เมื่อเนชั่นเปิดเกมต้าน SLC เพื่ออิสระของสื่อ หรืออิสระของสุทธิชัย หยุ่น
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000003216
กำไรจากการลงทุนปลุกปั้นธุรกิจขึ้นมา เสียภาษีถูกกว่าบริษัทนอกตลาด มีเครดิตน่าเชื่อถือ กู้เงินธนาคารหรือกู้โดยตรงจากตลาดทุนก็สะดวก
ส่วนข้อเสียนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน ถือว่าเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย แลกกับการเอาเงินชาวบ้านมาใช้ ที่สำคัญข้อหนึ่งคือเสี่ยงต่อการสูญเสียกิจการและอำนาจบริหาร หากไม่ดูแลให้ดี ปล่อยให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลกว้านซื้อหุ้นไปครอบครอง จนมีจำนวนมากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่เจ้าของกิจการที่นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น นักลงทุนทั่วไป และประชาชนผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวทางเครษฐกิจต่างรู้ดี
ดังนั้น เมื่อสุทธิชัย หยุ่น ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ประกาศต่อต้านการเข้ามาถือหุ้น NMG 12.27 % และสิทธิในการซื้อหุ้นในอนาคต หรือ วอแรนต์ อีก 6 % ของบริษัทโซลูชั่น คอร์เนอร์ จำกัด( มหาชน) หรือ SLC โดยอ้างว่า สงสัยในเจตนาของ SLC ว่าจะ “ครอบงำสื่อ” จึงเป็นเรื่องที่คนซึ่งมีวุฒิภาวะทั้งหลายล้วนแปลกใจว่า เหตุไฉนเจ้าของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นมา 20 กว่าปี เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ธุรกิจที่มีอายุยาวนานเกือบ 30 ปี จึงไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานของตลาดหุ้น แต่กลับทำตัวเป็นเด็กเกเร ไม่ยอมรับกฎกติกาของตลาดหุ้น
หนำซ้ำยังวิ่งเข้าหากรรมาธิการปฏิรูปสื่อของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ตรวจสอบการซื้อหุ้นของ SLC ซึ่งก็คือการหวังพึ่งอำนาจการเมืองมาสนับสนุน คุ้มครองอาณาจักรสื่อของตน เป็นพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับคำอวดอ้างว่าเป็นสื่ออิสระ ไม่อิงแอบอำนาจการเมือง
วาทกรรม ครอบงำสื่อ แทรกแซงสื่อ เป็นมุกหากินของสุทธิชัย หยุ่น ในยามที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจและของเครือเนชั่น ถูกคุกคาม
บ่ายวันหนึ่งของเดือนพฤษภาคม เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค เขาก็ใช้ท่วงทำนองเดียวกันนี้ กล่าวหาธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และเจ้าหนี้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีว่า แทรกแซงสื่อ เพราะมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานไอทีวี ที่ทำให้ตัวเขาและน้องชายถูกลดบทบาทลง เนื่องจากไทยพาณิชย์เห็นว่ากลุ่มเนชั่นเป็นผู้ถือหุ้นไอทีวีที่ได้ประโยชน์จากไอทีวีมากกว่าผู้ถือหุ้นอื่นๆ โดยที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง แม้แต่คณะกรรมการ
คอลัมน์คิดใหม่วันอาทิตย์ โดยนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของเครือเนชั่น ในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2557 และวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2558 เรื่อง SLC ทุนฉงน–ซ่อนกลฮุบ SMG ตอนที่ 1 และ 2 ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับที่มาและผู้ที่อยู่เบื้องหลังการซื้อหุ้นจำนวนมากของเอสแอลซี
เจตนาที่แท้จริงของเอสแอลซี ในการซื้อหุ้นเนชั่น คืออะไร คือ การเป็นนอมินีของกลุ่มการเมืองเพื่อยึดเนชั่น หรือเป็นเกมการเงิน ในตลาดหุ้นของ ฉาย บุนนาค เจ้าของเอสแอลซีตัวจริง จะเป็นอะไรก็ตาม แต่เอสแอลซี มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นเนชั่นเท่าไรก็ได้ ตราบใดที่มีผู้ขายและตกลงราคากันได้
