สวัสดีครับ
ต่อจากกระทู้เดิม
http://ppantip.com/topic/31177726
spoil สำหรับใครขี้เกียจอ่านยาวนะครับ
(ปลาย2014-ปลาย2015 ใครไปประเทศใกล้ขั้วโลกเหนือ-ใต้ แล้วไม่มีเมฆบัง น่าจะได้เห็นแน่นอน เยอะกว่าปีก่อนๆอีก)
แสงเหนือที่godafossกับแสงสว่างจากภูเขาไฟbardarbunga
2014ผมมีโอกาสไปIcelandอีกรอบ เนื่องจากเพื่อนชวนไปถ่ายภูเขาไฟ
พวกเราก็ได้เจอแสงเหนือโดยไม่ได้ตั้งใจหลายวันอยู่ (คิดว่าดวงล้วนๆ 55)
หลังจากเข้าใจว่าใกล้หมดฤดูแสงเหนือแล้ว ผมก็ไม่ค่อยได้ติดตามการเคลื่อนไหวต่อ
พอได้เจอแสงเหนือมาติดๆกัน ถึงกับต้องเปิดกราฟเช็คประวัติ : P
เส้นสีน้ำเงินคือโอกาสที่ได้เจอแสงเหนือ ปรากฎว่า 2014-2015
จากที่คาดการไว้ในปี2011ว่าจะไม่ค่อยเหลือแล้ว กลับมาเยอะกว่าปีที่peakช่วง 2012-2013ซะอีก
สรุป (จากประสบการณ์ กับที่เห็นถามเข้ามาทางหลังไมค์บ่อยๆ)
-ใครที่มีโอกาสไปช่วงนี้ อยากให้ไปหลายๆวันหน่อย สัก5-7วันขึ้นไปจะดีมาก เพราะจะมีโอกาสวันฟ้าใสเพิ่มขึ้น (หน้าหนาวบางประเทศ หิมะตก5-6วันติด เกิดขึ้นได้เสมอ)
-2016-2017 ยังมีอยู่ แต่โอกาสจะลดลงไปเยอะเลย อาจจะต้องแพลนทริปเป็น10วันขึ้นไป
-ไม่จำเป็นต้องไปหน้าหนาว และไม่แนะนำด้วย เพราะจะเหนื่อยเปล่าๆ ขอแค่ช่วงที่ไปมีเวลากลางคืนเกิน8ชั่วโมงก็โอเคแล้วครับ
-ถ้าจำเป็นต้องไปหน้าหนาว อย่าลืมเผื่อเวลา ติดหิมะหรือติดลมแรง (ทำความเร็วได้ไม่เกิน30kmph)
-พยากรณ์แสงเหนือ ไม่สำคัญเท่าฟ้าใส
-พยากรณ์อากาศ มีโอกาสผิดพลาดได้ทุกวัน
สำหรับพวกผม ถึงกับสลับเวรกันตื่นมาเช็คฟ้าใสทุกสองชั่วโมง (ถ้าบ้าทำตามพวกเรา อย่าลืมตอนตั้งกล้องเช็คฟ้าใส ให้ดูทิศด้วย ว่าตรงกับจุดที่เราจะไปถ่ายหรือเปล่า) วิธีนี้เหนื่อยสุด แต่รับรองผล 55
-ถ้าฟ้าใสแล้ว แต่กราฟแสงเหนือไม่กระดิก ก็แล้วแต่ดวงละ (ผมไปรอเผื่อฟลุ๊ค แต่kp0นี่ยากมาก ส่วนkp1โอกาศประมาณ50 50)
-ในหลายๆครั้ง ถ้าวันนั้นแสงเหนือมา และจบไปแล้ว โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นอีกภายในคืนเดียวกัน
-สำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่านกระทู้เก่า ลองเข้าไปดูตรงหัวข้อ พยากรณ์ / โอกาส / ข้อมูลสำคัญสำหรับช่างภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ในการแพลนทริปได้ครับ
-สำหรับใครที่อยากจะไป Iceland แบบทัวร์ เผอิญผมมีโอกาสได้ไปเจอเจ้าถิ่นที่นั่น ได้เจอกันไม่นานแต่พวกเขาเทคแคร์เราดีมากเลยอยากจะแนะนำทัวร์ให้ครับ ติดต่อคุณไม้ได้เลย
