[บทความพิเศษ] นี่แหละ “โฉมหน้าจริง” ของ “ท่องเที่ยวไทย” รับกันได้หรือไม่?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
ว่าจะเขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนเกิดกรณีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกบนเกาะเต่า จากนั้นภาครัฐได้เข้ามาจัดระเบียบด้วยการยกเลิก
“สารพัดมูนปาร์ตี้” เว้นไว้แต่เฉพาะ
“ฟูลมูน” ( Full Moon Party ) บนเกาะพะงันเท่านั้น แต่ด้วยความไม่ค่อยว่าง พร้อมๆ กับกระแสสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว พุ่งไปที่เรื่องของการหาตัวฆาตกร ตามด้วยเรื่องแพะหรือไม่แพะของตำรวจและ 2 แรงงานเมียนมาร์ ประเด็นเรื่องยกเลิกสารพัดมูนปาร์ตี้จึงเงียบไป
.
แล้วอะไรทำให้ผมมาเขียนตอนนี้ ก็เหตุกรณีมีพวกคะนองไม่เข้าเรื่องสักคนหนึ่ง ไปปล่อยโคมลอยในพื้นที่ใกล้สนามบินเมื่อช่วงส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่ จนโคมลอยเข้าไปติดในใบพัดเครื่องยนต์ของเครื่องบิน เคราะห์ดีที่ไม่ทำให้เครื่องตกหรือระเบิด จากนั้นก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะจากบรรดา
“คนดีมีอารยะ” ทั้งหลายที่บ่นมานาน ว่าอยากให้เลิกการปล่อยโคมลอยเสีย
.
ราวกับโคมลอยเป็นยาเสพติด..ไม่ก็อาวุธสงครามร้ายแรงยังไงยังงั้น!!!
.
จริงๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และไม่ใช่แค่การปล่อยโคมลอยเท่านั้น หากใครที่ติดตามกระแสบนโลกออนไลน์บ่อยๆ เว็บบอร์ดยอดนิยมบางแห่ง ที่เป็นแหล่งรวมของบรรดา
“ผู้ดีสูงส่ง ผู้ทรงศีล คนใฝ่ธรรม” ( คิดว่านะ..ก็เขาว่างั้นอะครับ ) มักจะไม่ค่อยพอใจเทศกาลต่างๆ ของไทย ที่มีการเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง เช่น
วันสงกรานต์ ที่เต็มไปด้วยการนำถังน้ำขึ้นยานพาหนะ ตระเวนสาดกันไปตามถนน การที่คนทุกเพศ ทั้งชาย หญิง หรือเพศที่ 3 ออกมาเต้นประกอบเพลงที่เปิดจากเครื่องเสียงดังๆ ริมถนน ด้วยท่าทางที่ยั่วยวนกามารมณ์ การแต่งตัวประหลาดๆ หลุดโลกออกมาโชว์ หรือการนำมอเตอร์ไซค์ออกมาขับช้าๆ แต่บิดคันเร่งให้เกิดเสียงดังๆ ฯลฯ ( ผู้สนใจสามารถไปอ่านได้ที่กระทู้นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/31912456 หรือค้นหาด้วยหัวข้อ -
รับได้ไหม? กับแนวคิดที่ว่า “เทศกาลสงกรานต์” คือ “การเย้ยวินัย” และเป็นเรื่องของ “พาลนักษัตร” )
.
หรือเทศกาลอื่นๆ เช่น
“วันปีใหม่” ที่คนกลุ่มนี้จะรำคาญกันเหลือเกินกับการเปิดเพลงดังๆ ร้องคาราโอเกะโชว์พลังเสียง ดื่มเหล้าสังสรรค์ตั้งแต่เย็นก่อนวันหยุดวันแรก จนถึงเช้าของวันหยุดวันสุดท้ายของเทศกาล ,
“ลอยกระทง” ที่คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่า การลอยกระทงคือการทำให้น้ำเน่าเสีย แม้จะใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม หรือการจุดพลุเฉลิมฉลอง แน่นอนรวมถึงการปล่อยโคมลอยด้วย ,
“บุญบั้งไฟ” คนกลุ่มนี้อีกที่มักออกมาบอกว่า เป็นอันตรายหากบั้งไฟไปตกที่อื่น แม้จะไม่สามารถยิงถึงเครื่องบินได้ก็ตาม แถมยังเป็นประเพณีการพนันอีกด้วย ,
“ฟูลมูนปาร์ตี้” ก็คนกลุ่มนี้อีกที่มักออกมาบอกว่า เป็นประเพณีมั่วสุม ทั้งสุรา ยาเสพติด เซ็กส์ และการทะเลาะวิวาท ยังไม่นับพวกกิจกรรมยิบๆ ย่อยๆ เช่น ร้านค้าแผงลอย ร่มเตียงชายหาด หรือที่คลาสสิกกับการที่บอกว่าเมืองไทยเมืองพุทธ แต่เหล้าเบียร์และบริการทางเพศหาซื้อได้ง่ายมาก
.
คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่า..ไม่อยากให้ลูกหลานของตนได้ซึมซับ
“บรรยากาศเลวร้าย-พฤติกรรมชั้นต่ำ” เช่นนี้ บางคนบอกว่ายอมลงทุนหน่อย พักโรงแรม 5 ดาวมันเลย บ้างก็พาครอบครัวไปชนบทที่ห่างไกลผู้ไกลคน ไม่ก็พากันอพยพไปต่างประเทศช่วงเทศกาลกันเลย ราวกับว่าประเทศไทยเป็นแดนมิคสัญญีสำหรับพวกเขา พร้อมกับร้องโวยวายกันว่า
“เมื่อไหร่ประเทศไทยจะสงบ ปลอดจากเทศกาลบ้าๆ พวกนี้เสียที” บนโลกออนไลน์
.
น่าเสียดายที่ผมจะต้องตอบคนกลุ่มนี้ว่า “ย้ายตัวเองออกไปจากประเทศนี้ ไม่ก็จงทำตัวกลมกลืน” คงจะง่ายกว่า!!!
.
เพราะเบื้องหลังเทศกาลเหล่านี้..คือเรื่องของ “ผลประโยชน์มหาศาล”!!!
.
แถมเป็นผลประโยชน์ที่กระจายไปสู่มือคนที่หลากหลายกลุ่ม และหลากหลายระดับชนชั้นเสียด้วย!!!
.
ผมไม่ทราบนะครับว่าบรรดาผู้ดีมีศีลใฝ่ธรรม จะรู้กันหรือเปล่าว่า
“ภาคการท่องเที่ยว” ทำรายได้ให้ประเทศไทยปีต่อปี เกือบจะเทียบเท่าภาคอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ก่อนอื่นผมคงต้องย้ำอีกรอบ ว่า
“ประเทศไทยมิใช่ประเทศเกษตรกรรมอีกต่อไปแล้ว” ดังตัวเลขสัดส่วน GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( แบงก์ชาติ ) ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน GDP มากที่สุด ร้อยละ 38.1 มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ ร้อยละ 13.8 รองลงมา คือบริการอื่นๆ มีสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 25.7 มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ ร้อยละ 22.5 ขณะที่ภาคเกษตรกรรมที่หลายคนเชื่อว่าเป็นหัวใจของประเทศไทย มีสัดส่วน GDP เพียงร้อยละ 8.3 เท่านั้น แต่มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ถึงร้อยละ 39.1
[1]
.
แปลง่ายๆ ก็คือภาคเกษตรกรรม มีคนทำงานเยอะ แต่ได้มูลค่าของงานน้อย ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม มีคนทำงานน้อยกว่า แต่ได้มูลค่างานมากกว่า ขณะที่ภาคบริการ จำนวนแรงงานกับมูลค่าของงานที่ได้ถือว่าใกล้เคียงกัน ถึงตรงนี้คนมีผู้อ่านบางท่านสงสัยว่า ภาคบริการในนิยามของแบงก์ชาติ มันรวมทั้งภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและภัตตาคาร ด้วยมิใช่หรือ?
