คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ผมคิดว่า ตรรกะ ก็คือ ความเป็นเหตุเป็นผล
ซึ่งความเป็นเหตุเป็นผลในที่นี้ มันไม่ได้มี "แบบ" ที่ชัดเจนว่าแบบใดจึงเรียกว่าเป็นเหตุเป็นผลจริงๆ หรือแบบใดถูกต้อง
เพราะตรรกะของคนกลุ่มหนึ่ง จะถูกห่อหุ้มด้วยบริบทแวดล้อมที่ตนเองอยู่รายรอบ
ทำให้ความเป็นเหตุเป็นผล จึงยังคงพันธนาการกับสังคมที่เราอยู่
อาจพอยกตัวอย่างได้บางเรื่อง
อาทิ เรื่องคุณแม่ที่ป้อนข้าวลูกบนรถไฟฟ้า
ฝ่ายหนึ่งก็ให้เหตุผลว่า ไม่เหมาะสม เพราะการป้อนข้าวในที่ปิด อาจทำให้เกิดกลิ่น
และในกรณีที่อาหารหกลงบนพื้น ก็จะกระทบต่อคนหมู่มาก
นี่ก็เป็นตรรกะในการตัดสินว่าไม่ควรป้อนข้าวบนรถไฟฟ้า
ในขณะที่อีกฝ่าย ให้เหตุผลว่า เพราะเด็กยังไม่มีความอดทนเพียงพอต่อความหิวโหย
และแม่ไม่มีเวลาเตรียมตัว จึงต้องอาศัยช่วงจังหวะเดินทางป้อนข้าวบนรถไฟฟ้า
ซึ่งการทำให้ลูกพ้นจากความหิวโหย ก็เป็นหน้าที่ที่ดีของแม่
นี่ก็เป็นตรรกะในการตัดสินว่าสามารถป้อนข้าวบนรถไฟฟ้าได้ (โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบ)
อันไหนคือเหตุผลที่ถูกล่ะครับ
บางครั้งตรรกะก็ชัดเจนจนทำให้ทุกคนเห็นพ้องว่ามันถูก หรือมันควรเป็นเช่นนั้น
แต่บางครั้ง ตรรกะก็ถูกฝูงชนพาไป
เหมือนเรื่องทำแท้ง ที่เป็นที่ถกเถียงกันว่าควรสนับสนุนการทำแท้งหรือไม่
บางประเทศก็สนับสนุน เพราะถือว่าสิทธิ์นั้นขึ้นกับแม่ และตัวอ่อนยังถือว่าไม่มีชีวิต
ในบางประเทศก็คัดค้าน บ้างก็บอกว่าตัวอ่อนที่จะก่อกำเนิดเป็นมนุษย์
ก็มีสิทธิในการอยู่รอดเป็นทารก
ดังนั้นจะบอกว่าใครกำหนดตรรกะ
ก็อาจจะอยู่ที่ผู้ปกครอง (ซึ่งสะท้อนจากกฎหมาย)
หรืออาจขึ้นกับสังคม (ซึ่งสะท้อนจากธรรมเนียม จารีต ประเพณี)
หรืออาจขึ้นกับความเชื่อทางศาสนา
หรือบางครั้งอาจขึ้นอยู่กับ Wisdom หรือสติปัญญาส่วนบุคคล ซึ่งแตกต่างกันไปในการจำแนกแยกแยะ
บางครั้ง การตัดสินใจที่เราเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุมีผลที่สุด
ก็อาจไม่ใช่การตัดสินใจที่ถูกต้องจริงๆ เพราะมนุษย์มักมีข้อจำกัดในการเลือกตัดสินใจที่จะทำ หรือเลือกจะเชื่ออะไรบางอย่าง
เนื่องจากเราไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะบอกได้ว่า การตัดสินใจนั้นๆ หรือการเลือกที่จะเชื่อตามตรรกะนั้นๆ
จะสมเหตุสมผลมากเพียงใด
บางครั้งเราต้องเลือกชั่งน้ำหนักถึงผลที่เราพอจะคาดหมายได้แบบเลาๆ หรือผลที่ก่อให้เกิดผลเสีย (แก่ตัวเรา หรือสังคม) น้อยที่สุด
และเรียกสิ่งนั้นว่าเรามี "ตรรกะ"
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
แก้คำผิดครับ
ซึ่งความเป็นเหตุเป็นผลในที่นี้ มันไม่ได้มี "แบบ" ที่ชัดเจนว่าแบบใดจึงเรียกว่าเป็นเหตุเป็นผลจริงๆ หรือแบบใดถูกต้อง
