เปิดใจ เด็กม.5 ′เชิญมา (ไม่) ผิดคน′ ณัฐนันท์ วรินทรเวช เยาวชนผู้เปิดเสรีภาพทางความคิด
อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล - เรื่อง สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์ - ภาพ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421471202
เป็นคำถามที่มาพร้อมกับ "วันเด็ก"
กรณีนักเรียนหญิงอายุ 17 ปี ลุกขึ้นถามถึงความชอบธรรมของอำนาจ ต่อ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า "สปช.จะแก้ปัญหาการคอรัปชั่นได้อย่างไร? ในเมื่อการเข้าสู่อำนาจของพวกเขาก็คือการขโมยหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน ซึ่งในมุมมองของฉันคือการคอร์รัปชั่น ทางอำนาจซึ่งไม่ได้เลวร้ายน้อยไปกว่าการคอร์รัปชั่นทางการเงินเลย"
และ "พวกเขาเหล่านี้ได้มองว่าการเข้าสู่อำนาจโดยมิชอบคือการคอร์รัปชั่นหรือไม่?"
สิ่งที่เกิดขึ้นคือถูกเจ้าหน้าที่ของรายการเชิญออก โดยมีเหตุผลว่า "เชิญมาผิดคน"
เรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นเมื่อ ณัฐนันท์ วรินทรเวช หรือ "ไนซ์" นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเลขาธิการกลุ่ม "การศึกษาเพื่อความเป็นไท" บุคคลในข่าวออกมาโพสต์แถลงการณ์ "ข้อกังขาต่อความจริงใจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)" ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Nattanan Warintarawet"
เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเตรียมตัวออกรายการสด "เจาะประเด็นร้อน" ทางช่อง 5 และคำถามสุดแทงใจ
ภายหลัง พล.อ.สุรวัช บุตรวงษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกมายืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกรณีดังกล่าว โดยหลังรายการ ทาง สปช.ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทางช่องว่า เด็กที่จะออกรายการ ต้องเคยผ่านเวทีแสดงความเห็นเรื่องปฏิรูปมาก่อน และขอให้ยกเทปดังกล่าวออก
ขณะที่ อลงกรณ์ พลบุตร วิป สปช. ยืนยันว่า ประธาน สปช.เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นเสมอ และทุกคนรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่อาจจะกังวลเรื่องความมั่นคง โดยหลังจากนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว ว่าการปฏิรูปจะต้องเปิดกว้าง
แม้จะมีการออกมาชี้แจง แต่กระแสจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงร้อนแรง
ณัฐนันท์เปิดใจว่า หลังโพสต์แถลงการณ์ลงเฟซบุ๊ก ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยว่า ดีแล้วสมควรแล้วที่ถูกเชิญออก เพราะไปพูดจาไม่ดี มีที่มองว่าเป็นเสื้อแดง ซึ่งความจริงเวลาคุยกับเพื่อนๆ ในกลุ่มที่ชอบประชาธิปไตย มีเสื้อแดงอยู่แค่นิดเดียว ที่เหลือคือกลุ่มที่ชอบประชาธิปไตยแต่ไม่ได้ชอบพรรคไหนหรือฝ่ายไหนเป็นพิเศษ
"งงว่าเราเลือกประชาธิปไตย เรากลายเป็นเสื้อแดงแล้วเหรอ"
บทสรุปของเหตุการณ์ครั้งนี้ชวนสงสัยและทำให้เกิดการตั้งคำถามถึง "เสรีภาพทางความคิด" ในการแสดงความคิดเห็นและการตั้งคำถาม
โดยเฉพาะจากเยาวชนคนหนึ่ง
การเปิดเวทีรับฟังความเห็นของรัฐบาล?
