คอลัมน์ คนเดินตรอก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ไฟล์แนบ 221115
ระยะนี้มีเหตุการณ์แปลก ๆ เกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการณ์การเงินในทวีปยุโรป เป็นต้นว่า เกิดวิกฤตการณ์ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียทลายลง เพราะราคาน้ำมันร่วงลงจากประมาณกว่า 115 เหรียญต่อบาร์เรลมาเหลือไม่ถึง 50 เหรียญต่อบาร์เรล และมีทีท่าว่าจะลดลงต่อไปอีก เนื่องจากน้ำมันและพลังงานอย่างอื่นเป็นสินค้าที่มีมูลค่ากว่าร้อยละ 68 ของมูลค่าการส่งออกของรัสเซีย เป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติของรัสเซีย เมื่อตลาดน้ำมันทรุดลง รัสเซียก็เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทันที ค่าเงินรูเบิลที่เคยมีค่าประมาณ 32-33 รูเบิลต่อดอลลาร์ก็ตกลงไปถึง 65-66 รูเบิลต่อดอลลาร์ ธนาคารกลางรัสเซียประกาศขึ้นดอกเบี้ยจาก 10.5 เปอร์เซ็นต์เป็นร้อยละ 17 ทันที
กรีซเป็นอีกประเทศที่มีปัญหาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง แก้ไม่หาย ทางการของกรีซต้องออกพันธบัตรระยะยาวขายเพื่อชดเชยการขาดดุลเรื่อยมา จนกรีซกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินในรูปเงินยูโรมากกว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีหนทางจะหยุดการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด หรือหยุดการมีหนี้ระหว่างประเทศที่มากขึ้นได้ พันธบัตรของรัฐบาลกรีซมีราคาต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะความเชื่อมั่นลดลง ทำให้ผลตอบแทนต่อการถือพันธบัตรกรีซหรือดอกเบี้ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเป็นภาระต่อรัฐบาลกรีซมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสถาบันการเงินประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปรับภาระถือพันธบัตรกรีซไม่ไหว โอกาสที่กรีซจะต้องออกจากเขตเงินยูโรมีสูงขึ้น และถ้ากรีซต้องออกจากยูโร กรีซก็ต้องสร้างเงินตราของตนขึ้นใหม่ และลดค่าลงให้อ่อนกว่าเงินยูโรเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ที่ถือพันธบัตรของกรีซก็คงต้องขาดทุนเป็นจำนวนมาก
มาบัดนี้กลับมีสถานการณ์ที่แปลกเกิดขึ้นอีกกับค่าเงินฟรังก์สวิสเนื่องจากตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011 เป็นต้นมา กว่า 3 ปีแล้วที่ธนาคารกลางสวิส หรือ Swiss National Bank ได้กำหนดเพดานค่าเงินฟรังก์สวิสไว้กับเงินยูโร ว่าค่าเงินฟรังก์สวิสจะไม่แข็งไปกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่าง ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ เงินเยน เงินหยวนและอื่น ๆ ค่าเงินฟรังก์สวิสก็แข็งขึ้นจนชนเพดานที่ 1.2 ฟรังก์ต่อหนึ่งยูโร
การที่จะไม่ให้เงินฟรังก์แข็งค่าไปกว่านี้ก็คือ ธนาคารแห่งชาติสวิสต้องนำเงินฟรังก์ออกมาซื้อเงินยูโรที่ไหลเข้ามาในตลาดสวิส เงินยูโรก็ยิ่งไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์ เพราะตลาดรู้ว่าค่าเงินฟรังก์ที่ทางการตรึงค่าเพดานไว้กับเงินยูโรนั้นไม่ใช่ค่าเงินที่แท้จริง ค่าที่แท้จริงแข็งกว่านี้ เหมือนกับที่ประเทศไทยเราตรึงค่าเงินบาทไว้กับเงินดอลลาร์ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อก่อนเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ตลาดรู้ว่าค่าเงินบาทแท้จริงอ่อนกว่า 25 บาทต่อดอลลาร์มาก เงินดอลลาร์จึงไหลออกจากประเทศไทย กลับกันกับสถานการณ์ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่สวิตเซอร์แลนด์จะประกาศเลิกตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์ไว้กับเงินยูโร
เมื่อสถานการณ์ทางการเงินของยุโรปแย่ลงค่าเงินยูโรก็อ่อนค่าลงมาเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักของโลก รวมทั้งยุโรปประกาศจะเพิ่มปริมาณเงินตามโครงการ คิว.อี. ค่าเงินยูโรก็ยิ่งอ่อนลง ค่าเงินยูโรที่อ่อนลงก็ดึงค่าเงินฟรังก์สวิสให้อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนและเงินอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ฐานะการเงินของสวิสแข็งแกร่ง
