หนังเค้ามีบทมีประเด็นที่สวยและน่าสนใจทีเดียว เห็นถึงศักยภาพที่ยังพัฒนาไปได้อีกเยอะ เสียดายที่การนำเสนอโดยรวมยังทำได้ไม่ค่อยถึง ทั้งที่เราควรมีอารมณ์ร่วมได้มากกว่านี้ สุขและเศร้าได้มากกว่านี้ แต่จากที่เห็นกลายเป็นว่า หนังเหมือนมีช่องว่างอะไรบางอย่างมากั้นอยู่ระหว่างเบาะนั่งกับจอฉายตลอดเวลา
หนังออกจะดูเกร็ง ดูแข็ง ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อาจเพราะคนทำตั้งใจและคาดหวังมากไป (จนบางทีคนดูก็รู้สึกเมื่อยแทน) เหมือนเค้าพยายามคัดไทยบนเส้นประ เล็งไว้ว่ามันต้องเป๊ะ ต้องสวย ให้เทียบชั้นงานในระดับมาตรฐานเรื่องอื่นๆ ผลข้างเคียงคือหนังดูไม่เป็นตัวของตัวเอง ขาดความมั่นใจ ขาดรสชาติและความแปลกใหม่ ซึ่งบรรดาที่ว่ามา น่าจะเป็นจุดสำคัญที่คนดูคาดหวังจะได้รับจากหนังอาร์ตหรือหนังอินดี้ประมาณนี้
อย่างไรก็ตาม อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น ว่าบทหรือประเด็นของหนังสวยและน่าสนใจมาก เรื่องราวของแม่เลี้ยงเดี่ยวพร้อมลูกสาวชาวกรุง ผู้อาศัยอยู่ในคอนโดหรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ออกเดินทางตามหาครอบครัวของแม่บ้านชาวพม่าหลังจากที่เธอเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ใดๆ ของฝ่ายแม่บ้าน หากแต่ด้วยความหวังว่าการเดินทางครั้งนี้จะเยียวยาอาการแปลกๆ ของลูกสาวเธอ เด็กหญิงที่พร่ำพูดแต่ภาษาพม่า จนครูที่โรงเรียนและตัวแม่เองเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ (ซึ่งคล้ายจะสะท้อนอคติบางอย่างของคนไทย)
แม่และลูกสาวได้เดินทางมาที่จังหวัดระนอง พื้นที่ซึ่งมีชาวพม่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนของจังหวัดระนองนี้เอง ก็ยังเป็นจุดคอคอด (isthmus) ของประเทศไทยตามชื่อภาษาอังกฤษของหนัง
เข้าใจว่านี่เป็นครั้งแรกที่ "จังหวัดระนอง" ได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในภาพยนตร์ มีบุคลิกที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง (โดยเฉพาะฝนที่ตกหนักอยู่ตลอด/สอดคล้องกับสัญลักษณ์ของร่มในเรื่อง) ระนองไม่เพียงเป็นพรมแดนระหว่างไทยและพม่า (ซึ่งนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน) หากแต่ยังมีความแตกต่างทางศาสนาระหว่างไทยและอิสลาม (ซึ่งเป็นประชาชนคนไทยด้วยกันเอง)
หนังพาเราไปร่วมสำรวจความเป็นไปของผู้คนที่นั่น อาชีพชาวประมงที่เค้าทำ ประเพณีความเชื่อ รวมถึงการศึกษาของลูกหลานชาวพม่า เท่มากๆ กับฉากครูพม่าสอนเรื่องระบบสุริยะจักรวาล (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ผมนับเป็นการเสียดสีการศึกษาไทยที่เจ็บแสบครับ)
ไม่แค่นั้น หนังยังพาเรานั่งเรือไปเกาะสอง ประเทศพม่า โลกแปลกตาที่ถูกซ่อนไว้ในระยะทางซึ่งไม่ไกลนักจากประเทศไทย นับเป็นอีกฉากของหนังที่ดูสร้างสรรค์ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง ทั้งระหว่างพี่น้องร่วมสายเลือดของแม่บ้านชาวพม่า (กับน้องสาว) และความเป็นพี่น้องของคนพม่ากับคนไทย โดยเฉพาะการที่หนังโฟกัสไปที่การมีพุทธศาสนาร่วมกัน
(ส่วนนี้อาจเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับ)