ถ้ามองตามจุดประสงค์ของเวทีเสวนาคือการรับฟัง ก็ดี แต่เราก็ต้องตั้งคำถามว่า ถ้าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยากจะรับฟังความเห็นของประชาชน ทำไมต้องจำกัดการแสดงออกให้ไปอยู่ในเวทีของเขาอย่างเดียว ทำไมไม่เปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสจัดงานกันเอง ถกกันเอง เสนอข้อคิดเห็นของตัวเองด้วยตัวเอง เพราะประชาชนมีความต้องการที่จะจัดงานเสวนา ไม่ใช่แค่นักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษาเท่านั้น
กิจกรรมเสวนาไม่ใช่กิจกรรมที่ทำลายความมั่นคงของรัฐเลย แต่ทำไมถึงต้องห้ามจัด ตรงนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะย้อนแย้งว่า อยากฟังความเห็นที่หลากหลาย แต่จำกัดการเข้าถึง เพราะเราต้องยอมรับว่า ต่อให้จัดเป็นพันเวที ก็ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่มแบบร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน
มองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นควรเป็นอย่างไร?
เสรีภาพเป็นสิ่งที่ควรจะต้องมี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ไม่สามารถบอกให้ประชาชนเงียบไปก่อนได้ ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ เพราะการปิดปากไม่ใช่วิธีการลดความขัดแย้งแต่เหมือนคุณกดทับอะไรสักอย่างไว้ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนคุณมีลูกโป่งที่มีอากาศอยู่ข้างในแล้วคุณบีบมันไว้ มันก็ยุบลงไปได้แค่พักเดียวหลังจากนั้นอาจจะระเบิดออกมาก็ได้
การที่จะปรองดองให้ได้ ต้องเรียนรู้ความเห็นที่แตกต่าง ต้องเรียนรู้ที่จะถกด้วยเหตุผล ไม่ใช้เฮทสปีช (Hate Speech) หรือเลี่ยงการใช้ตรรกวิบัติให้ได้มากที่สุด เราต้องใช้ความมีเหตุผลในการเผชิญหน้ากัน ไม่ใช่ความรุนแรงหรือวาทกรรมกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นคนเลวไม่ควรจะรับฟัง ดังนั้น ความสงบที่เกิดมาจากการบังคับให้ทุกคนเงียบสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นภายหลัง
ในมุมมองของเด็กคนหนึ่งคิดว่าทางออกของสถานการณ์ปัจจุบันควรทำอย่างไร?
ต้องเปิดให้ประชาชนระบายสิ่งที่เขาคิดออกมา ต้องเปิดให้มีการถกปัญหาในปัจจุบันอย่างจริงจัง ถ้าอยากจัดเสวนาก็ไม่ควรห้ามไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเขา ไม่ควรห้าม เพราะงานเสวนาเป็นสื่อกลางอย่างหนึ่งที่ดีมาก ทำให้เราได้ข้อสรุปของปัญหานั้น เพราะเป็นการคุยกันค่อนข้างจริงจัง ส่วนตัวไปงานเสวนาบ่อย เพราะชอบบรรยากาศ
คิดอย่างไร กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการถามคำถามในรายการ?
เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความน่าสงสัยอะไรบางอย่าง สปช.บอกว่าต้องการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง แต่พอเราพูดสิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนเขาก็เริ่มจะรับไม่ได้ ซึ่งความจริงแล้ว สังคมไทยมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช.และ สปช. แบบรุนแรงมากกว่าที่เราแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามในวันนั้น ขณะที่มีคนที่รักและสนับสนุนมากด้วยเช่นกัน แต่เป็นธรรมแล้วหรือที่จะเปิดให้ความคิดเห็นในแง่บวกเข้ามาอย่างเดียว ส่วนความเห็นในแง่ลบจะไม่รับฟัง
ถ้าไม่มีการรับฟังความเห็นทั้งหมดอย่างจริงจัง แล้วนำข้อติติงมาแก้ไขก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้ง แก้ไขปัญหาของประเทศได้ เพราะเราต้องยอมรับว่าคนไทยไม่ได้มีแค่กลุ่มที่เห็นด้วยกับ คสช.เท่านั้น กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็มีและคุณต้องรับฟังเขา
ถ้าย้อนเวลาได้จะถามแบบเดิมหรือไม่?