นั่นคือกติกาที่นายสุทธิชัย หยุ่น ก็รู้ดี
วิธีการป้องกันตัว เพื่อปกป้องความเป็นอิสระของสื่อ อย่างที่นายสุทธิชัยกล่าวอ้างนั้น คือการต่อสู้ในวิถีทางของตลาดหุ้น คือการไล่ซื้อหุ้นเนชั่นในตลาดเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของตนเองให้มากกว่าเอสแอลซี ไม่ใช่การวิ่งเข้าหาอำนาจการเมือง หรือการอ้างความเป็นสื่ออิสระ เพื่อยับยั้ง การซื้อหุ้นของเอสแอลซี
แต่วิธีการนี้ เนชั่นต้องใช้เงินเยอะมาก ซึ่งคงไม่ใช่แนวทางของนายสุทธิชัย และอาจจะสู้กับฉาย บุนนาคไม่ได้
สุทธิชัยมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องผู้ถือหุ้นของเนชั่น คือไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นรายใดถือหุ้นมากเกินไป เพราะเกรงว่าจะมีอิทธิพลเหนือฝ่ายบริหาร ซึ่งจะกระทบต่อความเป็นอิสระในความเป็นสื่อของเนชั่น เนชั่นจึงมีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก ประมาณหมื่นกว่าราย ถือหุ้นรวมกันเป็นสัดส่วนเกือบ 80% โดยนายสุทธิชัย และนายเสริมสิน สมะลาภา ถือหุ้นใหญ่ รายละประมาณ 11 %
ในข้อเขียนเรื่อง SLC ทุนฉงน–ซ่อนกลฮุบ NMG ตอนที่ 2 ระบุว่า นายสุทธิชัยขอให้นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ บริษัท MBK ซึ่งไล่ซื้อหุ้นเนชั่นได้ 13 % แล้ว และตั้งเป้าจะซื้อให้ถึง 20% ถือหุ้นเนชั่นได้ไม่เกิน 15 % นายบันเทิงจีงตัดสินใจขายหุ้นเนชั่นทั้ง 13% ที่ MBK ถืออยู่ให้กับบริษัทวัธน แคปปิตอล หรือ WAT ของพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และนักลงทุนอีกรายหนึ่ง
นโยบายไม่ให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเองนี้ ถือเป็นการลงทุนแบบประหยัดแตได้อำนาจเต็มที่ คือลงทุนเพียง 10 บาท แต่มีอำนาจบริหาร 100 บาท โดยไม่มีการตรวจสอบจากผู้ถือหุ้น เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เป็นเบี้ยหัวแตก รวมตัวกันไม่ได้ ไม่มีอำนาจต่อรอง
เนชั่นเคยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่า 10% คือนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งกลุ่มซัมมิทออโต้ ซึ่งเข้ามาถือหุ้นเพราะนายธนาชัย ธีรพัฒนาวงศ์ อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานกรรมการเครือเนชั่น ชักชวนให้มาเป็นทองแผ่นเดียวกันให้แน่นแฟ้นขึ้น หลังจากหลานชายของนายธนาชัยแต่งงานกับลูกสาวของนางสมพร แต่นางสมพรก็เป็นผู้ถือหุ้นที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของนายสุทธิชัยและพวก จนกระทั่งเกิดกรณีเนชั่นขายตึกเนชั่นทาวเวอร์ให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ในราคาประมาณ 900 กว่าล้านบาท ต่ำกว่าราคาที่คณะกรรมการบริษัทเคยกำหนดไว้ถึง 400 กว่าล้านบาท ซึ่งนางสมพรเห็นว่าเป็นการขายทรัพย์สินหลักของกิจการออกไปในราคาที่ถูกมากโดยไม่มีการหารือกับตนเองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงขายหุ้นเนชั่นทิ้งในราคาที่ขาดทุน 200 กว่าล้านบาท
กลุ่มที่เข้ามารับซื้อคือนายเสริมสิน สมะลาภา ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับอำนาจการบริหารงานด้านสื่อของนายสุทธิชัยแต่อย่างใด แต่เอาเงินเนชั่นฯ ไปซื้อมหาวิทยาลัยโยนก แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมาถึงบัดนี้มีคำถามว่าเป็นการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่
