อย่างที่เราทราบกันว่า ในช่วงตั้งแต่ปี 2432-2483 ในหลวงรัชกาลที่ห้าทรงเปลี่ยนปฏิทินไทย จากจันทรคติ มาเป็นสุริยคติ โดยทรงมีพระราชดำริให้กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงคิดค้นชื่อเดือนทั้งสิบสองขึ้นใหม่ จากภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อใช้แทนเดื้อนอ้ายเดอนยี่ที่ใช้มาแต่เดิม โดยทรงให้เริ่มวันที่
1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า
ปี2484 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่ปี 2484 หรือ ค.ศ.1941 เป็นต้นมา ทำให้ปี 2483 มีเพียง 9 เดือน ตั้งแต่เมษายนถึงธันวาคม
ด้วยเหตุนี้ หากจะคำนวน พ.ศ.เป็น ค.ศ. ของเหตุการณ์ในช่วง 2432-2483 ที่เกิดช่วง ม.ค.-มี.ค. ต้องเพิ่มอีกปี เช่น
ชื่อบุคคลท่านนี้เกิด 10 ม.ค. 2450 ถ้าเทียบเป็นปฏิทินใหม่ ต้องเป็น ปี 2451 ค.ศ.1908
ในหลายเอกสารโดยเฉพาะทางวิชาการ จะมีการวงเล็บไว้ด้วยว่าเป็นปฏิทินเก่าหรือใหม่
เช่น "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประสูติวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892) (ตามปฏิทินเก่าเป็น พ.ศ.2434)" เป็นต้น
ทีนี้เกิดปัญหาที่ว่า หากพบว่าบุคคลนี้เกิดในช่วงเดือนดังกล่าว ไม่ได้ระบุปี พ.ศ.ไม่ชัดเจนว่าเป็นปฏิทินเก่าหรือใหม่ ก็จะเกิดปัญหาในการคำนวนเป็นค.ศ.
ดังหลายๆกรณีต่อไปนี้ (ปฏิทินเก่า คือที่ถือวันที่ 1 เม.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินใหม่คือ ถือวันที่ 1 ม.ค. เป็นวันขึ้นปีใหม่)
1.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ตามเอกสารภาษาไทย ท่านเสด็จพระราชสมภพ วันที่ 1 มกราคม 2423 หากนี่เป็นปฏิทินเก่า จะถือว่าท่านเสด็จฯในปี พ.ศ.2424 หรือ ค.ศ.1881
แต่หากเป็นปฏิทินใหม่แล้ว ท่านเสด็จฯในปี 1880 ปี 2423 แปลงจาก 2422
แต่ในเอกสารภาษาอังกฤษ เป็นปี 1881 แสดงว่าถ้าปฏิทินเก่าต้องเป็น 2423
ปฏิทินใหม่ 2424 แปลงจาก 2423
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรดี
2.หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
เจ้านายสายบวรราชสกุล (สืบสายจากวังหน้าหรือวังหลัง) องค์สุดท้าย ทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ข้อมูลภาษาไทย ระบุว่าท่าน
ประสูติ 20 มกราคม 2464 ซึ่งถ้าอันนี้เป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าท่านต้องเกิดปี 2465 ตามปฏิทินใหม่ แล้ว ค.ศ. ต้องเป็น 1922
ถ้าอันนี้เป็นปฏิทินใหม่แล้ว ท่านต้องเกิดปี ค.ศ.1921 และ 2464 นี้แปลงจาก 2463
แต่ในข้อมูลภาษาอังกฤษบอกว่าท่านประสูติปี 1920 หมายความว่าท่านต้องประสูติในปี 2463 ตามปฏิทินใหม่ หรือ 2462 ตามปฏิทินเก่า
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรเป็นหลักดีครับ
3.ท่านหญิงสุมณีนงเยาว์ วินิจฉัยกุล (เดิม หม่อมเจ้าหญิงสุมณีนงเยาว์ ดิศกุล) พระธิดาในกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติ 16 มี.ค.2451
หากยังทรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์ จะเป็นเจ้านายที่มีพระชันษามากที่สุด (106 ปี)
(เจ้านายที่ยังอยู่ในฐานันดรศักดิ์ที่ยังทรงพระชนม์และมีพระชันษามากที่สุดคือ หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ พระธิดาในกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประสูติ 11 ธ.ค.2459 (1916) ปี 2557 พระชันษา 98 ปี)
หากเป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าท่านประสูติปี 2452 ค.ศ.1909 ถ้าเป็นปฏิทินใหม่ แสดงว่าท่านประสูติปี ค.ศ.1908 ปี 2451 แปลงจาก 2452
อย่างนี้ควรถือปีไหน
4.พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู (เดิมฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู) พระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก
ตามประวัติของท่านในเอกสารภาษาไทย บอกว่าท่านเกิด 24 ม.ค.2473 ถ้าข้อมูลยังปฏิทินเก่า แสดงว่า ค.ศ.ต้องเป็นปี 1931 หรือ พ.ศ.2474 ถ้าข้อมูลปรับเป็นปฏิทินใหม่แล้ว ก็ถือว่าท่านเกิดในค.ศ.1930 (พ.ศ.2473 นี้ก็ต้องปรับจาก 2472)
แต่ในข้อมูลภาษาอังกฤษบอกว่าท่านเกิดปี 1929 แสดงว่าท่านต้องเกิดปี 2472 (ปฏิทินใหม่) หรือ 2471 (ปฏิทินเก่า)
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไร หรือถือปฏิทินไหนเป็นหลัก
5.ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
เกิด 18 มี.ค.2474 ถ้านี่เป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าที่จริงท่านเกิดปี 2475 ค.ศ.1932 แต่ถ้านี่ปรับเป็นปฏิทินใหม่ แสงว่าท่านเกิด ค.ศ.1931 ปี 2474 ปรับจาก 2473
โดยในเอกสารภาษาอังกฤษบอกว่าเกิด 1931 อาจแปลว่าท่านเกิดปี 2474 จริงๆ แต่ยังไม่แน่ใจว่าปี พ.ศ.เกิดนี่ปรับหรือยัง
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรดีครับ
มีอีกหลายบุคคลและหลายเหตุการณ์ที่มีปีเกิดหรือปีที่เกิดเหตุกำกวมแบบนี้ อยากทราบว่าควรยึดถือตามปฏิทินที่เขาบันทึกไว้ หรือต้องเอามาปรับเป็นปฏิทินใหม่ครับ แล้วจะแปลงเป็น ค.ศ.อย่างไร
บุคคลที่เกิดในปีเหล่านี้ จะถือว่าเขาอยู่ในปีไหนครับ
ปี2484 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่ปี 2484 หรือ ค.ศ.1941 เป็นต้นมา ทำให้ปี 2483 มีเพียง 9 เดือน ตั้งแต่เมษายนถึงธันวาคม
ด้วยเหตุนี้ หากจะคำนวน พ.ศ.เป็น ค.ศ. ของเหตุการณ์ในช่วง 2432-2483 ที่เกิดช่วง ม.ค.-มี.ค. ต้องเพิ่มอีกปี เช่น
ชื่อบุคคลท่านนี้เกิด 10 ม.ค. 2450 ถ้าเทียบเป็นปฏิทินใหม่ ต้องเป็น ปี 2451 ค.ศ.1908
ในหลายเอกสารโดยเฉพาะทางวิชาการ จะมีการวงเล็บไว้ด้วยว่าเป็นปฏิทินเก่าหรือใหม่
เช่น "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประสูติวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892) (ตามปฏิทินเก่าเป็น พ.ศ.2434)" เป็นต้น
ทีนี้เกิดปัญหาที่ว่า หากพบว่าบุคคลนี้เกิดในช่วงเดือนดังกล่าว ไม่ได้ระบุปี พ.ศ.ไม่ชัดเจนว่าเป็นปฏิทินเก่าหรือใหม่ ก็จะเกิดปัญหาในการคำนวนเป็นค.ศ.