เหตุการณ์ดังกล่าวจึงทำให้เงินยูโรยิ่งไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์เพื่อเก็งกำไรมากขึ้นแม้ว่าดอกเบี้ยเงินฟรังก์จะติดลบกล่าวคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินใดต้องการนำเงินมาฝากกับธนาคารกลางสวิส แทนที่จะได้ดอกเบี้ยกลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารกลาง แต่เงินยูโรก็ยังไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์เป็นจำนวนมากทุกวันอยู่ดี ทำให้ธนาคารกลางสวิสต้องเพิ่มปริมาณเงินฟรังก์มาซื้อเงินยูโร เพื่อตรึงค่าเงินฟรังก์ไม่ให้แข็งไปกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร
ในที่สุดเมื่อธนาคารกลางสวิสทนไม่ไหว ที่ตนต้องเพิ่มปริมาณเงินฟรังก์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในราคาที่ต่ำเกินความจริง ธนาคารกลางสวิสจึงประกาศยกเลิกการตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา
ผลของการประกาศยกเลิกการตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร ทำให้ค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นทันทีเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ไปอยู่ที่ 0.854 ฟรังก์ต่อยูโร และปรับตัวลงมาอยู่ที่ 1.02 ฟรังก์ต่อยูโร เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มกราคม พร้อมกับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางลงอีก 0.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นลบ 0.75 เปอร์เซ็นต์
เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นกับเงินฟรังก์สวิสจึงเป็นวิกฤตการณ์การเงินของสวิส แต่กลับกันกับวิกฤตการณ์การเงินของประเทศอื่น หรือกลับกันกับวิกฤตการณ์ "ต้มยำกุ้ง" ของไทย แต่มีสาเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาด เมื่อไปตรึงค่าเงินของตนไว้กับเงินตราสกุลอื่น ถ้านับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011 มาถึงวันที่ 14 มกราคม 2014 ค่าเงินฟรังก์ถูกฉุดให้อ่อนค่าลงตามเงินยูโรถึงร้อยละ 44 ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริง เศรษฐกิจของสวิสแข็งแกร่งกว่ายุโรปมากนัก
ผลของการยกเลิกการตรึงค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร ก็จะทำให้ธนาคารกลางขาดทุนจากการถือเงินยูโรเพื่อตรึงค่าเงินฟรังก์เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ต้องขาดทุนไปเรื่อย เพราะต้องเข้าแทรกแซงตลาดโดยการซื้อเงินยูโร เหมือนกับการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว หลังจากใช้ทุนสำรองไปเพื่อปกป้องค่าเงินบาท ขณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของสวิสที่ถือเงินยูโรไว้เพื่อจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าการถือเงินฟรังก์ก็ต้องขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนผู้ที่ถือเงินฟรังก์สวิสก็จะได้กำไรทันทีไม่น้อยกว่าร้อยละ20 แต่ธนาคารแห่งชาติสวิสก็ต้องยอมทำ
ผลต่อระบบเศรษฐกิจก็คือ สินค้าที่ส่งออกของสวิสเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ หรือเงินยูโร หรือเงินเยนจะแพงขึ้นทันที แต่จะแพงขึ้นมากน้อยเพียงใดก็อาจจะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดด้วย ส่วนสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินฟรังก์สวิสก็จะมีราคาถูกลงทันที ผลก็คือสวิสจะส่งออกได้น้อยลงเพราะของแพงขึ้น คนสวิสจะสั่งของต่างประเทศมาใช้มากขึ้นเพราะมีราคาถูกลง คนสวิสจะรู้สึกว่าทรัพย์สินของตนมีมูลค่าสูงขึ้น เมื่อคิดเป็นเงินยูโรหรือเงินดอลลาร์ เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ส่งออกได้น้อยลงรายได้ประชาชาติและการจ้างงานในประเทศน่าจะต่ำลง อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำอยู่แล้วก็อาจจะต่ำลงอีกจนอาจจะเกิดภาวะเงินฝืดก็ได้
