สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
..พี่ก็เป็นผู้ประกอบการนะคะ ..ไม่ใช่นักบัญชี ..
แต่พี่มีเพื่อนพ้องน้องพี่ ในแวดวงรับเหมาก่อสร้างเยอะอยู่
เพราะทางฝั่งสามีพี่ เค้าทำธุรกิจด้านนี้มาหลายสิบปีละค่ะ
และพี่ก็ดูเรื่องบัญชี - ภาษีของบริษัทพี่เองด้วยส่วนหนึ่ง ..ให้ สนง.บัญชีดูแลด้วยอีกส่วนหนึ่ง
..ลองว่ากันทีละเรื่องนะคะ..
เรื่องสัญญาจ้างงาน ถ้าทำได้ น่าจะทำนะคะ ..คนเรา..รู้หน้า ไม่รู้ใจ ..
สัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร บางทีก็อาจช่วยคุณได้ในกรณีลูกค้าเฮงซวยคิดจะเบี้ยว
..ส่วนเรื่องที่ลูกค้า โดยเฉพาะที่เป็นบริษัท ห้างร้าน ที่ขอสำเนาบัตรประชาชนแฟนคุณ เพื่อเป็นหลักฐานในการจ่ายเงินค่าจ้างให้นั้น
หากบริษัทลูกค้า หักภาษี 3% ไว้ แล้วนำส่งสรรพากรไว้แล้ว ..
เช่น จ้างแฟนคุณเหมาซ่อมแซมอาคาร เป็นเงิน 200,000 บ. ..ทำงานเสร็จ ส่งงาน - รับมอบงาน ..เรียบร้อยดี
ลูกค้าหักภาษี หัก ณ ที่จ่าย 3% ไว้ 6,000 บ. นำส่งสรรพากร
จ่ายเงินให้แฟนคุณ 194,000 บ. + ใบ 50 ทวิ ภาษีที่หักไว้ 6,000 บ. ให้เป็นหลักฐาน
..ในลักษณะนี้ รายได้ทั้งจำนวน ที่แฟนคุณเซ็นรับมา จะเข้าที่แฟนคุณคนเดียว เต็มๆ ค่ะ
พูดง่ายๆ คือ ตอนนี้เค้ามีเงินได้ 200,000 บ. แล้ว
ในทางปฏิบัติ แฟนคุณต้องซื้ออุปกรณ์ ต้องจ้างคนงาน ..สมมุติรวมเป็นต้นทุน 150,000 บ.
แฟนคุณได้กำไร 50,000 บ. ( แต่โดนหักภาษีไปซะ 6,000 เหลือรับจริง 44,000 )
คำถามคือ แล้วในทางภาษี เค้าคิดกันยังไง ??
..พี่แนะนำให้หาอ่าน เรื่องของเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท หรือเงินได้มาตรา 40 ค่ะ
ถ้าอ่านแล้ว คุณจะพบว่า เงินได้จากการรับเหมา ที่ต้องจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ด้วยนั้น อยู่ในมาตรา 40(7)
..ซึ่งสามารถเหมาค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องมีใบเสร็จอะไรมาแสดง ได้ 70%
แปลว่า จากเงินได้ที่รับมา 200,000 นั้น ตอนรายงานภาษี แฟนคุณสามารถหักต้นทุนเหมาได้ 70% ..140,000 บ.
