การถอดถอนที่กำลังบ่งบอกถึงความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของสังคมไทย
เมื่อกระบวนการถอดถอนอดีตประธานสภา 2 ท่านและอดีตนายกฯมาถึงขั้นตอนนี้ ก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า
การถอดถอนนี้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอย่างที่ควรจะเป็น แต่การถอดถอนนี้เป็นเรื่องการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ไปแล้ว
เมื่ออดีตนายกฯตัดสินใจไม่ไปชี้แจงด้วยตนเองโดยได้มอบให้อดีตรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไปชี้แจง สนช.ไม่อนุญาตให้รมต.ทั้งหลายได้ชี้แจงแต่ก็ยังซักถามกันอยู่อย่างเมามัน
เป็นการซักถามที่ไม่ต้องการคำตอบ แต่เป็นการฉวยโอกาสประณามผู้ถูกถอดถอน หว่านล้อมให้ผู้ฟังทั่วประเทศเห็นด้วยกับผู้พูดเสียมากกว่า
การพูดฝ่ายเดียวอย่างนี้ ไม่ใช่การซักถามแต่เป็นการอภิปรายในลักษณะเดียวกันกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่างกันที่การพูดนี้ไม่ยอมให้มีผู้ชี้แจงเลยและการพูดฝ่ายเดียวแบบอภิปรายนี้ไม่มีอยู่ในข้อบังคับซึ่งกำหนดให้ซักถาม ไม่ใช่อภิปราย
สนช.ไม่อนุญาตให้ชี้แจงแทนกันทั้งๆที่ข้อบังคับให้ทำได้
อ้างว่าตกลงกันไว้อย่างนั้น แต่เห็นว่าแม้ไม่มีผู้ชี้แจงก็อนุโลมให้ถามได้ คือเลือกปฏิบัติแบบตามใจฉันนั่นเอง
ดูจากการกล่าวหา การพูดฝ่ายเดียวและการชี้แจงนอกเวทีของอดีตรัฐมนตรีแล้ว ปปช.ได้เปรียบตรงที่สามารถพูดเรื่องนี้ได้บ่อยๆแบบไม่มีขีดจำกัด พูดให้เป็นการเมืองก็ได้ เจือปนด้วยความเห็นทางนโยบายก็ได้ ทั้งๆที่โดยหน้าที่ของปปช.ไม่พึงกระทำอย่างนั้น ปปช.จึงให้ข้อมูลได้มากกว่า
แต่จุดอ่อนของปปช.คือ ไม่สามารถแสดงได้ว่ามีใครทุจริตอย่างไร แต่กลับกล่าวหาอดีตนายกฯว่าปล่อยให้มีการทุจริต
ผมไม่ขอลงในรายละเอียดเพราะเห็นว่าโดยหลักการแล้ว กระบวนการถอดถอนทั้งหมดนั้นผิดมาตั้งแต่ต้นดังที่เคยให้ความเห็นไว้แล้ว
การถอดถอนเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งถูกฉีกไปแล้ว ขณะนี้จึงไม่มีบทบัญญัติใดรองรับหรือให้อำนาจแก่สนช.ในการถอดถอนนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 50 ใช้บังคับอยู่ การถอดถอนของสนช.จึงเป็นการกระทำที่ลุแก่อำนาจไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ดังนั้นไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องถือว่า ไม่มีความเป็นธรรมต่อผู้ถูกถอดถอนทั้งสิ้น ผู้มีใจเป็นธรรมจึงไม่อาจยอมรับผลของการถอดถอนได้
กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ถูกกล่าวว่าทุจริต คอรัปชั่นจะไม่ต้องถูกดำเนินคดี กระบวนการตามกฎหมายที่ไม่ได้อาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ยังสามารถทำต่อไปได้ เพียงแต่ขอให้เป็นไปอย่างยุติธรรมจริงๆเท่านั้น
เรื่องหนึ่งที่ทางฝ่ายปปช.และผู้ที่กระเหี้ยนกระหือรือจะจัดการกับอดีตนายกฯให้อยู่หมัด มักพูดอยู่บ่อยๆก็คือบอกว่าการปรองดองไม่ได้หมายความว่า จะต้องไม่ลงโทษผู้กระทำผิด ผมคิดว่า ผู้ที่พูดอย่างนี้พยายามบ่ายเบี่ยงประเด็นให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้ที่กำลังถูกเล่นงานด้วยวิธีต่างๆอ้างการปรองดองเพื่อให้ตนเองพ้นจากการลงโทษ ทั้งๆที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
การปรองดองไม่ได้หมายความว่าจะต้องไม่ลงโทษคนผิด เพียงแต่การลงโทษนั้นต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม ไม่ใช่ทำกันตามอำเภอใจ ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์อย่างที่ทำกันอยู่
การเลือกปฏิบัติในการลงโทษคน การให้คุณให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่ยึดหลักนิติธรรมนี่แหละคือ ต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งและวิกฤตการเมืองในสังคมไทย
ยิ่งมีการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม ความปรองดองก็ยิ่งไม่มีทางเกิดขึ้นได้และความขัดแย้งจะยิ่งมากขึ้น
การถอดถอนที่ไม่เป็นธรรมมีผลเสียต่อการปรองดองก็ตรงนี้
ที่มา เพจ # Chaturon Chaisang