ถามค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็นคำถามด้านบวกหรือลบ ถ้า สปช.อยากได้ความคิดเห็นที่แตกต่างจริงๆ ความคิดเห็นในด้านลบก็มีค่า ซึ่งอาจมีค่ามากกว่าด้านบวกด้วยซ้ำ ถ้าเราฟังแต่ด้านบวก เราจะไม่รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน แต่ถ้าเราฟังความเห็นในด้านลบ เราจะรู้ทันทีเลยว่า ตรงนี้มันผิดหรือเปล่า เราทำพลาดอะไรไปหรือไม่
ถ้าจะแก้ไขปัญหาจริงๆ ก็ควรที่จะรับฟังค่ะ
ผู้ปกครองทราบเรื่องแล้วว่ายังไงบ้าง?
ที่บ้านค่อนข้างเปิดกว้าง ให้อิสระเสรีในการทำกิจกรรม อยากทำอะไรก็ได้ แต่ก็ให้ระวังตัว ส่วนหนึ่งเพราะครอบครัวชื่นชอบการเมือง ปลูกฝังให้ทำให้เราสนใจเรื่องนี้ตั้งแต่เด็กด้วย
แต่จริงๆ แล้ว แม่ตกใจตั้งแต่ตอนที่ทหารโทรมาติดต่อที่โรงเรียน ตอนที่เราออกมาต้านเรื่องค่านิยม 12 ประการ แต่เราก็บอกแม่ว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง เราอยากทำตรงนี้ อยากทำกิจกรรมต่อ รู้สึกว่ามันไม่สมเหตุสมผลที่เราจะหยุดทำกิจกรรม เพราะการออกมาต้านค่านิยม 12 ประการแล้วจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ คิดว่ามันไม่สมเหตุสมผล เป็นอุดมการณ์ส่วนตัว
ส่วนเพื่อนที่โรงเรียนบางส่วนรู้ข่าวก็ตกใจ บางส่วนก็รู้อยู่แล้ว มีเพื่อนบอกว่า ทำไมทำตัวเสี่ยงขึ้นทุกวัน (หัวเราะ)
เหตุผลที่ออกมาต้านค่านิยม 12 ประการ?
ที่เราออกมาต้านเรื่องค่านิยม 12 ประการ เพราะมองว่าประเทศที่มีความเป็นประชาธิไตย จะต้องให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนเต็มที่ เลือกสิ่งที่เราจะเชื่อ เลือกอุดมการณ์ เลือกศาสนาเอง รัฐจะไม่ไปยุ่งกับ morality หรือหลักประพฤติปฏิบัติส่วนบุคคลของแต่ละคน เพราะเป็นการล้ำสิทธิส่วนบุคคล
ความจริงแล้วไม่เกี่ยวหรอกว่าค่านิยม 12 ประการมีเนื้อหาอะไรบ้าง แต่เราตั้งคำถามว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐหรือที่จะมากำหนดอุดมการณ์ให้ประชาชน บอกให้เราต้องทำอะไรบ้าง 1 2 3 4 จนถึง 12 ข้อ ส่วนตัวมองว่าวิถีของการปลูกฝัง morality ให้กับประชาชน ไม่ใช่วิธีการที่ดี แต่ควรให้ประชาชนมีจิตสำนึกว่า นี่คือประเทศของเขา เขาต้องเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรี ไม่ใช่ว่าเราต้าน 12 ข้อเพราะเราไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา ในนั้นก็มีข้อที่ดีเช่น ซื่อสัตย์ เสียสละ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำ
เริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่?
