รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในสังคมไทยขณะนี้ นอกจากจะเป็นการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาล ที่ต้องการปฏิรูปสังคมไทยตามแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ กับกลุ่มแนวร่วมต่อต้านโลกาภิวัตน์แล้ว ยังมีมิติทางชนชั้นอันแหลมคมคือ เป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญระหว่างชนชั้นล่างในเมืองและชนบทที่สนับสนุนผู้นำรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยกับชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมือง ที่ต้องการขับไล่ผู้นำรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ
ชนชั้นล่างในเมืองและชนบทประกอบด้วย ประชาชนระดับรากหญ้าที่ตั้งแต่เกิดจนตายมีชีวิตยากจน ลำบากยากแค้น ไม่แน่นอน ไม่มีการศึกษา ขาดเงินทุน มีแต่หนี้สินและโรคภัยไข้เจ็บ ยาเสพติดในละแวกบ้าน อิทธิพลเถื่อนในพื้นที่ การข่มเหงรังแกของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากผู้ใด ไม่มีปากมีเสียง ถูกละเลยผ่านพ้นรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย พวกเขามีข้อได้เปรียบเพียงประการเดียวคือ มีจำนวนคนมากนับสิบล้านคนทั่วประเทศ และระบบการเมืองที่พอจะเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีปากมีเสียงบ้างก็คือ ระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นระบอบที่ทุกคนมี "หนึ่งเสียงเท่ากัน" ไม่ว่ายากดีมีจน การศึกษาสูงหรือต่ำ และยังเป็นระบบเดียวที่ทำให้พวกเขาพอจะส่งอิทธิพลไปยังนักการเมืองได้บ้าง
พวกเขาสนับสนุนผู้นำรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ก็เพราะนี่เป็นรัฐบาลแรกที่หยิบยื่นผลประโยชน์รูปธรรมเฉพาะหน้าให้กับพวกเขาได้จริงผ่านโครงการประชานิยมต่างๆ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พักชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน 30 บาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร หมู่บ้านเอสเอ็มแอล ขจัดปัญหายาเสพติด ลดอิทธิพลเถื่อนในพื้นที่ แปลงหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ฯลฯ ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองไม่เคยเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เพราะพวกเขาไม่ต้องเผชิญกับปัญหาสารพัดที่ชนชั้นล่างต้องประสบตลอดชีวิต ชนชั้นกลางมีเงิน การศึกษา ตำแหน่งงาน บ้าน รถยนต์ มีช่องทางเข้าถึงเงินทุนและเงินกู้ในระบบ เจ็บป่วยก็มีเงินรักษา ไม่มีปัญหายาเสพติดในละแวกบ้าน ไม่เคยถูกเจ้าหน้าที่รัฐและอำนาจเถื่อนรังแก ไม่ต้องพึ่งรัฐบาลและนักการเมืองท้องถิ่น พวกเขาจึงมองชนชั้นล่างอย่างดูถูกดูแคลน ว่า "ถูกซื้อ" โดยรัฐบาล
พวกเขาต้องการโค่นล้มผู้นำรัฐบาลและเรียกร้อง " รัฐบาลพระราชทาน" ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งก็เพราะในระยะ 5 ปีมานี้ พวกเขาได้สูญเสีย " สวรรค์ของอภิสิทธิ์ชน" ของตนไปเรื่อยๆ กลุ่มทุนเก่าที่ผูกขาดระบบเศรษฐกิจไทยมาหลายสิบปี กำลังสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว เพราะการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของรัฐบาล พวกเขาจึงต้องโค่นล้มรัฐบาล เพื่อยุตินโยบายดังกล่าว และฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยถอยหลังไปสู่ระบบทุนนิยมอุปถัมภ์ดังเดิม
ผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจต้องการขับไล่รัฐบาล เพราะสูญเสียประโยชน์และสถานภาพจากการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน องค์กรพัฒนาเอกชนที่ต่อต้านทุนนิยมต้องการโค่นล้มรัฐบาล เพราะปฏิเสธการพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันสมัย ปฏิเสธการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องการฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยถอยหลังไปเป็นสังคมเกษตรกรรมหมู่บ้านบุพกาลตามลัทธิชุมชนอนาธิปไตยของพวกตน
ข้าราชการเทคโนแครตไม่ต้องการรัฐบาลและรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจ เกียรติภูมิและสถานภาพ จากเดิมที่เป็นผู้บริหารประเทศตัวจริงและมีอิทธิพลเหนือรัฐมนตรีนักการเมือง แต่วันนี้ พวกเขาเป็นเพียงคนรับคำสั่งของนักการเมือง กลุ่มก๊วนการเมืองต้องการฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้พวกตนไม่มีอำนาจต่อรอง ต้องผูกติดกับระบบพรรค ไม่สามารถข่มขู่รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีให้แบ่งปันผลประโยชน์แก่พวกตนได้เหมือนในอดีต
นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ราษฎรอาวุโสแม้จะเกลียดชังความไม่โปร่งใสในทรัพย์สินของผู้นำรัฐบาล แต่ภูมิหลังคือ พวกเขาเป็นอนุรักษนิยม ไม่ต้องการโลกาภิวัตน์ แล้วยังสูญเสียสถานภาพและความน่าเชื่อถือตลอด 5 ปีมานี้ เพราะรัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลที่ไม่สนใจนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ให้คุณค่าความสำคัญแก่ราษฎรอาวุโส อีกทั้งยังคอยกล่าวตอบโต้รุนแรงอยู่เสมอ นักวิชาการและราษฎรอาวุโสเหล่านี้ปากพูดว่า "ต้องการประชาธิปไตย" แต่วันนี้ กำลังเรียกร้อง "รัฐบาลพระราชทาน" ให้ฉีกรัฐธรรมนูญ เอาระบบจารีตนิยมเข้ามากุมอำนาจรัฐ บางคนเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้ฝ่ายทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจ เอาเผด็จการทหารกลับคืนมา
ทั้งหมดนี้ เพื่อโค่นล้มผู้นำรัฐบาลเพียงคนเดียว ที่น่าสังเวชคือ นักวิชาการเหล่านี้บางคนปากอ้างมาตลอดชีวิต ว่า เป็นทายาททางคุณธรรมของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แม้แต่อดีตฝ่ายซ้ายและนักต่อสู้กับเผด็จการทหารในอดีต มาวันนี้กลับขึ้นเวทีร้องเพลงเพื่อชีวิต วิงวอนร้องขอ "รัฐบาลพระราชทาน" ให้ฉีกรัฐธรรมนูญ ฟื้นระบอบจารีตนิยม แม้เฉพาะหน้าจะเป็นประเด็นความไม่โปร่งใสของผู้นำรัฐบาล แต่พื้นฐานความขัดแย้งคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้และผู้นำรัฐบาลทำให้ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองสูญเสียประโยชน์และสถานภาพอภิสิทธิ์ ทำให้ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทได้มีสิทธิมีเสียงทัดเทียมกัน แม้คำขวัญเบื้องหน้าคือ "กู้ชาติ" "ปฏิรูปการเมือง" และชื่อกลุ่มลงท้ายด้วยคำว่า " เพื่อประชาธิปไตย" แต่เนื้อแท้คือ
ต้องการฉีกรัฐธรรมนูญและทำลายระบอบประชาธิปไตย ที่แบ่งอำนาจให้กับชนชั้นล่างมากเกินไป และเปิดช่องให้มีการปฏิรูปทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น วาระของพวกเขาจึงเป็นปฏิกิริยาและถอยหลังเข้าคลอง สิ่งที่ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองต้องการไม่ใช่ประชาธิปไตย ที่ " หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน" แต่เป็นระบอบคณาธิปไตยที่ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองมีอำนาจอภิสิทธิ์ และมีเสียงเหนือชนชั้นล่าง เป็นระบอบที่คนส่วนน้อยในเมืองจำนวนหนึ่งมีเสียงเหนือกว่า สามารถ "สั่ง" และขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเสียงข้างมากของประชาชนชั้นล่างนับสิบล้านคนได้ ประชาธิปไตยไทย จึงไม่มีวันเป็น "ประชาธิปไตย" ไปได้ เป็นได้แค่คณาธิปไตยจารีตนิยม....... นี่แหละ