การไม่ยอมให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเอง ทำให้สุทธิชัยสามารถคุมอำนาจบริหารได้อย่างเต็มที่ อาศัยความถนัดจัดเจนในการทำธุรกิจสื่อ และวาทกรรมกองบรรณาธิการต้องเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากทุน แต่ในขณะเดียวกันมันคือการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกิจการมหาชนที่มีผู้ถือหุ้นหมื่นกว่ารายในทางปฏิบัติเป็นบริษัทของผู้บริหารเพียงไม่กี่คน
ภายใต้ข้ออ้างสื่อต้องเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง จึงไม่มีคำตอบจากสุทธิชัยและผู้บริหารเนชั่นในเรื่องราวบางอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมจึงขายตึกให้เจริญในราคาที่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ถึง 400 กว่าล้านบาท ทำไมจึงไปลงทุนทำมหาวิทยาเนชั่น ราคาที่ซื้อมหาวิทยาลัยโยนกถูกหรือแพงอย่างไร และทำไมนายธนาชัยซึ่งบุกเบิกเนชั่นร่วมกันมาเกือบ 40 ปี จู่ๆ จึงลาออกไป และขายหุ้นทิ้งเกือบหมด โดยไม่มีคำอธิบายมากกว่าเรื่องปัญหาสุขภาพ
กลับมาที่การเข้ามาถือหุ้นเนชั่นฯ 12.27 เปอร์เซ็นต์ บวกกับวอร์แรนต์อีก 6 เปอร์เซ็นต์ บวกกับหุ้นในมือของ วัธนแคปปิตอล หรือ WAT อีก 7.57 เปอร์เซ็นต์ และผู้ถือหุ้นอีกรายหนึ่ง 6.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคอลัมน์ คิดใหม่วันอาทิตย์พยายามโยงให้เห็นว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน นับว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่ออำนาจการบริหารงานของสุทธิชัยที่ไม่เคยถูกผู้ถือหุ้นคนใดแตะต้องมาก่อน
อาจจะไม่ถึงขั้นเปลี่ยนผู้บริหารหรือฮุบกิจการ แต่ด้วยสัดส่วนหุ้นของกลุ่มนักเล่มเกมการเงินในตลาดหุ้นอย่าง SLC และ WAT หากยังคงอยู่เช่นนี้ต่อไป อย่างน้อยเก้าอี้กรรมการ 2 ตำแหน่งต้องเป็นของกลุ่มนี้ ซึ่งจะทำให้สุทธิชัยหมดอิสระที่จะตัดสินใจทำอะไรได้ทุกอย่างต่อไป เพราะต้องถูกตรวจสอบทักท้วงจากผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่
เมื่อเนชั่นเปิดเกมต้าน SLC เพื่ออิสระของสื่อ หรืออิสระของสุทธิชัย หยุ่น
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000003216
กำไรจากการลงทุนปลุกปั้นธุรกิจขึ้นมา เสียภาษีถูกกว่าบริษัทนอกตลาด มีเครดิตน่าเชื่อถือ กู้เงินธนาคารหรือกู้โดยตรงจากตลาดทุนก็สะดวก
ส่วนข้อเสียนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน ถือว่าเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย แลกกับการเอาเงินชาวบ้านมาใช้ ที่สำคัญข้อหนึ่งคือเสี่ยงต่อการสูญเสียกิจการและอำนาจบริหาร หากไม่ดูแลให้ดี ปล่อยให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลกว้านซื้อหุ้นไปครอบครอง จนมีจำนวนมากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่เจ้าของกิจการที่นำบริษัทเข้าตลาดหุ้น นักลงทุนทั่วไป และประชาชนผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวทางเครษฐกิจต่างรู้ดี
ดังนั้น เมื่อสุทธิชัย หยุ่น ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ประกาศต่อต้านการเข้ามาถือหุ้น NMG 12.27 % และสิทธิในการซื้อหุ้นในอนาคต หรือ วอแรนต์ อีก 6 % ของบริษัทโซลูชั่น คอร์เนอร์ จำกัด( มหาชน) หรือ SLC โดยอ้างว่า สงสัยในเจตนาของ SLC ว่าจะ “ครอบงำสื่อ” จึงเป็นเรื่องที่คนซึ่งมีวุฒิภาวะทั้งหลายล้วนแปลกใจว่า เหตุไฉนเจ้าของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นมา 20 กว่าปี เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ธุรกิจที่มีอายุยาวนานเกือบ 30 ปี จึงไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานของตลาดหุ้น แต่กลับทำตัวเป็นเด็กเกเร ไม่ยอมรับกฎกติกาของตลาดหุ้น
