ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก หากเกิดที่ขั้วโลกเหนือจะเรียกว่า แสงเหนือ ส่วนขั้วโลกใต้จะเรียกว่า แสงใต้ ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ
หลายคนคงอยากรู้ว่า ออโรรา เกิดขึ้นที่ไหน บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก รูปไข่ที่ว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 3000 กิโลเมตร เมื่อเกิดออโรรารุนแรง รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลกตะวันตก ที่ตอนเหนืออาทิ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินเลนด์ ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์
สิ่งที่ควรทราบสำหรับผู้ที่สนใจไปชมแสงเหนือหรือ ออโรรา คือ จะปรากฏบ่อยครั้งตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึงเที่ยงคื ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปี และในปี พ.ศ. 2513 - 2515 อยู่ในช่วงเวลาที่พายุสุริยะรุนแรง เป็นโอกาสที่จะได้เห็นแสงออโรรามากที่สุด ถัดจากนี้ไปต้องรออีก 10 ปีเป็นอย่างน้อย โดยการเกิดจะลดลง 20-30% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป
ออโรราในภาพนี้ ถ่ายภาพจากเมืองทรอมโซ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศสวีเดนเมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2513 ในบางวันจะเห็นน้อย หรือไม่เห็นเลย บางวันเห็นปรากฏการณ์ชัดเจน เต็มท้องฟ้า ในภาพนี้ใช้เลนส์ Fisheye หรือเลนส์ตาปลา ยังเก็บภาพได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ปริมาณแสงออโรรา แม้ว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน ต้องใช้เลนส์รูรับแสงกว้างมากๆ เช่น F1.4, 2.0 หรือไม่แคบไปกว่า F2.8 เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่นานเกินไป และไม่ต้องใช้ความไวแสงสูงเกินไป ผมถ่ายภาพนี้ด้วยกล้องแคนนอน EOS 1D X เลนส์ Fisheye 15mm เปิดรูรับแสงกว้างสุด F2.8 ตั้งความไวแสง ISO 1600 ชัตเตอร์ 10 วินาที
ถ่ายภาพแสงเหนือ
หลายคนคงอยากรู้ว่า ออโรรา เกิดขึ้นที่ไหน บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก รูปไข่ที่ว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 3000 กิโลเมตร เมื่อเกิดออโรรารุนแรง รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลกตะวันตก ที่ตอนเหนืออาทิ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินเลนด์ ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์
สิ่งที่ควรทราบสำหรับผู้ที่สนใจไปชมแสงเหนือหรือ ออโรรา คือ จะปรากฏบ่อยครั้งตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึงเที่ยงคื ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปี และในปี พ.ศ. 2513 - 2515 อยู่ในช่วงเวลาที่พายุสุริยะรุนแรง เป็นโอกาสที่จะได้เห็นแสงออโรรามากที่สุด ถัดจากนี้ไปต้องรออีก 10 ปีเป็นอย่างน้อย โดยการเกิดจะลดลง 20-30% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป
ออโรราในภาพนี้ ถ่ายภาพจากเมืองทรอมโซ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศสวีเดนเมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2513 ในบางวันจะเห็นน้อย หรือไม่เห็นเลย บางวันเห็นปรากฏการณ์ชัดเจน เต็มท้องฟ้า ในภาพนี้ใช้เลนส์ Fisheye หรือเลนส์ตาปลา ยังเก็บภาพได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ปริมาณแสงออโรรา แม้ว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน ต้องใช้เลนส์รูรับแสงกว้างมากๆ เช่น F1.4, 2.0 หรือไม่แคบไปกว่า F2.8 เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่นานเกินไป และไม่ต้องใช้ความไวแสงสูงเกินไป ผมถ่ายภาพนี้ด้วยกล้องแคนนอน EOS 1D X เลนส์ Fisheye 15mm เปิดรูรับแสงกว้างสุด F2.8 ตั้งความไวแสง ISO 1600 ชัตเตอร์ 10 วินาที