คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ไปอ่านกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ และก็ ๓๕๗ รวมทั้งฎีกาของสองมาตรานี้ประกอบ โดยเฉพาะมาตรา ๕๙ วรรคสาม
ที่สำคัญมาตรา ๓๕๗ มันยอมความไม่ได้ ถ้าเกิดมีการเอาเรื่องขึ้นจริงจะยาว ผมว่าภริยาผู้ว่าและตำรวจเขาคงไม่คิดทำอะไรคุณแม่มากกว่า ไม่งั้นทำจริงขึ้นมาไม่จบกันที่ยอมความแน่ๆ
แต่ถ้าโดนจริงๆ กรณีแม่คุณ ทางเราก็ยังมีข้อต่อสู้ได้หลายอย่าง โดยใช้กฎหมายอาญามาตรา ๕๙ วรรคสามนั้นละครับ แถมในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบความผิดของจำเลยจนสิ้นข้อสงสัยจึงจะลงโทษจำเลยได้ เขาก็ต้องพิสูจน์ละครับว่า ในขณะที่รับถังแก๊สมาแม่คุณรู้หรือควรได้รู้ว่าถังแก๊สนั้นเป็นของโจร (ของที่ขโมย ปล้น ฉ้อโกง มาเป็นต้น) ซึ่งตรงนี้นอกจากโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์แล้ว เราก็สามารถนำข้อหักล้างของเราเข้าพิสูจน์ว่าแม่คุณไม่รู้จริงๆว่าของที่รับมานั้นเป็นของโจร
ส่วนเรื่องสมาทโฟนที่รับซื้อมือสองเขาก็โดนกันบ่อยครับ แต่พวกนี้มีใบอนุญาตซ์้อขายของเก่า ซึ่งแสดงความบริสุทธิใจได้ประมาณหนึ่ง รวมทั้งคนที่อยู่ในวงการเขาก็จะรู้ว่ามีวิธีตรวจสอบและซื้อของกันอย่างไรให้ไม่ตัวเองไปรับของโจรมา อีกทั้งส่วนใหญ่คดีเกี่ยวกะมือถือพวกนี้ส่วนใหญ่เขาปล่อยให้อัยการฟ้อง อัยการก็กันพวกนี้ละเป็นพยาน เพราะถ้าหลักฐานมันไม่มัดจริงๆ ว่ามีเจตนารับของโจร เขาก็ไม่อยากฟ้องให้มันหลุดหรอก สู้กันเอาไว้เป็นพยานดีกว่า
วันหลังถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่าไปรับของมาสุ่มสี่สุ่มห้า ความสงสารหรือใจอ่อนไม่ใช่ข้อแก้ตัวในความผิดฐานนี้นะครับ
ที่สำคัญมาตรา ๓๕๗ มันยอมความไม่ได้ ถ้าเกิดมีการเอาเรื่องขึ้นจริงจะยาว ผมว่าภริยาผู้ว่าและตำรวจเขาคงไม่คิดทำอะไรคุณแม่มากกว่า ไม่งั้นทำจริงขึ้นมาไม่จบกันที่ยอมความแน่ๆ
แต่ถ้าโดนจริงๆ กรณีแม่คุณ ทางเราก็ยังมีข้อต่อสู้ได้หลายอย่าง โดยใช้กฎหมายอาญามาตรา ๕๙ วรรคสามนั้นละครับ แถมในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบความผิดของจำเลยจนสิ้นข้อสงสัยจึงจะลงโทษจำเลยได้ เขาก็ต้องพิสูจน์ละครับว่า ในขณะที่รับถังแก๊สมาแม่คุณรู้หรือควรได้รู้ว่าถังแก๊สนั้นเป็นของโจร (ของที่ขโมย ปล้น ฉ้อโกง มาเป็นต้น) ซึ่งตรงนี้นอกจากโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์แล้ว เราก็สามารถนำข้อหักล้างของเราเข้าพิสูจน์ว่าแม่คุณไม่รู้จริงๆว่าของที่รับมานั้นเป็นของโจร
