ตอนนี้ ผมอายุได้ 30 พอดี กำลังจะย้ายงานใหม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด น่าจะได้ เงินเดือน 50-60k ครับ
พอดี อยากเริ่มศึกษาลงทุน แต่ไม่อยากมีความเสี่ยง เพราะไม่มีความรู้ เรื่องหุ้น ครับ ก็เลยลองหาข้อมูล ที่ได้ตามนี้ ครับ
สมมุติว่าอายุ 30 ปี มีงานประจำที่มั่นคง มีเงินเดือนตามควรแก่อัตภาพเช่น เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท และยังไม่เคยลงทุนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว ข้อเสนอก็คือต้องเริ่มเก็บออมเงินและลงทุนโดยการหักออกจากเงินรายได้ 15% ทุกครั้งที่ได้รับเงิน ซึ่งก็คือเดือนละ 7,500 บาท แล้วนำเงินนั้นลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนี SET50 คือลงทุนหุ้นใหญ่ที่สุด 50 ตัว โดยไม่มีการเลือกหุ้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุกเดือน ถ้าเงินเดือนสูงขึ้น เม็ดเงิน 15% ก็สูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อได้รับเงินพิเศษเช่น โบนัส จะต้องหักเงิน 15% ก่อนเพื่อเอาไปลงทุนในหุ้น การลงทุนในหุ้นทั้งหมดนั้นอาจดูว่า “เสี่ยง” แต่การที่ทยอยลงทุนไปเรื่อยๆ เป็นเวลาถึง 30 ปี ความเสี่ยงจะหายไปมาก เพราะซื้อหุ้นเฉลี่ยกันไปทั้งช่วงที่หุ้นถูกและแพง โอกาสเงินออมจะเสียหายมีน้อยมาก แต่มีโอกาสสูงที่จะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละประมาณ 10% ตามสถิติที่เป็นมาในอดีต ถ้าทำแบบนี้ผลที่จะได้รับหลังเกษียณ 60 ปีคือสามารถใช้เงินได้เดือนละเท่าเดิม เท่ากับช่วงที่ทำงานอยู่ โดยที่ไม่ต้องทำงานต่อไปอีก 30 ปี เช่น ถ้าได้เงินเดือนช่วงแรกที่อายุ 30 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท ในวันที่เกษียณเดือนแรกก็สามารถใช้เงินได้ เดือนละ 50,000 บาท เช่นกัน และถ้าในช่วงอายุ 40 ปี มีรายได้เดือนละ 100,000 บาท และกันเงิน 15% ซึ่งเท่ากับ 15,000 บาทไว้ลงทุน ซึ่งจะทำให้ในช่วงที่มีอายุ 70 ปี จะสามารถใช้เงินได้เดือนละ 100,000 บาท เช่นกัน
มองอีกด้านหนึ่งคือเงินเพียง 15% ถ้าลงทุนในหุ้นวันนี้ จะโตขึ้นเป็น 100% หลังหักอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภายในเวลา 30 ปี ดังนั้นเงินเพียง 15% ของทุกเดือนที่ลงทุนไปวันนี้ อีก 30 ปีจะกลับมาเลี้ยงตัวเองได้เต็มจำนวน ถ้าลงทุนตั้งแต่อายุ 25 ปี โอกาสเกษียณอย่างสบายจะสูง ถ้าลงทุนหลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว เช่น เริ่มลงทุนเมื่ออายุ 40 ปี ถ้าจะให้สามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ อาจต้องกันเงินไว้มากกว่า 15% ของเงินเดือนเพื่อจะลงทุน ภาระก็จะหนักขึ้น หรือถ้ายังรักษาระดับที่ 15% ในวันที่เกษียณก็มีเวลาลงทุนแค่ 20 ปี ซึ่งก็จะทำให้เงินที่จะได้นั้นไม่ถึง 100% ซึ่งก็แปลว่าในวันเกษียณอาจจะต้องลดระดับความเป็นอยู่ลง
คนอายุ 30 ปี ที่เริ่มกันเงินถึง 15% ของเงินเดือนเพื่อลงทุน แต่เน้นไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนผสมมีหุ้นน้อย ผลตอบแทนที่ได้จะต่ำ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ สำหรับกรณีนี้น่าจะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสม ในระยะสั้นๆ นั้น ความรู้สึกมั่นคงและ “ไม่เสี่ยง” จากการลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้น ไม่คุ้มกับการเสียโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนดีในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น ว่าที่จริงในระยะยาวตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หุ้นโดยรวมนั้นมีความเสี่ยงน้อยมาก โอกาสที่หุ้นจะให้ผลตอบแทนรวมต่ำกว่าตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้นคิดว่าน่าจะอยู่แค่ในช่วง 5-10 ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วหุ้นก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้นอย่ากลัวที่จะลงทุนหุ้นเต็มที่ถ้าจะลงทุนในระยะยาวมาก
สุดท้ายที่อยากจะเพิ่มเติมสำหรับคนที่ต้องเสียภาษีรายได้สูงนั้น การลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ในอัตราที่สูงได้ถึง 15% ของรายได้นั้น ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กล่าวถึงมาทั้งหมด แต่ยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลด้วย ดังนั้นคิดว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรทำ
http://www.bam.co.th/bam/corporate/articles/finance-article/1185-2014-07-18-02-42-53 ที่มา
อยากทราบว่า ถ้าผมทำตามสูตร ที่ว่านี้ ก็จะได้ตามนี้ ใช่มั้ยครับ แล้วท่านๆ มีความเห็นเกี่ยวกับสูตร นี้ว่าอย่างไร หรือมีช่องทางที่ดีกว่านี้