[2] ก็ใช่ครับ ถ้างั้นผมขอตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยว่า..ต่อให้ผมจับตัวเลขนี้หารสอง ภาคการท่องเที่ยวก็ยังมีรายได้สูงอยู่ดี ในสัดส่วน GDP จะอยู่ที่ 12.85 ขณะที่แรงงานในภาคนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 11.25 เป็นรองมากขึ้นก็เพียงการค้าปลีก-ค้าส่ง ( ซึ่งเอาจริงๆ ก็ยังผูกติดกับการท่องเที่ยว ) หรือลงไปอยู่ที่อันดับ 3 ของ GDP ประเทศเท่านั้น ซึ่งก็ยังยังไม่ใช่อันดับสุดท้าย ที่สำคัญก็ยังสูงกว่าภาคเกษตรกรรมเช่นเดิม
.
แต่ตอบแบบนี้มันคงง่ายไปหน่อย มาดูเม็ดเงินรายได้จากการท่องเที่ยวกันดีกว่า ข้อมูลจากแบงก์ชาติอีกเช่นกัน ระบุว่า 3 ปีล่าสุด ( 2554-2556 ) จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มสูงถึง 26.7 ล้านคน
[3] ขณะที่ข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) ระบุว่า ปี 2556 เพียงปีเดียว ภาคการท่องเที่ยว ทำรายได้ให้กับประเทศไทย สูงถึง 1.167 ล้านล้านบาท
[4] และแม้ว่าปี 2557 จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลง เช่น ข้อมูลจากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ( DPURC ) พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2557 ลดลงมาอยู่ที่ 22.5 ล้านคน
[5] แต่เม็ดเงินในวงการนี้ก็ยังมหาศาลอยู่ดี เช่น การเปิดเผยของผู้ว่าฯ ททท. ที่บอกว่า ตลอดปี 2557 การท่องเที่ยวทำรายได้ให้ประเทศไทยราว 1.85 ล้านล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึง 1.15 ล้านล้านบาท [6] หรือการคาดการณ์ของผู้นำกลุ่มนักธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ที่ระบุว่าปี 2557 ภาคการท่องเที่ยวจะทำรายได้ให้ประเทศไทยถึง 1.14 ล้านบาท
[7]
.
เป็นตัวเลขที่สูงใช่ไหม?..นี่แหละครับความภาคภูมิใจของคนไทยจริงๆ!!!
( มีต่อยาวๆ อย่างเพิ่งปาดนะครับ )
[บทความพิเศษ] นี่แหละ “โฉมหน้าจริง” ของ “ท่องเที่ยวไทย” รับกันได้หรือไม่?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
ว่าจะเขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนเกิดกรณีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกบนเกาะเต่า จากนั้นภาครัฐได้เข้ามาจัดระเบียบด้วยการยกเลิก “สารพัดมูนปาร์ตี้” เว้นไว้แต่เฉพาะ “ฟูลมูน” ( Full Moon Party ) บนเกาะพะงันเท่านั้น แต่ด้วยความไม่ค่อยว่าง พร้อมๆ กับกระแสสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว พุ่งไปที่เรื่องของการหาตัวฆาตกร ตามด้วยเรื่องแพะหรือไม่แพะของตำรวจและ 2 แรงงานเมียนมาร์ ประเด็นเรื่องยกเลิกสารพัดมูนปาร์ตี้จึงเงียบไป
.
แล้วอะไรทำให้ผมมาเขียนตอนนี้ ก็เหตุกรณีมีพวกคะนองไม่เข้าเรื่องสักคนหนึ่ง ไปปล่อยโคมลอยในพื้นที่ใกล้สนามบินเมื่อช่วงส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่ จนโคมลอยเข้าไปติดในใบพัดเครื่องยนต์ของเครื่องบิน เคราะห์ดีที่ไม่ทำให้เครื่องตกหรือระเบิด จากนั้นก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะจากบรรดา “คนดีมีอารยะ” ทั้งหลายที่บ่นมานาน ว่าอยากให้เลิกการปล่อยโคมลอยเสีย
.
ราวกับโคมลอยเป็นยาเสพติด..ไม่ก็อาวุธสงครามร้ายแรงยังไงยังงั้น!!!
.
จริงๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และไม่ใช่แค่การปล่อยโคมลอยเท่านั้น หากใครที่ติดตามกระแสบนโลกออนไลน์บ่อยๆ เว็บบอร์ดยอดนิยมบางแห่ง ที่เป็นแหล่งรวมของบรรดา “ผู้ดีสูงส่ง ผู้ทรงศีล คนใฝ่ธรรม” ( คิดว่านะ..ก็เขาว่างั้นอะครับ ) มักจะไม่ค่อยพอใจเทศกาลต่างๆ ของไทย ที่มีการเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง เช่น วันสงกรานต์ ที่เต็มไปด้วยการนำถังน้ำขึ้นยานพาหนะ ตระเวนสาดกันไปตามถนน การที่คนทุกเพศ ทั้งชาย หญิง หรือเพศที่ 3 ออกมาเต้นประกอบเพลงที่เปิดจากเครื่องเสียงดังๆ ริมถนน ด้วยท่าทางที่ยั่วยวนกามารมณ์ การแต่งตัวประหลาดๆ หลุดโลกออกมาโชว์ หรือการนำมอเตอร์ไซค์ออกมาขับช้าๆ แต่บิดคันเร่งให้เกิดเสียงดังๆ ฯลฯ ( ผู้สนใจสามารถไปอ่านได้ที่กระทู้นี้ครับ http://ppantip.com/topic/31912456 หรือค้นหาด้วยหัวข้อ - รับได้ไหม? กับแนวคิดที่ว่า “เทศกาลสงกรานต์” คือ “การเย้ยวินัย” และเป็นเรื่องของ “พาลนักษัตร” )
.
หรือเทศกาลอื่นๆ เช่น “วันปีใหม่” ที่คนกลุ่มนี้จะรำคาญกันเหลือเกินกับการเปิดเพลงดังๆ ร้องคาราโอเกะโชว์พลังเสียง ดื่มเหล้าสังสรรค์ตั้งแต่เย็นก่อนวันหยุดวันแรก จนถึงเช้าของวันหยุดวันสุดท้ายของเทศกาล , “ลอยกระทง” ที่คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่า การลอยกระทงคือการทำให้น้ำเน่าเสีย แม้จะใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม หรือการจุดพลุเฉลิมฉลอง แน่นอนรวมถึงการปล่อยโคมลอยด้วย , “บุญบั้งไฟ” คนกลุ่มนี้อีกที่มักออกมาบอกว่า เป็นอันตรายหากบั้งไฟไปตกที่อื่น แม้จะไม่สามารถยิงถึงเครื่องบินได้ก็ตาม แถมยังเป็นประเพณีการพนันอีกด้วย , “ฟูลมูนปาร์ตี้” ก็คนกลุ่มนี้อีกที่มักออกมาบอกว่า เป็นประเพณีมั่วสุม ทั้งสุรา ยาเสพติด เซ็กส์ และการทะเลาะวิวาท ยังไม่นับพวกกิจกรรมยิบๆ ย่อยๆ เช่น ร้านค้าแผงลอย ร่มเตียงชายหาด หรือที่คลาสสิกกับการที่บอกว่าเมืองไทยเมืองพุทธ แต่เหล้าเบียร์และบริการทางเพศหาซื้อได้ง่ายมาก
.
คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่า..ไม่อยากให้ลูกหลานของตนได้ซึมซับ “บรรยากาศเลวร้าย-พฤติกรรมชั้นต่ำ” เช่นนี้ บางคนบอกว่ายอมลงทุนหน่อย พักโรงแรม 5 ดาวมันเลย บ้างก็พาครอบครัวไปชนบทที่ห่างไกลผู้ไกลคน ไม่ก็พากันอพยพไปต่างประเทศช่วงเทศกาลกันเลย ราวกับว่าประเทศไทยเป็นแดนมิคสัญญีสำหรับพวกเขา พร้อมกับร้องโวยวายกันว่า “เมื่อไหร่ประเทศไทยจะสงบ ปลอดจากเทศกาลบ้าๆ พวกนี้เสียที” บนโลกออนไลน์
.
น่าเสียดายที่ผมจะต้องตอบคนกลุ่มนี้ว่า “ย้ายตัวเองออกไปจากประเทศนี้ ไม่ก็จงทำตัวกลมกลืน” คงจะง่ายกว่า!!!
.
เพราะเบื้องหลังเทศกาลเหล่านี้..คือเรื่องของ “ผลประโยชน์มหาศาล”!!!
.
แถมเป็นผลประโยชน์ที่กระจายไปสู่มือคนที่หลากหลายกลุ่ม และหลากหลายระดับชนชั้นเสียด้วย!!!