หนำซ้ำยังวิ่งเข้าหากรรมาธิการปฏิรูปสื่อของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ตรวจสอบการซื้อหุ้นของ SLC ซึ่งก็คือการหวังพึ่งอำนาจการเมืองมาสนับสนุน คุ้มครองอาณาจักรสื่อของตน เป็นพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับคำอวดอ้างว่าเป็นสื่ออิสระ ไม่อิงแอบอำนาจการเมือง
วาทกรรม ครอบงำสื่อ แทรกแซงสื่อ เป็นมุกหากินของสุทธิชัย หยุ่น ในยามที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจและของเครือเนชั่น ถูกคุกคาม
บ่ายวันหนึ่งของเดือนพฤษภาคม เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค เขาก็ใช้ท่วงทำนองเดียวกันนี้ กล่าวหาธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และเจ้าหนี้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีว่า แทรกแซงสื่อ เพราะมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานไอทีวี ที่ทำให้ตัวเขาและน้องชายถูกลดบทบาทลง เนื่องจากไทยพาณิชย์เห็นว่ากลุ่มเนชั่นเป็นผู้ถือหุ้นไอทีวีที่ได้ประโยชน์จากไอทีวีมากกว่าผู้ถือหุ้นอื่นๆ โดยที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง แม้แต่คณะกรรมการ
คอลัมน์คิดใหม่วันอาทิตย์ โดยนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของเครือเนชั่น ในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2557 และวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2558 เรื่อง SLC ทุนฉงน–ซ่อนกลฮุบ SMG ตอนที่ 1 และ 2 ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับที่มาและผู้ที่อยู่เบื้องหลังการซื้อหุ้นจำนวนมากของเอสแอลซี
เจตนาที่แท้จริงของเอสแอลซี ในการซื้อหุ้นเนชั่น คืออะไร คือ การเป็นนอมินีของกลุ่มการเมืองเพื่อยึดเนชั่น หรือเป็นเกมการเงิน ในตลาดหุ้นของ ฉาย บุนนาค เจ้าของเอสแอลซีตัวจริง จะเป็นอะไรก็ตาม แต่เอสแอลซี มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นเนชั่นเท่าไรก็ได้ ตราบใดที่มีผู้ขายและตกลงราคากันได้
นั่นคือกติกาที่นายสุทธิชัย หยุ่น ก็รู้ดี
วิธีการป้องกันตัว เพื่อปกป้องความเป็นอิสระของสื่อ อย่างที่นายสุทธิชัยกล่าวอ้างนั้น คือการต่อสู้ในวิถีทางของตลาดหุ้น คือการไล่ซื้อหุ้นเนชั่นในตลาดเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของตนเองให้มากกว่าเอสแอลซี ไม่ใช่การวิ่งเข้าหาอำนาจการเมือง หรือการอ้างความเป็นสื่ออิสระ เพื่อยับยั้ง การซื้อหุ้นของเอสแอลซี
แต่วิธีการนี้ เนชั่นต้องใช้เงินเยอะมาก ซึ่งคงไม่ใช่แนวทางของนายสุทธิชัย และอาจจะสู้กับฉาย บุนนาคไม่ได้
สุทธิชัยมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องผู้ถือหุ้นของเนชั่น คือไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นรายใดถือหุ้นมากเกินไป เพราะเกรงว่าจะมีอิทธิพลเหนือฝ่ายบริหาร ซึ่งจะกระทบต่อความเป็นอิสระในความเป็นสื่อของเนชั่น เนชั่นจึงมีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก ประมาณหมื่นกว่าราย ถือหุ้นรวมกันเป็นสัดส่วนเกือบ 80% โดยนายสุทธิชัย และนายเสริมสิน สมะลาภา ถือหุ้นใหญ่ รายละประมาณ 11 %
ในข้อเขียนเรื่อง SLC ทุนฉงน–ซ่อนกลฮุบ NMG ตอนที่ 2 ระบุว่า นายสุทธิชัยขอให้นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ บริษัท MBK ซึ่งไล่ซื้อหุ้นเนชั่นได้ 13 % แล้ว และตั้งเป้าจะซื้อให้ถึง 20% ถือหุ้นเนชั่นได้ไม่เกิน 15 % นายบันเทิงจีงตัดสินใจขายหุ้นเนชั่นทั้ง 13% ที่ MBK ถืออยู่ให้กับบริษัทวัธน แคปปิตอล หรือ WAT ของพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และนักลงทุนอีกรายหนึ่ง