มองมุมใหม่ : "อนารยะขัดขืน" กับความพ่ายแพ้ใน "ชัยชนะ" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์
ในที่สุด การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลไทยรักไทยที่ต้องการผลักดันสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์กับกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ยุติลงชั่วคราว เมื่อผู้นำรัฐบาลได้ทำการถอยทางยุทธวิธีด้วยการ "ลาออกในทางพฤตินัย" โดยประกาศว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า รวมทั้งยื่นหนังสือลาพัก ยุติบทบาทหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยทันที และให้รักษาการรองนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่งปฏิบัติราชการแทนไปจนกว่ารัฐสภาจะสรรหานายกฯ คนใหม่ได้
โดยพลันกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็พากันออกมากระโดดโลดเต้น เปล่งเสียงโห่ร้อง "ชัยชนะ" ดังก้องไปทั้งท้องสนามหลวง
แต่หากพิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว จะพบว่าแม้ในทางปรากฏการณ์ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ประสบ "ชัยชนะ" แต่ก็เพียงทางยุทธวิธีและชั่วคราวเท่านั้น หากเนื้อแท้แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ยกแรกนี้
ประการแรก พวกเขาล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ ที่ต้องการทำลายการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นประชาธิปไตย ตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบคณาธิปไตยอภิสิทธิ์ชนของกลุ่มทุนเก่าและปัญญาชนอนุรักษนิยมในเมือง ยุติแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพราะการณ์กลับเป็นว่า การเลือกตั้ง 2 เมษายนดำเนินไปใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว รักษาการนายกรัฐมนตรีไม่ลาออกทันที แต่ลาพักให้รักษาการรองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทน เป็นการปิดประตูมิให้มีการอ้าง "มาตรา 7" ในรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ได้
ประการที่สอง พรรคไทยรักไทยยังคงชนะคะแนนเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้ถึง 16 ล้านเสียงจากผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 28 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขร้อยละ 61 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เสียอีก แม้แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นฐานกำลังของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พรรคไทยรักไทยก็แพ้เพียงเล็กน้อยราว 2 หมื่นเสียงเท่านั้น ซึ่งแสดงว่า ราวครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิในกรุงเทพฯ ยังคงให้การสนับสนุนผู้นำ และพรรคไทยรักไทยอย่างเหนียวแน่น
ชัยชนะในต่างจังหวัดและคะแนนสูสีในกรุงเทพฯ นับเป็นความล้มเหลวที่สำคัญของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้นำรัฐบาลถูก "ล้อมปราบ" รุมกระหน่ำจากทั่วสารทิศติดต่อกันหลายเดือน ทั้งกลุ่มประท้วง พรรคฝ่ายค้าน ปัญญาชน คนชั้นกลางบางส่วน และสื่อมวลชนทุกสาขาไม่เว้นแม้แต่สื่อของรัฐบาลเอง
ข้อนี้สะท้อนว่า ผู้นำรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับความนิยมที่หยั่งรากลึกและกว้างขวางเพียงไรทั้งในเมืองและชนบท ถึงแม้จะมีข้อกล่าวหามากมายเรื่อง "ขายชาติ" และทุจริตไม่โปร่งใสก็ตาม
