คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไม่มีผลเรื่องการเรียนต่อด้านรัฐศาสตร์ครับ มันจะได้ไปเปรียบเวลาสัมภาษณ์ทุน หรือสัมภาษณ์ทำงาน
ก่อนอื่น ขอแบ่งสาขาของรัฐศาสตร์ให้ น้อง จขกท. เข้าใจก่อน หลักๆนั้นรัฐศาสตร์มีสาขาวิชาการเมืองการปกครองเป็นหลัก ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาทฤษฎีทางการเมืองและศึกษารูปแบบการปกครองของแต่ละรัฐ (ส่วนมากจะเป็นรัฐมหาอำนาจ อาทิเช่น สหรัฐ รัสเซีย จีน ฯลฯ) โดยเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านออกไปเป็นสาขาต่างๆ ได้แก่
1.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เน้นศึกษากระบวนการทำงานของภาคราชการ การคลังของรัฐ เป็นต้น
2.สาขาบริการงานยุติธรรม สาขานี้บางมหาลัยเปิดสอนตั้งแต่ป.ตรี เช่น ม.เกษตร
และ 3.สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งพี่คิดว่าน้อง จขกท. กำลังสนใจที่จะศึกษาต่อในสาขาดังกล่าว
เส้นทางของการเป็นนักการทูตปฏิบัติการ เมื่อน้องจบการศึกษาจากสาขารัฐศาสตร์ หรือสาขาทางสังคมศาสตร์อื่นๆ เช่น นิติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ภาษาศาสตร์ รวมไปถึงนิเทศศาสตร์ ก็สามารถสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนี้ได้ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเปิดสอบทุกๆ 2 ปี สอบล่าสุดคือปี พ.ศ. 2557 ฉะนั้นรอบต่อไปคือ พ.ศ. 2559 การสอบจะแบ่งเป็น 3 ภาค คือ ก. ข. และ ค. (เหมือนข้าราชการพลเรือนของกรมอื่นๆ แต่ กระทรวงการต่างประเทศจะออกภาค ก. ของตัวเอง) ฉะนั้นใครที่ไม่ผ่านการสอบภาค ก. ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) จึงสามารถสมัครสอบนักการทูตได้ไม่มีปัญหา
ตัวข้อสอบในภาค ก. นั้นจะเป็นวิชาปรนัยถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ/หรือ ในอดีต และถามวิชาภาษาอังกฤษครับ
ภาค ข. จะเป็นข้อสอบอัตนัยถามความรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(บังคับทำ) องค์กรระหว่างประเทศ , กฎหมายระหว่างประเทศ,เศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 ข้อหลังให้เลือกทำได้ และสอบการแปลบทความจากไทยเป็นอังกฤษหรืออังกฤษเป็นไทย และเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น เมื่อผ่านแล้วก็จะต้องสอบ ภาค ค.
การสอบภาค ค.นั้นจะเป็นการสอบสัมภาษณ์โดยผู้สอบผ่านจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมแคมป์ที่ กระทรวงฯ จัดขึ้นโดยมีตัวแทนจากทั้งหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ และภาคเอกชน เข้ามาร่วมเป็นกรรมการเพื่อดูบุคลิกภาพ และการแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย และการพูดต่อหน้าที่สาธารณะ (Public Speaking)
เมื่อมีรายชื่อได้บรรจุในบัญชีแล้ว จะเป็นตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ รับเงิรเดือน 15,000 บาทเฉกเช่นเดียวกับ ขรก.กระทรวงอื่นๆครับ และจะต้องประจำอยู่ในกระทรวงอย่างตํ่า 2 ปี ก่อนที่จะมีรายชื่อออกไปโพสท์ต่างๆทั่วโลก คือออกไปทำงานในสถานเอกอัคราชทูตของไทยประจำเมืองหลวงต่างๆที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วย โดยเมื่อประจำ ณ สถานทูตนั้นๆแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง เลขานุการตรี (Third Secretary) ไมเ่กิน 4 ปีก็จะต้องกลับเข้ามาประจำในกระทรวง รอรายชื่อออกไปทำงานในสถานทูตอีกครั้ง โดยการเติบโตในสายราชการจะเป็นไปตามนี้ครับ
ตำแหน่งเลขานุการโท Second Secretary
ตำแหน่งเลขานุการเอก First Secretary
ตำแหน่งที่ปรึกษา Counselor
อัครราชทูตที่ปรีกษา Minister Counselor
