คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1. โลกอยู่ตรงไหนของทางช้างเผือกครับเมื่อมองจากโลกเราเห็นส่วนไหนของมันครับ
- อยู่ในตำแหน่งประมาณจุดสีเหลืองในภาพ ห่างจากแกนกลางแกแลคซี่ (จุด A) ประมาณ 27,000 ปีแสง
โดยโคจรครบ 1 รอบใช้เวลานานถึง 240 ล้านปี และที่จุด A นั้นคือหลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Blackhole)
และเมื่อเรามองจากโลก เราจะเห็นส่วน "แกนกลาง" ของทางช้างเผือกครับ
2. และที่ว่าใจกลางทางช้างเผือกนั้นคือหลุมดำ แต่ทำไมเรายังเห็นแสงในย่าน Visible light จากศูนย์กลางมันครับ
- ที่เราไม่เห็นแสงย่าน Visible light จากหลุมดำแกนกลางทางช้างเผือก นั้น
เพราะว่าแสงย่าน visible light จากส่วน Accretion Disk ของหลุมดำประเภททั่วไป (ของทางช้างเผือก) นั้น
มีความสว่างน้อยมากเทียบกับดาวฤกษ์ที่หนาแน่นบริเวณแกนกลางทางช้างเผือกครับ
ทางช้างเผิอกของเรานั้น ไม่ได้เป็นแกแลคซี่ประเภท Active galaxy ดังนั้นหลุมดำและอาณาบริเวณโดยรอบของเรา นั้น
จึงไม่ได้เป็นแบบ Active Galactic Nucleus (AGN) ........ และความที่ไม่ได้เป็นแบบ AGN นี้
การส่องสว่าง และ activity ต่าง ๆ ของหลุมดำทางช้างเผือก รวมทั้งการ "ออกฤทธ์" ของ Accretion Disk
จึงไม่รุนแรงมาก ไม่มีการแผ่รังสียิ่งยวด ไม่มี visible light ที่สว่างจ้ามากนักครับ
เรื่องของ Active Galactic Nucleus (AGN) นี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Quasar
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Spoil เลยครับ (ยาวมาก)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. และทุกวันนี้เราสามารถมองเห็นกาแล็คซี่ของตัวเองได้หรือยังครับ
- เห็นครับ
เราเห็นเฉพาะบริเวณ "แกนกลาง" ของทางช้างเผือกของเราได้แล้ว
แต่ต้องเห็นด้วยการถ่ายภาพแบบเปิดหน้ากล้องนาน ๆ (Long exposure) เท่านั้น
เพราะแกนกลางทางช้างเผือกจะสว่างน้อยมาก หากมองด้วยตาเปล่าจะไม่เห็นอะไรเลยครับ
แต่แน่นอนว่าแกแลคซี่ทางช้างเผือกทั้งวงเราไม่มีทางเห็นแน่นอน เพราะเราจะออกไปถ่ายภาพไม่ได้
ภาพทางช้างเผือกที่เราเห็น นั้น ไม่ได้ "มโน" นะครับ แต่จำลองโดย model คณิตศาสตร์
และใช้ข้อมูลจากระยะห่างของครงสร้างต่าง ๆ ที่เราวัดได้ครับ
ภาพนี้ถ่ายโดยสมาชิก Pantip ห้องกล้องครับ ถ่ายโดยคุณล๊อคอิน Armiblue
จะเห็นบริเวณแกนกลางทางช้างเผือกชัดเจนมากครับ
เป็นย่านที่ดาวฤกษ์หนาแน่น ตัดกับ dust clouds สีดำ
- อยู่ในตำแหน่งประมาณจุดสีเหลืองในภาพ ห่างจากแกนกลางแกแลคซี่ (จุด A) ประมาณ 27,000 ปีแสง
โดยโคจรครบ 1 รอบใช้เวลานานถึง 240 ล้านปี และที่จุด A นั้นคือหลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Blackhole)
และเมื่อเรามองจากโลก เราจะเห็นส่วน "แกนกลาง" ของทางช้างเผือกครับ
2. และที่ว่าใจกลางทางช้างเผือกนั้นคือหลุมดำ แต่ทำไมเรายังเห็นแสงในย่าน Visible light จากศูนย์กลางมันครับ
- ที่เราไม่เห็นแสงย่าน Visible light จากหลุมดำแกนกลางทางช้างเผือก นั้น
เพราะว่าแสงย่าน visible light จากส่วน Accretion Disk ของหลุมดำประเภททั่วไป (ของทางช้างเผือก) นั้น
มีความสว่างน้อยมากเทียบกับดาวฤกษ์ที่หนาแน่นบริเวณแกนกลางทางช้างเผือกครับ
ทางช้างเผิอกของเรานั้น ไม่ได้เป็นแกแลคซี่ประเภท Active galaxy ดังนั้นหลุมดำและอาณาบริเวณโดยรอบของเรา นั้น
จึงไม่ได้เป็นแบบ Active Galactic Nucleus (AGN) ........ และความที่ไม่ได้เป็นแบบ AGN นี้
การส่องสว่าง และ activity ต่าง ๆ ของหลุมดำทางช้างเผือก รวมทั้งการ "ออกฤทธ์" ของ Accretion Disk
จึงไม่รุนแรงมาก ไม่มีการแผ่รังสียิ่งยวด ไม่มี visible light ที่สว่างจ้ามากนักครับ
เรื่องของ Active Galactic Nucleus (AGN) นี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Quasar
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Spoil เลยครับ (ยาวมาก)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. และทุกวันนี้เราสามารถมองเห็นกาแล็คซี่ของตัวเองได้หรือยังครับ
- เห็นครับ
เราเห็นเฉพาะบริเวณ "แกนกลาง" ของทางช้างเผือกของเราได้แล้ว
แต่ต้องเห็นด้วยการถ่ายภาพแบบเปิดหน้ากล้องนาน ๆ (Long exposure) เท่านั้น
เพราะแกนกลางทางช้างเผือกจะสว่างน้อยมาก หากมองด้วยตาเปล่าจะไม่เห็นอะไรเลยครับ
แต่แน่นอนว่าแกแลคซี่ทางช้างเผือกทั้งวงเราไม่มีทางเห็นแน่นอน เพราะเราจะออกไปถ่ายภาพไม่ได้
ภาพทางช้างเผือกที่เราเห็น นั้น ไม่ได้ "มโน" นะครับ แต่จำลองโดย model คณิตศาสตร์
และใช้ข้อมูลจากระยะห่างของครงสร้างต่าง ๆ ที่เราวัดได้ครับ
ภาพนี้ถ่ายโดยสมาชิก Pantip ห้องกล้องครับ ถ่ายโดยคุณล๊อคอิน Armiblue
จะเห็นบริเวณแกนกลางทางช้างเผือกชัดเจนมากครับ
เป็นย่านที่ดาวฤกษ์หนาแน่น ตัดกับ dust clouds สีดำ
แสดงความคิดเห็น
โลกอยู่ตรงไหนของทางช้างเผือกครับ
และที่ว่าใจกลางทางช้างเผือกนั้นคือหลุมดำ แต่ทำไมเรายังเห็นแสงในย่าน Visible light จากศูนย์กลางมันครับ
และทุกวันนี้เราสามารถมองเห็นกาแล็คซี่ของตัวเองได้หรือยังครับ