สวัสดีวันหยุดครับ
วันนี้มาต่อกัน เราจะมาคุยกันเรื่อง ตัวละคร…
จากคราวที่แล้วเรารู้แล้วว่า เรื่องสั้นหนึ่งเรื่องควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้
1. ตัวละคร
2. ฉากที่เกิดเรื่อง
3. ธีมของเรื่อง
4. โครงเรื่องที่มี ฉากเปิดเรื่อง, ฉากตอนกลาง, climax และฉากปิดจบ ส่วนที่เป็ร climax ในส่วนตัวผมคิดว่าต้องมีครับ จึงจะดึงความรู้สึกคนอ่านได้ ไม่งั้นก็เป็นเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆจบ ไม่ได้ตื่นเต้นหรือร้อง ว้าว ออกมา
5. ช่วงเวลาที่เรื่องเกิด
6. ปัญหาของตัวละครหลักและ resoulution ที่เขาใช้เพื่อนำตัวเองกลับไปสู่ชีวิตปกติสุข
7. สิ่งที่เราให้กับคนอ่าน
ผมไล่คุยตั้งแต่ข้อที่หนึ่งครับ นั่นคือตัวละคร…
ตัวละครหรือภาษาอังฤษเราเรียกว่า Characters ซึ่งจัดว่าสำคัญที่สุดในเรื่องสั้นก็ว่าได้ เพราะเรื่องแต่งทุกเรื่องต้องเกี่ยวข้องกับตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือแบบใดแบบหนึ่ง
ตัวละครนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ครับ อาจจะเป็น สัตว์ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งสถานที่ ก็ยังได้ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนเขียนว่านำเสนออะไร (สถานที่..เช่น สร้างให้ตัวละครเป็นตึกแถว คุยกับถังขยะหน้าตึกเรื่องม้อบที่มายึดตึกเป็นที่ทำการ บลาๆๆๆ ประมาณนี้)
แล้วการที่เราสร้างตัวละคร เราต้องสร้างกี่ตัว? ในเรื่องสั้น ตัวละครอย่ามีเยอะเกินไปครับ เพราะเรื่องสั้นมักมีประเด็นนำเสนอเดียว เกิดกับตัวละครไม่น่าจะเกินห้าตัวเป็นอย่างมาก
ตัวละครต้องมีตัวละครหลัก หรือตัวนำ หรือตัวละครที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับตัวเองและดิ้นรนที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เอาชนะปัญหา พวกนี้จะเป็นตัวหลัก จะไหล flow ไปจนจบเรื่อง
นอกจากตัวละครหลัก ก็จะมีตัวละครรอง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ช่วยพระเอกหรือไม่ก็ฝ่ายตรงข้ามพระเอกไปเลย ตัวละครฝ่ายตรงข้ามมักจะมีอะไรที่ขัดแย้งไปกับพระเอก เช่นความคิด เป้าหมาย การกระทำ หรือสิ่งที่ต้องการ และมักจะงัดข้อกับพระเอกจนจบ
ในการสร้างตัวละคร โดยส่วนใหญ่ เวลาเราเปิดตัวละคร ในเรื่องสั้นมักจะเปิดที่หน้าแรก (ควรเปิดออกมาที่หน้าแรกเลย คนอ่านอ่านปั้บจะรู้ทันทีว่าเป็นตัวละครหลัก คือใคร ต้องการอะไร) การบรรยาย มักจะไม่ยืดยาดมาก เช่น บรรยายหน้าตา การแต่งกาย อาชีพ อ้วน ผอม ดำ ขาว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าไอ้ที่บรรยายต้องการให้มีผลต่อเรื่องที่จะเล่าต่อมามั้ย
จำไว้อย่างครับ อย่าบรรยายมากเกินไป จนรก คนอ่านอ่านแล้ว งง ว่านี่ตรูกำลังอ่านตำราทำนายรูปลักษณ์ โหงวเฮ้ง หรือเรื่องสั้นวะ
เรื่องสั้นต้องเข้าประเด็นไวและไม่ยืด เพราะหน้ากระดาษที่จำกัด แนวคิดไม่มา ตัวละครน้อย
หลักสำคัญคือ …. สร้างตัวละคร ให้ชื่อ บรรยายรูปลักษณ์ของเขาสักสอง สามบรรทัด พอแค่นี้ครับ
ลองหยิบเรื่องสั้นดีๆมาอ่านดูครับ แล้วสังเกตว่านักเขียนเหล่านั้นเปิดตัวละครยังไง นักเขียนบางคนเก่งมาก ไม่บรรยายตัวละครแบบตรงๆ แต่อาศัยค่อยๆป้อนข้อมูลให้คนอ่านเป็นช่วงๆ แบบให้เทคนิค Show Don’t tell หรือแสดงให้เห็นดีกว่าบรรยาย
คราวหน้ามาต่อครับ ขอบคุณท่านที่ติดตามนะครับ
บล็อกผมครับ>>
https://writenovelselldream.wordpress.com/