เหลือ 60,000 เป็นส่วนที่นำมาคำนวณภาษีต่อไปค่ะ
..ทีนี้ ปีหนึ่งๆ แฟนคุณรับงานตั้งหลายจ๊อบ .. รวมๆ แล้วก็หลายตังค์ล่ะ
ซึ่งวิธีคิดก็เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ยกไปข้างต้น คือ รับมาเท่าไหร่ ก็หัก 70% เหลือ 30% ..หลังหักลดหย่อนสารพัดตามสิทธิ์แล้ว
ที่เหลือ ก็เอาไปคำนวณภาษี
แล้วนำมาเปรียบเทียบกับภาษีที่ถูกหักนำส่งไว้แล้ว ..ถ้าถูกหักไว้มากกว่าที่คำนวณว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ..แฟนคุณก็ได้เงินคืน
ถ้าคำนวณมาแล้ว มากกว่าที่ถูกหักนำส่งไว้ ..ก็ต้องจ่ายเพิ่ม
..ปัญหาที่มักจะพบคือ รับเงินไป รับเงินมา แล้วดันเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเข้าเกณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ..และเมื่อเข้าระบบ vat แล้ว
ก็ต้องคิดเงินลูกค้า โดยต้องบวก vat เพิ่มไปด้วย ..เก็บ vat จากลูกค้ามา ก็ต้องนำส่งสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
..สำหรับคนไม่มีความรู้ด้านนี้ ..ก็พอจะนับว่า กลายเป็น "มหกรรม" กันได้ทีเดียว
ที่ร้ายกว่านั้น คือประเภทที่ไม่รู้ตัวว่าเงินได้เกิน 1.8 ล้าน ..หรือรู้ แต่ทำเนียน
แต่หลักฐานการมีเงินได้น่ะ มันโชว์หราอยู่ที่สรรพากรอยู่นานแล้ว ..ก็เจ้า 50 ทวิ ที่บริษัทลูกค้าหักภาษีน้ำส่งไว้นั่นแหละค่ะ
..แบบนี้ ถ้ารอจนสรรพากรตรวจเจอ ..งานงอกทันที
เพราะจะโดนภาษีย้อนหลัง อ่วมอรทัยเลยค่ะ
ทางป้องกัน ..ซึ่งย่อมดีกว่าแก้ไข หลังจากทำพลาดไปแล้ว
เท่าที่นึกออก มี 2 อย่าง
..อย่างง่าย คือ แบ่งๆ ให้ลูกน้อง ลูกจ้าง เป็นคนรับเงินได้กันไปบ้าง ..เพราะยังไงคนพวกนี้ ก็มีรายได้จริงๆ จากการทำงานพวกนี้
โดยแบ่งๆ กันไป ให้ไม่เกิน 240,000 ต่อคน ต่อรายได้ทั้งปี ..เพราะนั่นคือเงินได้ในระดับที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
แต่ภาครัฐ ได้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเต็มๆ .. หากพวกลูกน้องคุณไม่แสดงแบบ ภงด. แล้วขอภาษีคืน
อย่างซับซ้อนหน่อย คือ แฟนคุณไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น หจก. บจก.
เสร็จแล้วเอารายได้ทั้งหมดเข้าบริษัท
ในส่วนของค่าใช้จ่าย ก็ต้องเก็บหลักฐาน ..ซื้อของ ซื้ออุปกรณ์ จ่ายค่าจ้าง ค่าแรงคนงาน ..ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ
..ลงให้หมด .. ณ สิ้นปี ทำงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน ..ซึ่งต้องจ้าง สนง.บัญชีมาดูแล
ข้อดีของการเป็นนิติบุคคล คือ กำไรสุทธิที่จะเอามาคำนวณภาษี ได้รับการยกเว้น 300,000 แรก
ที่เหลือ ( ถ้ามีกำไรเกิน 300,000 ต่อปี ) ก็จะเสียตามอัตราขั้นบันได สูงสุดที่อัตรา 20%
..ถ้าเปรียบเทียบกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ..เงินได้สุทธิหลังจากหักลดหย่อนประดามีแล้ว
ได้รับการยกเว้น 150,000 บ.แรก ที่เหลือ เสียภาษีตามขั้นบันไดเหมือนกัน สูงสุดที่อัตรา 35%
..และยังสร้างความน่าเชื่อให้กับกิจการได้ในระดับหนึ่ง ..มีตำแหน่งใหญ่โตอยู่ในนามบัตร ^^
และข้อด้อย ถ้าจะนับว่าเป็นข้อด้อยน่ะนะ ..ก็มี ..อย่างต้องดูแลเรื่องเอกสารให้ถูกต้อง ซี้ซั้วไม่ได้
ผิดมา งานเข้า ..