อัครราชทูต Minister
เอกอัครราชทูต Ambassador
ถ้าหากไม่ออกไปยังประเทศต่างๆก็สามารถเติบโตภายในกระทรวงได้ โดยการเป็น ผอ. กองต่างๆ ผอ.สำนัก หรืออธิบดีกรม และสามาถรเป็นเอกอัคราชทูต(นักบริหารการทูตระดับสูง) ได้
นักการทูตในต่างประเทศก็ทำงานเหมือนข้าราชการทั่วไปครับ ทำงานในสถานทูต หาข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในประเทศที่พำนัก ต้อนรับ VIP จากประเทศไทย เป็นนักการทูตหญิงหาแฟนยาก อาจจะจริงครับ และถ้าหากมีบุตรก็ต้องย้ายตามบิดา/มารดา ฉะนั้นบุตรจึงควรเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อที่จะได้ย้ายตามบิดา/มารดาได้ครับ
ก่อนอื่น ขอแบ่งสาขาของรัฐศาสตร์ให้ น้อง จขกท. เข้าใจก่อน หลักๆนั้นรัฐศาสตร์มีสาขาวิชาการเมืองการปกครองเป็นหลัก ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาทฤษฎีทางการเมืองและศึกษารูปแบบการปกครองของแต่ละรัฐ (ส่วนมากจะเป็นรัฐมหาอำนาจ อาทิเช่น สหรัฐ รัสเซีย จีน ฯลฯ) โดยเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านออกไปเป็นสาขาต่างๆ ได้แก่
1.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เน้นศึกษากระบวนการทำงานของภาคราชการ การคลังของรัฐ เป็นต้น
2.สาขาบริการงานยุติธรรม สาขานี้บางมหาลัยเปิดสอนตั้งแต่ป.ตรี เช่น ม.เกษตร
และ 3.สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งพี่คิดว่าน้อง จขกท. กำลังสนใจที่จะศึกษาต่อในสาขาดังกล่าว
เส้นทางของการเป็นนักการทูตปฏิบัติการ เมื่อน้องจบการศึกษาจากสาขารัฐศาสตร์ หรือสาขาทางสังคมศาสตร์อื่นๆ เช่น นิติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ภาษาศาสตร์ รวมไปถึงนิเทศศาสตร์ ก็สามารถสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนี้ได้ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเปิดสอบทุกๆ 2 ปี สอบล่าสุดคือปี พ.ศ. 2557 ฉะนั้นรอบต่อไปคือ พ.ศ. 2559 การสอบจะแบ่งเป็น 3 ภาค คือ ก. ข. และ ค. (เหมือนข้าราชการพลเรือนของกรมอื่นๆ แต่ กระทรวงการต่างประเทศจะออกภาค ก. ของตัวเอง) ฉะนั้นใครที่ไม่ผ่านการสอบภาค ก. ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) จึงสามารถสมัครสอบนักการทูตได้ไม่มีปัญหา
ตัวข้อสอบในภาค ก. นั้นจะเป็นวิชาปรนัยถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ/หรือ ในอดีต และถามวิชาภาษาอังกฤษครับ
ภาค ข. จะเป็นข้อสอบอัตนัยถามความรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(บังคับทำ) องค์กรระหว่างประเทศ , กฎหมายระหว่างประเทศ,เศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 ข้อหลังให้เลือกทำได้ และสอบการแปลบทความจากไทยเป็นอังกฤษหรืออังกฤษเป็นไทย และเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น เมื่อผ่านแล้วก็จะต้องสอบ ภาค ค.
การสอบภาค ค.นั้นจะเป็นการสอบสัมภาษณ์โดยผู้สอบผ่านจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมแคมป์ที่ กระทรวงฯ จัดขึ้นโดยมีตัวแทนจากทั้งหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ และภาคเอกชน เข้ามาร่วมเป็นกรรมการเพื่อดูบุคลิกภาพ และการแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย และการพูดต่อหน้าที่สาธารณะ (Public Speaking)