ประการที่สาม แม้จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ทั่วประเทศจะมากถึง 9 ล้านเสียง ส่วนหนึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม แต่อีกส่วนหนึ่งที่ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ไม่ใช่เพราะสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์และต้องการนายกฯ พระราชทาน แต่เป็นการแสดงเจตนาให้ยุติความขัดแย้งโดยเร็ว ผู้คนส่วนนี้ยังอาจกลับมาลงคะแนนให้ผู้นำพรรคไทยรักไทยได้อีกในการเลือกตั้งคราวหน้าเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
ประการที่สี่ การถอยออกไปของผู้นำรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไม่มีเป้าโจมตีที่เด่นชัดอีกต่อไป และทำให้เหตุผลเฉพาะหน้าของการเคลื่อนไหวหมดสิ้นลง กลุ่มแกนนำจึงพยายามสานต่อกระแสด้วยการชูเป้า "โค่นล้มระบอบทักษิณ" ซึ่งก็คือ ทำลายล้างตระกูลของผู้นำ ฉีกรัฐธรรมนูญ เอานายกฯ พระราชทาน เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบอภิสิทธิ์ชน ยุติโลกาภิวัตน์ อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขา แต่นี่เป็นเป้าหมายที่สุดขั้ว และไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ประการที่ห้า กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ได้กระทำผิดพลาดทางยุทธวิธีมากมาย พวกเขาอ้างวิธีการต่อสู้แบบ "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นแนวทางสันติอหิงหา แต่ในทางปฏิบัติ กลับตรงข้ามโดยสิ้นเชิง
ขั้นตอนการชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด ด่าทออย่างลามกหยาบคาย ปะติดปะต่อบิดเบือนข้อมูล ปลุกอารมณ์คลั่งชาติ เกลียดชังต่างชาติอย่างสุดขั้ว รุมทำร้ายผู้คนที่ผ่านมาและไม่เห็นด้วยกับพวกตน ข่มขู่ทำร้ายผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร ตรวจค้นรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปฏิเสธการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้ง
ทั้งหมดนี้ด้วยการยกตนว่า มีการศึกษาสูง มีฐานะเศรษฐกิจดี และมีความเป็น "อารยะ" สูงกว่าประชาชนชั้นล่างที่ยังคงสนับสนุนผู้นำรัฐบาล มหาปราชญ์โสกราติสและมหาตมะ คานธี หากได้เห็น "อารยะขัดขืน" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไทยในวันนี้ คงถึงร่ำไห้!
กลุ่มคาราวานคนจนก็ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร บังคับข่มขู่ให้สื่อมวลชนทำตามความต้องการของตน ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น จึงต้องถูกประณามและดำเนินคดีเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มคาราวานคนจนก็มิได้เสแสร้งปวารณาตนว่า เป็น "อารยะขัดขืน"
วิธีการของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่ยั่วยุ รุนแรง หยาบคาย ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ยอมรับจากแม้แต่ประชากรชั้นกลางส่วนข้างมากในกรุงเทพฯ การเหมาเอาว่า จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" ทั้งหมดเป็นคะแนนสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องน่าขบขัน
บัดนี้ หมอกควันและฝุ่นละอองเริ่มจางหาย แต่นี่เป็นเพียงการพักรบชั่วคราว เพื่อรอการสัประยุทธ์ครั้งใหญ่และเด็ดขาดที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ เพื่อตัดสินชะตากรรมและทิศทางของประเทศไทย ว่า จะไปสู่เสรีประชาธิปไตยเต็มรูปและทุนนิยมโลกาภิวัตน์ หรือถอยหลังไปสู่ระบอบคณาธิปไตยของอภิสิทธิ์ชนเมืองและทุนนิยมด้อยพัฒนา
บทความ รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ปี 2552 กับสถานการณ์ 2557
ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในสังคมไทยขณะนี้ นอกจากจะเป็นการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาล ที่ต้องการปฏิรูปสังคมไทยตามแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ กับกลุ่มแนวร่วมต่อต้านโลกาภิวัตน์แล้ว ยังมีมิติทางชนชั้นอันแหลมคมคือ เป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญระหว่างชนชั้นล่างในเมืองและชนบทที่สนับสนุนผู้นำรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยกับชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมือง ที่ต้องการขับไล่ผู้นำรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ
ชนชั้นล่างในเมืองและชนบทประกอบด้วย ประชาชนระดับรากหญ้าที่ตั้งแต่เกิดจนตายมีชีวิตยากจน ลำบากยากแค้น ไม่แน่นอน ไม่มีการศึกษา ขาดเงินทุน มีแต่หนี้สินและโรคภัยไข้เจ็บ ยาเสพติดในละแวกบ้าน อิทธิพลเถื่อนในพื้นที่ การข่มเหงรังแกของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากผู้ใด ไม่มีปากมีเสียง ถูกละเลยผ่านพ้นรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย พวกเขามีข้อได้เปรียบเพียงประการเดียวคือ มีจำนวนคนมากนับสิบล้านคนทั่วประเทศ และระบบการเมืองที่พอจะเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีปากมีเสียงบ้างก็คือ ระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นระบอบที่ทุกคนมี "หนึ่งเสียงเท่ากัน" ไม่ว่ายากดีมีจน การศึกษาสูงหรือต่ำ และยังเป็นระบบเดียวที่ทำให้พวกเขาพอจะส่งอิทธิพลไปยังนักการเมืองได้บ้าง
พวกเขาสนับสนุนผู้นำรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ก็เพราะนี่เป็นรัฐบาลแรกที่หยิบยื่นผลประโยชน์รูปธรรมเฉพาะหน้าให้กับพวกเขาได้จริงผ่านโครงการประชานิยมต่างๆ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พักชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน 30 บาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร หมู่บ้านเอสเอ็มแอล ขจัดปัญหายาเสพติด ลดอิทธิพลเถื่อนในพื้นที่ แปลงหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ฯลฯ ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองไม่เคยเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เพราะพวกเขาไม่ต้องเผชิญกับปัญหาสารพัดที่ชนชั้นล่างต้องประสบตลอดชีวิต ชนชั้นกลางมีเงิน การศึกษา ตำแหน่งงาน บ้าน รถยนต์ มีช่องทางเข้าถึงเงินทุนและเงินกู้ในระบบ เจ็บป่วยก็มีเงินรักษา ไม่มีปัญหายาเสพติดในละแวกบ้าน ไม่เคยถูกเจ้าหน้าที่รัฐและอำนาจเถื่อนรังแก ไม่ต้องพึ่งรัฐบาลและนักการเมืองท้องถิ่น พวกเขาจึงมองชนชั้นล่างอย่างดูถูกดูแคลน ว่า "ถูกซื้อ" โดยรัฐบาล
พวกเขาต้องการโค่นล้มผู้นำรัฐบาลและเรียกร้อง " รัฐบาลพระราชทาน" ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งก็เพราะในระยะ 5 ปีมานี้ พวกเขาได้สูญเสีย " สวรรค์ของอภิสิทธิ์ชน" ของตนไปเรื่อยๆ กลุ่มทุนเก่าที่ผูกขาดระบบเศรษฐกิจไทยมาหลายสิบปี กำลังสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว เพราะการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของรัฐบาล พวกเขาจึงต้องโค่นล้มรัฐบาล เพื่อยุตินโยบายดังกล่าว และฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยถอยหลังไปสู่ระบบทุนนิยมอุปถัมภ์ดังเดิม
ผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจต้องการขับไล่รัฐบาล เพราะสูญเสียประโยชน์และสถานภาพจากการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน องค์กรพัฒนาเอกชนที่ต่อต้านทุนนิยมต้องการโค่นล้มรัฐบาล เพราะปฏิเสธการพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันสมัย ปฏิเสธการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องการฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยถอยหลังไปเป็นสังคมเกษตรกรรมหมู่บ้านบุพกาลตามลัทธิชุมชนอนาธิปไตยของพวกตน
ข้าราชการเทคโนแครตไม่ต้องการรัฐบาลและรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจ เกียรติภูมิและสถานภาพ จากเดิมที่เป็นผู้บริหารประเทศตัวจริงและมีอิทธิพลเหนือรัฐมนตรีนักการเมือง แต่วันนี้ พวกเขาเป็นเพียงคนรับคำสั่งของนักการเมือง กลุ่มก๊วนการเมืองต้องการฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้พวกตนไม่มีอำนาจต่อรอง ต้องผูกติดกับระบบพรรค ไม่สามารถข่มขู่รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีให้แบ่งปันผลประโยชน์แก่พวกตนได้เหมือนในอดีต
นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ราษฎรอาวุโสแม้จะเกลียดชังความไม่โปร่งใสในทรัพย์สินของผู้นำรัฐบาล แต่ภูมิหลังคือ พวกเขาเป็นอนุรักษนิยม ไม่ต้องการโลกาภิวัตน์ แล้วยังสูญเสียสถานภาพและความน่าเชื่อถือตลอด 5 ปีมานี้ เพราะรัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลที่ไม่สนใจนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ให้คุณค่าความสำคัญแก่ราษฎรอาวุโส อีกทั้งยังคอยกล่าวตอบโต้รุนแรงอยู่เสมอ นักวิชาการและราษฎรอาวุโสเหล่านี้ปากพูดว่า "ต้องการประชาธิปไตย" แต่วันนี้ กำลังเรียกร้อง "รัฐบาลพระราชทาน" ให้ฉีกรัฐธรรมนูญ เอาระบบจารีตนิยมเข้ามากุมอำนาจรัฐ บางคนเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้ฝ่ายทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจ เอาเผด็จการทหารกลับคืนมา
ทั้งหมดนี้ เพื่อโค่นล้มผู้นำรัฐบาลเพียงคนเดียว ที่น่าสังเวชคือ นักวิชาการเหล่านี้บางคนปากอ้างมาตลอดชีวิต ว่า เป็นทายาททางคุณธรรมของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แม้แต่อดีตฝ่ายซ้ายและนักต่อสู้กับเผด็จการทหารในอดีต มาวันนี้กลับขึ้นเวทีร้องเพลงเพื่อชีวิต วิงวอนร้องขอ "รัฐบาลพระราชทาน" ให้ฉีกรัฐธรรมนูญ ฟื้นระบอบจารีตนิยม แม้เฉพาะหน้าจะเป็นประเด็นความไม่โปร่งใสของผู้นำรัฐบาล แต่พื้นฐานความขัดแย้งคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้และผู้นำรัฐบาลทำให้ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองสูญเสียประโยชน์และสถานภาพอภิสิทธิ์ ทำให้ชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทได้มีสิทธิมีเสียงทัดเทียมกัน แม้คำขวัญเบื้องหน้าคือ "กู้ชาติ" "ปฏิรูปการเมือง" และชื่อกลุ่มลงท้ายด้วยคำว่า " เพื่อประชาธิปไตย" แต่เนื้อแท้คือ
ต้องการฉีกรัฐธรรมนูญและทำลายระบอบประชาธิปไตย ที่แบ่งอำนาจให้กับชนชั้นล่างมากเกินไป และเปิดช่องให้มีการปฏิรูปทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น วาระของพวกเขาจึงเป็นปฏิกิริยาและถอยหลังเข้าคลอง สิ่งที่ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองต้องการไม่ใช่ประชาธิปไตย ที่ " หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน" แต่เป็นระบอบคณาธิปไตยที่ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในเมืองมีอำนาจอภิสิทธิ์ และมีเสียงเหนือชนชั้นล่าง เป็นระบอบที่คนส่วนน้อยในเมืองจำนวนหนึ่งมีเสียงเหนือกว่า สามารถ "สั่ง" และขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเสียงข้างมากของประชาชนชั้นล่างนับสิบล้านคนได้ ประชาธิปไตยไทย จึงไม่มีวันเป็น "ประชาธิปไตย" ไปได้ เป็นได้แค่คณาธิปไตยจารีตนิยม....... นี่แหละ
