ปี 2557 ที่ผ่านไป เราได้เรียนรู้อะไรมากมายหลายอย่างสำหรับสังคมไทย ระบบการเมืองไทย
ระบบคุณค่าของสังคมไทย ซึ่งบางครั้งเราหลงผิดคิดเอาเองว่า คนไทยหรือสังคมไทยได้พัฒนา
ไปไกลแล้ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และอื่นๆ
ความจริงแล้วการพัฒนาของประเทศไทยคงจะมีเพียงการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่ในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม ยังคงย่ำอยู่กับที่ แม้ว่าสังคมไทย
ในขณะนี้เป็นสังคมของคนรุ่นใหม่ เป็นสังคมโลกาภิวัตน์ เป็นสังคมไร้พรมแดน เป็นสังคมที่
ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้า-ออกไปมาระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ให้แสดง
ออกได้อย่างเปิดเผย ไม่สามารถห้ามการแสดงออกได้เหมือนในอดีต
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลชุดที่แล้ว ตั้งแต่
เดือนพฤศจิกายน 2556 และยืดเยื้อมาจนกระทั่งเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งหัวหน้าคณะรัฐประหารได้ตอบรับแล้วว่าได้เตรียมการ
มานาน ได้เข้าทำการปกครองแผ่นดินด้วยกฎอัยการศึกมาจนปัจจุบันนี้ ปรากฏการณ์
ดังกล่าวได้ให้บทเรียนหลายอย่าง บอกได้แม้กระทั่งว่า การปฏิวัติรัฐประหารไม่ใช่สิ่ง
ที่ล้าสมัยในสังคมไทย การปกครองโดยรัฐบาลทหารคนไทยยังคงรับได้ ทั้งๆ ที่ระบอบ
เช่นว่านี้เกือบจะไม่มีในโลกนี้แล้ว
ประการแรก ที่เห็นก็คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้น กล่าวคือ ชนชั้นสูงที่มีอำนาจในการ
ล้มล้างรัฐบาลยังคงดำรงความมีอำนาจเช่นว่านั้นอยู่ กลุ่มชนชั้นเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อย
กว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ อยู่กันในเมืองหลวง ในเขต
เมืองของจังหวัดต่างๆ มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการศึกษาสูง ในขณะเดียวกันก็มีจิตสำนึก
ของการเป็นชนชั้นสูงอยู่อย่างมาก หลายครั้งในระหว่างการชุมนุมได้ประกาศไม่ยอมรับ
ความเท่าเทียมกันทางการเมืองของชนชั้นล่างได้
สังคมคนชั้นสูงจึงมีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยน้อยมากการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ
และอื่นๆ ไม่ได้ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยเลย มิหนำซ้ำระดับ
การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม กลับกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ความรู้สึกเรื่องชนชั้น
ในทางลบรุนแรงยิ่งขึ้น
ประการที่สอง สังคมไทยให้ความสำคัญหรือยึดมั่นในระบบน้อยมาก เนื่องจากประชาธิปไตย
เป็นระบบของความคิดที่ยึดมั่นในหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่ง
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็น "นามธรรม" สังคมไทยจึงไม่เข้าใจ ทำให้ถูกบิดเบือนได้ง่าย
เพราะความสามารถใช้เหตุใช้ผลของสังคมไทยมีน้อย จะเห็นได้จากการเชื่อข่าวลือโดย
ไม่มีเหตุผล การปลุกกระแสให้เกิดอารมณ์โกรธเกลียดสามารถทำได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้น
แล้วก็ยากที่จะทำให้หายไปได้ สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ยังเป็นเด็ก ยังเป็นสังคมที่ยังไม่โต
พอที่จะแยกแยะผลดีผลเสียในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ประการที่สามคนไทยยังไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกโลกาภิวัตน์อย่างเพียงพอ ความ
เป็นประชากรโลกในปัจจุบัน ไม่มีประเทศไหนจะปิดตัวเองอยู่ตามลำพังแบบเดียวกับพม่า
หรือประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็นได้
พลังเศรษฐกิจ พลังตลาด การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ มีพลังมหาศาลเกินกว่า
ประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือกลุ่มประเทศใดกลุ่มประเทศหนึ่งจะขัดขวางหรือทวนกระแสนี้ได้
การที่ประเทศต่างๆ ต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิด
"ประชาคมโลก" หรือ "world community" เมื่อเกิดประชาคมโลก สมาชิกของประชาคมโลก
ก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตามกติกา กฎระเบียบ และคุณค่าทางวัฒนธรรม การเมือง สังคม
สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาคมโลกด้วย
ระบบการปกครองที่สอดคล้องกับความเชื่อของประชาคมโลกในปัจจุบันก็คือสิทธิการปกครอง
แบบประชาธิปไตยซึ่งมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนตามแบบตะวันตก
กับประชาธิปไตยรวมศูนย์ของสมาชิก อันได้แก่ประชาธิปไตยรวมศูนย์ของประเทศสังคมนิยม
คอมมิวนิสต์เดิมเท่านั้น
ประการที่สี่ ประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันทางสื่อมวลชน ระหว่างนักวิชาการก็ดี ระหว่าง
สมาชิกสภาปฏิรูปก็ดี ระหว่างกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญก็ดี แสดงถึงความสับสนทางความคิด
ของชนชั้นนำของสังคมไทย ด้านหนึ่งก็ไม่เชื่อในระบบความคิดแบบประชาธิปไตยอันได้แก่
สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ จะด้วยต้องการรักษาสถานภาพได้เปรียบของตนใน
วงสังคม หรือความรู้สึกไม่มั่นคงในสถานภาพของตนที่อาจจะถูกท้าทายโดยคนชั้นล่างที่มี
จำนวนเพิ่มมากขึ้น ความรู้สึกเช่นว่านี้ยังไม่ได้ลดน้อยถอยลงไปเลย ยังคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา
ประการที่ห้า ความตื่นตัวของประชาชนระดับรากหญ้า ตลอดครึ่งแรกของปี 2557 แสดงให้
เห็นว่ามีสูงขึ้นเป็นอันมากทั้งปริมาณและลักษณะการแสดงออก ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจาก
โครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพ การคมนาคม การขนส่ง รวมทั้งระบบสื่อสารมวลชน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ความจริงดังกล่าวอาจจะขัดแย้งกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่22 พฤษภาคม
เพราะทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย เกินคาด ไม่มีเรื่องต่อต้าน ได้รับความร่วมมืออย่างดี
จากชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในเมืองรวมทั้งสื่อมวลชนเป็นส่วนใหญ่
ความเห็นในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคิดว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างเรียบร้อยสงบ
เงียบก็เพราะว่าทุกฝ่ายรอให้มีการเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าถ้ามีการเลือกตั้งเมื่อใด ตนก็คงจะ
ชนะการเลือกตั้ง จึงไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเรียกร้อง เพราะเสี่ยงกับการถูกปราบปราม เสียเลือดเนื้อ
อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายที่ถืออำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบันก็มีความรู้สึกอย่างเดียวกันกล่าวคือ ถ้ามี
การเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ฝ่ายตนไม่ต้องการก็ยังจะชนะการเลือกตั้ง ดังนั้น การคงระบอบ
การปกครองโดยกฎอัยการศึกก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น แม้ภายหลังการเลือกตั้งแล้วก็ตาม ส่วนจะ
ดำรงอยู่ยั่งยืนหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ประการที่หก เท่าที่สดับตรับฟังในวงสนทนาทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ถืออำนาจรัฐอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
สปช. สนช. หรือกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ โจทย์ใหญ่คือจะกำจัดอำนาจของฝ่ายการเมือง