ตั้งแต่เด็ก จะติดตามตลอดว่าตอนนี้นายกรัฐมนตรีชื่ออะไร รัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แต่มาเริ่มสนใจแบบจริงจัง หาหนังสือมาอ่านตอนมัธยมต้น ช่วงที่การเมือง 2 สีเริ่มรุนแรง เริ่มรู้สึกสับสนว่า ทำไมคนข้างบ้านเชียร์อีกสีหนึ่ง บ้านเราเชียร์อีกสีหนึ่ง แล้วมันต่างกันยังไง ทำไมถึงต้องแบ่งเป็นสี
เลยเกิดความสงสัยและพยายามหาคำตอบ ด้วยการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ หาหนังสือมาอ่าน
พอเริ่มอ่านก็รู้สึกว่าน่าสนใจ เลยศึกษาต่อมาเรื่อยๆ ช่วงหลังพอเริ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ก็หาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่าน ก็ยิ่งขยายฐานความรู้กว้างเข้าไปอีก เพราะหนังสือภาษาอังกฤษมีความหลากหลายมาก ทั้งทฤษฎีการเมืองและปรัชญา
มองการเมืองเป็นเรื่องไกลตัวของเด็กหรือเปล่า?
ถ้าเป็นหนังสือเป็นทฤษฎีเล่มหนา ก็อาจจะไกลตัวเกินไปสำหรับคนที่ไม่สนใจเรื่องการเมือง แต่ถ้าเป็นการติดตามข่าวสารว่าตอนนี้บ้านเมืองไปถึงไหน รัฐบาลกำลังทำอะไร ตรงนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนควรจะมีส่วนรับรู้ว่ารัฐกำลังทำอะไร มีการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดหรือเปล่า
แต่การรับรู้ก็ไม่ใช่ว่าจะจำกัดเฉพาะผู้ใหญ่หรือคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่เยาวชนก็ควรให้ความสนใจ แม้จะยังเลือกตั้งไม่ได้แต่ควรมีความตระหนักรู้ในสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ใหญ่กีดกันเด็กจากการเมืองให้สนใจเรื่องเรียนอย่างเดียว เพราะเด็กถือเป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกัน สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือแหล่งความรู้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกีดกันได้ และการที่เด็กให้ความสนใจกับการเมือง แสดงถึงความใฝ่รู้อย่างหนึ่ง ถ้าเราสนับสนุน อาจทำให้เด็กคนหนึ่งนำความรู้ไปพัฒนา ต่อยอด อนาคตอาจจะกลายเป็นอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ก็ได้
เปิดใจ เด็กม.5 ′เชิญมา (ไม่) ผิดคน′ ณัฐนันท์ วรินทรเวช เยาวชนผู้เปิดเสรีภาพทางความคิด
อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล - เรื่อง สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์ - ภาพ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421471202
เป็นคำถามที่มาพร้อมกับ "วันเด็ก"
กรณีนักเรียนหญิงอายุ 17 ปี ลุกขึ้นถามถึงความชอบธรรมของอำนาจ ต่อ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า "สปช.จะแก้ปัญหาการคอรัปชั่นได้อย่างไร? ในเมื่อการเข้าสู่อำนาจของพวกเขาก็คือการขโมยหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน ซึ่งในมุมมองของฉันคือการคอร์รัปชั่น ทางอำนาจซึ่งไม่ได้เลวร้ายน้อยไปกว่าการคอร์รัปชั่นทางการเงินเลย"
และ "พวกเขาเหล่านี้ได้มองว่าการเข้าสู่อำนาจโดยมิชอบคือการคอร์รัปชั่นหรือไม่?"