เพราะตรรกะของคนกลุ่มหนึ่ง จะถูกห่อหุ้มด้วยบริบทแวดล้อมที่ตนเองอยู่รายรอบ
ทำให้ความเป็นเหตุเป็นผล จึงยังคงพันธนาการกับสังคมที่เราอยู่
อาจพอยกตัวอย่างได้บางเรื่อง
อาทิ เรื่องคุณแม่ที่ป้อนข้าวลูกบนรถไฟฟ้า
ฝ่ายหนึ่งก็ให้เหตุผลว่า ไม่เหมาะสม เพราะการป้อนข้าวในที่ปิด อาจทำให้เกิดกลิ่น
และในกรณีที่อาหารหกลงบนพื้น ก็จะกระทบต่อคนหมู่มาก
นี่ก็เป็นตรรกะในการตัดสินว่าไม่ควรป้อนข้าวบนรถไฟฟ้า
ในขณะที่อีกฝ่าย ให้เหตุผลว่า เพราะเด็กยังไม่มีความอดทนเพียงพอต่อความหิวโหย
และแม่ไม่มีเวลาเตรียมตัว จึงต้องอาศัยช่วงจังหวะเดินทางป้อนข้าวบนรถไฟฟ้า
ซึ่งการทำให้ลูกพ้นจากความหิวโหย ก็เป็นหน้าที่ที่ดีของแม่
นี่ก็เป็นตรรกะในการตัดสินว่าสามารถป้อนข้าวบนรถไฟฟ้าได้ (โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบ)
อันไหนคือเหตุผลที่ถูกล่ะครับ
บางครั้งตรรกะก็ชัดเจนจนทำให้ทุกคนเห็นพ้องว่ามันถูก หรือมันควรเป็นเช่นนั้น
แต่บางครั้ง ตรรกะก็ถูกฝูงชนพาไป
เหมือนเรื่องทำแท้ง ที่เป็นที่ถกเถียงกันว่าควรสนับสนุนการทำแท้งหรือไม่
บางประเทศก็สนับสนุน เพราะถือว่าสิทธิ์นั้นขึ้นกับแม่ และตัวอ่อนยังถือว่าไม่มีชีวิต
ในบางประเทศก็คัดค้าน บ้างก็บอกว่าตัวอ่อนที่จะก่อกำเนิดเป็นมนุษย์
ก็มีสิทธิในการอยู่รอดเป็นทารก
ดังนั้นจะบอกว่าใครกำหนดตรรกะ
ก็อาจจะอยู่ที่ผู้ปกครอง (ซึ่งสะท้อนจากกฎหมาย)
หรืออาจขึ้นกับสังคม (ซึ่งสะท้อนจากธรรมเนียม จารีต ประเพณี)
หรืออาจขึ้นกับความเชื่อทางศาสนา
หรือบางครั้งอาจขึ้นอยู่กับ Wisdom หรือสติปัญญาส่วนบุคคล ซึ่งแตกต่างกันไปในการจำแนกแยกแยะ
บางครั้ง การตัดสินใจที่เราเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุมีผลที่สุด
ก็อาจไม่ใช่การตัดสินใจที่ถูกต้องจริงๆ เพราะมนุษย์มักมีข้อจำกัดในการเลือกตัดสินใจที่จะทำ หรือเลือกจะเชื่ออะไรบางอย่าง
เนื่องจากเราไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะบอกได้ว่า การตัดสินใจนั้นๆ หรือการเลือกที่จะเชื่อตามตรรกะนั้นๆ
จะสมเหตุสมผลมากเพียงใด
บางครั้งเราต้องเลือกชั่งน้ำหนักถึงผลที่เราพอจะคาดหมายได้แบบเลาๆ หรือผลที่ก่อให้เกิดผลเสีย (แก่ตัวเรา หรือสังคม) น้อยที่สุด
และเรียกสิ่งนั้นว่าเรามี "ตรรกะ"
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
แก้คำผิดครับ
แสดงความคิดเห็น
''ตรรกะ'' คือ? ใครเป็นคนกำหนดว่า มันผิด หรือถูก ?
ผมได้อ่านคอมเม้นหลายๆคอมเม้น
เกือบทุกๆห้อง มักจะมีการบอกว่า คนนั้น คนนี้ ''ตรรกะ''เพื้อนบ้างหละ
ผิดบ้างหล่ะ เลยอยากจะรู้ว่า จริงๆแล้ว ใช้อะไรกำหนด ใครกำหนด