ที่น่าสนใจก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ดูเหมือนจะเป็นประเทศไม่กี่ประเทศในยุโรปเหนือที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบ กล่าวคือ ถ้าใครเอาเงินฟรังก์ไปฝากในธนาคารสวิส แทนที่จะได้ดอกเบี้ยกลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร ทั้งนี้เพราะธนาคารกลางสวิสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากที่เคยลบ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็นลบ 0.75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนต่อพันธบัตรในรูปเงินฟรังก์สวิสมีอัตราติดลบไปด้วย แต่ผู้คนก็ยังยินดีถือเพราะกำไรจากการที่ค่าเงินสวิสน่าจะแข็งขึ้นในอนาคตยังมีอยู่มาก
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในสวิตเซอร์แลนด์แต่เคยเกิดขึ้นเป็นปกติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เพราะสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องเปิดเผยบัญชีผู้ฝากเงิน ดังนั้นบรรดานักการเมืองทั้งที่เป็นทหารและไม่ใช่ทหาร จึงนำเงินที่ตนได้มาอย่างไม่ชอบหรือโดยชอบ แต่ไม่อยากให้ใครรู้นำไปฝากไว้ในธนาคารสวิส ทำให้ค่าเงินฟรังก์แข็งขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผู้ฝากจะสามารถเปิดบัญชีเงินฝากสกุลอื่น เช่น ดอลลาร์หรือเยนก็ได้ จนเกิดตลาดยูโรดอลลาร์และยูโรเยนในยุโรปขึ้น เพราะถ้าแลกเป็นเงินฟรังก์กลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่เงินสวิสฟรังก์แข็งค่าขึ้นเช่นนี้ ย่อมทำให้อัตราเงินเฟ้อในสวิตเซอร์แลนด์ติดลบ เศรษฐกิจสวิสจะชะลอตัวซบเซายิ่งขึ้น สถานการณ์อาจจะลุกลามไปที่ยุโรปซึ่งก็อ่อนแออยู่แล้ว กลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุโรปก็ได้ สถานการณ์ยังไม่หยุดนิ่ง ค่าเงินยูโรอาจจะตกต่อไปอีก ค่าเงินฟรังก์ก็อาจจะแข็งต่อไปอีกจนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในยุโรปก็ได้
อันตรายของเศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ที่ยุโรป
บทความน่ารู้เกี่ยวกับค่าเงินสวิสและการเงินยุโรปที่อาจเป็นวิกฤตการเงินโลก
ไฟล์แนบ 221115
ระยะนี้มีเหตุการณ์แปลก ๆ เกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการณ์การเงินในทวีปยุโรป เป็นต้นว่า เกิดวิกฤตการณ์ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียทลายลง เพราะราคาน้ำมันร่วงลงจากประมาณกว่า 115 เหรียญต่อบาร์เรลมาเหลือไม่ถึง 50 เหรียญต่อบาร์เรล และมีทีท่าว่าจะลดลงต่อไปอีก เนื่องจากน้ำมันและพลังงานอย่างอื่นเป็นสินค้าที่มีมูลค่ากว่าร้อยละ 68 ของมูลค่าการส่งออกของรัสเซีย เป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติของรัสเซีย เมื่อตลาดน้ำมันทรุดลง รัสเซียก็เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทันที ค่าเงินรูเบิลที่เคยมีค่าประมาณ 32-33 รูเบิลต่อดอลลาร์ก็ตกลงไปถึง 65-66 รูเบิลต่อดอลลาร์ ธนาคารกลางรัสเซียประกาศขึ้นดอกเบี้ยจาก 10.5 เปอร์เซ็นต์เป็นร้อยละ 17 ทันที
กรีซเป็นอีกประเทศที่มีปัญหาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง แก้ไม่หาย ทางการของกรีซต้องออกพันธบัตรระยะยาวขายเพื่อชดเชยการขาดดุลเรื่อยมา จนกรีซกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินในรูปเงินยูโรมากกว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีหนทางจะหยุดการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด หรือหยุดการมีหนี้ระหว่างประเทศที่มากขึ้นได้ พันธบัตรของรัฐบาลกรีซมีราคาต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะความเชื่อมั่นลดลง ทำให้ผลตอบแทนต่อการถือพันธบัตรกรีซหรือดอกเบี้ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเป็นภาระต่อรัฐบาลกรีซมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสถาบันการเงินประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปรับภาระถือพันธบัตรกรีซไม่ไหว โอกาสที่กรีซจะต้องออกจากเขตเงินยูโรมีสูงขึ้น และถ้ากรีซต้องออกจากยูโร กรีซก็ต้องสร้างเงินตราของตนขึ้นใหม่ และลดค่าลงให้อ่อนกว่าเงินยูโรเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ที่ถือพันธบัตรของกรีซก็คงต้องขาดทุนเป็นจำนวนมาก