สิ่งที่เกิดขึ้นคือถูกเจ้าหน้าที่ของรายการเชิญออก โดยมีเหตุผลว่า "เชิญมาผิดคน"
เรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นเมื่อ ณัฐนันท์ วรินทรเวช หรือ "ไนซ์" นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเลขาธิการกลุ่ม "การศึกษาเพื่อความเป็นไท" บุคคลในข่าวออกมาโพสต์แถลงการณ์ "ข้อกังขาต่อความจริงใจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)" ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Nattanan Warintarawet"
เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเตรียมตัวออกรายการสด "เจาะประเด็นร้อน" ทางช่อง 5 และคำถามสุดแทงใจ
ภายหลัง พล.อ.สุรวัช บุตรวงษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกมายืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกรณีดังกล่าว โดยหลังรายการ ทาง สปช.ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทางช่องว่า เด็กที่จะออกรายการ ต้องเคยผ่านเวทีแสดงความเห็นเรื่องปฏิรูปมาก่อน และขอให้ยกเทปดังกล่าวออก
ขณะที่ อลงกรณ์ พลบุตร วิป สปช. ยืนยันว่า ประธาน สปช.เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นเสมอ และทุกคนรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่อาจจะกังวลเรื่องความมั่นคง โดยหลังจากนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว ว่าการปฏิรูปจะต้องเปิดกว้าง
แม้จะมีการออกมาชี้แจง แต่กระแสจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงร้อนแรง
ณัฐนันท์เปิดใจว่า หลังโพสต์แถลงการณ์ลงเฟซบุ๊ก ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยว่า ดีแล้วสมควรแล้วที่ถูกเชิญออก เพราะไปพูดจาไม่ดี มีที่มองว่าเป็นเสื้อแดง ซึ่งความจริงเวลาคุยกับเพื่อนๆ ในกลุ่มที่ชอบประชาธิปไตย มีเสื้อแดงอยู่แค่นิดเดียว ที่เหลือคือกลุ่มที่ชอบประชาธิปไตยแต่ไม่ได้ชอบพรรคไหนหรือฝ่ายไหนเป็นพิเศษ
"งงว่าเราเลือกประชาธิปไตย เรากลายเป็นเสื้อแดงแล้วเหรอ"
บทสรุปของเหตุการณ์ครั้งนี้ชวนสงสัยและทำให้เกิดการตั้งคำถามถึง "เสรีภาพทางความคิด" ในการแสดงความคิดเห็นและการตั้งคำถาม
โดยเฉพาะจากเยาวชนคนหนึ่ง
การเปิดเวทีรับฟังความเห็นของรัฐบาล?
ถ้ามองตามจุดประสงค์ของเวทีเสวนาคือการรับฟัง ก็ดี แต่เราก็ต้องตั้งคำถามว่า ถ้าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยากจะรับฟังความเห็นของประชาชน ทำไมต้องจำกัดการแสดงออกให้ไปอยู่ในเวทีของเขาอย่างเดียว ทำไมไม่เปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสจัดงานกันเอง ถกกันเอง เสนอข้อคิดเห็นของตัวเองด้วยตัวเอง เพราะประชาชนมีความต้องการที่จะจัดงานเสวนา ไม่ใช่แค่นักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษาเท่านั้น
กิจกรรมเสวนาไม่ใช่กิจกรรมที่ทำลายความมั่นคงของรัฐเลย แต่ทำไมถึงต้องห้ามจัด ตรงนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะย้อนแย้งว่า อยากฟังความเห็นที่หลากหลาย แต่จำกัดการเข้าถึง เพราะเราต้องยอมรับว่า ต่อให้จัดเป็นพันเวที ก็ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่มแบบร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน
มองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นควรเป็นอย่างไร?
เสรีภาพเป็นสิ่งที่ควรจะต้องมี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ไม่สามารถบอกให้ประชาชนเงียบไปก่อนได้ ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ เพราะการปิดปากไม่ใช่วิธีการลดความขัดแย้งแต่เหมือนคุณกดทับอะไรสักอย่างไว้ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนคุณมีลูกโป่งที่มีอากาศอยู่ข้างในแล้วคุณบีบมันไว้ มันก็ยุบลงไปได้แค่พักเดียวหลังจากนั้นอาจจะระเบิดออกมาก็ได้
การที่จะปรองดองให้ได้ ต้องเรียนรู้ความเห็นที่แตกต่าง ต้องเรียนรู้ที่จะถกด้วยเหตุผล ไม่ใช้เฮทสปีช (Hate Speech) หรือเลี่ยงการใช้ตรรกวิบัติให้ได้มากที่สุด เราต้องใช้ความมีเหตุผลในการเผชิญหน้ากัน ไม่ใช่ความรุนแรงหรือวาทกรรมกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นคนเลวไม่ควรจะรับฟัง ดังนั้น ความสงบที่เกิดมาจากการบังคับให้ทุกคนเงียบสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นภายหลัง
ในมุมมองของเด็กคนหนึ่งคิดว่าทางออกของสถานการณ์ปัจจุบันควรทำอย่างไร?
