เชื่อหรือไม่ว่าคนอเมริกันรู้จักมักคุ้นกับซอสศรีราชามานานแล้ว ซึ่งซอสนี้นอกจากจะมีในร้านอาหารและ grocery เอเชียเกือบทุกร้านแล้ว ยังมีขายใน Supermarket ของฝรั่งหลายที่อีกด้วย แต่ซอสศรีราชาที่คนอเมริกันคุ้นเคยนี้ไม่เหมือนของเมืองไทยซะทีเดียว รสชาติจะแปล่งกว่า กลมกล่อมน้อยกว่าของไทย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกเพราะมันไม่ได้เป็นของคนไทยหรือผลิตโดยคนไทยนั่นเอง
เรื่องมีอยู่ว่ามีชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ที่อเมริกาคนหนึ่ง ได้มีโอกาสไปลองลิ้มชิมรสซอสศรีราชาของแท้ที่เมืองไทยแล้วเกิดติดใจรสชาติอันเผ็ดร้อนแต่หอมละมุนของซอสศรีราชาบ้านเราเข้า เลยเกิดไอเดียทำซอสเผ็ดแบบเดียวกันขึ้นมาขายที่อเมริกาซะเลย วัตถุดิบที่ใช้ก็ง่ายๆ เช่น พริก เกลือ น้ำตาล ฯลฯ ลองผิดลองถูกก็ค้นพบส่วนผสมที่ลงตัว จึงเริ่มบรรจุขวดพื้นๆ ขาย และยังให้เกียรติใช้ชื่อเดียวกับต้นกำเนิดเลย คือ Sriracha โดยเริ่มขายให้กับกลุ่มผู้อพยพด้วยกันเองก่อน ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อนแต่แปลกใหม่ แตกต่างจาก Hot Sauce อื่นๆ ของที่นี่ ไม่นานซอส Sriracha เวอร์ชั่นนี้ก็ระบาดเหมือนไฟลามทุ่ง จากผลิตขายกันเองในครัวเรือนกลายเป็นต้องสร้างโรงงานกันไม่หวาดไม่ไหว รวยเละ
ทุกวันนี้ฝรั่งอเมริกันจึงรู้จักซอส Sriracha เป็นอย่างดี แต่น้อยคนที่จะรู้ถึงต้นกำเนิดและรสชาติดั้งเดิมของมัน ถึงวันนี้จะมีซอสศรีราชาจากไทยมาวางขายในตลาดเอเชียบ้าง แต่ฝรั่งก็คุ้นกับรสชาติแปล่งๆ ของซอส Sriracha (Made in America) ไปแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณผู้บุกเบิกท่านนั้นที่ทำให้ชื่อเสียงของซอส Sriracha ดังไปไกลถึงอเมริกา สร้างงานและรายได้มหาศาลแม้จะไม่ได้ตกอยู่กับคนไทยก็ตาม
ส่วนพวกเราคนไทยก็ได้แต่มองตาปริบๆ ซอสศรีราชาชื่อก็บอกอยู่ว่าของไทย อำเภอศรีราชาก็อยู่ในประเทศไทย แต่ซอสศรีราชาของไทยแท้กลับเสียทีให้กับของก็อปปี้ซะนี่
จริงๆ แล้วบ้านเรามีของดีมากมายซึ่งเป็นที่ต้องการของโลก ไม่เฉพาะสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ แต่รวมถึงทรัพยากรคน แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่างทำให้เราไม่สามารถนำของดีของเราไปสู่ตลาดโลกได้ สุดท้ายก็เบียดอัดกัน แข่งกัน ตัดคุณค่าหรือราคากันเองในประเทศ เสียโอกาสและพื้นที่ในตลาดโลก ยุคสมัยนี้เป็นยุค Globalization แล้ว ต้องขยับปรับตัวให้ดีโดยเฉพาะเรื่องทัศนคติ ความเชื่อหลายอย่างที่สั่งสอนกันมาก็ต้องละหรือปรับให้เข้ากับยุคสมัย
ว่าด้วยเรื่องซอสศรีราชา
เรื่องมีอยู่ว่ามีชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ที่อเมริกาคนหนึ่ง ได้มีโอกาสไปลองลิ้มชิมรสซอสศรีราชาของแท้ที่เมืองไทยแล้วเกิดติดใจรสชาติอันเผ็ดร้อนแต่หอมละมุนของซอสศรีราชาบ้านเราเข้า เลยเกิดไอเดียทำซอสเผ็ดแบบเดียวกันขึ้นมาขายที่อเมริกาซะเลย วัตถุดิบที่ใช้ก็ง่ายๆ เช่น พริก เกลือ น้ำตาล ฯลฯ ลองผิดลองถูกก็ค้นพบส่วนผสมที่ลงตัว จึงเริ่มบรรจุขวดพื้นๆ ขาย และยังให้เกียรติใช้ชื่อเดียวกับต้นกำเนิดเลย คือ Sriracha โดยเริ่มขายให้กับกลุ่มผู้อพยพด้วยกันเองก่อน ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อนแต่แปลกใหม่ แตกต่างจาก Hot Sauce อื่นๆ ของที่นี่ ไม่นานซอส Sriracha เวอร์ชั่นนี้ก็ระบาดเหมือนไฟลามทุ่ง จากผลิตขายกันเองในครัวเรือนกลายเป็นต้องสร้างโรงงานกันไม่หวาดไม่ไหว รวยเละ
ทุกวันนี้ฝรั่งอเมริกันจึงรู้จักซอส Sriracha เป็นอย่างดี แต่น้อยคนที่จะรู้ถึงต้นกำเนิดและรสชาติดั้งเดิมของมัน ถึงวันนี้จะมีซอสศรีราชาจากไทยมาวางขายในตลาดเอเชียบ้าง แต่ฝรั่งก็คุ้นกับรสชาติแปล่งๆ ของซอส Sriracha (Made in America) ไปแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณผู้บุกเบิกท่านนั้นที่ทำให้ชื่อเสียงของซอส Sriracha ดังไปไกลถึงอเมริกา สร้างงานและรายได้มหาศาลแม้จะไม่ได้ตกอยู่กับคนไทยก็ตาม
ส่วนพวกเราคนไทยก็ได้แต่มองตาปริบๆ ซอสศรีราชาชื่อก็บอกอยู่ว่าของไทย อำเภอศรีราชาก็อยู่ในประเทศไทย แต่ซอสศรีราชาของไทยแท้กลับเสียทีให้กับของก็อปปี้ซะนี่ จริงๆ แล้วบ้านเรามีของดีมากมายซึ่งเป็นที่ต้องการของโลก ไม่เฉพาะสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ แต่รวมถึงทรัพยากรคน แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่างทำให้เราไม่สามารถนำของดีของเราไปสู่ตลาดโลกได้ สุดท้ายก็เบียดอัดกัน แข่งกัน ตัดคุณค่าหรือราคากันเองในประเทศ เสียโอกาสและพื้นที่ในตลาดโลก ยุคสมัยนี้เป็นยุค Globalization แล้ว ต้องขยับปรับตัวให้ดีโดยเฉพาะเรื่องทัศนคติ ความเชื่อหลายอย่างที่สั่งสอนกันมาก็ต้องละหรือปรับให้เข้ากับยุคสมัย