มาบัดนี้กลับมีสถานการณ์ที่แปลกเกิดขึ้นอีกกับค่าเงินฟรังก์สวิสเนื่องจากตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011 เป็นต้นมา กว่า 3 ปีแล้วที่ธนาคารกลางสวิส หรือ Swiss National Bank ได้กำหนดเพดานค่าเงินฟรังก์สวิสไว้กับเงินยูโร ว่าค่าเงินฟรังก์สวิสจะไม่แข็งไปกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่าง ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ เงินเยน เงินหยวนและอื่น ๆ ค่าเงินฟรังก์สวิสก็แข็งขึ้นจนชนเพดานที่ 1.2 ฟรังก์ต่อหนึ่งยูโร
การที่จะไม่ให้เงินฟรังก์แข็งค่าไปกว่านี้ก็คือ ธนาคารแห่งชาติสวิสต้องนำเงินฟรังก์ออกมาซื้อเงินยูโรที่ไหลเข้ามาในตลาดสวิส เงินยูโรก็ยิ่งไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์ เพราะตลาดรู้ว่าค่าเงินฟรังก์ที่ทางการตรึงค่าเพดานไว้กับเงินยูโรนั้นไม่ใช่ค่าเงินที่แท้จริง ค่าที่แท้จริงแข็งกว่านี้ เหมือนกับที่ประเทศไทยเราตรึงค่าเงินบาทไว้กับเงินดอลลาร์ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อก่อนเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ตลาดรู้ว่าค่าเงินบาทแท้จริงอ่อนกว่า 25 บาทต่อดอลลาร์มาก เงินดอลลาร์จึงไหลออกจากประเทศไทย กลับกันกับสถานการณ์ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่สวิตเซอร์แลนด์จะประกาศเลิกตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์ไว้กับเงินยูโร
เมื่อสถานการณ์ทางการเงินของยุโรปแย่ลงค่าเงินยูโรก็อ่อนค่าลงมาเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักของโลก รวมทั้งยุโรปประกาศจะเพิ่มปริมาณเงินตามโครงการ คิว.อี. ค่าเงินยูโรก็ยิ่งอ่อนลง ค่าเงินยูโรที่อ่อนลงก็ดึงค่าเงินฟรังก์สวิสให้อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนและเงินอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ฐานะการเงินของสวิสแข็งแกร่ง
เหตุการณ์ดังกล่าวจึงทำให้เงินยูโรยิ่งไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์เพื่อเก็งกำไรมากขึ้นแม้ว่าดอกเบี้ยเงินฟรังก์จะติดลบกล่าวคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินใดต้องการนำเงินมาฝากกับธนาคารกลางสวิส แทนที่จะได้ดอกเบี้ยกลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารกลาง แต่เงินยูโรก็ยังไหลเข้ามาซื้อเงินฟรังก์เป็นจำนวนมากทุกวันอยู่ดี ทำให้ธนาคารกลางสวิสต้องเพิ่มปริมาณเงินฟรังก์มาซื้อเงินยูโร เพื่อตรึงค่าเงินฟรังก์ไม่ให้แข็งไปกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร
ในที่สุดเมื่อธนาคารกลางสวิสทนไม่ไหว ที่ตนต้องเพิ่มปริมาณเงินฟรังก์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในราคาที่ต่ำเกินความจริง ธนาคารกลางสวิสจึงประกาศยกเลิกการตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา
ผลของการประกาศยกเลิกการตรึงเพดานค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร ทำให้ค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นทันทีเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ไปอยู่ที่ 0.854 ฟรังก์ต่อยูโร และปรับตัวลงมาอยู่ที่ 1.02 ฟรังก์ต่อยูโร เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มกราคม พร้อมกับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางลงอีก 0.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นลบ 0.75 เปอร์เซ็นต์
เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นกับเงินฟรังก์สวิสจึงเป็นวิกฤตการณ์การเงินของสวิส แต่กลับกันกับวิกฤตการณ์การเงินของประเทศอื่น หรือกลับกันกับวิกฤตการณ์ "ต้มยำกุ้ง" ของไทย แต่มีสาเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาด เมื่อไปตรึงค่าเงินของตนไว้กับเงินตราสกุลอื่น ถ้านับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011 มาถึงวันที่ 14 มกราคม 2014 ค่าเงินฟรังก์ถูกฉุดให้อ่อนค่าลงตามเงินยูโรถึงร้อยละ 44 ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริง เศรษฐกิจของสวิสแข็งแกร่งกว่ายุโรปมากนัก