"หลังจากเรื่องราวของแม่บ้านชาวพม่าจบลง หนังลงลึกเพื่อเล่าถึงความลับบางอย่างของผู้เป็นแม่ ด้วยตระหนักว่านี่คือความลับ หนังจึงปฏิบัติกับมันอย่างเงียบงันและคลุมเครือ เราอาจอนุมานได้ว่า แม่น่าจะเคยเป็นมุสลิมที่พยายามเปลี่ยนศาสนา รวมถึงเปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนชนบทชาวระนองมาเป็นคนในเมืองหลวง (พ่อของแม่เป็นชาวประมงและรักเรือลำหนึ่งมาก ขนาดยอมลำบากเอามันมาจากทะเลอ่าวไทยจนถึงอันดามัน/จุดนี้ยังชวนให้นึกถึงประเด็นถกเถียงเก่าแก่เรื่องการขุดคลองผ่านคอคอดกระ) ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงของแม่ถูกตั้งคำถามจากลูก คำถามที่นำมาซึ่งน้ำตาและสายฝนที่กระหน่ำหนักในเย็นวันนั้น"
เราอาจพิพากษาตัวละครของแม่อย่างผิวเผิน ซึ่งหนังก็ชี้อยู่ตลอดว่าเธอสมควรแก่โทษทัณฑ์บางอย่าง อย่างน้อยก็ความรู้สึกไม่สุขสงบภายในจิตใจ (แม่ดูจะหลงใหลกับวัตถุ แสร้งแปลกปลอมต่อถิ่นฐาน/คล้ายความแปลกปลอมของโรงแรมร้างที่สร้างไม่เสร็จ มีระยะห่างกับลูกสาวและบรรพบุรุษของตัวเอง เป็นต้น
ฉากจบน่าสนใจดี อย่างน้อยก็สนับสนุนการแก้ปัญหาแบบไม่ยึดติดกับอะไรเดิมๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการกล้าอ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลง (ย้ายงานวัดเพราะฝนตกหนักมาจัดที่โรงแรมร้าง) ถือเป็นฉากจบที่เยียวยาและปลอบโยนตัวละครของแม่ได้ทางหนึ่ง ทั้งยังขยับขยายนิยามของคำว่า "บ้านหรือครอบครัว" ให้กว้างขวางและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่เกี่ยวกับว่าเราจะอยู่ที่ไหน สำคัญกว่านั้นคือเรากำลังอยู่กับใคร
หนังยังมีตัวละครชาวญี่ปุ่นผู้ตะลึงงันกับเหตุการณ์หลุมยุบในจังหวัดระนอง (การทรุดตัวของชั้นดินเพราะฝนตกหนัก) การจากประเทศญี่ปุ่นมาของเค้าไม่ปรากฏเหตุผลที่ชัดเจน อาจเพียงเพื่อผจญภัย สร้างมิตรภาพไปเรื่อยๆ หรือหลบหนีจากภัยธรรมชาติในประเทศ (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว) อย่างไรก็ตาม เค้าคืออีกตัวละครหนึ่งที่อาศัยอยู่ไกลบ้าน ไม่ต่างจากชาวพม่าในประเทศไทย หรือตัวละครของผู้เป็นแม่ซึ่งพยายามหลบหนีและเปลี่ยนแปลงอดีตของตนเอง
ในระหว่างที่หนังใช้เวลากับประเด็นเกี่ยวกับอดีตและความทรงจำ ตัวละครของเด็กหญิง (ซึ่งน่ารักมากๆ) อาจถือเป็นภาพฝันสวยงามของอนาคต เด็กที่สามารถสื่อสารได้หลายภาษา (ไทย พม่า อังกฤษ) ง่ายที่จะผูกมิตรกับผู้คน สลายพรมแดนสมมติให้พังทลายลง (ทั้งเชื้อชาติศาสนา) รู้จักสงสัยตั้งคำถาม และมองโลกอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีอคติครอบงำ
ทะเลหรือมหาสมุทรอาจเป็นช่องว่างที่สร้างความแตกต่างของคนในแต่ละแผ่นดิน ทำให้เราพูดกันคนละภาษา ไม่เข้าใจกัน แต่มองในแง่ดี ทะเลก็เป็นตัวกลางในการผสานความหลากหลายของแต่ละแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว เปรียบได้กับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารของโลก
และคล้ายกับความท้าทายของชาวประมง บางคนแสวงหาประโยชน์ได้มากมายในช่องว่างนั้น ในขณะที่บางคนก็จมหายไปตลอดกาล