https://www.facebook.com/pages/Arctic-Friendly-Tour/1413875662163641
สรุปเรื่องกล้อง
-กล้องcompact ที่เล็กที่สุดที่ถ่ายได้ น่าจะเป็น sony rx100 mk3 (f1.8สว่างพอ 24mmแคบไปหน่อยแต่พอใช้ได้)
-ดีขึ้นมาหน่อยน่าจะเป็น Olympus + 12mm f2
-กล้องชุดถัดมาที่แนะนำ sony nex/alpha + fisheye f2.8 หรือ fuji 17mm f2
-dslr crop (canon/nikon) ถ่ายกลางคืนไม่ได้ดีไปกว่าพวกmirrorless แต่มีเลนส์กว้างและไวแสงเป็นตัวเลือก (10mm f2.8)
-กล้องfullframeถ่ายกลางคืนที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นsony a7s ปัญหาคือไม่มีเลนส์ ต้องซื้อadapterมาใช้กับเลนส์mount nikon/canonแทน เลนส์ที่แนะนำ samyang 14mm f2.8 / samyang 24mm f1.4 / nikon 14-24mm f2.8
-ถ้าถ่ายRAWแล้วมาปรับแสงทีหลังได้จะดีที่สุด
-ถ้าไม่สะดวกใช้RAW ให้ปรับโหมด manual, iso 1600/3200, apertureที่ต่ำที่สุด, white balance 4000-5000 หรือ ‘white’ fluorescent (หรือdaylight) และถ้ากล้องมีให้ shift tint ไปทางสีเขียวด้วยก็จะสวยขึ้นครับ ส่วนspeed shutterแล้วแต่ความสว่างที่เราอยากได้เลย น่าจะอยู่ราวๆ 4-30วินาที
แนะนำวิธีตามถ่ายแสงเหนือ aurora (2015) + บันทึกการเดินทางไอซ์แลนด์ภาค2
ต่อจากกระทู้เดิม http://ppantip.com/topic/31177726
spoil สำหรับใครขี้เกียจอ่านยาวนะครับ
(ปลาย2014-ปลาย2015 ใครไปประเทศใกล้ขั้วโลกเหนือ-ใต้ แล้วไม่มีเมฆบัง น่าจะได้เห็นแน่นอน เยอะกว่าปีก่อนๆอีก)
แสงเหนือที่godafossกับแสงสว่างจากภูเขาไฟbardarbunga
2014ผมมีโอกาสไปIcelandอีกรอบ เนื่องจากเพื่อนชวนไปถ่ายภูเขาไฟ
พวกเราก็ได้เจอแสงเหนือโดยไม่ได้ตั้งใจหลายวันอยู่ (คิดว่าดวงล้วนๆ 55)
หลังจากเข้าใจว่าใกล้หมดฤดูแสงเหนือแล้ว ผมก็ไม่ค่อยได้ติดตามการเคลื่อนไหวต่อ
พอได้เจอแสงเหนือมาติดๆกัน ถึงกับต้องเปิดกราฟเช็คประวัติ : P
เส้นสีน้ำเงินคือโอกาสที่ได้เจอแสงเหนือ ปรากฎว่า 2014-2015
จากที่คาดการไว้ในปี2011ว่าจะไม่ค่อยเหลือแล้ว กลับมาเยอะกว่าปีที่peakช่วง 2012-2013ซะอีก
-ใครที่มีโอกาสไปช่วงนี้ อยากให้ไปหลายๆวันหน่อย สัก5-7วันขึ้นไปจะดีมาก เพราะจะมีโอกาสวันฟ้าใสเพิ่มขึ้น (หน้าหนาวบางประเทศ หิมะตก5-6วันติด เกิดขึ้นได้เสมอ)
-2016-2017 ยังมีอยู่ แต่โอกาสจะลดลงไปเยอะเลย อาจจะต้องแพลนทริปเป็น10วันขึ้นไป