และถ้าจดจัดตั้งแล้ว ก็ต้องทำให้มันถูกต้อง ให้ตลอดรอดฝั่ง ..เช่น ถ้าจะเลิกทำ ก็ต้องไปจดทะเบียนเลิกกิจการ ชำระบัญชี ฯลฯ
ไม่ใช่ปิดบ้านไปเฉยๆ เพราะภาระของนิติบุคคล ยังคงอยู่
..ก็อาจยุ่งยากหน่อย สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ หรือไม่พยายามเรียนรู้ ในการทำอะไรให้มันถูกต้องตามกฎ ตามเกณฑ์ค่ะ
และคำแนะนำสุดท้าย ..หากคุณน้อง คิดจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว
แต่เรื่องบัญชี - ภาษี มันช่างดูเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เกินกว่าจะทำความเข้าใจด้วยตัวเองได้ ..
ซึ่งพี่ไม่ได้ว่าอะไรหนูนะ..
คนเรียนจบปริญญา ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ..ไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องการเสียภาษีเงินได้กันเยอะแยะไปค่ะ
..ไม่เชื่อไล่อ่านกระทู้ห้องสีลมนี่ดู อิอิ
ก็แนะนำให้พึ่ง "มืออาชีพ" ค่ะ ..สำนักงานบัญชี เปิดกันทั่วทุกแห่งหน ..
ไว้ชั่วโมงบินสูงๆ มีความเข้าใจแล้ว ..ค่อยลดระดับการพึ่งพาเค้าลงค่ะ
ขอให้ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และโชคดี กิจการก้าวหน้าค่ะ
แต่พี่มีเพื่อนพ้องน้องพี่ ในแวดวงรับเหมาก่อสร้างเยอะอยู่
เพราะทางฝั่งสามีพี่ เค้าทำธุรกิจด้านนี้มาหลายสิบปีละค่ะ
และพี่ก็ดูเรื่องบัญชี - ภาษีของบริษัทพี่เองด้วยส่วนหนึ่ง ..ให้ สนง.บัญชีดูแลด้วยอีกส่วนหนึ่ง
..ลองว่ากันทีละเรื่องนะคะ..
เรื่องสัญญาจ้างงาน ถ้าทำได้ น่าจะทำนะคะ ..คนเรา..รู้หน้า ไม่รู้ใจ ..
สัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร บางทีก็อาจช่วยคุณได้ในกรณีลูกค้าเฮงซวยคิดจะเบี้ยว
..ส่วนเรื่องที่ลูกค้า โดยเฉพาะที่เป็นบริษัท ห้างร้าน ที่ขอสำเนาบัตรประชาชนแฟนคุณ เพื่อเป็นหลักฐานในการจ่ายเงินค่าจ้างให้นั้น
หากบริษัทลูกค้า หักภาษี 3% ไว้ แล้วนำส่งสรรพากรไว้แล้ว ..
เช่น จ้างแฟนคุณเหมาซ่อมแซมอาคาร เป็นเงิน 200,000 บ. ..ทำงานเสร็จ ส่งงาน - รับมอบงาน ..เรียบร้อยดี
ลูกค้าหักภาษี หัก ณ ที่จ่าย 3% ไว้ 6,000 บ. นำส่งสรรพากร
จ่ายเงินให้แฟนคุณ 194,000 บ. + ใบ 50 ทวิ ภาษีที่หักไว้ 6,000 บ. ให้เป็นหลักฐาน
..ในลักษณะนี้ รายได้ทั้งจำนวน ที่แฟนคุณเซ็นรับมา จะเข้าที่แฟนคุณคนเดียว เต็มๆ ค่ะ
พูดง่ายๆ คือ ตอนนี้เค้ามีเงินได้ 200,000 บ. แล้ว
ในทางปฏิบัติ แฟนคุณต้องซื้ออุปกรณ์ ต้องจ้างคนงาน ..สมมุติรวมเป็นต้นทุน 150,000 บ.
แฟนคุณได้กำไร 50,000 บ. ( แต่โดนหักภาษีไปซะ 6,000 เหลือรับจริง 44,000 )
คำถามคือ แล้วในทางภาษี เค้าคิดกันยังไง ??
