(มีสปอยส์)
เมื่อวานได้มีโอกาสไปดู INTO THE WOOD มา
เป็นหนังเรื่องแรกที่ไม่ได้อ่านเรื่องย่อ ไม่ได้อ่านรีวิว ไม่ได้ศึกษาอะไรก่อนไปดูเลย
ปกติเราไม่ดูละครเพลงนะ ไม่ค่อยชอบ ปวดหัว (แต่เคยดู เหยื่ออธรรม ก็เลยพอมีภูมิต้านทานมาบ้าง)
เราไปดูเรื่องนี้มา บอกเลยไม่ใช่หนังของเด็กเเน่นอน เป็นหนังของผู้ใหญ่
.
ในด้านตัวละคร
ตัวละครทุกตัวเเสดงได้ทรงพลังดีมากเลย
ทั้งสีหน้าเเววตาและการร้องเพลง ถ้าใครชอบชมการแสดงไตล์ละครเวที จะรู้สึกว่าคุ้มค่าตั๋วมากๆ เลย เพราะอัดเเน่นคุณภาพ
ตั้งแต่คนแก่ไปจนถึงเด็ก แสดง เต้น ร้อง รำได้ตามบทบาทของตัวเองเเละก็น่ารักมากๆ
ทุกตัวละครมีความสำคัญกับเรื่อง มีความหมายและเเง่คิดบางอย่างซ่อนไว้ แล้วเเต่ว่าผู้ชมจะเก็บเกี่ยวได้มากน้อยแค่ไหน
ที่ชอบมากที่สุดก็คงเป็นแม่มดล่ะมั้ง แสดงได้เกรียนมากๆ ตอนเเรกมาอย่างโหด ตอนจบก็จากไปแบบเกรียนๆ เลยทีเดียว
แถมยังร้องเพลงได้เพราะสุดๆ โดยเฉพาะเพลงที่ร้องบนหอคอยให้ราพันเซลฟัง เข้าใจหัวอกคนเป็นแม่เลย
ชอบแจ็คด้วย เป็นเด็กผู้ชายที่น่ารักมาก แอบน้ำตาซึมตอนที่แจ็คโกรธและจะไปฆ่ามหาดเล็กที่ทำร้ายแม่ของตนเอง ฉากนั้นเรารู้สึกสะเทือนใจมาก
มันบ่งบอกว่าเด็กคนหนึ่งได้รับผลกระทบจาก "สังคม" มากขนาดไหน
.
ในด้านเทคนิค ฉาก เสื้อผ้า
เทคนิคและฉาก รวมถึงเสื้อผ้า การจัดเเสงสีเป็นสไตล์ละครเวทีทุกอย่างเลย
เช่น ฉากเปิดตัวละคร ฉากร้องเพลง ก็จะมีเเสงไฟส่องลงมาจากเบื้องบนสาดใส่นักแสดง
ให้อารมณ์เหมือนกำลังชมบลอดเวร์
คือไม่ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างแบบเเฟนตาซีทั่วไป
แต่เป็นการสร้างข้อตกลงระหว่างผู้ชมเเละผู้สร้างให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
ให้ผู้ชมตระหนักว่าสิ่งที่เรากำลังรับชมอยู่นั้นเป็น "เรื่องแต่งและเรื่องโกหก"
ส่วนผู้ชมจะเก็บเกี่ยวอะไรได้จาก "เรื่องแต่งและเรื่องโกหกนี้" ก็แล้วแต่ทักษะของเเต่ละคน
ดังนะั้นคนที่ไปดูเรื่องนี้จึงควรมีสกิลการจินตนาการในระดับหนึ่ง
เพื่อจะได้จินตนาการได้ตรงกับที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ต้องการสื่อ
แต่แอบรู้สึกว่าเสียงมันดังและแหกปากตลอดเรื่องไปหน่อยนะ ฮ่าๆ หรือโรงภาพยนตร์ที่เราไปดูมันเปิดดังเกินไปไม่รู้
.