มองมุมใหม่ : "อนารยะขัดขืน" กับความพ่ายแพ้ใน "ชัยชนะ" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์
ในที่สุด การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลไทยรักไทยที่ต้องการผลักดันสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์กับกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ยุติลงชั่วคราว เมื่อผู้นำรัฐบาลได้ทำการถอยทางยุทธวิธีด้วยการ "ลาออกในทางพฤตินัย" โดยประกาศว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยหน้า รวมทั้งยื่นหนังสือลาพัก ยุติบทบาทหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยทันที และให้รักษาการรองนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่งปฏิบัติราชการแทนไปจนกว่ารัฐสภาจะสรรหานายกฯ คนใหม่ได้
โดยพลันกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็พากันออกมากระโดดโลดเต้น เปล่งเสียงโห่ร้อง "ชัยชนะ" ดังก้องไปทั้งท้องสนามหลวง
แต่หากพิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว จะพบว่าแม้ในทางปรากฏการณ์ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ประสบ "ชัยชนะ" แต่ก็เพียงทางยุทธวิธีและชั่วคราวเท่านั้น หากเนื้อแท้แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ยกแรกนี้
ประการแรก พวกเขาล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ ที่ต้องการทำลายการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นประชาธิปไตย ตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบคณาธิปไตยอภิสิทธิ์ชนของกลุ่มทุนเก่าและปัญญาชนอนุรักษนิยมในเมือง ยุติแนวทางทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เพราะการณ์กลับเป็นว่า การเลือกตั้ง 2 เมษายนดำเนินไปใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว รักษาการนายกรัฐมนตรีไม่ลาออกทันที แต่ลาพักให้รักษาการรองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทน เป็นการปิดประตูมิให้มีการอ้าง "มาตรา 7" ในรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้ง "นายกฯ พระราชทาน" ได้
ประการที่สอง พรรคไทยรักไทยยังคงชนะคะแนนเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้ถึง 16 ล้านเสียงจากผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 28 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขร้อยละ 61 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เสียอีก แม้แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นฐานกำลังของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พรรคไทยรักไทยก็แพ้เพียงเล็กน้อยราว 2 หมื่นเสียงเท่านั้น ซึ่งแสดงว่า ราวครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิในกรุงเทพฯ ยังคงให้การสนับสนุนผู้นำ และพรรคไทยรักไทยอย่างเหนียวแน่น
ชัยชนะในต่างจังหวัดและคะแนนสูสีในกรุงเทพฯ นับเป็นความล้มเหลวที่สำคัญของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้นำรัฐบาลถูก "ล้อมปราบ" รุมกระหน่ำจากทั่วสารทิศติดต่อกันหลายเดือน ทั้งกลุ่มประท้วง พรรคฝ่ายค้าน ปัญญาชน คนชั้นกลางบางส่วน และสื่อมวลชนทุกสาขาไม่เว้นแม้แต่สื่อของรัฐบาลเอง
ข้อนี้สะท้อนว่า ผู้นำรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับความนิยมที่หยั่งรากลึกและกว้างขวางเพียงไรทั้งในเมืองและชนบท ถึงแม้จะมีข้อกล่าวหามากมายเรื่อง "ขายชาติ" และทุจริตไม่โปร่งใสก็ตาม
