คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
อายุความคดีเช็ค
อายุความในการแจ้งความคดีอาญา
ทันทีที่เช็คเด้ง(แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน) ต้องนำไปแจ้งความภายใน 3 เดือน นับจากวันที่เช็คเด้ง(ไม่ใช่วันที่ที่เขียนบนเช็ค)
ถ้าไม่แจ้งความก็หมดอายุความ
โดยแจ้งโรงพักท้องที่ของแบงก์สาขาที่ออกเช็ค(แบงก์สาขาเจ้าของบัญชีเช็ค) ไม่ใช่แบงก์ที่เราขึ้นเงิน
(ใครเจอลูกหนี้หัวหมอ ใช้สาขาคนละจว.กับผู้รับเช็คนี่...เหนื่อยเลย)
คำพิพากษาฎีกาที่ 920/2550
กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน จึงเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น
คดีนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และจะครบกำหนด 3 เดือน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้อง
- คดีอาญา
ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษภายใน 3 เดือน จากวันที่แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน
อายุความฟ้องร้องจะมีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน
- ถึงคดีอาญาหมดไป แต่คดีแพ่งยังอยู่ โดยไม่ต้องแจ้งความ
ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับจากวันถึงกำหนดจ่ายเช็ค
**โปรดสังเกตว่าคดีแพงกับอาญานับอายุความคนละอย่างกัน**
การยอมความ
คดีอาญายอมความไม่ได้
คดีแพ่งยอมความได้
* หมายเหตุ ผมงงเหมือนกัน บางที่ก็บอกว่าเช็คเป็นคดีอาญาที่ยอมความได้ *
วอนผู้รู้มาอธิบายอีกทีครับ
อายุความในการแจ้งความคดีอาญา
ทันทีที่เช็คเด้ง(แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน) ต้องนำไปแจ้งความภายใน 3 เดือน นับจากวันที่เช็คเด้ง(ไม่ใช่วันที่ที่เขียนบนเช็ค)
ถ้าไม่แจ้งความก็หมดอายุความ
โดยแจ้งโรงพักท้องที่ของแบงก์สาขาที่ออกเช็ค(แบงก์สาขาเจ้าของบัญชีเช็ค) ไม่ใช่แบงก์ที่เราขึ้นเงิน
(ใครเจอลูกหนี้หัวหมอ ใช้สาขาคนละจว.กับผู้รับเช็คนี่...เหนื่อยเลย)
คำพิพากษาฎีกาที่ 920/2550
กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน จึงเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น
คดีนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และจะครบกำหนด 3 เดือน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้อง
- คดีอาญา
ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษภายใน 3 เดือน จากวันที่แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน
อายุความฟ้องร้องจะมีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่แบงก์ปฏิเสธการจ่ายเงิน
- ถึงคดีอาญาหมดไป แต่คดีแพ่งยังอยู่ โดยไม่ต้องแจ้งความ
ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับจากวันถึงกำหนดจ่ายเช็ค
**โปรดสังเกตว่าคดีแพงกับอาญานับอายุความคนละอย่างกัน**
การยอมความ
คดีอาญายอมความไม่ได้
คดีแพ่งยอมความได้
* หมายเหตุ ผมงงเหมือนกัน บางที่ก็บอกว่าเช็คเป็นคดีอาญาที่ยอมความได้ *
วอนผู้รู้มาอธิบายอีกทีครับ
แสดงความคิดเห็น
ถามเรื่องคดีเช็คค่ะ
แต่พอถึงเวลา คนๆนี้ไม่ยอมเอาเงินมาใช้คืน แต่เราถือเช็คเค้าไว้
จึงเอาไปขึ้นเงิน ปรากฏว่า เช็คเด้ง
และทราบมาว่าคนๆนี้ ได้ทำวิธีนี้ กับ คนหลายๆคน
คนเหล่านั้นได้นำเช็คไปแจ้งความ รวมถึงเราด้วย
แต่ปัญหาตอนนี้คือ คนๆนั้นได้ย้ายบ้าน
หนีไปแล้ว เลยสงสัยว่า ถ้ามีหมายมา หรือ มีการแจ้งความดำเนินคดี
จะไปตามตัวเค้าได้ที่ไหน
และเช็คจะหมดอายุความเมื่อไหร่
คดีเช็คแบบนี้ เป็นคดีอะไร
แล้ว จะสามารถตามตัวคนๆนี้ได้หรือไม่
ขอความกรุณา และ ขอขอบคุณ สำหรับ ผู้ที่รู้เรื่องกฏหมายมาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