เมื่อมีรายชื่อได้บรรจุในบัญชีแล้ว จะเป็นตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ รับเงิรเดือน 15,000 บาทเฉกเช่นเดียวกับ ขรก.กระทรวงอื่นๆครับ และจะต้องประจำอยู่ในกระทรวงอย่างตํ่า 2 ปี ก่อนที่จะมีรายชื่อออกไปโพสท์ต่างๆทั่วโลก คือออกไปทำงานในสถานเอกอัคราชทูตของไทยประจำเมืองหลวงต่างๆที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วย โดยเมื่อประจำ ณ สถานทูตนั้นๆแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง เลขานุการตรี (Third Secretary) ไมเ่กิน 4 ปีก็จะต้องกลับเข้ามาประจำในกระทรวง รอรายชื่อออกไปทำงานในสถานทูตอีกครั้ง โดยการเติบโตในสายราชการจะเป็นไปตามนี้ครับ
ตำแหน่งเลขานุการโท Second Secretary
ตำแหน่งเลขานุการเอก First Secretary
ตำแหน่งที่ปรึกษา Counselor
อัครราชทูตที่ปรีกษา Minister Counselor
อัครราชทูต Minister
เอกอัครราชทูต Ambassador
ถ้าหากไม่ออกไปยังประเทศต่างๆก็สามารถเติบโตภายในกระทรวงได้ โดยการเป็น ผอ. กองต่างๆ ผอ.สำนัก หรืออธิบดีกรม และสามาถรเป็นเอกอัคราชทูต(นักบริหารการทูตระดับสูง) ได้
นักการทูตในต่างประเทศก็ทำงานเหมือนข้าราชการทั่วไปครับ ทำงานในสถานทูต หาข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในประเทศที่พำนัก ต้อนรับ VIP จากประเทศไทย เป็นนักการทูตหญิงหาแฟนยาก อาจจะจริงครับ และถ้าหากมีบุตรก็ต้องย้ายตามบิดา/มารดา ฉะนั้นบุตรจึงควรเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อที่จะได้ย้ายตามบิดา/มารดาได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
คำถาม เกี่ยวกับเรียนรัฐศาตร์ IR เป็นนักการทูต / ถ้าเป็นนักการทูตไม่ได้ เบนเข็มไปเป็นอะไร
-----------------------------------------------------------------------
ตอนนี้เรากำลังจะขึ้น ม.4 ค่ะ
โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนที่ไม่ดัง คือถ้าเรียนต่อโรงเรียนนี้ไปสอบ มีโอกาสจะติดไหมคะ [+ถ้าย้ายไปศิลป์-ภาษา แล้วจะไม่ค่อยได้เรียน เพราะเอาตรงๆโรงเรียนให้ความสัมคัญกับห้องหนึ่ง สายคณิตวิทย์มากเลย จากการได้สัมผัสมาตั้งแต่ ม.1]
แนะนำ โรงเรียนที่ดีเด่น เรื่อง สาย ศิลป์-ภาษา ให้หน่อยค่ะ ขอรอบประเทศไปเลยนะคะ [ตอนนี้สอบ ตอ. ไม่ทันแล้วค่ะ TT เสียใจมากเพราะเราสะเพร่าเอง]
ต่อสายวิทย์แล้วเข้ารัฐศาสตร์ได้ไหม เห็นที่คณะรัฐศาตร์จุฬา มีสอบ gat 70% กับ pat1 และ gat 70% กับ pat7
จากข้างบน pat 1 / pat 7 ให้เลือกสอบได้เอง? หรือแล้วแต่สายที่เรียน
ถ้าเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน มีผลต่อการเข้ารัฐศาสตร์ไหมคะ? [เพราะดูจะเชี่ยวเรื่องภาษา]
ระหว่างเรียนรัฐศาตร์ ไปทำ work & travel ได้ไหม? [ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับโครงการนี้ค่ะ]
เป็นทูตต้องเรียนมหาลัยดังๆใช่ไหมคะถึงจะได้รับพิจารณา?
เส้นสายก็ต้องมีหน่อยใช่ไหมคะ พอให้อุ่นใจ [เราไม่มีเส้นสายเลยอ่ะ มากที่สุดก็แค่ปู่ทวดเป็นตำรวจยศใหญ่ แต่มันจะเกี่ยวอะไร TT]
-----------------------------------------------------------------------
เป็นนักการทูตทำอะไรบ้างคะ? ขอรายละเอียดหน่อยนะคะ ที่มันขยายมากกว่าติดต่อกับประเทศอื่นๆ
เป็นนักการทูตเหนื่อยไหมคะ? มีเวลานอนกี่ชั่วโมง?
เวลาสังสรรค์/รีแลกซ์ ของนักการทูต นี่เค้าทำอะไรบ้างหรอคะ?
ช่วงเวลาที่เหนื่อยที่สุดคือตอนไหน?
เป็นนักการทูตหญิงหาแฟนยากจริงๆหรอคะ?
ถ้ามีลูกก็ต้องพาลูกย้ายไปทุก 4 ปีเลยหรอ?
-----------------------------------------------------------------------
ถ้าเป็นทูตไม่ได้ เบนเข็มไปเป็นอะไรดี
ชอบ
- ภาษา
- [บางที]สังคม / [บางที]สันโดษ
- งานเป็นประโยชน์แก่ชาติ
- การแสดงออก
- การเดินทาง
- ความเป็นผู้นำ
- จุดสนใจ
ไม่เอาคำตอบที่ว่า เป็นที่อยากเป็นนะคะ อยากได้แนวทาง เผื่อตรงสเป็คเรา
[อาชีพที่สำรองเอาไว้ อาจารย์มหาลัย/ทำกิจการส่วนตัว อย่างร้านอาหาร ร้านเค้ก สินค้าส่งออกต่างประเทศ/ เปิดโรงแรม /ล่าม ไกด์ /]