ต้องเปิดให้ประชาชนระบายสิ่งที่เขาคิดออกมา ต้องเปิดให้มีการถกปัญหาในปัจจุบันอย่างจริงจัง ถ้าอยากจัดเสวนาก็ไม่ควรห้ามไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเขา ไม่ควรห้าม เพราะงานเสวนาเป็นสื่อกลางอย่างหนึ่งที่ดีมาก ทำให้เราได้ข้อสรุปของปัญหานั้น เพราะเป็นการคุยกันค่อนข้างจริงจัง ส่วนตัวไปงานเสวนาบ่อย เพราะชอบบรรยากาศ
คิดอย่างไร กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการถามคำถามในรายการ?
เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความน่าสงสัยอะไรบางอย่าง สปช.บอกว่าต้องการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง แต่พอเราพูดสิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนเขาก็เริ่มจะรับไม่ได้ ซึ่งความจริงแล้ว สังคมไทยมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช.และ สปช. แบบรุนแรงมากกว่าที่เราแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามในวันนั้น ขณะที่มีคนที่รักและสนับสนุนมากด้วยเช่นกัน แต่เป็นธรรมแล้วหรือที่จะเปิดให้ความคิดเห็นในแง่บวกเข้ามาอย่างเดียว ส่วนความเห็นในแง่ลบจะไม่รับฟัง
ถ้าไม่มีการรับฟังความเห็นทั้งหมดอย่างจริงจัง แล้วนำข้อติติงมาแก้ไขก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้ง แก้ไขปัญหาของประเทศได้ เพราะเราต้องยอมรับว่าคนไทยไม่ได้มีแค่กลุ่มที่เห็นด้วยกับ คสช.เท่านั้น กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็มีและคุณต้องรับฟังเขา
ถ้าย้อนเวลาได้จะถามแบบเดิมหรือไม่?
ถามค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็นคำถามด้านบวกหรือลบ ถ้า สปช.อยากได้ความคิดเห็นที่แตกต่างจริงๆ ความคิดเห็นในด้านลบก็มีค่า ซึ่งอาจมีค่ามากกว่าด้านบวกด้วยซ้ำ ถ้าเราฟังแต่ด้านบวก เราจะไม่รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน แต่ถ้าเราฟังความเห็นในด้านลบ เราจะรู้ทันทีเลยว่า ตรงนี้มันผิดหรือเปล่า เราทำพลาดอะไรไปหรือไม่
ถ้าจะแก้ไขปัญหาจริงๆ ก็ควรที่จะรับฟังค่ะ
ผู้ปกครองทราบเรื่องแล้วว่ายังไงบ้าง?
ที่บ้านค่อนข้างเปิดกว้าง ให้อิสระเสรีในการทำกิจกรรม อยากทำอะไรก็ได้ แต่ก็ให้ระวังตัว ส่วนหนึ่งเพราะครอบครัวชื่นชอบการเมือง ปลูกฝังให้ทำให้เราสนใจเรื่องนี้ตั้งแต่เด็กด้วย
แต่จริงๆ แล้ว แม่ตกใจตั้งแต่ตอนที่ทหารโทรมาติดต่อที่โรงเรียน ตอนที่เราออกมาต้านเรื่องค่านิยม 12 ประการ แต่เราก็บอกแม่ว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง เราอยากทำตรงนี้ อยากทำกิจกรรมต่อ รู้สึกว่ามันไม่สมเหตุสมผลที่เราจะหยุดทำกิจกรรม เพราะการออกมาต้านค่านิยม 12 ประการแล้วจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ คิดว่ามันไม่สมเหตุสมผล เป็นอุดมการณ์ส่วนตัว
ส่วนเพื่อนที่โรงเรียนบางส่วนรู้ข่าวก็ตกใจ บางส่วนก็รู้อยู่แล้ว มีเพื่อนบอกว่า ทำไมทำตัวเสี่ยงขึ้นทุกวัน (หัวเราะ)
เหตุผลที่ออกมาต้านค่านิยม 12 ประการ?
