ที่มา:
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421374410
กลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติส่ง จม.ร้องนายกฯ ค้านข้อเสนอให้ผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง โฆษกรัฐบาลเผยนายกฯชี้ต้องศึกษาข้อมูลทุกด้าน
เมื่อวันที่ 15 มกราคม นายฟิล โรเบิร์ตสัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย เปิดเผยว่า องค์กรนอกภาครัฐและองค์กรแรงงานในระดับภูมิภาค รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวม 45 องค์กร ได้ร่วมกันจัดทำจดหมายและส่งถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความกังวลต่อข้อเสนอของพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะให้มีการจัดหาผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง เนื่องจากการใช้แรงงานจากผู้ต้องขังเป็นการละเมิดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึง จรรยาบรรณและระเบียบปฏิบัติของบริษัทต่างชาติหลายบริษัท อีกทั้งอาจจะไม่สามารถแก้ไขต้นตอปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมงที่ทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าแรงงานข้ามชาติดังนั้น การดำเนินโครงการนี้อาจตอกย้ำข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลไทยไม่พยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์บนเรือประมง และอาจกลายเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้ไทยได้รับการจัดอันดับให้ดีขึ้นจากเทียร์ 3 (กลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด) ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประจำปี 2558
นายโรเบิร์ตสัน กล่าวอีกว่า รายงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าเรือประมงไทยหลายแห่งมีการเอาเปรียบแรงงานเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับการประกอบธุรกิจโดยในปี 2557 สำนักข่าวหลายสำนักได้นำเสนอสภาพการทำงานที่โหดร้ายซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมงอาทิ การลักลอบค้ามนุษย์ การละเลยไม่จ่ายค่าจ้าง การบังคับใช้แรงงานถึงวันละ 20 ชั่วโมงบนเรือประมงบางลำ เป็นต้น ดังนั้น ข้อเสนอนี้ไม่อาจแก้ปัญหาสภาพการทำงานที่ทารุณ และปัญหาอื่นๆในอุตสาหกรรมประมงได้ แม้กระทรวงแรงงานจะยืนยันว่าจะใช้เฉพาะผู้ต้องขังที่สมัครใจ แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ความสมัครใจเนื่องจากผู้ต้องขังส่วนใหญ่มักไม่อาจปฏิเสธการถูกบังคับจากเจ้าหน้าที่เรือนจำได้นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบสภาพการทำงานและการบังคับการจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานในภาคประมงจึงไม่อาจรับประกันได้ว่ากระทรวงแรงงานจะคุ้มครองผู้ต้องขังที่จะทำงานบนเรือให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย แต่หากมีการดำเนินโครงการนี้จริง บริษัทต่างชาติที่ซื้อผลผลิตอาหารทะเลของไทยจะต้องถูกกดดันจากลูกค้า และจะพบกับมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นจากผู้ตรวจสอบของรัฐบาลในแต่ละประเทศ อีกทั้งผู้ค้ารายใหญ่ในประเทศตะวันตกอาจไม่ซื้อสินค้าที่มีแหล่งผลิตจากประเทศที่มีการใช้แรงงานจากผู้ต้องขังซึ่งจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมประมงของไทยทั้งหมด
ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรหยุดโครงการดังกล่าวของกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมทันทีเพราะทางเดียวที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมง คือรัฐบาลไทยควรบังคับใช้กฎหมายแรงงานอย่างจริงจังเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานซึ่งจะช่วยดึงดูดให้มีแรงงานอยากมาทำงานมากขึ้น
ด้านร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นว่าจดหมายดังกล่าวถูกส่งถึงนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานเคยแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบว่ามีแนวคิดที่จะให้ผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง แต่นายกฯยังไม่ได้สั่งการหรืออนุมัติ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาข้อมูลทุกแง่มุมให้รอบคอบเสียก่อน
กลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ร่อนจม.ถึง"บิ๊กตู่" ค้านส่งผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง
กลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติส่ง จม.ร้องนายกฯ ค้านข้อเสนอให้ผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง โฆษกรัฐบาลเผยนายกฯชี้ต้องศึกษาข้อมูลทุกด้าน
เมื่อวันที่ 15 มกราคม นายฟิล โรเบิร์ตสัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย เปิดเผยว่า องค์กรนอกภาครัฐและองค์กรแรงงานในระดับภูมิภาค รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวม 45 องค์กร ได้ร่วมกันจัดทำจดหมายและส่งถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความกังวลต่อข้อเสนอของพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะให้มีการจัดหาผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง เนื่องจากการใช้แรงงานจากผู้ต้องขังเป็นการละเมิดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึง จรรยาบรรณและระเบียบปฏิบัติของบริษัทต่างชาติหลายบริษัท อีกทั้งอาจจะไม่สามารถแก้ไขต้นตอปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมงที่ทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าแรงงานข้ามชาติดังนั้น การดำเนินโครงการนี้อาจตอกย้ำข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลไทยไม่พยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์บนเรือประมง และอาจกลายเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้ไทยได้รับการจัดอันดับให้ดีขึ้นจากเทียร์ 3 (กลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด) ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประจำปี 2558
นายโรเบิร์ตสัน กล่าวอีกว่า รายงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าเรือประมงไทยหลายแห่งมีการเอาเปรียบแรงงานเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับการประกอบธุรกิจโดยในปี 2557 สำนักข่าวหลายสำนักได้นำเสนอสภาพการทำงานที่โหดร้ายซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมงอาทิ การลักลอบค้ามนุษย์ การละเลยไม่จ่ายค่าจ้าง การบังคับใช้แรงงานถึงวันละ 20 ชั่วโมงบนเรือประมงบางลำ เป็นต้น ดังนั้น ข้อเสนอนี้ไม่อาจแก้ปัญหาสภาพการทำงานที่ทารุณ และปัญหาอื่นๆในอุตสาหกรรมประมงได้ แม้กระทรวงแรงงานจะยืนยันว่าจะใช้เฉพาะผู้ต้องขังที่สมัครใจ แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ความสมัครใจเนื่องจากผู้ต้องขังส่วนใหญ่มักไม่อาจปฏิเสธการถูกบังคับจากเจ้าหน้าที่เรือนจำได้นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบสภาพการทำงานและการบังคับการจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานในภาคประมงจึงไม่อาจรับประกันได้ว่ากระทรวงแรงงานจะคุ้มครองผู้ต้องขังที่จะทำงานบนเรือให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย แต่หากมีการดำเนินโครงการนี้จริง บริษัทต่างชาติที่ซื้อผลผลิตอาหารทะเลของไทยจะต้องถูกกดดันจากลูกค้า และจะพบกับมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นจากผู้ตรวจสอบของรัฐบาลในแต่ละประเทศ อีกทั้งผู้ค้ารายใหญ่ในประเทศตะวันตกอาจไม่ซื้อสินค้าที่มีแหล่งผลิตจากประเทศที่มีการใช้แรงงานจากผู้ต้องขังซึ่งจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมประมงของไทยทั้งหมด
ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงควรหยุดโครงการดังกล่าวของกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมทันทีเพราะทางเดียวที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมง คือรัฐบาลไทยควรบังคับใช้กฎหมายแรงงานอย่างจริงจังเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานซึ่งจะช่วยดึงดูดให้มีแรงงานอยากมาทำงานมากขึ้น
ด้านร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นว่าจดหมายดังกล่าวถูกส่งถึงนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานเคยแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบว่ามีแนวคิดที่จะให้ผู้ต้องขังไปทำงานบนเรือประมง แต่นายกฯยังไม่ได้สั่งการหรืออนุมัติ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาข้อมูลทุกแง่มุมให้รอบคอบเสียก่อน