จากมติชนออนไลน์ แท็กห้องสยาม เผื่อน้องๆคนไหนเตรียมเอนท์เป็นหมอ จะได้พิจารณาดีๆ
นอกเหนือจากโรคอีโบล่า และไข้หวัดนก ที่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศช่วงปี 2557 ล่าสุด กรมควบคุมโรคยังประกาศรายชื่อโรคระบาดอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2558 แต่ในอีกด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคขาดแคลนแพทย์ระบาดวิทยา ซึ่งเป็นสายอาชีพที่จะเฝ้าระวังโรค, เก็บข้อมูลเพื่อวางแผนป้องกัน สอบสวน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคหากมีผู้ต้องสงสัยมีอาการเข้าข่ายโรคระบาดต่างๆ
มาตรฐานความมั่นคงด้านสุขภาพระดับสากลระบุตัวเลขแพทย์ระบาดวิทยาที่เหมาะสมอยู่ที่1คนต่อประชากร2แสนคน โดยประเทศไทยควรมีแพทย์ระบาดวิทยาประมาณ 320 คน แต่ปัจจุบัน
ไทยมีแพทย์ระบาดวิทยาประจำทั่วประเทศ 171 คน และบุคลากรที่มีอยู่ก็เป็นผู้ที่เกษียณไปหรือทำงานระดับบริหาร ส่งผลให้ขาดแคลนแพทย์ภาคสนามที่พร้อมทำงานโดยตรง
พญ.ดารินทร์ อารีย์โชคชัย แพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา ซึ่งทำงานในกรมควบคุมโรคมาหลายปี ยืนยันว่า
แพทย์สายนี้มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนรวมถึงความก้าวหน้าทางอาชีพน้อยกว่าสายอื่น ขณะที่ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ซึ่งถือว่ามีระดับความเสี่ยงไม่น้อยไปกว่าสายอื่น
ช่องว่างของจำนวนแพทย์ระบาดวิทยาที่ยังขาดหายไปอาจยังไม่ส่งผลกระทบมากนักในช่วงภาวะปกติแต่สถานการณ์ทั่วโลกแสดงให้เห็นแล้วว่าโรคระบาดมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นถ้าในระยะยาวยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้และหากเกิดการแพร่ระบาดหรือเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าขึ้นประเทศไทยอาจมีปัญหาในการรับมือสถานการณ์ก็เป็นได้
เสียงจากภาคสนามของแพทย์ระบาดวิทยา หนึ่งในสายงานหมอที่น้อยคนจะเลือกมาทำ
นอกเหนือจากโรคอีโบล่า และไข้หวัดนก ที่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศช่วงปี 2557 ล่าสุด กรมควบคุมโรคยังประกาศรายชื่อโรคระบาดอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2558 แต่ในอีกด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคขาดแคลนแพทย์ระบาดวิทยา ซึ่งเป็นสายอาชีพที่จะเฝ้าระวังโรค, เก็บข้อมูลเพื่อวางแผนป้องกัน สอบสวน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคหากมีผู้ต้องสงสัยมีอาการเข้าข่ายโรคระบาดต่างๆ
มาตรฐานความมั่นคงด้านสุขภาพระดับสากลระบุตัวเลขแพทย์ระบาดวิทยาที่เหมาะสมอยู่ที่1คนต่อประชากร2แสนคน โดยประเทศไทยควรมีแพทย์ระบาดวิทยาประมาณ 320 คน แต่ปัจจุบัน ไทยมีแพทย์ระบาดวิทยาประจำทั่วประเทศ 171 คน และบุคลากรที่มีอยู่ก็เป็นผู้ที่เกษียณไปหรือทำงานระดับบริหาร ส่งผลให้ขาดแคลนแพทย์ภาคสนามที่พร้อมทำงานโดยตรง
พญ.ดารินทร์ อารีย์โชคชัย แพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา ซึ่งทำงานในกรมควบคุมโรคมาหลายปี ยืนยันว่า แพทย์สายนี้มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนรวมถึงความก้าวหน้าทางอาชีพน้อยกว่าสายอื่น ขณะที่ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ซึ่งถือว่ามีระดับความเสี่ยงไม่น้อยไปกว่าสายอื่น
ช่องว่างของจำนวนแพทย์ระบาดวิทยาที่ยังขาดหายไปอาจยังไม่ส่งผลกระทบมากนักในช่วงภาวะปกติแต่สถานการณ์ทั่วโลกแสดงให้เห็นแล้วว่าโรคระบาดมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นถ้าในระยะยาวยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้และหากเกิดการแพร่ระบาดหรือเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าขึ้นประเทศไทยอาจมีปัญหาในการรับมือสถานการณ์ก็เป็นได้