การถอดถอนที่กำลังบ่งบอกถึงความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของสังคมไทย โดยท่าน Chaturon Chaisang
การถอดถอนที่กำลังบ่งบอกถึงความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของสังคมไทย
เมื่อกระบวนการถอดถอนอดีตประธานสภา 2 ท่านและอดีตนายกฯมาถึงขั้นตอนนี้ ก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การถอดถอนนี้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอย่างที่ควรจะเป็น แต่การถอดถอนนี้เป็นเรื่องการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ไปแล้ว
เมื่ออดีตนายกฯตัดสินใจไม่ไปชี้แจงด้วยตนเองโดยได้มอบให้อดีตรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไปชี้แจง สนช.ไม่อนุญาตให้รมต.ทั้งหลายได้ชี้แจงแต่ก็ยังซักถามกันอยู่อย่างเมามัน
เป็นการซักถามที่ไม่ต้องการคำตอบ แต่เป็นการฉวยโอกาสประณามผู้ถูกถอดถอน หว่านล้อมให้ผู้ฟังทั่วประเทศเห็นด้วยกับผู้พูดเสียมากกว่า
การพูดฝ่ายเดียวอย่างนี้ ไม่ใช่การซักถามแต่เป็นการอภิปรายในลักษณะเดียวกันกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่างกันที่การพูดนี้ไม่ยอมให้มีผู้ชี้แจงเลยและการพูดฝ่ายเดียวแบบอภิปรายนี้ไม่มีอยู่ในข้อบังคับซึ่งกำหนดให้ซักถาม ไม่ใช่อภิปราย
สนช.ไม่อนุญาตให้ชี้แจงแทนกันทั้งๆที่ข้อบังคับให้ทำได้ อ้างว่าตกลงกันไว้อย่างนั้น แต่เห็นว่าแม้ไม่มีผู้ชี้แจงก็อนุโลมให้ถามได้ คือเลือกปฏิบัติแบบตามใจฉันนั่นเอง
ดูจากการกล่าวหา การพูดฝ่ายเดียวและการชี้แจงนอกเวทีของอดีตรัฐมนตรีแล้ว ปปช.ได้เปรียบตรงที่สามารถพูดเรื่องนี้ได้บ่อยๆแบบไม่มีขีดจำกัด พูดให้เป็นการเมืองก็ได้ เจือปนด้วยความเห็นทางนโยบายก็ได้ ทั้งๆที่โดยหน้าที่ของปปช.ไม่พึงกระทำอย่างนั้น ปปช.จึงให้ข้อมูลได้มากกว่า
แต่จุดอ่อนของปปช.คือ ไม่สามารถแสดงได้ว่ามีใครทุจริตอย่างไร แต่กลับกล่าวหาอดีตนายกฯว่าปล่อยให้มีการทุจริต
ผมไม่ขอลงในรายละเอียดเพราะเห็นว่าโดยหลักการแล้ว กระบวนการถอดถอนทั้งหมดนั้นผิดมาตั้งแต่ต้นดังที่เคยให้ความเห็นไว้แล้ว
การถอดถอนเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งถูกฉีกไปแล้ว ขณะนี้จึงไม่มีบทบัญญัติใดรองรับหรือให้อำนาจแก่สนช.ในการถอดถอนนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 50 ใช้บังคับอยู่ การถอดถอนของสนช.จึงเป็นการกระทำที่ลุแก่อำนาจไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ดังนั้นไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องถือว่า ไม่มีความเป็นธรรมต่อผู้ถูกถอดถอนทั้งสิ้น ผู้มีใจเป็นธรรมจึงไม่อาจยอมรับผลของการถอดถอนได้
กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ถูกกล่าวว่าทุจริต คอรัปชั่นจะไม่ต้องถูกดำเนินคดี กระบวนการตามกฎหมายที่ไม่ได้อาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ยังสามารถทำต่อไปได้ เพียงแต่ขอให้เป็นไปอย่างยุติธรรมจริงๆเท่านั้น
เรื่องหนึ่งที่ทางฝ่ายปปช.และผู้ที่กระเหี้ยนกระหือรือจะจัดการกับอดีตนายกฯให้อยู่หมัด มักพูดอยู่บ่อยๆก็คือบอกว่าการปรองดองไม่ได้หมายความว่า จะต้องไม่ลงโทษผู้กระทำผิด ผมคิดว่า ผู้ที่พูดอย่างนี้พยายามบ่ายเบี่ยงประเด็นให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้ที่กำลังถูกเล่นงานด้วยวิธีต่างๆอ้างการปรองดองเพื่อให้ตนเองพ้นจากการลงโทษ ทั้งๆที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
การปรองดองไม่ได้หมายความว่าจะต้องไม่ลงโทษคนผิด เพียงแต่การลงโทษนั้นต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม ไม่ใช่ทำกันตามอำเภอใจ ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์อย่างที่ทำกันอยู่
การเลือกปฏิบัติในการลงโทษคน การให้คุณให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่ยึดหลักนิติธรรมนี่แหละคือ ต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งและวิกฤตการเมืองในสังคมไทย
ยิ่งมีการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม ความปรองดองก็ยิ่งไม่มีทางเกิดขึ้นได้และความขัดแย้งจะยิ่งมากขึ้น
การถอดถอนที่ไม่เป็นธรรมมีผลเสียต่อการปรองดองก็ตรงนี้
ที่มา เพจ # Chaturon Chaisang