หรือพรรคการเมืองที่จะชนะการเลือกตั้งอย่างไร ความคิดเช่นว่านี้จึงทำให้รัฐธรรมนูญที่จะ
คลอดออกมาไม่เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจะร่างอย่างไรแบบไหน ส่วนเมื่อประกาศใช้แล้วจะจีรังยั่งยืนมากน้อย
เพียงใด ไม่ใช่ประเด็นในขณะนี้
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเห็นว่า ในขณะนี้ไม่ต้องทำอะไร เหตุการณ์จะพาไปเอง เพราะระบอบ
การปกครองที่เป็นอยู่จะไม่สามารถรับกับภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายลง เพราะประเทศไทยจะ
มีปัญหาในเรื่องการส่งออกมากขึ้นเรื่อยๆ จากการกีดกันการค้าจากประเทศตะวันตก รวมทั้ง
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เพราะประเทศไทยมีระบอบการปกครองไม่สอดคล้องกับ
"ประชาคมโลก" การกีดกันการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจะมีผลในปี 2558 นี้ จึง
คาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจของเราในปี 2558 จะเป็นปีที่ย่ำแย่พอๆ หรือมากกว่าปี 2557
ประการที่เจ็ด ความรู้สึกไม่แน่นอน ความรู้สึกหวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และทาง
เศรษฐกิจจะมีอยู่ตลอดเวลา การท้าทายอำนาจรัฐจะมีมากขึ้น ความรู้สึกหวั่นไหว ความรู้สึกไม่
แน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงไม่น่าจะมีน้อยลงในปี 2558 น่าจะมีมากขึ้นเสียด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่มีใคร
ให้ความสนใจ เพราะสังคมไทยให้ความสนใจเรื่องอนาคตน้อยกว่าปัจจุบันมาก
ปีใหม่ปีนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะลดลง แม้ว่าภาวะต่างๆ น่าจะลดลง เงินเฟ้อน่าจะลดลง
แต่บรรยากาศเหงาๆ ซึมๆ ชอบกล
คงเพราะความวิตกกังวลในความไม่แน่นอน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420093224
บทเรียนจากปี 2557 โดย วีรพงษ์ รามางกูร ....มติชนออนไลน์ .../sao..เหลือ..noi
ระบบคุณค่าของสังคมไทย ซึ่งบางครั้งเราหลงผิดคิดเอาเองว่า คนไทยหรือสังคมไทยได้พัฒนา
ไปไกลแล้ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และอื่นๆ
ความจริงแล้วการพัฒนาของประเทศไทยคงจะมีเพียงการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่ในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม ยังคงย่ำอยู่กับที่ แม้ว่าสังคมไทย
ในขณะนี้เป็นสังคมของคนรุ่นใหม่ เป็นสังคมโลกาภิวัตน์ เป็นสังคมไร้พรมแดน เป็นสังคมที่
ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้า-ออกไปมาระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ให้แสดง
ออกได้อย่างเปิดเผย ไม่สามารถห้ามการแสดงออกได้เหมือนในอดีต
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลชุดที่แล้ว ตั้งแต่
เดือนพฤศจิกายน 2556 และยืดเยื้อมาจนกระทั่งเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งหัวหน้าคณะรัฐประหารได้ตอบรับแล้วว่าได้เตรียมการ
มานาน ได้เข้าทำการปกครองแผ่นดินด้วยกฎอัยการศึกมาจนปัจจุบันนี้ ปรากฏการณ์
ดังกล่าวได้ให้บทเรียนหลายอย่าง บอกได้แม้กระทั่งว่า การปฏิวัติรัฐประหารไม่ใช่สิ่ง
ที่ล้าสมัยในสังคมไทย การปกครองโดยรัฐบาลทหารคนไทยยังคงรับได้ ทั้งๆ ที่ระบอบ
เช่นว่านี้เกือบจะไม่มีในโลกนี้แล้ว
ประการแรก ที่เห็นก็คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้น กล่าวคือ ชนชั้นสูงที่มีอำนาจในการ
ล้มล้างรัฐบาลยังคงดำรงความมีอำนาจเช่นว่านั้นอยู่ กลุ่มชนชั้นเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อย
กว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ อยู่กันในเมืองหลวง ในเขต