-ไม่จำเป็นต้องไปหน้าหนาว และไม่แนะนำด้วย เพราะจะเหนื่อยเปล่าๆ ขอแค่ช่วงที่ไปมีเวลากลางคืนเกิน8ชั่วโมงก็โอเคแล้วครับ
-ถ้าจำเป็นต้องไปหน้าหนาว อย่าลืมเผื่อเวลา ติดหิมะหรือติดลมแรง (ทำความเร็วได้ไม่เกิน30kmph)
-พยากรณ์แสงเหนือ ไม่สำคัญเท่าฟ้าใส
-พยากรณ์อากาศ มีโอกาสผิดพลาดได้ทุกวัน
สำหรับพวกผม ถึงกับสลับเวรกันตื่นมาเช็คฟ้าใสทุกสองชั่วโมง (ถ้าบ้าทำตามพวกเรา อย่าลืมตอนตั้งกล้องเช็คฟ้าใส ให้ดูทิศด้วย ว่าตรงกับจุดที่เราจะไปถ่ายหรือเปล่า) วิธีนี้เหนื่อยสุด แต่รับรองผล 55
-ถ้าฟ้าใสแล้ว แต่กราฟแสงเหนือไม่กระดิก ก็แล้วแต่ดวงละ (ผมไปรอเผื่อฟลุ๊ค แต่kp0นี่ยากมาก ส่วนkp1โอกาศประมาณ50 50)
-ในหลายๆครั้ง ถ้าวันนั้นแสงเหนือมา และจบไปแล้ว โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นอีกภายในคืนเดียวกัน
-สำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่านกระทู้เก่า ลองเข้าไปดูตรงหัวข้อ พยากรณ์ / โอกาส / ข้อมูลสำคัญสำหรับช่างภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ในการแพลนทริปได้ครับ
-สำหรับใครที่อยากจะไป Iceland แบบทัวร์ เผอิญผมมีโอกาสได้ไปเจอเจ้าถิ่นที่นั่น ได้เจอกันไม่นานแต่พวกเขาเทคแคร์เราดีมากเลยอยากจะแนะนำทัวร์ให้ครับ ติดต่อคุณไม้ได้เลย
https://www.facebook.com/pages/Arctic-Friendly-Tour/1413875662163641
-กล้องcompact ที่เล็กที่สุดที่ถ่ายได้ น่าจะเป็น sony rx100 mk3 (f1.8สว่างพอ 24mmแคบไปหน่อยแต่พอใช้ได้)
-ดีขึ้นมาหน่อยน่าจะเป็น Olympus + 12mm f2
-กล้องชุดถัดมาที่แนะนำ sony nex/alpha + fisheye f2.8 หรือ fuji 17mm f2
-dslr crop (canon/nikon) ถ่ายกลางคืนไม่ได้ดีไปกว่าพวกmirrorless แต่มีเลนส์กว้างและไวแสงเป็นตัวเลือก (10mm f2.8)
-กล้องfullframeถ่ายกลางคืนที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นsony a7s ปัญหาคือไม่มีเลนส์ ต้องซื้อadapterมาใช้กับเลนส์mount nikon/canonแทน เลนส์ที่แนะนำ samyang 14mm f2.8 / samyang 24mm f1.4 / nikon 14-24mm f2.8
-ถ้าถ่ายRAWแล้วมาปรับแสงทีหลังได้จะดีที่สุด
-ถ้าไม่สะดวกใช้RAW ให้ปรับโหมด manual, iso 1600/3200, apertureที่ต่ำที่สุด, white balance 4000-5000 หรือ ‘white’ fluorescent (หรือdaylight) และถ้ากล้องมีให้ shift tint ไปทางสีเขียวด้วยก็จะสวยขึ้นครับ ส่วนspeed shutterแล้วแต่ความสว่างที่เราอยากได้เลย น่าจะอยู่ราวๆ 4-30วินาที