ในด้านโครงเรื่องและการดำเนินเรื่อง
วิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบสไตล์ละครเวที ร้องเพลงตลอดเรื่อง
คนที่สกิลในการอ่านเเละการฟังค่อนข้างต่ำจะติดตามไม่ทันเเน่ๆ
และคนที่ไม่ชอบหนังประเภทร้องเพลง ท่าทางแอคติ้งโอเวอร์เเบบละครเวทีก็จะไม่ชอบ
ตัวละครในเรื่องไม่ได้ดำเนินด้วยความสมจริงทั้งหมด ออกแนวเหนือจริง เหนือกฏของเหตุและผล
แต่ในความ "ไม่สมจริง" ในภาพยนตร์ มันกลับทำให้เราเห็น "ความจริง" ของโลก
ชวนให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า
"ศิลปิน เล่าเรื่องโกหกเพื่อบอกความจริงของโลก"
ภาพยนตร์แบ่งเป็นสองช่วง
ช่วงเเรกจบแฮปปี้เเบบในนิยาย ซึ่งเป็นไปตามโลกแห่งความฝันของทุกคน
ปกติเวลาเด็กนักเรียนเอาละครเรื่องนี้ไปแสดงตามโรงเรียน
ก็มักจะเเสดงกันถึงเเค่ครึ่งเเรกนี้เพราะมันเป็นไปตามความฝันแบบฉบับเทพนิยาย
คนที่ชอบอะไรสวยงามก็จะชอบครึ่งเเรกนี้มาก ทั้งตลก ฮา บ้าบอ เเละเกินจริง (แต่แอบสยองเเละตรกร้ายหลายจุด)
ถ้าคุณชอบแค่นี้ก็สามารถเดินออกจากโรงหนังได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องดูต่อ ถ้าพาลูกมาดูก็คิดว่าให้ดูแค่นี้พอ
เพราะในครึ่งหลังต่อมา มันคืออีกด้านที่เทพนิยายไม่ได้บอกเรา
นั่นก็คือผลแห่งการกระทำของเหล่าพระเอกนางเอกในเทพนิยายเมื่อครึ่งเรื่องแรกจะมาปรากฏในครึ่งหลังนี้
แอบเสียดายตรงที่ครึ่งหลังยังดาร์คไม่สุด และเยิ่นเย้อร้องเพลงหนึ่งในซีนหนึ่งนานไปหน่อย
พยายามสั่งสอนคนดูมากเกินไป จนทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดข้อคิดและก็ยกมือหาวเบาๆ
.
ในด้านแก่นของเรื่อง
หลังจากดูจบคิดในใจว่าจะต้องไปดูสักสามรอบ =.=
รู้สึกว่ามีอะไรให้เก็บเกี่ยวอีกเยอะมาก เต็มไปด้วยปรัชญาที่หลากหลาย
ครึ่งเเรกออกแนวโลกสวยตามแบบฉบับเทพนิยาย
ครึ่งหลังคือโลกความจริงที่เทพนิยายไม่ได้บอกไว้
บางทีตัวละครเอกในเทพนิยายก็ไม่คู่ควรจะเป็นตัวละครเอกเลยสักนิด
เพราะคนดีกับคนนิสัยดีนั้นต่างกัน
ต่อไป เวลาจะเล่านิทานให้เด็ก ก็ต้องระวัง
เพราะนิทานบางทีสอนให้เด็กนิสัยดี แต่ก็ไม่ได้สอนให้เด็กเป็นคนดี
หนังได้ตั้งคำถามให้คนดูฉุกคิดว่าเทพนิยายชวนฝันมากมาย
แท้จริงกำลังมอบอะไรให้เด็กกันแน่ ?
เทพนิยายส่วนมากสอนให้เด็กเป็นคนนิสัยดี อยู่ในกฏของสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม เทพนิยายไม่ได้สอนให้เด็กเป็นคนดีจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็น ซินเดอเรลล่าที่อยากแต่งงานกับเจ้า
ก็ได้สร้างค่านิยายให้ผู้หญิงอยากแต่งานกับคนหล่อรวยมีเสน่ห์
จนลืมไปว่าผู้ชายประเภทนี้อาจจะไม่ได้มีความรักความจริงใจ ความซื่อสัตย์เสมอไป
ผู้หญิงประเภทซินเดอเรลร่าสมควรเป็นนางเอกเเล้วหรือ ?
หรือหนูน้อยหมวกแดงก็สอนว่าเด็กที่ดีจะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่วางใจคนแปลกหน้า
แต่การไม่วางใจคน มันจะส่งผลอะไรกับเด็กไหม ? เด็กจะกลายเป็นคนก้าวร้าวหรือเปล่า ?
เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกแง่ร้าย และกลัวการหลอกลวงหรือไม่ ?
หรือแจ็คผู้ฆ่ายักษ์...หนังก็ได้ตั้งคำถามกับเราว่าแจ็คหัวขโมยสมควรจะเป็นพระเอกจริงๆ หรือ ?
กระทั่งราพันเซลที่อยากหนีออกไปจากหอคอย ก็เหมือนเด็กที่อยากหนีตามผู้ชายออกบ้าน
แต่ทำไมเธอยังได้เป็นนางเอก ?
หรือแม่มดที่รักลูกเสียจนกักขังลูกไว้ในหอคอย ก็ไม่ต่างกับแม่หลายๆ คนที่เลี้ยงลูกแบบกดดัน
้ท้ายที่สุด แม้จะทำด้วยความรักแต่ก็ได้สร้างความร้าวฉานในครอบครัว
แบบนี้เรียกว่าเเม่ที่ดีเเล้วหรือยัง ?
และสุดท้ายคือคนทำขนมปังที่อยากได้ลูก ก็ไม่ต่างจากครอบครัวทั่วไปที่อยากมีลูก
หนังก็ได้ตั้งคำถามว่าคุณพร้อมเเล้วหรือยังที่จะเลี้ยงดูทารกคนหนึ่ง และพร้อมจะอุ้มเด็กคนนั้นฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคไปด้วยได้ ?
.
สรุป
เรื่องนี้ให้ 8 คะเเนน
ตัดคะเเนนออก 2 คะเเนนเพราะความเยิ่นเย้อช่วงท้ายหนังที่ทำให้แอบอ้าปากหาวตั้งสองครั้ง
และก็รู้สึกเหมือนยัดเยียดคำสอนมากไปหน่อย จริงๆ ให้คนดูคิดเองเอาบ้างก็ได้
ถ้าคุณเป็นคอภาพยนตร์แนวมิวสิคคัล ชอบปรัชญาและมีมุมองเเบบ realistic ชอบตั้งคำถามเชิงวิพากษ์แนะนำเรื่องนี้เลย
(REVIEW) INTO THE WOOD เมื่อเทพนิยายไม่เป็นดั่งฝัน และ "คนดี" กับ "คนนิสัยดี" นั้นต่างกัน
เมื่อวานได้มีโอกาสไปดู INTO THE WOOD มา
เป็นหนังเรื่องแรกที่ไม่ได้อ่านเรื่องย่อ ไม่ได้อ่านรีวิว ไม่ได้ศึกษาอะไรก่อนไปดูเลย
ปกติเราไม่ดูละครเพลงนะ ไม่ค่อยชอบ ปวดหัว (แต่เคยดู เหยื่ออธรรม ก็เลยพอมีภูมิต้านทานมาบ้าง)
เราไปดูเรื่องนี้มา บอกเลยไม่ใช่หนังของเด็กเเน่นอน เป็นหนังของผู้ใหญ่
.
ในด้านตัวละคร
ตัวละครทุกตัวเเสดงได้ทรงพลังดีมากเลย
ทั้งสีหน้าเเววตาและการร้องเพลง ถ้าใครชอบชมการแสดงไตล์ละครเวที จะรู้สึกว่าคุ้มค่าตั๋วมากๆ เลย เพราะอัดเเน่นคุณภาพ
ตั้งแต่คนแก่ไปจนถึงเด็ก แสดง เต้น ร้อง รำได้ตามบทบาทของตัวเองเเละก็น่ารักมากๆ
ทุกตัวละครมีความสำคัญกับเรื่อง มีความหมายและเเง่คิดบางอย่างซ่อนไว้ แล้วเเต่ว่าผู้ชมจะเก็บเกี่ยวได้มากน้อยแค่ไหน
ที่ชอบมากที่สุดก็คงเป็นแม่มดล่ะมั้ง แสดงได้เกรียนมากๆ ตอนเเรกมาอย่างโหด ตอนจบก็จากไปแบบเกรียนๆ เลยทีเดียว
แถมยังร้องเพลงได้เพราะสุดๆ โดยเฉพาะเพลงที่ร้องบนหอคอยให้ราพันเซลฟัง เข้าใจหัวอกคนเป็นแม่เลย
ชอบแจ็คด้วย เป็นเด็กผู้ชายที่น่ารักมาก แอบน้ำตาซึมตอนที่แจ็คโกรธและจะไปฆ่ามหาดเล็กที่ทำร้ายแม่ของตนเอง ฉากนั้นเรารู้สึกสะเทือนใจมาก
มันบ่งบอกว่าเด็กคนหนึ่งได้รับผลกระทบจาก "สังคม" มากขนาดไหน
.
