"โมหะภูมิ" ผมได้ยินคำนี้ครั้งแรกจากภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่อง พระมหาชนก ในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นชาดก1ใน10ชาติสุดท้าย ก่อนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
ผมสะดุดใจกับ คำว่า "โมหะภูมิ" จึงค้นหาความหมายเพิ่มเติม ไปเจอบทความ เมื่อปี 2548
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000075089
วัฏจักรแห่งความเสื่อม นำพาสังคมสู่โมหะภูมิ ที่ไร้ภูมิคุ้มกัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 มิถุนายน 2548 16:47 น.
ผู้เขียน พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
ทำไมทุกฝ่ายในสังคมดูจะแย่ลง เราต้องสาวไปถึงเหตุว่าเพราะ ขาโรงเรียนไปเตะขาวัฒนธรรมแล้ว โยกไปเย้มา บนกระแสคลื่นอันเลวร้าย เชี่ยวกราก ที่พัดกระหน่ำมาเรื่อย สังคมไทยก็ยืนด้วยตัวเองไม่ได้ อย่าพูดถึงว่าจะก้าวไปข้างหน้าเลย เอาแค่พอประคองตัว ก็ลำบากมากแล้ว เราจะเห็นภาพสะท้อนสังคมไทยได้มากๆ ที่เราต่างก็ยอมรับว่า เราติดโรค “บริโภคนิยม” ในระดับที่เข้มข้นรุนแรงมาก ทำไม? ทำไมสังคมเราเป็นอย่างที่ในหลวงทรงมีพระดำรัสเปรียบเปรยไว้ว่าเป็น “โมหะภูมิ” ทำไมเราจึงเป็นเหมือนดั่งคนที่ “ไร้ภูมิคุ้มกัน” เราเป็นประเทศพุทธศาสนา มีชาวพุทธอยู่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ทำไมสังคมอันทันสมัยล้ำยุคอย่างปัจจุบันนี้ มันเลวร้ายมาก เสื่อมทรามมาก อาชญากรรมเยอะ อบายมุขเยอะ สิ่งมอมเมาเยอะ โกงกินคอรัปชั่นมาก โสเภณีมาก ฆ่ากันมาก ขโมยกันมาก เดี๋ยวนี้เริ่มเป็นกันตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็หาทางแก้แบบตาบอดคลำช้าง เป็นพักๆ ไป แก้ด้วยทางการเมืองบ้าง ทางเศรษฐกิจบ้าง ด้วยการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นกระแสมาจากตะวันตกบ้าง ทางสารพัดนโยบายกิจกรรมที่สวยหรู แต่สุดท้ายเราก็จะต้องถามหาความยั่งยืน มันไม่เคยแก้อะไรได้จริงจัง แค่พอประทังไว้ ประคองไว้เท่านั้นเอง มันแค่เส้นผมบังภูเขาเท่านั้นเอง
เพราะวัฏจักรแห่งความเจริญที่เราก้าวเดินไปด้วยสองขา ทั้งขาแห่งการเรียนในระบบโรงเรียนและขาวัฒนธรรมเราโดนเตะเดี้ยงไปเสียแล้ว เมื่อก่อนมีวัฏจักรแห่งความเจริญที่หมุนสืบต่อไปในสังคมทุก 7-8 วัน มีกระบวนการเรียนรู้ที่งดงามสมบูรณ์อยู่ทุกๆ วันพระ แต่พอเราเปลี่ยนวันหยุดจากวันโกนวันพระ เป็นวันเสาร์- อาทิตย์ เกิดอะไรขึ้น นอกจากไม่ได้กระบวนการเรียนรู้ที่ดีงามอย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว กลับหมุนกลับเป็น “วัฏจักรแห่งความเสื่อม” พอหยุดวันเสาร์อาทิตย์ ก็เป็นวันแห่งการเสพ เสพบริโภคกันอย่างหนักเป็นวันแห่งความมัวเมาลุ่มหลง เป็นวันที่เราขอหมกหมุ่นอยู่ในกระแสหายนธรรมที่ดาษดื่นในสังคมบริโภคนิยมด้วยความเต็มใจ แลโฆษณาสะกดจิตเรากันเองให้เป็นค่านิยมขึ้นมาเสียด้วยซ้ำ
วิถีชีวิตอย่างนี้จึงเป็นความสืบต่อแห่งวังวนของหายนธรรม ที่เราเต็มใจเชื้อเชิญให้เข้ามาแย้งชิงโอกาสที่วัฒนธรรมอันดีงามเคยโอบล้อมคนในสังคมอยู่อย่างอบอุ่น เราปล่อยให้หายนธรรมอันเลวร้ายเข้ามาครอบงำคนในสังคม ครูและเด็กในโรงเรียน หมอในโรงพยาบาล พระในวัด หรือแม้แต่เด็กในอ้อมอกของแม่ ยังถูกหายนธรรมเข้ามาครอบงำได้ แม่ตัวจริงที่อุ้มอยู่ได้ตายจากสังคมไทยไปนานกว่า 30-40 ปีแล้ว เป็นภัยที่มองไม่เห็น และยังไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใดจึงจะทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้เห็นได้
หรือคนในสังคมไทยส่วนใหญ่สมัยนี้ อยู่ในโมหะภูมิจริงๆ แต่เราไม่ยอมรับความจริง พระองค์ท่านคงเห็นและสะท้อนให้เราดู
สังคมโมหะภูมิ
ผมสะดุดใจกับ คำว่า "โมหะภูมิ" จึงค้นหาความหมายเพิ่มเติม ไปเจอบทความ เมื่อปี 2548
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือคนในสังคมไทยส่วนใหญ่สมัยนี้ อยู่ในโมหะภูมิจริงๆ แต่เราไม่ยอมรับความจริง พระองค์ท่านคงเห็นและสะท้อนให้เราดู