตลกไหมล่ะครับ? ทั้งๆ ที่ตอนเรียน ตั้งฉายาล้อเลียนครู นินทากันลับหลังสนุกปาก แต่พอจบไปแล้ว กลับรู้สึกสำนึกบุญคุณครูคนเดียวกันซะงั้น!!!
.
พอยุคต่อมา ผู้หลักผู้ใหญ่บางยุคดันอยากก้าวหน้า อยากให้ไทยเป็นเสรีนิยม ( Liberal ) แบบฝรั่ง มองว่าการสอนแบบไทยๆ ล้าหลัง ต้องเลิกท่องจำ ( ถามว่าการเรียนขั้นพื้นฐาน ถ้าไม่ท่องจำไว้ก่อนให้เป็นคลังความรู้ในสมอง แล้วจะเอาเครื่องมือที่ไหนไปใช้ประยุกต์พลิกแพลงในการเรียนระดับสูงขึ้นไป ) ต้องห้ามใช้ไม้เรียว แล้วก็เปลี่ยนเป็นระบบ Child Center บ้าง ห้ามตีเด็กบ้าง 10 กว่าปีมานี้ ได้ผลเป็นอย่างไร ทุกท่านคงตอบได้
.
ปัญหาคือเราต้องกลับมาทบทวนกันจริงๆ จังๆ เสียที คือวาทกรรม “คนเหมือนกัน วิธีการสอนก็ควรเหมือนกัน” ประเภทเด็กฝรั่ง เด็กญี่ปุ่นไม่ต้องใช้ไม้เรียว ก็เรียนจบได้ ดีได้ เด็กไทยก็ต้องทำได้ มันเป็นความจริงหรือเปล่า? เพราะพอยกเลิกไม้เรียวแค่นั้นแหละ ผมได้ยินได้ฟังครูเก่าๆ หลายท่าน ที่ได้สอนเด็กทั้ง 2 ยุค ( ก่อน-หลังยกเลิกไม้เรียว ) มีแต่คนบอกว่าคุณภาพเด็กลดลงจริงๆ
.
ทีนี้ทำไมเด็กฝรั่ง-เด็กญี่ปุ่น ไม่ใช้ไม้เรียวแล้วอยู่มาได้ ดีได้ เก่งได้ล่ะ?
.
ย้อนกลับไปดูหน่วยย่อยที่สุด แต่สำคัญที่สุดอย่าง “ครอบครัว” นะครับ ระเบียบวินัยก็ดี นิสัยอันพึงประสงค์ต่างๆ ก็ดี มันไม่ได้มาเริ่มที่โรงเรียน แต่ต้องเริ่มที่ครอบครัว ถามว่าพ่อแม่ประเทศพวกนั้น สอนอะไรลูก? เอาเป็นว่าเวลาเราดูหนัง หรือดูสารคดีที่มาจากประเทศพวกนี้ จะเห็นอย่างนึง คือ “เมื่อมีลูก พ่อแม่จะต้องเตรียมตัวที่จะทำให้ตัวเองเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย” อย่างที่เห็นบ่อยๆ ในหนังฮอลลีวู้ด ตัวละครพ่อแม่ หากจะมีปากเสียงกัน จะพยายามไม่ให้ลูกเห็น แม้กระทั่งหย่ากันไปแล้ว หากกลับมาเจอลูกพร้อมหน้า ( ในสถานะอื่น ) ก็ต้องพยายามแสดงบทบาทในทางที่ดีต่อกัน เพื่อไม่ให้ลูกได้เห็นสิ่งที่เลวร้าย
.
