ประวัติเซนต์วาเลนไทน์หรือนักบุญวาเลนไทน์
นักบุญวาเลนไทม์เป็นบาทหลวงที่อยู่ในกรุงโรมระหว่างศตวรรษที่ 3 ในเวลานั้นกรุงโรมถูกปกครองโดยจักรพรรดิที่ชื่อว่า "คลอดิอุส" ซึ่งมีนิสัยชอบข่มเหงผู้อื่น ทำให้ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่าใดนัก
ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นบาทหลวงที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
ในเวลาต่อมานักบุญวาเลนไทน์ได้จัดการแต่งงานให้กับคู่หญิงสาวหลายคู่ขึ้นอย่างลับ ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศการใช้กฏหมายห้ามแต่งงานแล้วก็ตาม นักบุญวาเลนไทน์ยังคงรักที่จะทำพิธีเหล่านี้ โดยภายในงานนั้นจะมีเพียงเจ้าบ่าว เจ้าสาว และท่านนัก บุญเท่านั้น พวกเขาจะกระซิบคำสาบานและคำอธิษฐานต่อกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังเสียงการเดินตรวจตราของเหล่าทหารด้วย แต่แล้วคืนหนึ่ง ในขณะที่กำลังทำพิธีแต่งงานอย่างลับ ๆ อยู่นั้นเอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์เกิดได้ยิ นเสียงผีเท้าของทหาร แต่โชคดีที่คู่บ่าวสาวนั้นหนีออกไปจากโบสถ์ได้ทัน
ในที่สุดนักบุญวาเลนไทน์จึงถูกจับขังคุกและถูกทรมานอย่างแสนสาหัส ท่านพยายามให้กำลังใจตัวเองทุก ๆ วัน และแล้ว วันหนึ่งสิ่งวิเศษก็เกิดขึ้น เด็กหนุ่มสาวหลายคนมาที่คุกเพื่อจะมาเยี่ยมท่านนักบุญ พวกเขาโยนดอกไม้และกระดาษซึ่งเขียนข้อความต่าง ๆ เข้าไปทางช่องหน้าต่างของคุก พวกเขาต้องการให้นักบุญวาเลนไ ทน์รู้ว่า พวกเขาเองก็มีความเชื่อและศรัทธาในความรักด้วยเช่นกัน หนึ่งในเด็กสาวเหล่านั้น เป็นลูกสาวของผู้คุม ซึ่งพ่อของเธอได้อนุญาติให้เธอเข้าไปเยี่ยมนักบุญ วาเลนไทน์ได้ในคุก บางครั้งพวกเขาจะนั่งคุยกันนานนับชั่วโมง หล่อนช่วยให้กำลังใจท่านนักบุญ และเห็นด้วยกับการที่ท่านปฏิเสธกฏหมายห้ามการแต่งงานนั้น อีกทั้งยั งสนับสนุนการแต่งงานอย่างลับ ๆ ของท่านนักบุญอีกด้วย
ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ขณะที่อยู่ในคุก ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้น ได้มีสิ่งแปลกป ระหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขัง อยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดาย ที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้า ให้เธอ ฟัง จูเลียสามารถรับรู้สิ่งต่างๆในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของวาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขา และเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า "ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม"
เขาตอบ "พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเรา ทุกคน"
จูเลียกล่าว "ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไร ทุกๆเช้า ทุกๆเย็น….ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็น โลก เห็นทุกๆอย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง"
วาเลนตินุสจึงบอก"พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่เราทุกคน เพียงแค่ เรามีความเชื่อมั่น ในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง"
จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จึงได้คุกเข่า กุมมือ อธิษฐานพร้อมกับ วาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้นจูเลียค่อยๆลืมตา พระเจ้า……เธอมองเห็นแล้ว!!!!! เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
ในคืนก่อนที่วาเลนตินุส จะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้าย ถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า "From Your Valentine" เขาสิ้นชีพในวัน ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจาก นั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บ ไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูก ต้นอามันต์ หรือ อัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สี ชมพู ได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพ อันสวยงาม
นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ในปี 296 A.D. ในคุกแห่งนั้นเอง ก่อนตายท่านได้ฝากโน๊ต สั้น ๆ ถึงเพื่อนของท่านและลงท้ายว่า "Love from your Valentine"...ในปี 496 A.D. โป๊ป Gelasius ได้ยกย่องให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงคุณความดี ความกล้าหาญ และความเสียสละของนักบุญวาเลนไทน์...เราจึงมักถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งความรัก ในระยะต่อมาวันวาเลนไทน์ ใช้แทนความรักของหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ โดยในวันนี้จะมีการส่งขนม (โดยเฉพาะช็อคโกแลต) ดอกไม้ (ส่วนใหญ่จะดอกกุหลาบ) ให้กับคนที่รัก
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีประเพณีการแลกเปลี่ยนจดหมายรักซึ่งกันและกันในวันวาเลนไทน์ โดยจะเขียนขึ้นในวันที่นักบุญ วาเลนไทน์เสียชีวิต คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีคริสตศักราช 270 และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านนักบุญวาเลนไทน์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของวันนี้คือ การมอบความรักและมิตรภาพให้แก่กันและกัน และทุก ๆ ครั้งที่ผู้คนต่างนึกถึงจักรพรรดิคลอดิอุส เขาก็จะจำได้ถึงวิธีการที่คลอดิอุสพยายามจะมาแทนที่หนทางของความรัก แล้วก็จะพากันหัวเร าะ เพราะว่าพวกเขาต่างรู้ดีว่าความรักนั้นไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนหรือแทนที่ได้เลย
วันวาเลนไทน์ เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีหนุ่มสาวหรือคนบางกลุ่มนิยมส่งดอกกุหลาบสีแดง หรือบัตรรูปหัวใจให้แก่กันและกันซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนารมณ์ของความรักความเข้าใจต่อกัน วันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมฝรั่งเขาส่งบัตรหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆ ไปให้แก่คนที่เขารักโดยไม่บอกชื่อผู้ส่ง ซึ่งจะมาจากใครก็ได้
" ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง " (1โครินธ์ 13:4-7)
และแถมนะครับ
ภาษากรีก ที่บรรยายถึงคำว่ารักนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า มีด้วยกัน 4 คำ
คือ 1.เอโรส 2.สเตอร์เก 3.ฟีเลีย 4.อากาเป้
1.เอโรส
(ἔρως)
เป็นความรักที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง อยากเป็นเจ้าของครอบครอง และเรียกร้องให้คนที่เขารัก ตอบสนองต่อเขาทั้งทางจิตใจ และร่างกาย
คนกรีก จะกำหนดคำนี้ให้ใช้กับ ความรักที่มีขีดจำกัดเฉพาะ ความใคร่เท่านั้น ซึ่งพวกเขาใช้คำๆนี้ในการบรรยาย ถึงความรักที่ผิดๆของหนุ่มสาว นั้นก็คือ การเรียกร้องให้อีกฝ่าย สนองต่อความต้องการ หรือความพอใจทางร่างกายของตัวเอง หรือการมองเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นเครื่องมือ ในการปลดปล่อยทางเพศ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก
เอโรส เป็นคำนาม (เอราน-คำกริยา) ใช้หมายถึงความรักระหว่างเพศ หรืออาจจะใช้หมายถึงความกระหายทะเยอทะยาน และเรื่องความรักชาติอย่างรุนแรงก็ได้
2.สเตอร์เก
(στοργή)
เป็นความรักที่ไม่ต้องสร้าง แต่จะมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะผูกพันกันน้อยหรือมากนั้น ขึ้นอยู่กับการมีเวลาอยู่ด้วยกันมากน้อยขนาดไหน แต่ถึงจะมากจะน้อย ก็ยังมีความผูกพันลึกซึ้งกันอยู่
ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่อบอุ่น ตัดไม่ขาด และไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ความรักแบบนี้ เป็นความรักระหว่าง พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง หรือญาติ ที่มีต่อกันและกัน