ในด้านเทคนิค ฉาก เสื้อผ้า
เทคนิคและฉาก รวมถึงเสื้อผ้า การจัดเเสงสีเป็นสไตล์ละครเวทีทุกอย่างเลย
เช่น ฉากเปิดตัวละคร ฉากร้องเพลง ก็จะมีเเสงไฟส่องลงมาจากเบื้องบนสาดใส่นักแสดง
ให้อารมณ์เหมือนกำลังชมบลอดเวร์
คือไม่ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างแบบเเฟนตาซีทั่วไป
แต่เป็นการสร้างข้อตกลงระหว่างผู้ชมเเละผู้สร้างให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
ให้ผู้ชมตระหนักว่าสิ่งที่เรากำลังรับชมอยู่นั้นเป็น "เรื่องแต่งและเรื่องโกหก"
ส่วนผู้ชมจะเก็บเกี่ยวอะไรได้จาก "เรื่องแต่งและเรื่องโกหกนี้" ก็แล้วแต่ทักษะของเเต่ละคน
ดังนะั้นคนที่ไปดูเรื่องนี้จึงควรมีสกิลการจินตนาการในระดับหนึ่ง
เพื่อจะได้จินตนาการได้ตรงกับที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ต้องการสื่อ
แต่แอบรู้สึกว่าเสียงมันดังและแหกปากตลอดเรื่องไปหน่อยนะ ฮ่าๆ หรือโรงภาพยนตร์ที่เราไปดูมันเปิดดังเกินไปไม่รู้
.
ในด้านโครงเรื่องและการดำเนินเรื่อง
วิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบสไตล์ละครเวที ร้องเพลงตลอดเรื่อง
คนที่สกิลในการอ่านเเละการฟังค่อนข้างต่ำจะติดตามไม่ทันเเน่ๆ
และคนที่ไม่ชอบหนังประเภทร้องเพลง ท่าทางแอคติ้งโอเวอร์เเบบละครเวทีก็จะไม่ชอบ
ตัวละครในเรื่องไม่ได้ดำเนินด้วยความสมจริงทั้งหมด ออกแนวเหนือจริง เหนือกฏของเหตุและผล
แต่ในความ "ไม่สมจริง" ในภาพยนตร์ มันกลับทำให้เราเห็น "ความจริง" ของโลก
ชวนให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า
"ศิลปิน เล่าเรื่องโกหกเพื่อบอกความจริงของโลก"
ภาพยนตร์แบ่งเป็นสองช่วง
ช่วงเเรกจบแฮปปี้เเบบในนิยาย ซึ่งเป็นไปตามโลกแห่งความฝันของทุกคน
ปกติเวลาเด็กนักเรียนเอาละครเรื่องนี้ไปแสดงตามโรงเรียน
ก็มักจะเเสดงกันถึงเเค่ครึ่งเเรกนี้เพราะมันเป็นไปตามความฝันแบบฉบับเทพนิยาย
คนที่ชอบอะไรสวยงามก็จะชอบครึ่งเเรกนี้มาก ทั้งตลก ฮา บ้าบอ เเละเกินจริง (แต่แอบสยองเเละตรกร้ายหลายจุด)
ถ้าคุณชอบแค่นี้ก็สามารถเดินออกจากโรงหนังได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องดูต่อ ถ้าพาลูกมาดูก็คิดว่าให้ดูแค่นี้พอ
เพราะในครึ่งหลังต่อมา มันคืออีกด้านที่เทพนิยายไม่ได้บอกเรา
นั่นก็คือผลแห่งการกระทำของเหล่าพระเอกนางเอกในเทพนิยายเมื่อครึ่งเรื่องแรกจะมาปรากฏในครึ่งหลังนี้
แอบเสียดายตรงที่ครึ่งหลังยังดาร์คไม่สุด และเยิ่นเย้อร้องเพลงหนึ่งในซีนหนึ่งนานไปหน่อย
พยายามสั่งสอนคนดูมากเกินไป จนทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดข้อคิดและก็ยกมือหาวเบาๆ
.