ผลของการยกเลิกการตรึงค่าเงินฟรังก์กับเงินยูโร ก็จะทำให้ธนาคารกลางขาดทุนจากการถือเงินยูโรเพื่อตรึงค่าเงินฟรังก์เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ต้องขาดทุนไปเรื่อย เพราะต้องเข้าแทรกแซงตลาดโดยการซื้อเงินยูโร เหมือนกับการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว หลังจากใช้ทุนสำรองไปเพื่อปกป้องค่าเงินบาท ขณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของสวิสที่ถือเงินยูโรไว้เพื่อจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าการถือเงินฟรังก์ก็ต้องขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนผู้ที่ถือเงินฟรังก์สวิสก็จะได้กำไรทันทีไม่น้อยกว่าร้อยละ20 แต่ธนาคารแห่งชาติสวิสก็ต้องยอมทำ
ผลต่อระบบเศรษฐกิจก็คือ สินค้าที่ส่งออกของสวิสเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ หรือเงินยูโร หรือเงินเยนจะแพงขึ้นทันที แต่จะแพงขึ้นมากน้อยเพียงใดก็อาจจะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดด้วย ส่วนสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินฟรังก์สวิสก็จะมีราคาถูกลงทันที ผลก็คือสวิสจะส่งออกได้น้อยลงเพราะของแพงขึ้น คนสวิสจะสั่งของต่างประเทศมาใช้มากขึ้นเพราะมีราคาถูกลง คนสวิสจะรู้สึกว่าทรัพย์สินของตนมีมูลค่าสูงขึ้น เมื่อคิดเป็นเงินยูโรหรือเงินดอลลาร์ เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ส่งออกได้น้อยลงรายได้ประชาชาติและการจ้างงานในประเทศน่าจะต่ำลง อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำอยู่แล้วก็อาจจะต่ำลงอีกจนอาจจะเกิดภาวะเงินฝืดก็ได้
ที่น่าสนใจก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ดูเหมือนจะเป็นประเทศไม่กี่ประเทศในยุโรปเหนือที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบ กล่าวคือ ถ้าใครเอาเงินฟรังก์ไปฝากในธนาคารสวิส แทนที่จะได้ดอกเบี้ยกลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร ทั้งนี้เพราะธนาคารกลางสวิสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากที่เคยลบ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็นลบ 0.75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนต่อพันธบัตรในรูปเงินฟรังก์สวิสมีอัตราติดลบไปด้วย แต่ผู้คนก็ยังยินดีถือเพราะกำไรจากการที่ค่าเงินสวิสน่าจะแข็งขึ้นในอนาคตยังมีอยู่มาก
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในสวิตเซอร์แลนด์แต่เคยเกิดขึ้นเป็นปกติมาเรื่อยๆ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เพราะสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องเปิดเผยบัญชีผู้ฝากเงิน ดังนั้นบรรดานักการเมืองทั้งที่เป็นทหารและไม่ใช่ทหาร จึงนำเงินที่ตนได้มาอย่างไม่ชอบหรือโดยชอบ แต่ไม่อยากให้ใครรู้นำไปฝากไว้ในธนาคารสวิส ทำให้ค่าเงินฟรังก์แข็งขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผู้ฝากจะสามารถเปิดบัญชีเงินฝากสกุลอื่น เช่น ดอลลาร์หรือเยนก็ได้ จนเกิดตลาดยูโรดอลลาร์และยูโรเยนในยุโรปขึ้น เพราะถ้าแลกเป็นเงินฟรังก์กลับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่เงินสวิสฟรังก์แข็งค่าขึ้นเช่นนี้ ย่อมทำให้อัตราเงินเฟ้อในสวิตเซอร์แลนด์ติดลบ เศรษฐกิจสวิสจะชะลอตัวซบเซายิ่งขึ้น สถานการณ์อาจจะลุกลามไปที่ยุโรปซึ่งก็อ่อนแออยู่แล้ว กลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุโรปก็ได้ สถานการณ์ยังไม่หยุดนิ่ง ค่าเงินยูโรอาจจะตกต่อไปอีก ค่าเงินฟรังก์ก็อาจจะแข็งต่อไปอีกจนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในยุโรปก็ได้
อันตรายของเศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ที่ยุโรป