วันก่อนคุยถึงเรื่องเรือแป๊ะ ที่อาก๋งผม พายอยู่แถว ท่าน้ำราชวงศ์ เมื่อกว่า ร้อยปีมาแล้ว
อาก๋งเล่าให้ฟังว่า ตัวแกจะ นอนในเรือที่ท่าน้ำระหว่างรอผู้โดยสาร ผู้โดยสารส่วนใหญ่
จะกลับจากโรงยาฝี่นแถว ๆ เยาวราช หรือไม่ก็ไกลถึง โอเดี่ยน คนที่อยู่ฝั่งธน ก็จะนั่งรถเจ็ก
มาลงเรือที่ท่าน้ำราชวงศ์
เรือแป๊ะที่ว่า เป็นเรือแจว มีหลักแจวด้านหลัง ตรงกลางมีประทุน ตรงหัวเรือ ถ้าตอนกลางคืน
นี่มีตะเกียงรั้ว แขวนอยู่กับหลัก บางคนถ้าตุ้นหน้าคุ้นตา ไม่ต้องบอกที่หมาย แป๊ะ ก็แจวไปส่งถูกที่
แต่บางคนหน้าใหม่ แป๊ะไม่รู้จัก ต้องบอกกล่าวกันก่อน ไม่ใช่ลงมาปั้ป หลับเลยไม่ได้ อาก๋งบอก บางทีต้องรอให้
ผู้โดยสารตื่นถึงจะถามที่หมาย ไม่ใช่พายมั่ว ๆ
เรื่องเรือแป๊ะนี่ผมถามอาก๋งบ่อย ๆ ทำไมเรียกชื่อต่างกับรถเจ็ก เพราะคนลากรถเจ็ก กับแจวเรือแป๊ะ นี่
คนจีนโพ้นทะเลทั้งนั้น ( คนอ่านคงสงสัยว่า ครจีนโพ้นทะเลนี่มันยังไง โดยมากคนจีนจะหนีความอดอยากจากจีน
นั่งเรือสำเภามา เรียกว่าหอบเสื่อผืนหมอนใบ จากดินแดนจีน ที่ไกลจากเมืองไทยมาก ไอ้ไกล ๆ เดินมาทางบกไม่ได้
ต้องมาทางทะเลเท่านั้น เขาเลยเรียกคนจีนเหล่านี้ว่า คนจีนโพ้นทะเลโพ้นทะเล )
น่าจะเรียกว่า เรือเจ็ก หรือรถแป๊ะ ให้เหมือนกัน แกอธิบายว่า ถ้าเป็น คนจีนลากรถเจ็ก นี่โดยมากหนุ่ม ๆ
อายุไม่ถึง 20 แต่คนแจวเรือแปีะ นี่ กว่า 30 ขึ้นไป แล้วคนจีน ถ้า 30 จะไว้เครากันยาวนิด ๆ เพื่อความ
มีสง่าราษี แล้วคนพายเรือ ก็กว่า 30 ทั้งนั้นคำเรียกคนปูนนี้ว่า แป๊ะ เขาเลยเรียกคนแจวเรือนี้ว่าเรือแป๊ะ
อธิบายซะเหนื่อยพักแป๊ป
ผมฟังแล้วก็ถึงบางอ้อ ไม่เลยไปพระรามหกอีก ทั้งรถเจ็กและเรือแป๊ะ มาเลิกเอา ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกือบเลิกแล้ว เพราะผู้คนอพยพ จากกรุงเทพ ไปหมด ก็ ไอ้กันที้งระเบิดทุกวัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สะพานพระรามหก
เรียบร้อย แถม ด้วยหัวลำโพงบางส่วน ช่วงนั้น อาก๋งเลยอพยพ ไปจันทบูรณ์ ถามคนเก่า ๆแล้วสนุกครับ
มันขัดกันตรงที่เรือแป๊ะสมัยปัจจุบันที่ เอามาเล่ากันว่าลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ น่าจะเป็นคำล้อกันเล่น ๆของ
คุณวิษณุ เพราะในที่สุด แป๊ะ ก็ ต้องตามใจคนนั่งอีกเหมือนกัน หรือว่าไงครับ คุณวิษณุ