ประการที่สาม แม้จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ทั่วประเทศจะมากถึง 9 ล้านเสียง ส่วนหนึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม แต่อีกส่วนหนึ่งที่ "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ไม่ใช่เพราะสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์และต้องการนายกฯ พระราชทาน แต่เป็นการแสดงเจตนาให้ยุติความขัดแย้งโดยเร็ว ผู้คนส่วนนี้ยังอาจกลับมาลงคะแนนให้ผู้นำพรรคไทยรักไทยได้อีกในการเลือกตั้งคราวหน้าเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย
ประการที่สี่ การถอยออกไปของผู้นำรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไม่มีเป้าโจมตีที่เด่นชัดอีกต่อไป และทำให้เหตุผลเฉพาะหน้าของการเคลื่อนไหวหมดสิ้นลง กลุ่มแกนนำจึงพยายามสานต่อกระแสด้วยการชูเป้า "โค่นล้มระบอบทักษิณ" ซึ่งก็คือ ทำลายล้างตระกูลของผู้นำ ฉีกรัฐธรรมนูญ เอานายกฯ พระราชทาน เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ฟื้นระบอบอภิสิทธิ์ชน ยุติโลกาภิวัตน์ อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขา แต่นี่เป็นเป้าหมายที่สุดขั้ว และไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ประการที่ห้า กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ได้กระทำผิดพลาดทางยุทธวิธีมากมาย พวกเขาอ้างวิธีการต่อสู้แบบ "อารยะขัดขืน" ซึ่งเป็นแนวทางสันติอหิงหา แต่ในทางปฏิบัติ กลับตรงข้ามโดยสิ้นเชิง
ขั้นตอนการชุมนุมประท้วงและเดินขบวน เต็มไปด้วยความรุนแรง ยั่วยุหาช่องทางให้เกิดการปะทะนองเลือด ด่าทออย่างลามกหยาบคาย ปะติดปะต่อบิดเบือนข้อมูล ปลุกอารมณ์คลั่งชาติ เกลียดชังต่างชาติอย่างสุดขั้ว รุมทำร้ายผู้คนที่ผ่านมาและไม่เห็นด้วยกับพวกตน ข่มขู่ทำร้ายผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร ตรวจค้นรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปฏิเสธการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้ง
ทั้งหมดนี้ด้วยการยกตนว่า มีการศึกษาสูง มีฐานะเศรษฐกิจดี และมีความเป็น "อารยะ" สูงกว่าประชาชนชั้นล่างที่ยังคงสนับสนุนผู้นำรัฐบาล มหาปราชญ์โสกราติสและมหาตมะ คานธี หากได้เห็น "อารยะขัดขืน" ของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ไทยในวันนี้ คงถึงร่ำไห้!
กลุ่มคาราวานคนจนก็ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วยการปิดถนน ปิดล้อมอาคาร บังคับข่มขู่ให้สื่อมวลชนทำตามความต้องการของตน ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น จึงต้องถูกประณามและดำเนินคดีเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มคาราวานคนจนก็มิได้เสแสร้งปวารณาตนว่า เป็น "อารยะขัดขืน"
วิธีการของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่ยั่วยุ รุนแรง หยาบคาย ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ยอมรับจากแม้แต่ประชากรชั้นกลางส่วนข้างมากในกรุงเทพฯ การเหมาเอาว่า จำนวนผู้ "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" ทั้งหมดเป็นคะแนนสนับสนุนกลุ่มประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องน่าขบขัน
บัดนี้ หมอกควันและฝุ่นละอองเริ่มจางหาย แต่นี่เป็นเพียงการพักรบชั่วคราว เพื่อรอการสัประยุทธ์ครั้งใหญ่และเด็ดขาดที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ เพื่อตัดสินชะตากรรมและทิศทางของประเทศไทย ว่า จะไปสู่เสรีประชาธิปไตยเต็มรูปและทุนนิยมโลกาภิวัตน์ หรือถอยหลังไปสู่ระบอบคณาธิปไตยของอภิสิทธิ์ชนเมืองและทุนนิยมด้อยพัฒนา