ซื้อหุ้นตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทำกำไรได้จริงๆ หรือ?
BY SET INSIGHT · SEPTEMBER 28, 2014
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://blog.setinsight.net/2014/09/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1/
จากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว
จากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้วจากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว
ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นทั้ง 26 ตัวที่ ดร.นิเวศน์เคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ สูงถึง 159% ถ้าใช้ค่ามัธยฐาน ก็ยังสูงถึง 36% ถ้าคุณซื้อ CPALL หรือ HMPRO ตาม ดร.นิเวศน์…ไม่ใช่ตอนนี้…แต่เป็นตั้งแต่ตอนที่ ดร.มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ครั้งแรก คุณก็ทำกำไร 1000% ได้สบายๆ
กลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ผู้ที่ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นรายใหญ่ คงจะพอทราบว่า ดร.นิเวศน์ เจ้าของพอร์ตสามพันกว่าล้าน ได้พ้นจากการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหุ้น JMART และเข้าไปซื้อ TCAP 7 ล้านหุ้นถ้วนๆ คิดตามราคาปัจจุบันก็เกือบ 300 ล้านบาท
เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป ก็เกิดการวิจารณ์กันต่างๆ ในเว็บบอร์ดอย่างกว้างขวาง บางคนเข้ามาโพสต์ถามว่า “ซื้อหุ้น TCAP ตาม ดร.นิเวศน์ ดีหรือไม่ครับ” และก็เป็นไปตามคาดว่า ร้อยละ 90 ของคนที่มาตอบก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วย ตั้งแต่บอกว่า “แค่วิธีคิดก็ผิดแล้ว” บ้างก็ยกตัวอย่าง AS หรือ IT ว่าระวังจะติดดอย บ้างก็บอกว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ได้ update บ่อยๆ อาจจะขายไปแล้วก็ได้ บ้างก็บอกว่า ถ้าอยากจะรวยไวๆ วิ่งไวๆ ตัวนี้ก็ไม่เหมาะ จะเหมาะก็ในกรณีที่ “ไม่สามารถหาผลตอบแทนได้เกิน 4% ต่อปีด้วยตนเอง”
เรื่องที่ว่าเหตุผลเหล่านี้ ฟังขึ้น สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เราจะยังพักไม่พูดกันครับ ตอนนี้ ผมอยากชวนให้เราลองมาดูสถิติจากความเป็นจริงกันดีกว่า ว่าถ้าซื้อหุ้นตาม ดร. จะได้กำไรหรือขาดทุนกันบ้าง โดยมีเงื่อนไขอย่างนี้นะครับ
สมมติว่าเราซื้อหุ้นตาม ดร.นิเวศน์ (หรือตามคุณเพาพิลาส ซึ่งเป็นภรรยาของแก) ทุกตัว สมมติอีกชั้นว่า เราเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องงบการเงิน ตีเส้นกราฟอะไรไม่เป็นเลย รู้แค่อย่างเดียวว่าแกซื้อตัวไหน และซื้อตามเมื่อข้อมูลเป็นทางการแล้วเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น่าจะซื้อที่ต้นทุนสูงกว่า ดร. และยิ่งไปกว่านั้น กำหนดให้เราขายก็ต่อเมื่อ ไม่มีชื่อของดร. ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความ เราน่าจะขายได้ที่ราคาต่ำกว่าแก ในเงื่อนไขที่สุดโต่งที่สุดแบบนี้ เราจะได้กำไรหรือขาดทุนจากหุ้นแต่ละตัวอย่างไรบ้าง
มาดูกันครับ