ประวัติเรือแป๊ะ
อาก๋งเล่าให้ฟังว่า ตัวแกจะ นอนในเรือที่ท่าน้ำระหว่างรอผู้โดยสาร ผู้โดยสารส่วนใหญ่
จะกลับจากโรงยาฝี่นแถว ๆ เยาวราช หรือไม่ก็ไกลถึง โอเดี่ยน คนที่อยู่ฝั่งธน ก็จะนั่งรถเจ็ก
มาลงเรือที่ท่าน้ำราชวงศ์
เรือแป๊ะที่ว่า เป็นเรือแจว มีหลักแจวด้านหลัง ตรงกลางมีประทุน ตรงหัวเรือ ถ้าตอนกลางคืน
นี่มีตะเกียงรั้ว แขวนอยู่กับหลัก บางคนถ้าตุ้นหน้าคุ้นตา ไม่ต้องบอกที่หมาย แป๊ะ ก็แจวไปส่งถูกที่
แต่บางคนหน้าใหม่ แป๊ะไม่รู้จัก ต้องบอกกล่าวกันก่อน ไม่ใช่ลงมาปั้ป หลับเลยไม่ได้ อาก๋งบอก บางทีต้องรอให้
ผู้โดยสารตื่นถึงจะถามที่หมาย ไม่ใช่พายมั่ว ๆ
เรื่องเรือแป๊ะนี่ผมถามอาก๋งบ่อย ๆ ทำไมเรียกชื่อต่างกับรถเจ็ก เพราะคนลากรถเจ็ก กับแจวเรือแป๊ะ นี่
คนจีนโพ้นทะเลทั้งนั้น ( คนอ่านคงสงสัยว่า ครจีนโพ้นทะเลนี่มันยังไง โดยมากคนจีนจะหนีความอดอยากจากจีน
นั่งเรือสำเภามา เรียกว่าหอบเสื่อผืนหมอนใบ จากดินแดนจีน ที่ไกลจากเมืองไทยมาก ไอ้ไกล ๆ เดินมาทางบกไม่ได้
ต้องมาทางทะเลเท่านั้น เขาเลยเรียกคนจีนเหล่านี้ว่า คนจีนโพ้นทะเลโพ้นทะเล )
น่าจะเรียกว่า เรือเจ็ก หรือรถแป๊ะ ให้เหมือนกัน แกอธิบายว่า ถ้าเป็น คนจีนลากรถเจ็ก นี่โดยมากหนุ่ม ๆ
อายุไม่ถึง 20 แต่คนแจวเรือแปีะ นี่ กว่า 30 ขึ้นไป แล้วคนจีน ถ้า 30 จะไว้เครากันยาวนิด ๆ เพื่อความ
มีสง่าราษี แล้วคนพายเรือ ก็กว่า 30 ทั้งนั้นคำเรียกคนปูนนี้ว่า แป๊ะ เขาเลยเรียกคนแจวเรือนี้ว่าเรือแป๊ะ
อธิบายซะเหนื่อยพักแป๊ป
ผมฟังแล้วก็ถึงบางอ้อ ไม่เลยไปพระรามหกอีก ทั้งรถเจ็กและเรือแป๊ะ มาเลิกเอา ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกือบเลิกแล้ว เพราะผู้คนอพยพ จากกรุงเทพ ไปหมด ก็ ไอ้กันที้งระเบิดทุกวัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สะพานพระรามหก
เรียบร้อย แถม ด้วยหัวลำโพงบางส่วน ช่วงนั้น อาก๋งเลยอพยพ ไปจันทบูรณ์ ถามคนเก่า ๆแล้วสนุกครับ
มันขัดกันตรงที่เรือแป๊ะสมัยปัจจุบันที่ เอามาเล่ากันว่าลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ น่าจะเป็นคำล้อกันเล่น ๆของ
คุณวิษณุ เพราะในที่สุด แป๊ะ ก็ ต้องตามใจคนนั่งอีกเหมือนกัน หรือว่าไงครับ คุณวิษณุ