มาเขียนเรื่องสั้นกัน : ตอนที่ 2 ตัวละคร
วันนี้มาต่อกัน เราจะมาคุยกันเรื่อง ตัวละคร…
จากคราวที่แล้วเรารู้แล้วว่า เรื่องสั้นหนึ่งเรื่องควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้
1. ตัวละคร
2. ฉากที่เกิดเรื่อง
3. ธีมของเรื่อง
4. โครงเรื่องที่มี ฉากเปิดเรื่อง, ฉากตอนกลาง, climax และฉากปิดจบ ส่วนที่เป็ร climax ในส่วนตัวผมคิดว่าต้องมีครับ จึงจะดึงความรู้สึกคนอ่านได้ ไม่งั้นก็เป็นเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆจบ ไม่ได้ตื่นเต้นหรือร้อง ว้าว ออกมา
5. ช่วงเวลาที่เรื่องเกิด
6. ปัญหาของตัวละครหลักและ resoulution ที่เขาใช้เพื่อนำตัวเองกลับไปสู่ชีวิตปกติสุข
7. สิ่งที่เราให้กับคนอ่าน
ผมไล่คุยตั้งแต่ข้อที่หนึ่งครับ นั่นคือตัวละคร…
ตัวละครหรือภาษาอังฤษเราเรียกว่า Characters ซึ่งจัดว่าสำคัญที่สุดในเรื่องสั้นก็ว่าได้ เพราะเรื่องแต่งทุกเรื่องต้องเกี่ยวข้องกับตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือแบบใดแบบหนึ่ง
ตัวละครนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ครับ อาจจะเป็น สัตว์ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งสถานที่ ก็ยังได้ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนเขียนว่านำเสนออะไร (สถานที่..เช่น สร้างให้ตัวละครเป็นตึกแถว คุยกับถังขยะหน้าตึกเรื่องม้อบที่มายึดตึกเป็นที่ทำการ บลาๆๆๆ ประมาณนี้)
แล้วการที่เราสร้างตัวละคร เราต้องสร้างกี่ตัว? ในเรื่องสั้น ตัวละครอย่ามีเยอะเกินไปครับ เพราะเรื่องสั้นมักมีประเด็นนำเสนอเดียว เกิดกับตัวละครไม่น่าจะเกินห้าตัวเป็นอย่างมาก
ตัวละครต้องมีตัวละครหลัก หรือตัวนำ หรือตัวละครที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับตัวเองและดิ้นรนที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เอาชนะปัญหา พวกนี้จะเป็นตัวหลัก จะไหล flow ไปจนจบเรื่อง
นอกจากตัวละครหลัก ก็จะมีตัวละครรอง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ช่วยพระเอกหรือไม่ก็ฝ่ายตรงข้ามพระเอกไปเลย ตัวละครฝ่ายตรงข้ามมักจะมีอะไรที่ขัดแย้งไปกับพระเอก เช่นความคิด เป้าหมาย การกระทำ หรือสิ่งที่ต้องการ และมักจะงัดข้อกับพระเอกจนจบ
ในการสร้างตัวละคร โดยส่วนใหญ่ เวลาเราเปิดตัวละคร ในเรื่องสั้นมักจะเปิดที่หน้าแรก (ควรเปิดออกมาที่หน้าแรกเลย คนอ่านอ่านปั้บจะรู้ทันทีว่าเป็นตัวละครหลัก คือใคร ต้องการอะไร) การบรรยาย มักจะไม่ยืดยาดมาก เช่น บรรยายหน้าตา การแต่งกาย อาชีพ อ้วน ผอม ดำ ขาว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าไอ้ที่บรรยายต้องการให้มีผลต่อเรื่องที่จะเล่าต่อมามั้ย
จำไว้อย่างครับ อย่าบรรยายมากเกินไป จนรก คนอ่านอ่านแล้ว งง ว่านี่ตรูกำลังอ่านตำราทำนายรูปลักษณ์ โหงวเฮ้ง หรือเรื่องสั้นวะ
เรื่องสั้นต้องเข้าประเด็นไวและไม่ยืด เพราะหน้ากระดาษที่จำกัด แนวคิดไม่มา ตัวละครน้อย
หลักสำคัญคือ …. สร้างตัวละคร ให้ชื่อ บรรยายรูปลักษณ์ของเขาสักสอง สามบรรทัด พอแค่นี้ครับ
ลองหยิบเรื่องสั้นดีๆมาอ่านดูครับ แล้วสังเกตว่านักเขียนเหล่านั้นเปิดตัวละครยังไง นักเขียนบางคนเก่งมาก ไม่บรรยายตัวละครแบบตรงๆ แต่อาศัยค่อยๆป้อนข้อมูลให้คนอ่านเป็นช่วงๆ แบบให้เทคนิค Show Don’t tell หรือแสดงให้เห็นดีกว่าบรรยาย
คราวหน้ามาต่อครับ ขอบคุณท่านที่ติดตามนะครับ
บล็อกผมครับ>> https://writenovelselldream.wordpress.com/