หุ้น 1 ใน 4 ที่ซื้อตาม ดร.นิเวศน์ตามเงื่อนไขข้างต้นจะขาดทุน แต่ตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 30% ในขณะที่ตัวที่กำไรสูงถึง 1500% จึงไม่น่าแปลกใจที่พอร์ตของ ดร. จะโตขึ้นนับร้อยเท่าในเวลาสิบปีเศษ
หุ้น 1 ใน 4 ที่ซื้อตาม ดร.นิเวศน์ตามเงื่อนไขข้างต้นจะขาดทุน แต่ตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 30% ในขณะที่ตัวที่กำไรสูงถึง 1500% นี่จึงไม่น่าแปลกใจที่พอร์ตของ ดร. จะโตขึ้นนับร้อยเท่าในเวลาสิบปีเศษ
(หุ้นที่มี * คือซื้อในชื่อพอร์ต นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หุ้นที่ไม่มี คือซื้อในชื่อ เพาพิลาส,
หุ้นที่พื้นหลังสีเขียว คือยังมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ในปัจจุบัน,
หุ้นที่มีสีแดง คือเป็นหุ้นที่เมื่อซื้อขายตามเงื่อนไขที่วางไว้ แล้วให้ผลขาดทุน ไม่ได้หมายความว่า ดร.จะต้องขาดทุนตามนี้)
ลองใช้ข้อเท็จจริงตอบข้อกล่าวหาข้างต้นดูบ้าง
ข้อกล่าวหาแรกที่บอกว่า “แกอาจจะขายไปแล้วก็ได้” ถ้าดูจากเวลาถือครองตามตาราง (ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะสั้นกว่านั้น แต่ก็ไม่มีทางเกิน 1 ปีไปได้ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเวลานานที่สุดกว่าจะมีการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้ง ในกรณีที่บริษัทไม่ได้ขึ้น XD, XR ฯลฯ ในระหว่างนั้นเลย) โดยเฉลี่ยแล้ว ดร.จะถือครองหุ้นตัวหนึ่งนานถึง 48 เดือน หรือ 4 ปี (ถ้าคิดแบบเข้มงวดก็ลบออกด้วย 12 ซึ่งก็ยังนานถึง 3 ปีอยู่ดี) ถ้าถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่แกจะขาย TCAP ไปแล้วตามที่มีคนบอกว่า TCAP เป็น second best ไว้หลอกแมงเม่าหน้าโง่ ก็เป็นไปได้ แต่ถึงอย่างนั้น จนวันนี้ถ้าถือและซื้อ TCAP มาตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็ยังได้ผลตอบแทน 3% + ปันผลรอบก่อน 1 บาท และที่กำลังจะมาอีก 0.6 เท่ากับผลตอบแทน 7%
7% นี้บางคนอาจบอกว่าไม่เห็นมากตรงไหน แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลามาดูจอตลอด แล้วก็ต้องการจะถือยาวจริงๆ นี่ก็นับว่าเป็นผลตอบแทนที่ไม่เลวทีเดียว เมื่อคิดเป็นผลตอบแทนทบต้นตามปี
ประเด็นต่อมา ที่บอกว่าซื้อตาม ดร.แล้วติดดอยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าไปซื้อตอนไหน ตามเงื่อนไขที่เราวางเอาไว้ ก็ไม่ใช่พิสดารลึกลับอะไร คือ ซื้อเมื่อข้อมูลทางการแจ้งก็เท่านั้น เพราะเราถือว่า ต้องการซื้อให้ใกล้ ดร.ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะพบตามสถิติเลยว่า จากหุ้นทั้งหมด 26 ตัวที่ ดร.ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น มี 7 ตัวที่ขาดทุน (ตามเงื่อนไขที่วางไว้) และการขาดทุนที่ว่า ตัวที่เลวร้ายที่สุดก็ไม่ถึง 30% อันนี้ก็ต้องถามกลับว่า มีใครในโลกหรือไม่ที่ซื้อหุ้นไม่เคยขาดทุน
พูดเฉพาะหุ้น IT และ AS ซึ่งเป็นจำเลยให้คนว่า ดร. “พาคนไปดอย” มาตลอด ถ้าคนที่ซื้อตาม ดร. ตั้งแต่ครั้งแรก และติดตามอาการราคารวมถึงปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ประกอบเสมอ ก็เชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องขายขาดทุน และในบางเวลาที่ถือครองนั้น ก็ให้กำไรมากกว่า 50% และท่านก็สามารถขายในตอนนั้นได้…สบายๆ