ส่วนเรื่องสมาทโฟนที่รับซื้อมือสองเขาก็โดนกันบ่อยครับ แต่พวกนี้มีใบอนุญาตซ์้อขายของเก่า ซึ่งแสดงความบริสุทธิใจได้ประมาณหนึ่ง รวมทั้งคนที่อยู่ในวงการเขาก็จะรู้ว่ามีวิธีตรวจสอบและซื้อของกันอย่างไรให้ไม่ตัวเองไปรับของโจรมา อีกทั้งส่วนใหญ่คดีเกี่ยวกะมือถือพวกนี้ส่วนใหญ่เขาปล่อยให้อัยการฟ้อง อัยการก็กันพวกนี้ละเป็นพยาน เพราะถ้าหลักฐานมันไม่มัดจริงๆ ว่ามีเจตนารับของโจร เขาก็ไม่อยากฟ้องให้มันหลุดหรอก สู้กันเอาไว้เป็นพยานดีกว่า
วันหลังถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่าไปรับของมาสุ่มสี่สุ่มห้า ความสงสารหรือใจอ่อนไม่ใช่ข้อแก้ตัวในความผิดฐานนี้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
เพิ่งเจอมากับตัว คดีรับซื้อของโจร อยากทราบว่าแบบนี้ผิดไหมคับ
เรื่องมีอยู่ว่าครอบครัวผมประกอบธุรกิจร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม และเตาแก๊ส บ่อยครั้งจะมีคนเอาถังแก๊สมาขายให้ ซึ่งโดยปกติแม่ผมก็ไม่รับซื้อนะคับ แต่จะมีบางคนขอร้อง มักจะอ้างว่า ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกบ้าง ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านบ้าง ซึ่งแม่ผมก็มักใจอ่อน แต่แม่ผมก็ไม่ได้รับซื้อมาเลยนะคับ จะทำเป็นลักษณะจำนำของ คือ คิดดอกเบี้ยเดือนละ 1% มีเงินเมื่อไหร่ก็มาไถ่คืน ออกเป็นใบจำนำให้ พร้อมขอสำเนาบัตรประชาชนของคนที่นำถังแก๊สมาจำนำ
เหตุเกิดเมื่อ 2 วันก่อน เมียผู้ว่า จังหวัด (ไม่ขอเอยนาม) ไปแจ้งความว่าโดนขโมยถังแก๊ส หลังจากตามจนเจอตัวโจร ก็พบใบมัดจำถังแก๊สกับแม่ผม ก็เลยมาตามเอากับร้าน พอดีเป็นคนรู้จัก เรื่องเลยจบแบบไม่เอาความ (คือ เมียผู้ว่า จ่ายเงินตามจำนวนมัดจำ พร้อมเอาถังคืนไป)
เรื่องที่อยากถามก็คือ
1. หากเอาความจนถึงที่สุด แม่ผมจะผิด ฐานรับซื้อของโจรไหมคับ และถ้าผิดต้องรับโทษอะไรบ้างคับ การรับซื้อถังแก๊สแบบนี้ เดายากคับว่าเป็นของขโมยมารึเปล่า ถ้าผิดจิงจะได้บอกให้ แม่ใจแข็ง ต่อไปไม่ว่าคนขายมาอ้อนวอนยังไง จะได้ไม่รับ
2. กรณี เงินมัดจำ ถ้าผู้เสียหายมาเอาถังแก๊สคืน จำเป็นต้องจ่ายเงินมัดจำให้แม่ผมไหม กลัวเกิดกรณีนาย ก กับนาย ข สมรู้ร่วมคิดกัน ให้ นาย ข มาขายถังแก๊ส เอาเงินไป แล้วให้ นาย ก ไปแจ้งความ เพื่อเอาถังแก๊ส คืน แบบนี้ ร้านผมก็เสียเต็มๆ