คนรู้จักกันที่เคยไปอยู่ยุโรป ในประเทศที่คนพันติ๊ปมองว่าเป็นอุดมคตินี่แหละ ( เดาเอาเองละกันว่าที่ไหน? ) เล่าให้ผมฟัง ด้วยความที่มันเป็นคนไทย ติดนิสัยไทยๆ ไปถึงก็เปิดทีวีไปเรื่อย เจอหนังที่มีฉากและเนื้อหาค่อนข้างรุนแรง ก็นั่งดูไปโดยไม่คิดอะไร ปรากฏเจ้าของบ้านที่มันไปอยู่ด้วย มาเตือนเลยครับ บอกยูทำแบบนี้ไม่ได้นะ ตอนนี้ตอนกลางวัน เดี๋ยวเด็กมาเห็นมันไม่ดี ( เจ้าของบ้านมีลูกเล็ก อายุไม่กี่ขวบอยู่ด้วย ) ถ้าจะดู ไว้หลัง 4 ทุ่มก็แล้วกัน เด็กเข้านอนแล้ว
.
เห็นไหมครับ..นี่เรื่องเล็กๆ แต่ครอบครัวเขาใส่ใจกันจริงๆ ยังไม่นับความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับพ่อแม่ ในลักษณะ “เกาะติด” ครูกับพ่อแม่คุยกันตลอดเวลาว่าลูกหลานเขาอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง? แบบนี้พอมีจุดที่ส่อว่าจะนำไปสู่ปัญหา เขาก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่รอให้บานปลาย
.
ลองหันกลับมาดูเมืองไทยนะครับ เด็กไทยเกิดมาพบเห็นอะไรบ้าง? สิ่งที่เห็นบ่อยๆ คือ “เหล้า บุหรี่ ทีวี ความรุนแรงและความเหงา” ก็คือเลิกงานมาก็ตั้งวงกินเหล้า สูบบุหรี่ในบ้าน ปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรทัศน์ ( สมัยนี้ต้องรวมคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เข้าไปด้วย ) เมาหน่อยก็มีปากเสียงทะเลาะตบตีกันระหว่างสามีภรรยาให้ลูกเห็น และท้ายสุดก็คือทำงานหนัก ออกจากบ้านแต่เช้า กลับบ้านดึก เพราะต้องทำโอที ไม่งั้นไม่มีรายได้เพียงพอเลี้ยงครอบครัว แล้วก็ไม่ได้เจอหน้า ไม่ได้พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกันกับลูก
.
ผมไม่รู้นะครอบครัวคนรวยของไทยเป็นด้วยไหม? แต่ถ้าเป็นชนชั้นกลางกับรากหญ้า เชื่อเถอะครอบครัวส่วนใหญ่มีภาพแบบที่ผมว่านี่แหละ แล้วจะหวังอะไรได้ ยังไม่นับความเหลื่อมล้ำด้านแรงงานอีก ฝรั่งทำงาน 8 ชั่วโมง มีรายได้พอเลี้ยงตัว ญี่ปุ่นผู้ชายทำงานคนเดียว ถึงกลับดึกๆ ดื่นๆ แต่ผู้หญิงเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก รายได้พอเพียงไม่ลำบาก มันก็ยังพอไปได้ แต่บ้านเรา จะชายจะหญิง ทำงานต้องเกิน 8 ชั่วโมงทั้งนั้น แถมการลาการหยุด แม้กฎหมายจะเขียนสิทธิไว้ให้ แต่เอาจริงๆ ก็ยากอีก เพราะกระบวนการยุติธรรมบ้านเราค่อนข้างช้า ถ้าแรงงานงัดข้อกับนายจ้าง ถึงฟ้องคดีตอนท้ายอาจจะชนะ แต่ถามว่ากี่ปีล่ะ? แล้วในระหว่างนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร?
.
ฉะนั้นเลิกหวังบทบาทของครอบครัวไทยได้เลย และนี่ไม่ใช่เรื่องแปลก ประเทศกำลังพัฒนาที่ไหนก็เป็นกัน เพราะคนในประเทศพวกนี้ คือแรงงานราคาถูก ต้องทำงานใช้เวลามากๆ เพื่อแลกค่าแรงอยู่แล้ว!!!
( มีต่อ )