ประเด็นสุดท้ายที่ดูเหมือนจะอธิบายได้ยากที่สุดคือ “แค่ซื้อตามก็ผิดแล้ว” เพราะไม่รู้ว่าทำไมซื้อตามจะต้องผิด ในเมื่อกางสถิตให้ดูจากหุ้น 26 ตัว ก็เห็นชัดว่ามีขาดทุนเพียง 7 ตัว และตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 20% ในขณะตัวที่กำไรนั้น ถ้าพูดในทางกำไรสุทธิ ที่มากก็มีมากถึง 1500% (HMPRO) ถ้าพูดในทางกำไรทบต้น ก็มีมากถึง 900% (RAM) ถ้าดูค่าเฉลี่ยก็ 160% หรือแม้จะเป็นค่ามัธยฐาน (median) ก็ยัง 36% อยู่ดี
หลายคนมักเตือนเชิงปรามว่า “อย่าลอกการบ้าน” การติดตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น ที่จริงต้องพูดว่าเป็นการร่นระยะเวลาค้นหาหุ้นตัวตนเอง แต่สุดท้าย ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั้น ตัวนักลงทุนก็ต้อง “ทำการบ้าน” อยู่ดีกว่า กล้าแค่ไหนสำหรับหุ้นแต่ละตัว หรือมีความคาดหวังกับหุ้นตัวนั้นๆ เพียงใด หุ้นในระยะหลังๆ ที่ ดร.ซื้อมักเป็นหุ้นปันผล และมีราคาเมื่อพิจารณาจาก PE หรือ PB ค่อนข้างต่ำ จัดเป็น value stock ไม่ใช่ growth stock ดร.ให้เหตุผลว่า ระยะนี้ หุ้นถูกและดีไม่ค่อยมี มีแต่หุ้นดีและแพงไปหมดแล้ว นั่นก็เป็นเหตุผลส่วนตัวของ ดร. ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่ขนาด ดร. ที่จะแค่อาศัยปันผลปีๆ หนึ่งก็เกือบร้อยล้าน ต้องการให้พอร์ตโตไวแม้ต้องแลกกับความเสี่ยงที่สูงกว่า ก็อาจจะต้องเลือกติดตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่นที่ aggressive กว่า ดร. ซึ่งก็มีมากมายในตลาด และฝีไม้ลายมือก็ไม่ได้แพ้ ดร. ก็ได้
ซื้อหุ้นตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทำกำไรได้จริงๆ หรือ?
BY SET INSIGHT · SEPTEMBER 28, 2014
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว
จากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้วจากวันแรกที่เข้ามาตลาดด้วยเงินลงทุนสิบล้านต้นๆ วันนี้พอร์ตของ ดร.นิเวศน์ แตะหลัก 3,000 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว
ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นทั้ง 26 ตัวที่ ดร.นิเวศน์เคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ สูงถึง 159% ถ้าใช้ค่ามัธยฐาน ก็ยังสูงถึง 36% ถ้าคุณซื้อ CPALL หรือ HMPRO ตาม ดร.นิเวศน์…ไม่ใช่ตอนนี้…แต่เป็นตั้งแต่ตอนที่ ดร.มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ครั้งแรก คุณก็ทำกำไร 1000% ได้สบายๆ
กลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ผู้ที่ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นรายใหญ่ คงจะพอทราบว่า ดร.นิเวศน์ เจ้าของพอร์ตสามพันกว่าล้าน ได้พ้นจากการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหุ้น JMART และเข้าไปซื้อ TCAP 7 ล้านหุ้นถ้วนๆ คิดตามราคาปัจจุบันก็เกือบ 300 ล้านบาท
เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป ก็เกิดการวิจารณ์กันต่างๆ ในเว็บบอร์ดอย่างกว้างขวาง บางคนเข้ามาโพสต์ถามว่า “ซื้อหุ้น TCAP ตาม ดร.นิเวศน์ ดีหรือไม่ครับ” และก็เป็นไปตามคาดว่า ร้อยละ 90 ของคนที่มาตอบก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วย ตั้งแต่บอกว่า “แค่วิธีคิดก็ผิดแล้ว” บ้างก็ยกตัวอย่าง AS หรือ IT ว่าระวังจะติดดอย บ้างก็บอกว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ได้ update บ่อยๆ อาจจะขายไปแล้วก็ได้ บ้างก็บอกว่า ถ้าอยากจะรวยไวๆ วิ่งไวๆ ตัวนี้ก็ไม่เหมาะ จะเหมาะก็ในกรณีที่ “ไม่สามารถหาผลตอบแทนได้เกิน 4% ต่อปีด้วยตนเอง”
เรื่องที่ว่าเหตุผลเหล่านี้ ฟังขึ้น สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เราจะยังพักไม่พูดกันครับ ตอนนี้ ผมอยากชวนให้เราลองมาดูสถิติจากความเป็นจริงกันดีกว่า ว่าถ้าซื้อหุ้นตาม ดร. จะได้กำไรหรือขาดทุนกันบ้าง โดยมีเงื่อนไขอย่างนี้นะครับ
สมมติว่าเราซื้อหุ้นตาม ดร.นิเวศน์ (หรือตามคุณเพาพิลาส ซึ่งเป็นภรรยาของแก) ทุกตัว สมมติอีกชั้นว่า เราเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องงบการเงิน ตีเส้นกราฟอะไรไม่เป็นเลย รู้แค่อย่างเดียวว่าแกซื้อตัวไหน และซื้อตามเมื่อข้อมูลเป็นทางการแล้วเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น่าจะซื้อที่ต้นทุนสูงกว่า ดร. และยิ่งไปกว่านั้น กำหนดให้เราขายก็ต่อเมื่อ ไม่มีชื่อของดร. ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความ เราน่าจะขายได้ที่ราคาต่ำกว่าแก ในเงื่อนไขที่สุดโต่งที่สุดแบบนี้ เราจะได้กำไรหรือขาดทุนจากหุ้นแต่ละตัวอย่างไรบ้าง
มาดูกันครับ
หุ้น 1 ใน 4 ที่ซื้อตาม ดร.นิเวศน์ตามเงื่อนไขข้างต้นจะขาดทุน แต่ตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 30% ในขณะที่ตัวที่กำไรสูงถึง 1500% จึงไม่น่าแปลกใจที่พอร์ตของ ดร. จะโตขึ้นนับร้อยเท่าในเวลาสิบปีเศษ
หุ้น 1 ใน 4 ที่ซื้อตาม ดร.นิเวศน์ตามเงื่อนไขข้างต้นจะขาดทุน แต่ตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 30% ในขณะที่ตัวที่กำไรสูงถึง 1500% นี่จึงไม่น่าแปลกใจที่พอร์ตของ ดร. จะโตขึ้นนับร้อยเท่าในเวลาสิบปีเศษ
(หุ้นที่มี * คือซื้อในชื่อพอร์ต นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หุ้นที่ไม่มี คือซื้อในชื่อ เพาพิลาส,
หุ้นที่พื้นหลังสีเขียว คือยังมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ในปัจจุบัน,
หุ้นที่มีสีแดง คือเป็นหุ้นที่เมื่อซื้อขายตามเงื่อนไขที่วางไว้ แล้วให้ผลขาดทุน ไม่ได้หมายความว่า ดร.จะต้องขาดทุนตามนี้)
ลองใช้ข้อเท็จจริงตอบข้อกล่าวหาข้างต้นดูบ้าง
ข้อกล่าวหาแรกที่บอกว่า “แกอาจจะขายไปแล้วก็ได้” ถ้าดูจากเวลาถือครองตามตาราง (ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะสั้นกว่านั้น แต่ก็ไม่มีทางเกิน 1 ปีไปได้ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเวลานานที่สุดกว่าจะมีการปิดสมุดทะเบียนอีกครั้ง ในกรณีที่บริษัทไม่ได้ขึ้น XD, XR ฯลฯ ในระหว่างนั้นเลย) โดยเฉลี่ยแล้ว ดร.จะถือครองหุ้นตัวหนึ่งนานถึง 48 เดือน หรือ 4 ปี (ถ้าคิดแบบเข้มงวดก็ลบออกด้วย 12 ซึ่งก็ยังนานถึง 3 ปีอยู่ดี) ถ้าถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่แกจะขาย TCAP ไปแล้วตามที่มีคนบอกว่า TCAP เป็น second best ไว้หลอกแมงเม่าหน้าโง่ ก็เป็นไปได้ แต่ถึงอย่างนั้น จนวันนี้ถ้าถือและซื้อ TCAP มาตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็ยังได้ผลตอบแทน 3% + ปันผลรอบก่อน 1 บาท และที่กำลังจะมาอีก 0.6 เท่ากับผลตอบแทน 7%