The isthmus / ที่ว่างระหว่างสมุทร
หนังเค้ามีบทมีประเด็นที่สวยและน่าสนใจทีเดียว เห็นถึงศักยภาพที่ยังพัฒนาไปได้อีกเยอะ เสียดายที่การนำเสนอโดยรวมยังทำได้ไม่ค่อยถึง ทั้งที่เราควรมีอารมณ์ร่วมได้มากกว่านี้ สุขและเศร้าได้มากกว่านี้ แต่จากที่เห็นกลายเป็นว่า หนังเหมือนมีช่องว่างอะไรบางอย่างมากั้นอยู่ระหว่างเบาะนั่งกับจอฉายตลอดเวลา
หนังออกจะดูเกร็ง ดูแข็ง ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อาจเพราะคนทำตั้งใจและคาดหวังมากไป (จนบางทีคนดูก็รู้สึกเมื่อยแทน) เหมือนเค้าพยายามคัดไทยบนเส้นประ เล็งไว้ว่ามันต้องเป๊ะ ต้องสวย ให้เทียบชั้นงานในระดับมาตรฐานเรื่องอื่นๆ ผลข้างเคียงคือหนังดูไม่เป็นตัวของตัวเอง ขาดความมั่นใจ ขาดรสชาติและความแปลกใหม่ ซึ่งบรรดาที่ว่ามา น่าจะเป็นจุดสำคัญที่คนดูคาดหวังจะได้รับจากหนังอาร์ตหรือหนังอินดี้ประมาณนี้
อย่างไรก็ตาม อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น ว่าบทหรือประเด็นของหนังสวยและน่าสนใจมาก เรื่องราวของแม่เลี้ยงเดี่ยวพร้อมลูกสาวชาวกรุง ผู้อาศัยอยู่ในคอนโดหรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ออกเดินทางตามหาครอบครัวของแม่บ้านชาวพม่าหลังจากที่เธอเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ใดๆ ของฝ่ายแม่บ้าน หากแต่ด้วยความหวังว่าการเดินทางครั้งนี้จะเยียวยาอาการแปลกๆ ของลูกสาวเธอ เด็กหญิงที่พร่ำพูดแต่ภาษาพม่า จนครูที่โรงเรียนและตัวแม่เองเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ (ซึ่งคล้ายจะสะท้อนอคติบางอย่างของคนไทย)
แม่และลูกสาวได้เดินทางมาที่จังหวัดระนอง พื้นที่ซึ่งมีชาวพม่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนของจังหวัดระนองนี้เอง ก็ยังเป็นจุดคอคอด (isthmus) ของประเทศไทยตามชื่อภาษาอังกฤษของหนัง
เข้าใจว่านี่เป็นครั้งแรกที่ "จังหวัดระนอง" ได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในภาพยนตร์ มีบุคลิกที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง (โดยเฉพาะฝนที่ตกหนักอยู่ตลอด/สอดคล้องกับสัญลักษณ์ของร่มในเรื่อง) ระนองไม่เพียงเป็นพรมแดนระหว่างไทยและพม่า (ซึ่งนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน) หากแต่ยังมีความแตกต่างทางศาสนาระหว่างไทยและอิสลาม (ซึ่งเป็นประชาชนคนไทยด้วยกันเอง)
หนังพาเราไปร่วมสำรวจความเป็นไปของผู้คนที่นั่น อาชีพชาวประมงที่เค้าทำ ประเพณีความเชื่อ รวมถึงการศึกษาของลูกหลานชาวพม่า เท่มากๆ กับฉากครูพม่าสอนเรื่องระบบสุริยะจักรวาล (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ผมนับเป็นการเสียดสีการศึกษาไทยที่เจ็บแสบครับ)
ไม่แค่นั้น หนังยังพาเรานั่งเรือไปเกาะสอง ประเทศพม่า โลกแปลกตาที่ถูกซ่อนไว้ในระยะทางซึ่งไม่ไกลนักจากประเทศไทย นับเป็นอีกฉากของหนังที่ดูสร้างสรรค์ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง ทั้งระหว่างพี่น้องร่วมสายเลือดของแม่บ้านชาวพม่า (กับน้องสาว) และความเป็นพี่น้องของคนพม่ากับคนไทย โดยเฉพาะการที่หนังโฟกัสไปที่การมีพุทธศาสนาร่วมกัน
(ส่วนนี้อาจเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับ)