ที่เราออกมาต้านเรื่องค่านิยม 12 ประการ เพราะมองว่าประเทศที่มีความเป็นประชาธิไตย จะต้องให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนเต็มที่ เลือกสิ่งที่เราจะเชื่อ เลือกอุดมการณ์ เลือกศาสนาเอง รัฐจะไม่ไปยุ่งกับ morality หรือหลักประพฤติปฏิบัติส่วนบุคคลของแต่ละคน เพราะเป็นการล้ำสิทธิส่วนบุคคล
ความจริงแล้วไม่เกี่ยวหรอกว่าค่านิยม 12 ประการมีเนื้อหาอะไรบ้าง แต่เราตั้งคำถามว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐหรือที่จะมากำหนดอุดมการณ์ให้ประชาชน บอกให้เราต้องทำอะไรบ้าง 1 2 3 4 จนถึง 12 ข้อ ส่วนตัวมองว่าวิถีของการปลูกฝัง morality ให้กับประชาชน ไม่ใช่วิธีการที่ดี แต่ควรให้ประชาชนมีจิตสำนึกว่า นี่คือประเทศของเขา เขาต้องเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรี ไม่ใช่ว่าเราต้าน 12 ข้อเพราะเราไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา ในนั้นก็มีข้อที่ดีเช่น ซื่อสัตย์ เสียสละ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำ
เริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่?
ตั้งแต่เด็ก จะติดตามตลอดว่าตอนนี้นายกรัฐมนตรีชื่ออะไร รัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แต่มาเริ่มสนใจแบบจริงจัง หาหนังสือมาอ่านตอนมัธยมต้น ช่วงที่การเมือง 2 สีเริ่มรุนแรง เริ่มรู้สึกสับสนว่า ทำไมคนข้างบ้านเชียร์อีกสีหนึ่ง บ้านเราเชียร์อีกสีหนึ่ง แล้วมันต่างกันยังไง ทำไมถึงต้องแบ่งเป็นสี
เลยเกิดความสงสัยและพยายามหาคำตอบ ด้วยการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ หาหนังสือมาอ่าน
พอเริ่มอ่านก็รู้สึกว่าน่าสนใจ เลยศึกษาต่อมาเรื่อยๆ ช่วงหลังพอเริ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้ก็หาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่าน ก็ยิ่งขยายฐานความรู้กว้างเข้าไปอีก เพราะหนังสือภาษาอังกฤษมีความหลากหลายมาก ทั้งทฤษฎีการเมืองและปรัชญา
มองการเมืองเป็นเรื่องไกลตัวของเด็กหรือเปล่า?
ถ้าเป็นหนังสือเป็นทฤษฎีเล่มหนา ก็อาจจะไกลตัวเกินไปสำหรับคนที่ไม่สนใจเรื่องการเมือง แต่ถ้าเป็นการติดตามข่าวสารว่าตอนนี้บ้านเมืองไปถึงไหน รัฐบาลกำลังทำอะไร ตรงนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนควรจะมีส่วนรับรู้ว่ารัฐกำลังทำอะไร มีการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดหรือเปล่า
แต่การรับรู้ก็ไม่ใช่ว่าจะจำกัดเฉพาะผู้ใหญ่หรือคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่เยาวชนก็ควรให้ความสนใจ แม้จะยังเลือกตั้งไม่ได้แต่ควรมีความตระหนักรู้ในสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ใหญ่กีดกันเด็กจากการเมืองให้สนใจเรื่องเรียนอย่างเดียว เพราะเด็กถือเป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกัน สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือแหล่งความรู้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกีดกันได้ และการที่เด็กให้ความสนใจกับการเมือง แสดงถึงความใฝ่รู้อย่างหนึ่ง ถ้าเราสนับสนุน อาจทำให้เด็กคนหนึ่งนำความรู้ไปพัฒนา ต่อยอด อนาคตอาจจะกลายเป็นอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ก็ได้