ในด้านแก่นของเรื่อง
หลังจากดูจบคิดในใจว่าจะต้องไปดูสักสามรอบ =.=
รู้สึกว่ามีอะไรให้เก็บเกี่ยวอีกเยอะมาก เต็มไปด้วยปรัชญาที่หลากหลาย
ครึ่งเเรกออกแนวโลกสวยตามแบบฉบับเทพนิยาย
ครึ่งหลังคือโลกความจริงที่เทพนิยายไม่ได้บอกไว้
บางทีตัวละครเอกในเทพนิยายก็ไม่คู่ควรจะเป็นตัวละครเอกเลยสักนิด
เพราะคนดีกับคนนิสัยดีนั้นต่างกัน
ต่อไป เวลาจะเล่านิทานให้เด็ก ก็ต้องระวัง
เพราะนิทานบางทีสอนให้เด็กนิสัยดี แต่ก็ไม่ได้สอนให้เด็กเป็นคนดี
หนังได้ตั้งคำถามให้คนดูฉุกคิดว่าเทพนิยายชวนฝันมากมาย
แท้จริงกำลังมอบอะไรให้เด็กกันแน่ ?
เทพนิยายส่วนมากสอนให้เด็กเป็นคนนิสัยดี อยู่ในกฏของสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม เทพนิยายไม่ได้สอนให้เด็กเป็นคนดีจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็น ซินเดอเรลล่าที่อยากแต่งงานกับเจ้า
ก็ได้สร้างค่านิยายให้ผู้หญิงอยากแต่งานกับคนหล่อรวยมีเสน่ห์
จนลืมไปว่าผู้ชายประเภทนี้อาจจะไม่ได้มีความรักความจริงใจ ความซื่อสัตย์เสมอไป
ผู้หญิงประเภทซินเดอเรลร่าสมควรเป็นนางเอกเเล้วหรือ ?
หรือหนูน้อยหมวกแดงก็สอนว่าเด็กที่ดีจะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่วางใจคนแปลกหน้า
แต่การไม่วางใจคน มันจะส่งผลอะไรกับเด็กไหม ? เด็กจะกลายเป็นคนก้าวร้าวหรือเปล่า ?
เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกแง่ร้าย และกลัวการหลอกลวงหรือไม่ ?
หรือแจ็คผู้ฆ่ายักษ์...หนังก็ได้ตั้งคำถามกับเราว่าแจ็คหัวขโมยสมควรจะเป็นพระเอกจริงๆ หรือ ?
กระทั่งราพันเซลที่อยากหนีออกไปจากหอคอย ก็เหมือนเด็กที่อยากหนีตามผู้ชายออกบ้าน
แต่ทำไมเธอยังได้เป็นนางเอก ?
หรือแม่มดที่รักลูกเสียจนกักขังลูกไว้ในหอคอย ก็ไม่ต่างกับแม่หลายๆ คนที่เลี้ยงลูกแบบกดดัน
้ท้ายที่สุด แม้จะทำด้วยความรักแต่ก็ได้สร้างความร้าวฉานในครอบครัว
แบบนี้เรียกว่าเเม่ที่ดีเเล้วหรือยัง ?
และสุดท้ายคือคนทำขนมปังที่อยากได้ลูก ก็ไม่ต่างจากครอบครัวทั่วไปที่อยากมีลูก
หนังก็ได้ตั้งคำถามว่าคุณพร้อมเเล้วหรือยังที่จะเลี้ยงดูทารกคนหนึ่ง และพร้อมจะอุ้มเด็กคนนั้นฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคไปด้วยได้ ?
.
สรุป
เรื่องนี้ให้ 8 คะเเนน
ตัดคะเเนนออก 2 คะเเนนเพราะความเยิ่นเย้อช่วงท้ายหนังที่ทำให้แอบอ้าปากหาวตั้งสองครั้ง
และก็รู้สึกเหมือนยัดเยียดคำสอนมากไปหน่อย จริงๆ ให้คนดูคิดเองเอาบ้างก็ได้
ถ้าคุณเป็นคอภาพยนตร์แนวมิวสิคคัล ชอบปรัชญาและมีมุมองเเบบ realistic ชอบตั้งคำถามเชิงวิพากษ์แนะนำเรื่องนี้เลย