..พี่แนะนำให้หาอ่าน เรื่องของเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท หรือเงินได้มาตรา 40 ค่ะ
ถ้าอ่านแล้ว คุณจะพบว่า เงินได้จากการรับเหมา ที่ต้องจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ด้วยนั้น อยู่ในมาตรา 40(7)
..ซึ่งสามารถเหมาค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องมีใบเสร็จอะไรมาแสดง ได้ 70%
แปลว่า จากเงินได้ที่รับมา 200,000 นั้น ตอนรายงานภาษี แฟนคุณสามารถหักต้นทุนเหมาได้ 70% ..140,000 บ.
เหลือ 60,000 เป็นส่วนที่นำมาคำนวณภาษีต่อไปค่ะ
..ทีนี้ ปีหนึ่งๆ แฟนคุณรับงานตั้งหลายจ๊อบ .. รวมๆ แล้วก็หลายตังค์ล่ะ
ซึ่งวิธีคิดก็เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ยกไปข้างต้น คือ รับมาเท่าไหร่ ก็หัก 70% เหลือ 30% ..หลังหักลดหย่อนสารพัดตามสิทธิ์แล้ว
ที่เหลือ ก็เอาไปคำนวณภาษี
แล้วนำมาเปรียบเทียบกับภาษีที่ถูกหักนำส่งไว้แล้ว ..ถ้าถูกหักไว้มากกว่าที่คำนวณว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ..แฟนคุณก็ได้เงินคืน
ถ้าคำนวณมาแล้ว มากกว่าที่ถูกหักนำส่งไว้ ..ก็ต้องจ่ายเพิ่ม
..ปัญหาที่มักจะพบคือ รับเงินไป รับเงินมา แล้วดันเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเข้าเกณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ..และเมื่อเข้าระบบ vat แล้ว
ก็ต้องคิดเงินลูกค้า โดยต้องบวก vat เพิ่มไปด้วย ..เก็บ vat จากลูกค้ามา ก็ต้องนำส่งสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
..สำหรับคนไม่มีความรู้ด้านนี้ ..ก็พอจะนับว่า กลายเป็น "มหกรรม" กันได้ทีเดียว
ที่ร้ายกว่านั้น คือประเภทที่ไม่รู้ตัวว่าเงินได้เกิน 1.8 ล้าน ..หรือรู้ แต่ทำเนียน
แต่หลักฐานการมีเงินได้น่ะ มันโชว์หราอยู่ที่สรรพากรอยู่นานแล้ว ..ก็เจ้า 50 ทวิ ที่บริษัทลูกค้าหักภาษีน้ำส่งไว้นั่นแหละค่ะ
..แบบนี้ ถ้ารอจนสรรพากรตรวจเจอ ..งานงอกทันที
เพราะจะโดนภาษีย้อนหลัง อ่วมอรทัยเลยค่ะ
ทางป้องกัน ..ซึ่งย่อมดีกว่าแก้ไข หลังจากทำพลาดไปแล้ว
เท่าที่นึกออก มี 2 อย่าง
..อย่างง่าย คือ แบ่งๆ ให้ลูกน้อง ลูกจ้าง เป็นคนรับเงินได้กันไปบ้าง ..เพราะยังไงคนพวกนี้ ก็มีรายได้จริงๆ จากการทำงานพวกนี้
โดยแบ่งๆ กันไป ให้ไม่เกิน 240,000 ต่อคน ต่อรายได้ทั้งปี ..เพราะนั่นคือเงินได้ในระดับที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
แต่ภาครัฐ ได้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเต็มๆ .. หากพวกลูกน้องคุณไม่แสดงแบบ ภงด. แล้วขอภาษีคืน
อย่างซับซ้อนหน่อย คือ แฟนคุณไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น หจก. บจก.