ดังหลายๆกรณีต่อไปนี้ (ปฏิทินเก่า คือที่ถือวันที่ 1 เม.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินใหม่คือ ถือวันที่ 1 ม.ค. เป็นวันขึ้นปีใหม่)
1.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ตามเอกสารภาษาไทย ท่านเสด็จพระราชสมภพ วันที่ 1 มกราคม 2423 หากนี่เป็นปฏิทินเก่า จะถือว่าท่านเสด็จฯในปี พ.ศ.2424 หรือ ค.ศ.1881
แต่หากเป็นปฏิทินใหม่แล้ว ท่านเสด็จฯในปี 1880 ปี 2423 แปลงจาก 2422
แต่ในเอกสารภาษาอังกฤษ เป็นปี 1881 แสดงว่าถ้าปฏิทินเก่าต้องเป็น 2423
ปฏิทินใหม่ 2424 แปลงจาก 2423
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรดี
2.หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
เจ้านายสายบวรราชสกุล (สืบสายจากวังหน้าหรือวังหลัง) องค์สุดท้าย ทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ข้อมูลภาษาไทย ระบุว่าท่าน
ประสูติ 20 มกราคม 2464 ซึ่งถ้าอันนี้เป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าท่านต้องเกิดปี 2465 ตามปฏิทินใหม่ แล้ว ค.ศ. ต้องเป็น 1922
ถ้าอันนี้เป็นปฏิทินใหม่แล้ว ท่านต้องเกิดปี ค.ศ.1921 และ 2464 นี้แปลงจาก 2463
แต่ในข้อมูลภาษาอังกฤษบอกว่าท่านประสูติปี 1920 หมายความว่าท่านต้องประสูติในปี 2463 ตามปฏิทินใหม่ หรือ 2462 ตามปฏิทินเก่า
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรเป็นหลักดีครับ
3.ท่านหญิงสุมณีนงเยาว์ วินิจฉัยกุล (เดิม หม่อมเจ้าหญิงสุมณีนงเยาว์ ดิศกุล) พระธิดาในกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติ 16 มี.ค.2451
หากยังทรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์ จะเป็นเจ้านายที่มีพระชันษามากที่สุด (106 ปี)
(เจ้านายที่ยังอยู่ในฐานันดรศักดิ์ที่ยังทรงพระชนม์และมีพระชันษามากที่สุดคือ หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ พระธิดาในกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประสูติ 11 ธ.ค.2459 (1916) ปี 2557 พระชันษา 98 ปี)
หากเป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าท่านประสูติปี 2452 ค.ศ.1909 ถ้าเป็นปฏิทินใหม่ แสดงว่าท่านประสูติปี ค.ศ.1908 ปี 2451 แปลงจาก 2452
อย่างนี้ควรถือปีไหน
4.พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู (เดิมฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู) พระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก
ตามประวัติของท่านในเอกสารภาษาไทย บอกว่าท่านเกิด 24 ม.ค.2473 ถ้าข้อมูลยังปฏิทินเก่า แสดงว่า ค.ศ.ต้องเป็นปี 1931 หรือ พ.ศ.2474 ถ้าข้อมูลปรับเป็นปฏิทินใหม่แล้ว ก็ถือว่าท่านเกิดในค.ศ.1930 (พ.ศ.2473 นี้ก็ต้องปรับจาก 2472)
แต่ในข้อมูลภาษาอังกฤษบอกว่าท่านเกิดปี 1929 แสดงว่าท่านต้องเกิดปี 2472 (ปฏิทินใหม่) หรือ 2471 (ปฏิทินเก่า)
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไร หรือถือปฏิทินไหนเป็นหลัก
5.ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
เกิด 18 มี.ค.2474 ถ้านี่เป็นปฏิทินเก่า แสดงว่าที่จริงท่านเกิดปี 2475 ค.ศ.1932 แต่ถ้านี่ปรับเป็นปฏิทินใหม่ แสงว่าท่านเกิด ค.ศ.1931 ปี 2474 ปรับจาก 2473
โดยในเอกสารภาษาอังกฤษบอกว่าเกิด 1931 อาจแปลว่าท่านเกิดปี 2474 จริงๆ แต่ยังไม่แน่ใจว่าปี พ.ศ.เกิดนี่ปรับหรือยัง
อย่างนี้ควรยึดถืออย่างไรดีครับ
มีอีกหลายบุคคลและหลายเหตุการณ์ที่มีปีเกิดหรือปีที่เกิดเหตุกำกวมแบบนี้ อยากทราบว่าควรยึดถือตามปฏิทินที่เขาบันทึกไว้ หรือต้องเอามาปรับเป็นปฏิทินใหม่ครับ แล้วจะแปลงเป็น ค.ศ.อย่างไร