สเตอร์เก เป็นคำนาม (สเตอร์เกน-คำกริยา) มีความหมายรักผูกพันฉันญาติ แต่ใช้ได้กับประชาชนที่มีความรักต่อผู้ปกครองหรือความรักของชนชาติ แต่ทั่วๆไปก็ใช้ถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ และลูกๆต่อพ่อแม่
3.ฟีเลีย
(φιλία)
ความรักประเภทนี้คนกรีกบอกว่า เป็นเหมือนเมล็ดพืชที่สองคนช่วยกันปลูก และช่วยกันดูแล รดน้ำป้องกันสิ่งที่มารบกวน จนกลายเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้นมา และก็จะกล้าเปิดเผยตัวจริงของเขาเอง ให้อีกฝ่ายโดยไม่ปกปิด อย่างนี้เขาเรียกว่า รักแบบสามีภรรยา หรือเพื่อนสนิท
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าบางครั้งสามี ภรรยาก็อาจจะ มีการทะเลาะหรือขัดแย้งกัน เมื่อสามีพูดกับภรรยา หรือ ภรรยาพูดกับสามี ก็แตกต่างกับพวกเขาพูดกับคนอื่น เพราะพวกเขาอาจจะพูดอย่างสุภาพกับคนอื่น แต่สำหรับคู่ หรือเพื่อนสนิทของเขาแล้ว เขาก็อาจจะไม่สุภาพ เหมือนกับที่เขาพูดกับคนอื่น นั้นเป็นเพราะว่า สำหรับคนที่เราสนิทแล้ว เราก็กล้าเปิดเผยตัวจริง ให้แก่กันและกัน
ฟิเลีย เป็นคำนาม (ฟิเลน-คำกริยา) มีความรักที่อบอุ่นอยู่ในคำนี้ หรือแปลว่ามองด้วยความรักใคร่ผูกพัน
"ฟิเลน" แปลได้ตรงคือรักใคร่อย่างทะนุถนอมรักอย่างดูแลเอาใจใส่
"ฟิเลีย" รักใคร่ฝ่ายเนื้อหนัง หรือบางครั้งแปลว่าจุมพิตก็ได้
4.อากาเป้
(ἀγάπη)
ความรักประเภทนี้คนกรีกเรียกว่า "รักบริสุทธิ์ รักที่ยิ่งใหญ่" ซึ่งความรักเช่นนี้เป็นความรักที่ตอบสนอง ต่อจจิตใจส่วนลึก ของมนุษย์ทุกคน เป็นความรักที่ไม่มีข้อแม้ และรักโดยไม่ต้องมีอะไร มากระตุ้น ให้ต้องรัก เป็นความรักที่พร้อมจะเข้าใจในความผิดพลาด และพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ รักแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ
ประวัติวันวาเลนไทม์
นักบุญวาเลนไทม์เป็นบาทหลวงที่อยู่ในกรุงโรมระหว่างศตวรรษที่ 3 ในเวลานั้นกรุงโรมถูกปกครองโดยจักรพรรดิที่ชื่อว่า "คลอดิอุส" ซึ่งมีนิสัยชอบข่มเหงผู้อื่น ทำให้ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่าใดนัก
ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นบาทหลวงที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
ในเวลาต่อมานักบุญวาเลนไทน์ได้จัดการแต่งงานให้กับคู่หญิงสาวหลายคู่ขึ้นอย่างลับ ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศการใช้กฏหมายห้ามแต่งงานแล้วก็ตาม นักบุญวาเลนไทน์ยังคงรักที่จะทำพิธีเหล่านี้ โดยภายในงานนั้นจะมีเพียงเจ้าบ่าว เจ้าสาว และท่านนัก บุญเท่านั้น พวกเขาจะกระซิบคำสาบานและคำอธิษฐานต่อกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังเสียงการเดินตรวจตราของเหล่าทหารด้วย แต่แล้วคืนหนึ่ง ในขณะที่กำลังทำพิธีแต่งงานอย่างลับ ๆ อยู่นั้นเอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์เกิดได้ยิ นเสียงผีเท้าของทหาร แต่โชคดีที่คู่บ่าวสาวนั้นหนีออกไปจากโบสถ์ได้ทัน
ในที่สุดนักบุญวาเลนไทน์จึงถูกจับขังคุกและถูกทรมานอย่างแสนสาหัส ท่านพยายามให้กำลังใจตัวเองทุก ๆ วัน และแล้ว วันหนึ่งสิ่งวิเศษก็เกิดขึ้น เด็กหนุ่มสาวหลายคนมาที่คุกเพื่อจะมาเยี่ยมท่านนักบุญ พวกเขาโยนดอกไม้และกระดาษซึ่งเขียนข้อความต่าง ๆ เข้าไปทางช่องหน้าต่างของคุก พวกเขาต้องการให้นักบุญวาเลนไ ทน์รู้ว่า พวกเขาเองก็มีความเชื่อและศรัทธาในความรักด้วยเช่นกัน หนึ่งในเด็กสาวเหล่านั้น เป็นลูกสาวของผู้คุม ซึ่งพ่อของเธอได้อนุญาติให้เธอเข้าไปเยี่ยมนักบุญ วาเลนไทน์ได้ในคุก บางครั้งพวกเขาจะนั่งคุยกันนานนับชั่วโมง หล่อนช่วยให้กำลังใจท่านนักบุญ และเห็นด้วยกับการที่ท่านปฏิเสธกฏหมายห้ามการแต่งงานนั้น อีกทั้งยั งสนับสนุนการแต่งงานอย่างลับ ๆ ของท่านนักบุญอีกด้วย
ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ขณะที่อยู่ในคุก ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้น ได้มีสิ่งแปลกป ระหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขัง อยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดาย ที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้า ให้เธอ ฟัง จูเลียสามารถรับรู้สิ่งต่างๆในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของวาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขา และเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า "ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม"
เขาตอบ "พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเรา ทุกคน"
จูเลียกล่าว "ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไร ทุกๆเช้า ทุกๆเย็น….ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็น โลก เห็นทุกๆอย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง"
วาเลนตินุสจึงบอก"พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่เราทุกคน เพียงแค่ เรามีความเชื่อมั่น ในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง"
จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จึงได้คุกเข่า กุมมือ อธิษฐานพร้อมกับ วาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้นจูเลียค่อยๆลืมตา พระเจ้า……เธอมองเห็นแล้ว!!!!! เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
ในคืนก่อนที่วาเลนตินุส จะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้าย ถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า "From Your Valentine" เขาสิ้นชีพในวัน ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจาก นั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บ ไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูก ต้นอามันต์ หรือ อัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สี ชมพู ได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพ อันสวยงาม
นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ในปี 296 A.D. ในคุกแห่งนั้นเอง ก่อนตายท่านได้ฝากโน๊ต สั้น ๆ ถึงเพื่อนของท่านและลงท้ายว่า "Love from your Valentine"...ในปี 496 A.D. โป๊ป Gelasius ได้ยกย่องให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงคุณความดี ความกล้าหาญ และความเสียสละของนักบุญวาเลนไทน์...เราจึงมักถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งความรัก ในระยะต่อมาวันวาเลนไทน์ ใช้แทนความรักของหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ โดยในวันนี้จะมีการส่งขนม (โดยเฉพาะช็อคโกแลต) ดอกไม้ (ส่วนใหญ่จะดอกกุหลาบ) ให้กับคนที่รัก
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีประเพณีการแลกเปลี่ยนจดหมายรักซึ่งกันและกันในวันวาเลนไทน์ โดยจะเขียนขึ้นในวันที่นักบุญ วาเลนไทน์เสียชีวิต คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีคริสตศักราช 270 และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านนักบุญวาเลนไทน์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของวันนี้คือ การมอบความรักและมิตรภาพให้แก่กันและกัน และทุก ๆ ครั้งที่ผู้คนต่างนึกถึงจักรพรรดิคลอดิอุส เขาก็จะจำได้ถึงวิธีการที่คลอดิอุสพยายามจะมาแทนที่หนทางของความรัก แล้วก็จะพากันหัวเร าะ เพราะว่าพวกเขาต่างรู้ดีว่าความรักนั้นไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนหรือแทนที่ได้เลย