7% นี้บางคนอาจบอกว่าไม่เห็นมากตรงไหน แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลามาดูจอตลอด แล้วก็ต้องการจะถือยาวจริงๆ นี่ก็นับว่าเป็นผลตอบแทนที่ไม่เลวทีเดียว เมื่อคิดเป็นผลตอบแทนทบต้นตามปี
ประเด็นต่อมา ที่บอกว่าซื้อตาม ดร.แล้วติดดอยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าไปซื้อตอนไหน ตามเงื่อนไขที่เราวางเอาไว้ ก็ไม่ใช่พิสดารลึกลับอะไร คือ ซื้อเมื่อข้อมูลทางการแจ้งก็เท่านั้น เพราะเราถือว่า ต้องการซื้อให้ใกล้ ดร.ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะพบตามสถิติเลยว่า จากหุ้นทั้งหมด 26 ตัวที่ ดร.ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น มี 7 ตัวที่ขาดทุน (ตามเงื่อนไขที่วางไว้) และการขาดทุนที่ว่า ตัวที่เลวร้ายที่สุดก็ไม่ถึง 30% อันนี้ก็ต้องถามกลับว่า มีใครในโลกหรือไม่ที่ซื้อหุ้นไม่เคยขาดทุน
พูดเฉพาะหุ้น IT และ AS ซึ่งเป็นจำเลยให้คนว่า ดร. “พาคนไปดอย” มาตลอด ถ้าคนที่ซื้อตาม ดร. ตั้งแต่ครั้งแรก และติดตามอาการราคารวมถึงปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ประกอบเสมอ ก็เชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องขายขาดทุน และในบางเวลาที่ถือครองนั้น ก็ให้กำไรมากกว่า 50% และท่านก็สามารถขายในตอนนั้นได้…สบายๆ
ประเด็นสุดท้ายที่ดูเหมือนจะอธิบายได้ยากที่สุดคือ “แค่ซื้อตามก็ผิดแล้ว” เพราะไม่รู้ว่าทำไมซื้อตามจะต้องผิด ในเมื่อกางสถิตให้ดูจากหุ้น 26 ตัว ก็เห็นชัดว่ามีขาดทุนเพียง 7 ตัว และตัวที่ขาดทุนก็ไม่เกิน 20% ในขณะตัวที่กำไรนั้น ถ้าพูดในทางกำไรสุทธิ ที่มากก็มีมากถึง 1500% (HMPRO) ถ้าพูดในทางกำไรทบต้น ก็มีมากถึง 900% (RAM) ถ้าดูค่าเฉลี่ยก็ 160% หรือแม้จะเป็นค่ามัธยฐาน (median) ก็ยัง 36% อยู่ดี
หลายคนมักเตือนเชิงปรามว่า “อย่าลอกการบ้าน” การติดตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น ที่จริงต้องพูดว่าเป็นการร่นระยะเวลาค้นหาหุ้นตัวตนเอง แต่สุดท้าย ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั้น ตัวนักลงทุนก็ต้อง “ทำการบ้าน” อยู่ดีกว่า กล้าแค่ไหนสำหรับหุ้นแต่ละตัว หรือมีความคาดหวังกับหุ้นตัวนั้นๆ เพียงใด หุ้นในระยะหลังๆ ที่ ดร.ซื้อมักเป็นหุ้นปันผล และมีราคาเมื่อพิจารณาจาก PE หรือ PB ค่อนข้างต่ำ จัดเป็น value stock ไม่ใช่ growth stock ดร.ให้เหตุผลว่า ระยะนี้ หุ้นถูกและดีไม่ค่อยมี มีแต่หุ้นดีและแพงไปหมดแล้ว นั่นก็เป็นเหตุผลส่วนตัวของ ดร. ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่ขนาด ดร. ที่จะแค่อาศัยปันผลปีๆ หนึ่งก็เกือบร้อยล้าน ต้องการให้พอร์ตโตไวแม้ต้องแลกกับความเสี่ยงที่สูงกว่า ก็อาจจะต้องเลือกติดตามผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายอื่นที่ aggressive กว่า ดร. ซึ่งก็มีมากมายในตลาด และฝีไม้ลายมือก็ไม่ได้แพ้ ดร. ก็ได้