เมืองของจังหวัดต่างๆ มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการศึกษาสูง ในขณะเดียวกันก็มีจิตสำนึก
ของการเป็นชนชั้นสูงอยู่อย่างมาก หลายครั้งในระหว่างการชุมนุมได้ประกาศไม่ยอมรับ
ความเท่าเทียมกันทางการเมืองของชนชั้นล่างได้
สังคมคนชั้นสูงจึงมีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยน้อยมากการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ
และอื่นๆ ไม่ได้ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยเลย มิหนำซ้ำระดับ
การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม กลับกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ความรู้สึกเรื่องชนชั้น
ในทางลบรุนแรงยิ่งขึ้น
ประการที่สอง สังคมไทยให้ความสำคัญหรือยึดมั่นในระบบน้อยมาก เนื่องจากประชาธิปไตย
เป็นระบบของความคิดที่ยึดมั่นในหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่ง
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็น "นามธรรม" สังคมไทยจึงไม่เข้าใจ ทำให้ถูกบิดเบือนได้ง่าย
เพราะความสามารถใช้เหตุใช้ผลของสังคมไทยมีน้อย จะเห็นได้จากการเชื่อข่าวลือโดย
ไม่มีเหตุผล การปลุกกระแสให้เกิดอารมณ์โกรธเกลียดสามารถทำได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้น
แล้วก็ยากที่จะทำให้หายไปได้ สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ยังเป็นเด็ก ยังเป็นสังคมที่ยังไม่โต
พอที่จะแยกแยะผลดีผลเสียในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ประการที่สามคนไทยยังไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกโลกาภิวัตน์อย่างเพียงพอ ความ
เป็นประชากรโลกในปัจจุบัน ไม่มีประเทศไหนจะปิดตัวเองอยู่ตามลำพังแบบเดียวกับพม่า
หรือประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็นได้
พลังเศรษฐกิจ พลังตลาด การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ มีพลังมหาศาลเกินกว่า
ประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือกลุ่มประเทศใดกลุ่มประเทศหนึ่งจะขัดขวางหรือทวนกระแสนี้ได้
การที่ประเทศต่างๆ ต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิด
"ประชาคมโลก" หรือ "world community" เมื่อเกิดประชาคมโลก สมาชิกของประชาคมโลก
ก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตามกติกา กฎระเบียบ และคุณค่าทางวัฒนธรรม การเมือง สังคม
สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาคมโลกด้วย
ระบบการปกครองที่สอดคล้องกับความเชื่อของประชาคมโลกในปัจจุบันก็คือสิทธิการปกครอง
แบบประชาธิปไตยซึ่งมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนตามแบบตะวันตก
กับประชาธิปไตยรวมศูนย์ของสมาชิก อันได้แก่ประชาธิปไตยรวมศูนย์ของประเทศสังคมนิยม
คอมมิวนิสต์เดิมเท่านั้น
ประการที่สี่ ประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันทางสื่อมวลชน ระหว่างนักวิชาการก็ดี ระหว่าง
สมาชิกสภาปฏิรูปก็ดี ระหว่างกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญก็ดี แสดงถึงความสับสนทางความคิด
ของชนชั้นนำของสังคมไทย ด้านหนึ่งก็ไม่เชื่อในระบบความคิดแบบประชาธิปไตยอันได้แก่
สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ จะด้วยต้องการรักษาสถานภาพได้เปรียบของตนใน
วงสังคม หรือความรู้สึกไม่มั่นคงในสถานภาพของตนที่อาจจะถูกท้าทายโดยคนชั้นล่างที่มี
จำนวนเพิ่มมากขึ้น ความรู้สึกเช่นว่านี้ยังไม่ได้ลดน้อยถอยลงไปเลย ยังคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา
ประการที่ห้า ความตื่นตัวของประชาชนระดับรากหญ้า ตลอดครึ่งแรกของปี 2557 แสดงให้
เห็นว่ามีสูงขึ้นเป็นอันมากทั้งปริมาณและลักษณะการแสดงออก ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจาก
โครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพ การคมนาคม การขนส่ง รวมทั้งระบบสื่อสารมวลชน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ความจริงดังกล่าวอาจจะขัดแย้งกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่22 พฤษภาคม
เพราะทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย เกินคาด ไม่มีเรื่องต่อต้าน ได้รับความร่วมมืออย่างดี
จากชนชั้นสูงและชนชั้นกลางในเมืองรวมทั้งสื่อมวลชนเป็นส่วนใหญ่
ความเห็นในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคิดว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างเรียบร้อยสงบ
เงียบก็เพราะว่าทุกฝ่ายรอให้มีการเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าถ้ามีการเลือกตั้งเมื่อใด ตนก็คงจะ
ชนะการเลือกตั้ง จึงไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเรียกร้อง เพราะเสี่ยงกับการถูกปราบปราม เสียเลือดเนื้อ
อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายที่ถืออำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบันก็มีความรู้สึกอย่างเดียวกันกล่าวคือ ถ้ามี
การเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ฝ่ายตนไม่ต้องการก็ยังจะชนะการเลือกตั้ง ดังนั้น การคงระบอบ
การปกครองโดยกฎอัยการศึกก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น แม้ภายหลังการเลือกตั้งแล้วก็ตาม ส่วนจะ
ดำรงอยู่ยั่งยืนหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ประการที่หก เท่าที่สดับตรับฟังในวงสนทนาทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ถืออำนาจรัฐอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
สปช. สนช. หรือกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ โจทย์ใหญ่คือจะกำจัดอำนาจของฝ่ายการเมือง
หรือพรรคการเมืองที่จะชนะการเลือกตั้งอย่างไร ความคิดเช่นว่านี้จึงทำให้รัฐธรรมนูญที่จะ
คลอดออกมาไม่เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจะร่างอย่างไรแบบไหน ส่วนเมื่อประกาศใช้แล้วจะจีรังยั่งยืนมากน้อย
เพียงใด ไม่ใช่ประเด็นในขณะนี้
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเห็นว่า ในขณะนี้ไม่ต้องทำอะไร เหตุการณ์จะพาไปเอง เพราะระบอบ
การปกครองที่เป็นอยู่จะไม่สามารถรับกับภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายลง เพราะประเทศไทยจะ
มีปัญหาในเรื่องการส่งออกมากขึ้นเรื่อยๆ จากการกีดกันการค้าจากประเทศตะวันตก รวมทั้ง
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เพราะประเทศไทยมีระบอบการปกครองไม่สอดคล้องกับ
"ประชาคมโลก" การกีดกันการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจะมีผลในปี 2558 นี้ จึง
คาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจของเราในปี 2558 จะเป็นปีที่ย่ำแย่พอๆ หรือมากกว่าปี 2557
ประการที่เจ็ด ความรู้สึกไม่แน่นอน ความรู้สึกหวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และทาง
เศรษฐกิจจะมีอยู่ตลอดเวลา การท้าทายอำนาจรัฐจะมีมากขึ้น ความรู้สึกหวั่นไหว ความรู้สึกไม่
แน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงไม่น่าจะมีน้อยลงในปี 2558 น่าจะมีมากขึ้นเสียด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่มีใคร
ให้ความสนใจ เพราะสังคมไทยให้ความสนใจเรื่องอนาคตน้อยกว่าปัจจุบันมาก
ปีใหม่ปีนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะลดลง แม้ว่าภาวะต่างๆ น่าจะลดลง เงินเฟ้อน่าจะลดลง
แต่บรรยากาศเหงาๆ ซึมๆ ชอบกล
คงเพราะความวิตกกังวลในความไม่แน่นอน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420093224