คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คนที่ไม่ได้เรียนไฟฟ้าจะงงครับ เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของไฟฟ้ากระแสสลับ
ไฟฟ้ากระแสสลับรูปคลื่นของแรงดันกับกระแสถึงแม้จะมีความถี่เท่ากัน แต่มุมเฟสอาจไม่เท่ากัน ค่าของกำลังจริงจึงขึ้นกับมุมเฟสด้วย ตามสมการ P=VIcos@ , โดยที่ @ คือมุมระหว่าง V กับ I ค่ามุมนี้จะมีค่าจาก 0 ถึง -90 องศา กรณีเป็นอุปกรณ์กินไฟที่เป็นประเภทความเหนี่ยวนำ แต่จะมีค่าจาก 0 ถึง 90 องศา กรณีเป็นอุปกรณ์กินไฟประเภทตัวเก็บประจุ ดังนั้น cos@ จะมีค่าอยู่ที่ 0 ถึง 1
เราเรียก P ว่า "กำลังจริง" มีหน่วยเป็นวัตต์ ก็คือจริงๆแล้วมันกินไฟเท่านี้
เราเรียก VI ว่า "กำลังปรากฎ" คือผลคูณระหว่างกระแสและแรงดันมันปรากฎให้เราเห็นคือค่านี้ แต่อาจไม่ใช่กำลังจริง ต้องไปดูค่า cos@ ด้วย เขาจะให้หน่วยของกำลังปรากฏเป็น โวลต์แอมแปร์ เพื่อป้องกันความสับสนกับกำลังจริง
ไฟฟ้ากระแสสลับรูปคลื่นของแรงดันกับกระแสถึงแม้จะมีความถี่เท่ากัน แต่มุมเฟสอาจไม่เท่ากัน ค่าของกำลังจริงจึงขึ้นกับมุมเฟสด้วย ตามสมการ P=VIcos@ , โดยที่ @ คือมุมระหว่าง V กับ I ค่ามุมนี้จะมีค่าจาก 0 ถึง -90 องศา กรณีเป็นอุปกรณ์กินไฟที่เป็นประเภทความเหนี่ยวนำ แต่จะมีค่าจาก 0 ถึง 90 องศา กรณีเป็นอุปกรณ์กินไฟประเภทตัวเก็บประจุ ดังนั้น cos@ จะมีค่าอยู่ที่ 0 ถึง 1
เราเรียก P ว่า "กำลังจริง" มีหน่วยเป็นวัตต์ ก็คือจริงๆแล้วมันกินไฟเท่านี้
เราเรียก VI ว่า "กำลังปรากฎ" คือผลคูณระหว่างกระแสและแรงดันมันปรากฎให้เราเห็นคือค่านี้ แต่อาจไม่ใช่กำลังจริง ต้องไปดูค่า cos@ ด้วย เขาจะให้หน่วยของกำลังปรากฏเป็น โวลต์แอมแปร์ เพื่อป้องกันความสับสนกับกำลังจริง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
P (มีหน่าวยเป็น วัตต์) = (V(แรงดัน) x I(กระแส))X PF(เพาเวอร์เฟกเตอร์)
Power Factor คือค่าอัตราส่วนของกำลังที่ใช้จริง (Watt) และ ค่ากำลังไฟฟ้าที่ปรากฎ (VA) โดยค่าที่ดีที่สุดคือเท่ากับ "1" สมมุติใช้ไฟกะหลอดฟลูออเรสเซน บัลลาสต์แกนเหล็ก PF=0.8
220V .01636A 36W
(220*0.1636)/0.8
= 44.99 VA
สังเกตุว่ากำลังไฟฟ้าจริงกะกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏไม่เท่ากัน 36 W กะ 44.99VA
อีกอย่างเช่นเครื่อง UPS 220V 1600VA โดยที่ UPS มีค่า PF ที่ 0.7
กำลังที่จ่ายได้(W) = 1600VA*0.7
= 1120 W
โหลดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ลวดเหนี่ยวนำหรือตัวเก็ปประจุ จะทำให้ค่า PF เปลี่ยนไป หาข้อมูลดูในเน็ตได้ครับมีเยอะแยะ ครับ สังเกตุว่า UPS มักใช้คำว่า VA ซึ่งไม่ใช่ วัตต์จริงๆ (ถ้าผมอธิบายผิดทักท้วงได้นะครับ มือใหม่ครับ)
Power Factor คือค่าอัตราส่วนของกำลังที่ใช้จริง (Watt) และ ค่ากำลังไฟฟ้าที่ปรากฎ (VA) โดยค่าที่ดีที่สุดคือเท่ากับ "1" สมมุติใช้ไฟกะหลอดฟลูออเรสเซน บัลลาสต์แกนเหล็ก PF=0.8
220V .01636A 36W
(220*0.1636)/0.8
= 44.99 VA
สังเกตุว่ากำลังไฟฟ้าจริงกะกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏไม่เท่ากัน 36 W กะ 44.99VA
อีกอย่างเช่นเครื่อง UPS 220V 1600VA โดยที่ UPS มีค่า PF ที่ 0.7
กำลังที่จ่ายได้(W) = 1600VA*0.7
= 1120 W
โหลดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ลวดเหนี่ยวนำหรือตัวเก็ปประจุ จะทำให้ค่า PF เปลี่ยนไป หาข้อมูลดูในเน็ตได้ครับมีเยอะแยะ ครับ สังเกตุว่า UPS มักใช้คำว่า VA ซึ่งไม่ใช่ วัตต์จริงๆ (ถ้าผมอธิบายผิดทักท้วงได้นะครับ มือใหม่ครับ)
แสดงความคิดเห็น
สับสน วัตต์ (W) = โวลต์แอมแปร์ (VA) ไหมคะ
เห็นหน่วยของ กำลังไฟฟ้า มีทั้ง W และ VA ถ้าดูจากสูตร P = EI หน่วย W ก็น่าจะเท่ากับ VA ใช่ไหมคะ
เห็นบางทีกำลังไฟฟ้าก็ใช้หน่วย W บางทีก็ใช้หน่วย VA แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า จะใช้หน่วย W หรือ VA ในสถานการณ์ไหน หรือใช้แทนกันได้ทุกสถานการณ์เลย สับสนๆ
รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อยค่ะ ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบค่ะ