นโยบายไม่ให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเองนี้ ถือเป็นการลงทุนแบบประหยัดแตได้อำนาจเต็มที่ คือลงทุนเพียง 10 บาท แต่มีอำนาจบริหาร 100 บาท โดยไม่มีการตรวจสอบจากผู้ถือหุ้น เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เป็นเบี้ยหัวแตก รวมตัวกันไม่ได้ ไม่มีอำนาจต่อรอง
เนชั่นเคยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่า 10% คือนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งกลุ่มซัมมิทออโต้ ซึ่งเข้ามาถือหุ้นเพราะนายธนาชัย ธีรพัฒนาวงศ์ อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานกรรมการเครือเนชั่น ชักชวนให้มาเป็นทองแผ่นเดียวกันให้แน่นแฟ้นขึ้น หลังจากหลานชายของนายธนาชัยแต่งงานกับลูกสาวของนางสมพร แต่นางสมพรก็เป็นผู้ถือหุ้นที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของนายสุทธิชัยและพวก จนกระทั่งเกิดกรณีเนชั่นขายตึกเนชั่นทาวเวอร์ให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ในราคาประมาณ 900 กว่าล้านบาท ต่ำกว่าราคาที่คณะกรรมการบริษัทเคยกำหนดไว้ถึง 400 กว่าล้านบาท ซึ่งนางสมพรเห็นว่าเป็นการขายทรัพย์สินหลักของกิจการออกไปในราคาที่ถูกมากโดยไม่มีการหารือกับตนเองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงขายหุ้นเนชั่นทิ้งในราคาที่ขาดทุน 200 กว่าล้านบาท
กลุ่มที่เข้ามารับซื้อคือนายเสริมสิน สมะลาภา ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับอำนาจการบริหารงานด้านสื่อของนายสุทธิชัยแต่อย่างใด แต่เอาเงินเนชั่นฯ ไปซื้อมหาวิทยาลัยโยนก แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมาถึงบัดนี้มีคำถามว่าเป็นการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่
การไม่ยอมให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่นอกจากตัวเอง ทำให้สุทธิชัยสามารถคุมอำนาจบริหารได้อย่างเต็มที่ อาศัยความถนัดจัดเจนในการทำธุรกิจสื่อ และวาทกรรมกองบรรณาธิการต้องเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากทุน แต่ในขณะเดียวกันมันคือการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกิจการมหาชนที่มีผู้ถือหุ้นหมื่นกว่ารายในทางปฏิบัติเป็นบริษัทของผู้บริหารเพียงไม่กี่คน
ภายใต้ข้ออ้างสื่อต้องเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง จึงไม่มีคำตอบจากสุทธิชัยและผู้บริหารเนชั่นในเรื่องราวบางอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมจึงขายตึกให้เจริญในราคาที่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ถึง 400 กว่าล้านบาท ทำไมจึงไปลงทุนทำมหาวิทยาเนชั่น ราคาที่ซื้อมหาวิทยาลัยโยนกถูกหรือแพงอย่างไร และทำไมนายธนาชัยซึ่งบุกเบิกเนชั่นร่วมกันมาเกือบ 40 ปี จู่ๆ จึงลาออกไป และขายหุ้นทิ้งเกือบหมด โดยไม่มีคำอธิบายมากกว่าเรื่องปัญหาสุขภาพ
กลับมาที่การเข้ามาถือหุ้นเนชั่นฯ 12.27 เปอร์เซ็นต์ บวกกับวอร์แรนต์อีก 6 เปอร์เซ็นต์ บวกกับหุ้นในมือของ วัธนแคปปิตอล หรือ WAT อีก 7.57 เปอร์เซ็นต์ และผู้ถือหุ้นอีกรายหนึ่ง 6.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคอลัมน์ คิดใหม่วันอาทิตย์พยายามโยงให้เห็นว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน นับว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่ออำนาจการบริหารงานของสุทธิชัยที่ไม่เคยถูกผู้ถือหุ้นคนใดแตะต้องมาก่อน
อาจจะไม่ถึงขั้นเปลี่ยนผู้บริหารหรือฮุบกิจการ แต่ด้วยสัดส่วนหุ้นของกลุ่มนักเล่มเกมการเงินในตลาดหุ้นอย่าง SLC และ WAT หากยังคงอยู่เช่นนี้ต่อไป อย่างน้อยเก้าอี้กรรมการ 2 ตำแหน่งต้องเป็นของกลุ่มนี้ ซึ่งจะทำให้สุทธิชัยหมดอิสระที่จะตัดสินใจทำอะไรได้ทุกอย่างต่อไป เพราะต้องถูกตรวจสอบทักท้วงจากผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่