.
ผมไม่ทราบนะครับว่าบรรดาผู้ดีมีศีลใฝ่ธรรม จะรู้กันหรือเปล่าว่า “ภาคการท่องเที่ยว” ทำรายได้ให้ประเทศไทยปีต่อปี เกือบจะเทียบเท่าภาคอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ก่อนอื่นผมคงต้องย้ำอีกรอบ ว่า “ประเทศไทยมิใช่ประเทศเกษตรกรรมอีกต่อไปแล้ว” ดังตัวเลขสัดส่วน GDP ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( แบงก์ชาติ ) ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน GDP มากที่สุด ร้อยละ 38.1 มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ ร้อยละ 13.8 รองลงมา คือบริการอื่นๆ มีสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 25.7 มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ ร้อยละ 22.5 ขณะที่ภาคเกษตรกรรมที่หลายคนเชื่อว่าเป็นหัวใจของประเทศไทย มีสัดส่วน GDP เพียงร้อยละ 8.3 เท่านั้น แต่มีแรงงานอยู่ในภาคนี้ถึงร้อยละ 39.1 [1]
.
แปลง่ายๆ ก็คือภาคเกษตรกรรม มีคนทำงานเยอะ แต่ได้มูลค่าของงานน้อย ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม มีคนทำงานน้อยกว่า แต่ได้มูลค่างานมากกว่า ขณะที่ภาคบริการ จำนวนแรงงานกับมูลค่าของงานที่ได้ถือว่าใกล้เคียงกัน ถึงตรงนี้คนมีผู้อ่านบางท่านสงสัยว่า ภาคบริการในนิยามของแบงก์ชาติ มันรวมทั้งภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและภัตตาคาร ด้วยมิใช่หรือ? [2] ก็ใช่ครับ ถ้างั้นผมขอตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยว่า..ต่อให้ผมจับตัวเลขนี้หารสอง ภาคการท่องเที่ยวก็ยังมีรายได้สูงอยู่ดี ในสัดส่วน GDP จะอยู่ที่ 12.85 ขณะที่แรงงานในภาคนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 11.25 เป็นรองมากขึ้นก็เพียงการค้าปลีก-ค้าส่ง ( ซึ่งเอาจริงๆ ก็ยังผูกติดกับการท่องเที่ยว ) หรือลงไปอยู่ที่อันดับ 3 ของ GDP ประเทศเท่านั้น ซึ่งก็ยังยังไม่ใช่อันดับสุดท้าย ที่สำคัญก็ยังสูงกว่าภาคเกษตรกรรมเช่นเดิม
.
แต่ตอบแบบนี้มันคงง่ายไปหน่อย มาดูเม็ดเงินรายได้จากการท่องเที่ยวกันดีกว่า ข้อมูลจากแบงก์ชาติอีกเช่นกัน ระบุว่า 3 ปีล่าสุด ( 2554-2556 ) จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มสูงถึง 26.7 ล้านคน [3] ขณะที่ข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) ระบุว่า ปี 2556 เพียงปีเดียว ภาคการท่องเที่ยว ทำรายได้ให้กับประเทศไทย สูงถึง 1.167 ล้านล้านบาท [4] และแม้ว่าปี 2557 จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลง เช่น ข้อมูลจากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ( DPURC ) พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2557 ลดลงมาอยู่ที่ 22.5 ล้านคน [5] แต่เม็ดเงินในวงการนี้ก็ยังมหาศาลอยู่ดี เช่น การเปิดเผยของผู้ว่าฯ ททท. ที่บอกว่า ตลอดปี 2557 การท่องเที่ยวทำรายได้ให้ประเทศไทยราว 1.85 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึง 1.15 ล้านล้านบาท [6] หรือการคาดการณ์ของผู้นำกลุ่มนักธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ที่ระบุว่าปี 2557 ภาคการท่องเที่ยวจะทำรายได้ให้ประเทศไทยถึง 1.14 ล้านบาท [7]
.
เป็นตัวเลขที่สูงใช่ไหม?..นี่แหละครับความภาคภูมิใจของคนไทยจริงๆ!!!
( มีต่อยาวๆ อย่างเพิ่งปาดนะครับ )