วันวาเลนไทน์ เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีหนุ่มสาวหรือคนบางกลุ่มนิยมส่งดอกกุหลาบสีแดง หรือบัตรรูปหัวใจให้แก่กันและกันซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนารมณ์ของความรักความเข้าใจต่อกัน วันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมฝรั่งเขาส่งบัตรหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆ ไปให้แก่คนที่เขารักโดยไม่บอกชื่อผู้ส่ง ซึ่งจะมาจากใครก็ได้
" ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง " (1โครินธ์ 13:4-7)
และแถมนะครับ
ภาษากรีก ที่บรรยายถึงคำว่ารักนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า มีด้วยกัน 4 คำ
คือ 1.เอโรส 2.สเตอร์เก 3.ฟีเลีย 4.อากาเป้
1.เอโรส (ἔρως)
เป็นความรักที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง อยากเป็นเจ้าของครอบครอง และเรียกร้องให้คนที่เขารัก ตอบสนองต่อเขาทั้งทางจิตใจ และร่างกาย
คนกรีก จะกำหนดคำนี้ให้ใช้กับ ความรักที่มีขีดจำกัดเฉพาะ ความใคร่เท่านั้น ซึ่งพวกเขาใช้คำๆนี้ในการบรรยาย ถึงความรักที่ผิดๆของหนุ่มสาว นั้นก็คือ การเรียกร้องให้อีกฝ่าย สนองต่อความต้องการ หรือความพอใจทางร่างกายของตัวเอง หรือการมองเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นเครื่องมือ ในการปลดปล่อยทางเพศ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก
เอโรส เป็นคำนาม (เอราน-คำกริยา) ใช้หมายถึงความรักระหว่างเพศ หรืออาจจะใช้หมายถึงความกระหายทะเยอทะยาน และเรื่องความรักชาติอย่างรุนแรงก็ได้
2.สเตอร์เก (στοργή)
เป็นความรักที่ไม่ต้องสร้าง แต่จะมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะผูกพันกันน้อยหรือมากนั้น ขึ้นอยู่กับการมีเวลาอยู่ด้วยกันมากน้อยขนาดไหน แต่ถึงจะมากจะน้อย ก็ยังมีความผูกพันลึกซึ้งกันอยู่
ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่อบอุ่น ตัดไม่ขาด และไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ความรักแบบนี้ เป็นความรักระหว่าง พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง หรือญาติ ที่มีต่อกันและกัน
สเตอร์เก เป็นคำนาม (สเตอร์เกน-คำกริยา) มีความหมายรักผูกพันฉันญาติ แต่ใช้ได้กับประชาชนที่มีความรักต่อผู้ปกครองหรือความรักของชนชาติ แต่ทั่วๆไปก็ใช้ถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ และลูกๆต่อพ่อแม่
3.ฟีเลีย (φιλία)
ความรักประเภทนี้คนกรีกบอกว่า เป็นเหมือนเมล็ดพืชที่สองคนช่วยกันปลูก และช่วยกันดูแล รดน้ำป้องกันสิ่งที่มารบกวน จนกลายเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้นมา และก็จะกล้าเปิดเผยตัวจริงของเขาเอง ให้อีกฝ่ายโดยไม่ปกปิด อย่างนี้เขาเรียกว่า รักแบบสามีภรรยา หรือเพื่อนสนิท
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าบางครั้งสามี ภรรยาก็อาจจะ มีการทะเลาะหรือขัดแย้งกัน เมื่อสามีพูดกับภรรยา หรือ ภรรยาพูดกับสามี ก็แตกต่างกับพวกเขาพูดกับคนอื่น เพราะพวกเขาอาจจะพูดอย่างสุภาพกับคนอื่น แต่สำหรับคู่ หรือเพื่อนสนิทของเขาแล้ว เขาก็อาจจะไม่สุภาพ เหมือนกับที่เขาพูดกับคนอื่น นั้นเป็นเพราะว่า สำหรับคนที่เราสนิทแล้ว เราก็กล้าเปิดเผยตัวจริง ให้แก่กันและกัน
ฟิเลีย เป็นคำนาม (ฟิเลน-คำกริยา) มีความรักที่อบอุ่นอยู่ในคำนี้ หรือแปลว่ามองด้วยความรักใคร่ผูกพัน
"ฟิเลน" แปลได้ตรงคือรักใคร่อย่างทะนุถนอมรักอย่างดูแลเอาใจใส่
"ฟิเลีย" รักใคร่ฝ่ายเนื้อหนัง หรือบางครั้งแปลว่าจุมพิตก็ได้
4.อากาเป้ (ἀγάπη)
ความรักประเภทนี้คนกรีกเรียกว่า "รักบริสุทธิ์ รักที่ยิ่งใหญ่" ซึ่งความรักเช่นนี้เป็นความรักที่ตอบสนอง ต่อจจิตใจส่วนลึก ของมนุษย์ทุกคน เป็นความรักที่ไม่มีข้อแม้ และรักโดยไม่ต้องมีอะไร มากระตุ้น ให้ต้องรัก เป็นความรักที่พร้อมจะเข้าใจในความผิดพลาด และพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ รักแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