"หลังจากเรื่องราวของแม่บ้านชาวพม่าจบลง หนังลงลึกเพื่อเล่าถึงความลับบางอย่างของผู้เป็นแม่ ด้วยตระหนักว่านี่คือความลับ หนังจึงปฏิบัติกับมันอย่างเงียบงันและคลุมเครือ เราอาจอนุมานได้ว่า แม่น่าจะเคยเป็นมุสลิมที่พยายามเปลี่ยนศาสนา รวมถึงเปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนชนบทชาวระนองมาเป็นคนในเมืองหลวง (พ่อของแม่เป็นชาวประมงและรักเรือลำหนึ่งมาก ขนาดยอมลำบากเอามันมาจากทะเลอ่าวไทยจนถึงอันดามัน/จุดนี้ยังชวนให้นึกถึงประเด็นถกเถียงเก่าแก่เรื่องการขุดคลองผ่านคอคอดกระ) ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงของแม่ถูกตั้งคำถามจากลูก คำถามที่นำมาซึ่งน้ำตาและสายฝนที่กระหน่ำหนักในเย็นวันนั้น"
เราอาจพิพากษาตัวละครของแม่อย่างผิวเผิน ซึ่งหนังก็ชี้อยู่ตลอดว่าเธอสมควรแก่โทษทัณฑ์บางอย่าง อย่างน้อยก็ความรู้สึกไม่สุขสงบภายในจิตใจ (แม่ดูจะหลงใหลกับวัตถุ แสร้งแปลกปลอมต่อถิ่นฐาน/คล้ายความแปลกปลอมของโรงแรมร้างที่สร้างไม่เสร็จ มีระยะห่างกับลูกสาวและบรรพบุรุษของตัวเอง เป็นต้น
ฉากจบน่าสนใจดี อย่างน้อยก็สนับสนุนการแก้ปัญหาแบบไม่ยึดติดกับอะไรเดิมๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการกล้าอ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลง (ย้ายงานวัดเพราะฝนตกหนักมาจัดที่โรงแรมร้าง) ถือเป็นฉากจบที่เยียวยาและปลอบโยนตัวละครของแม่ได้ทางหนึ่ง ทั้งยังขยับขยายนิยามของคำว่า "บ้านหรือครอบครัว" ให้กว้างขวางและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่เกี่ยวกับว่าเราจะอยู่ที่ไหน สำคัญกว่านั้นคือเรากำลังอยู่กับใคร
หนังยังมีตัวละครชาวญี่ปุ่นผู้ตะลึงงันกับเหตุการณ์หลุมยุบในจังหวัดระนอง (การทรุดตัวของชั้นดินเพราะฝนตกหนัก) การจากประเทศญี่ปุ่นมาของเค้าไม่ปรากฏเหตุผลที่ชัดเจน อาจเพียงเพื่อผจญภัย สร้างมิตรภาพไปเรื่อยๆ หรือหลบหนีจากภัยธรรมชาติในประเทศ (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว) อย่างไรก็ตาม เค้าคืออีกตัวละครหนึ่งที่อาศัยอยู่ไกลบ้าน ไม่ต่างจากชาวพม่าในประเทศไทย หรือตัวละครของผู้เป็นแม่ซึ่งพยายามหลบหนีและเปลี่ยนแปลงอดีตของตนเอง
ในระหว่างที่หนังใช้เวลากับประเด็นเกี่ยวกับอดีตและความทรงจำ ตัวละครของเด็กหญิง (ซึ่งน่ารักมากๆ) อาจถือเป็นภาพฝันสวยงามของอนาคต เด็กที่สามารถสื่อสารได้หลายภาษา (ไทย พม่า อังกฤษ) ง่ายที่จะผูกมิตรกับผู้คน สลายพรมแดนสมมติให้พังทลายลง (ทั้งเชื้อชาติศาสนา) รู้จักสงสัยตั้งคำถาม และมองโลกอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีอคติครอบงำ
ทะเลหรือมหาสมุทรอาจเป็นช่องว่างที่สร้างความแตกต่างของคนในแต่ละแผ่นดิน ทำให้เราพูดกันคนละภาษา ไม่เข้าใจกัน แต่มองในแง่ดี ทะเลก็เป็นตัวกลางในการผสานความหลากหลายของแต่ละแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว เปรียบได้กับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารของโลก
และคล้ายกับความท้าทายของชาวประมง บางคนแสวงหาประโยชน์ได้มากมายในช่องว่างนั้น ในขณะที่บางคนก็จมหายไปตลอดกาล