รบกวน แสดงความเห็น ได้ครับ
ขอบคุณมากครับผม
สอบถามเรื่องการลงทุน สำหรับคน อายุ 30 ครับ
พอดี อยากเริ่มศึกษาลงทุน แต่ไม่อยากมีความเสี่ยง เพราะไม่มีความรู้ เรื่องหุ้น ครับ ก็เลยลองหาข้อมูล ที่ได้ตามนี้ ครับ
สมมุติว่าอายุ 30 ปี มีงานประจำที่มั่นคง มีเงินเดือนตามควรแก่อัตภาพเช่น เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท และยังไม่เคยลงทุนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว ข้อเสนอก็คือต้องเริ่มเก็บออมเงินและลงทุนโดยการหักออกจากเงินรายได้ 15% ทุกครั้งที่ได้รับเงิน ซึ่งก็คือเดือนละ 7,500 บาท แล้วนำเงินนั้นลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนี SET50 คือลงทุนหุ้นใหญ่ที่สุด 50 ตัว โดยไม่มีการเลือกหุ้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุกเดือน ถ้าเงินเดือนสูงขึ้น เม็ดเงิน 15% ก็สูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อได้รับเงินพิเศษเช่น โบนัส จะต้องหักเงิน 15% ก่อนเพื่อเอาไปลงทุนในหุ้น การลงทุนในหุ้นทั้งหมดนั้นอาจดูว่า “เสี่ยง” แต่การที่ทยอยลงทุนไปเรื่อยๆ เป็นเวลาถึง 30 ปี ความเสี่ยงจะหายไปมาก เพราะซื้อหุ้นเฉลี่ยกันไปทั้งช่วงที่หุ้นถูกและแพง โอกาสเงินออมจะเสียหายมีน้อยมาก แต่มีโอกาสสูงที่จะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละประมาณ 10% ตามสถิติที่เป็นมาในอดีต ถ้าทำแบบนี้ผลที่จะได้รับหลังเกษียณ 60 ปีคือสามารถใช้เงินได้เดือนละเท่าเดิม เท่ากับช่วงที่ทำงานอยู่ โดยที่ไม่ต้องทำงานต่อไปอีก 30 ปี เช่น ถ้าได้เงินเดือนช่วงแรกที่อายุ 30 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท ในวันที่เกษียณเดือนแรกก็สามารถใช้เงินได้ เดือนละ 50,000 บาท เช่นกัน และถ้าในช่วงอายุ 40 ปี มีรายได้เดือนละ 100,000 บาท และกันเงิน 15% ซึ่งเท่ากับ 15,000 บาทไว้ลงทุน ซึ่งจะทำให้ในช่วงที่มีอายุ 70 ปี จะสามารถใช้เงินได้เดือนละ 100,000 บาท เช่นกัน
มองอีกด้านหนึ่งคือเงินเพียง 15% ถ้าลงทุนในหุ้นวันนี้ จะโตขึ้นเป็น 100% หลังหักอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภายในเวลา 30 ปี ดังนั้นเงินเพียง 15% ของทุกเดือนที่ลงทุนไปวันนี้ อีก 30 ปีจะกลับมาเลี้ยงตัวเองได้เต็มจำนวน ถ้าลงทุนตั้งแต่อายุ 25 ปี โอกาสเกษียณอย่างสบายจะสูง ถ้าลงทุนหลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว เช่น เริ่มลงทุนเมื่ออายุ 40 ปี ถ้าจะให้สามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ อาจต้องกันเงินไว้มากกว่า 15% ของเงินเดือนเพื่อจะลงทุน ภาระก็จะหนักขึ้น หรือถ้ายังรักษาระดับที่ 15% ในวันที่เกษียณก็มีเวลาลงทุนแค่ 20 ปี ซึ่งก็จะทำให้เงินที่จะได้นั้นไม่ถึง 100% ซึ่งก็แปลว่าในวันเกษียณอาจจะต้องลดระดับความเป็นอยู่ลง
คนอายุ 30 ปี ที่เริ่มกันเงินถึง 15% ของเงินเดือนเพื่อลงทุน แต่เน้นไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนผสมมีหุ้นน้อย ผลตอบแทนที่ได้จะต่ำ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ สำหรับกรณีนี้น่าจะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสม ในระยะสั้นๆ นั้น ความรู้สึกมั่นคงและ “ไม่เสี่ยง” จากการลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้น ไม่คุ้มกับการเสียโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนดีในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น ว่าที่จริงในระยะยาวตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หุ้นโดยรวมนั้นมีความเสี่ยงน้อยมาก โอกาสที่หุ้นจะให้ผลตอบแทนรวมต่ำกว่าตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้นคิดว่าน่าจะอยู่แค่ในช่วง 5-10 ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วหุ้นก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้นอย่ากลัวที่จะลงทุนหุ้นเต็มที่ถ้าจะลงทุนในระยะยาวมาก
สุดท้ายที่อยากจะเพิ่มเติมสำหรับคนที่ต้องเสียภาษีรายได้สูงนั้น การลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ในอัตราที่สูงได้ถึง 15% ของรายได้นั้น ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กล่าวถึงมาทั้งหมด แต่ยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลด้วย ดังนั้นคิดว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรทำ
http://www.bam.co.th/bam/corporate/articles/finance-article/1185-2014-07-18-02-42-53 ที่มา
อยากทราบว่า ถ้าผมทำตามสูตร ที่ว่านี้ ก็จะได้ตามนี้ ใช่มั้ยครับ แล้วท่านๆ มีความเห็นเกี่ยวกับสูตร นี้ว่าอย่างไร หรือมีช่องทางที่ดีกว่านี้
รบกวน แสดงความเห็น ได้ครับ
ขอบคุณมากครับผม