เสร็จแล้วเอารายได้ทั้งหมดเข้าบริษัท
ในส่วนของค่าใช้จ่าย ก็ต้องเก็บหลักฐาน ..ซื้อของ ซื้ออุปกรณ์ จ่ายค่าจ้าง ค่าแรงคนงาน ..ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ
..ลงให้หมด .. ณ สิ้นปี ทำงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน ..ซึ่งต้องจ้าง สนง.บัญชีมาดูแล
ข้อดีของการเป็นนิติบุคคล คือ กำไรสุทธิที่จะเอามาคำนวณภาษี ได้รับการยกเว้น 300,000 แรก
ที่เหลือ ( ถ้ามีกำไรเกิน 300,000 ต่อปี ) ก็จะเสียตามอัตราขั้นบันได สูงสุดที่อัตรา 20%
..ถ้าเปรียบเทียบกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ..เงินได้สุทธิหลังจากหักลดหย่อนประดามีแล้ว
ได้รับการยกเว้น 150,000 บ.แรก ที่เหลือ เสียภาษีตามขั้นบันไดเหมือนกัน สูงสุดที่อัตรา 35%
..และยังสร้างความน่าเชื่อให้กับกิจการได้ในระดับหนึ่ง ..มีตำแหน่งใหญ่โตอยู่ในนามบัตร ^^
และข้อด้อย ถ้าจะนับว่าเป็นข้อด้อยน่ะนะ ..ก็มี ..อย่างต้องดูแลเรื่องเอกสารให้ถูกต้อง ซี้ซั้วไม่ได้
ผิดมา งานเข้า ..
และถ้าจดจัดตั้งแล้ว ก็ต้องทำให้มันถูกต้อง ให้ตลอดรอดฝั่ง ..เช่น ถ้าจะเลิกทำ ก็ต้องไปจดทะเบียนเลิกกิจการ ชำระบัญชี ฯลฯ
ไม่ใช่ปิดบ้านไปเฉยๆ เพราะภาระของนิติบุคคล ยังคงอยู่
..ก็อาจยุ่งยากหน่อย สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ หรือไม่พยายามเรียนรู้ ในการทำอะไรให้มันถูกต้องตามกฎ ตามเกณฑ์ค่ะ
และคำแนะนำสุดท้าย ..หากคุณน้อง คิดจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว
แต่เรื่องบัญชี - ภาษี มันช่างดูเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เกินกว่าจะทำความเข้าใจด้วยตัวเองได้ ..
ซึ่งพี่ไม่ได้ว่าอะไรหนูนะ..
คนเรียนจบปริญญา ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ..ไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องการเสียภาษีเงินได้กันเยอะแยะไปค่ะ
..ไม่เชื่อไล่อ่านกระทู้ห้องสีลมนี่ดู อิอิ
ก็แนะนำให้พึ่ง "มืออาชีพ" ค่ะ ..สำนักงานบัญชี เปิดกันทั่วทุกแห่งหน ..
ไว้ชั่วโมงบินสูงๆ มีความเข้าใจแล้ว ..ค่อยลดระดับการพึ่งพาเค้าลงค่ะ
ขอให้ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และโชคดี กิจการก้าวหน้าค่ะ
แสดงความคิดเห็น
การเสียภาษีสำหรับผู้รับเหมา
แฟนหนูกำลังก้าวเข้ามาทำงานรับเหมา พวกงานช่างทั่วไป ติดสุขภัณฑ์ งานเหล็ก ซึ่งรับต่อมาจาก บริษัทใหญ่ ๆอีกครั้งหนึ่ง
ก็จะมีการทำสัญญาบ้าง ไม่ได้ทำสัญญาบ้าง แต่พอเวลารับเงิน เอาบัตร ปชช ตัวเองรับ หนูกลัวรายได้ต่อปีมันจะเกินกำหนด
ซึ่งรายได้ที่เรารับมา ก็ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย พวกค่าแรงคนงาน ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมัน อะไรพวกนนี้งะค่ะ
คือ หนูต้องทำการจดทะเบียนอะไรไหมค่ะ เพื่อความถูกต้องในการเสียภาษี หนูกลัวว่าปลายปีมา สรรพกรจะเรียกเก็บภาษีตามจำนวนเงินที่ได้เซ็นส์รับมางะค่ะ
รบกวนขอคำขี้แนะด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