คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ตั้งแต่ปี 2003 - 2004 ในยุคที่สมาคมมีนโยบายสานฝันฟุตบอลไทยไปฟุตบอลโลกนั่นแหละครับ ยุคนั้นคือเผาหลอก เผาจริงคือปี 2007
หลังจากไทยจบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกและไทเกอร์คัพปี 2002 ไทยและผ่านรอบคัดเลือกเอเชี่ยนคัพ 2004 ได้อย่างทุลักทุเล และจบรายการนั้นด้วยการพ่ายแพ้ 3 นัดรวด ชนิดที่ว่าแพ้โอมานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ความพ่ายแพ้คาบ้านต่อเกาหลีเหนือ 1-4 ในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกต่อหน้าคุณทักกี้ คือ ฟางเส้นสุดท้าย คำพูดของผู้ใหญ่ที่ไม่มีความรู้เรื่องฟุตบอลบางคน ทำให้นักเตะตัวเก๋าต้องหันหลังให้ทีมชาติเป็นการชั่วคราวด้วยความน้อยใจ แนวคิดทีมชาติชุดยังบลัด(ซบ) จึงเกิดขึ้น ด้วยความคิดที่แสนจะโก้หรูในหน้ากระดาษ แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง
เช่น การยุบรวมทีมชาติให้เหลือเพียงชุดยังบลัด โดยมีการกำหนดจำนวนนักเตะตามสัดส่วนอายุอย่างชัดเจน การให้ปีเตอร์ วิธ กับ คาร์ลอส ทำงานร่วมกัน การกำหนดอัตราเงินเดินตามเกรดฝีเท้า การช่วยเหลือนักเตะปลดระวางในการบรรจุทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
สัญญานดับอันแรก คือ การที่ไทยตกรอบแรก AFF ASEAN cup 2004 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นัดที่สำคัญคือการเสมอเมียนมาแบบไม่น่าเสีย 1-1 และการที่ไทยแพ้มาเลเซีย 1-2 ทั้งๆที่โจ้อุตส่าซัดนำไปก่อน ตอนนั้นสื่อและกระแสทางนี้ด่าซิกกี้ เฮลด์ โค้ชที่มารับเผือกร้อนแทน ในเรื่องที่ไม่เน้นเกมรับและไม่ประกบเมียว ฮเลงวิน จนทำให้เสียประตูตีเสมอช่วงท้ายเกมสำคัญ จากนั้นไทยก็กู่ไม่กลับ ซีเกมส์คือความหวังและสิ่งเชิดหน้าชูตาเกียวของสมาคม แต่การตกรอบแรกที่เวียงจันทร์เกมส์ ทุกอย่างก็จบสิ้น
ยังดีที่กระแสบอลลีกช่วยวงการฟุตบอลไทยไว้ ช่วงที่แบงค์กรุงไทยได้แชมป์ลีกสองครั้งผมไม่ได้ตามเลย ยิ่งตอน ม.กรุงเทพได้แชมป์ ผมงงเข้าไปใหญ่ จุดเปลี่ยนสำคัญ คือเมื่อมีการยุบรวมไทยลีกและโปรลีก (แก้ไข: โปรลีกคือผลงานของคุณจุรินทร์ พรรค ปชป. ส่วนการรวมลีก ผมไม่แน่ใจว่าของคุณสนธยาหรือบิ๊กแน็ต/27-12-57) กระแสทีมภูธรก็มาตอนนั้น ชัยชนะเหนือเมลเบิร์นวิคตอรี่และการบุกไปเสมอกัมบะ แชมปฺในปีนั้นในรายการ ACL แบบน่าด่าโกสินทร์ในช่วงท้ายเกม คือ สิ่งที่ทุกคนมองเห็นอนาคต ทุกคนให้ความสำคัญกับบอลลีก แต่อาจจะมากเกินไปจนลืมฟีฟ่าเดย์ หลังๆมานี่สมาคมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับทีมชาติสักเท่าไหร่ เน้นไปในรายการแข่งขันสโมสรในประเทศมากกว่า อย่างโตโยตะจิโดฉะโคเกียว เขาเพิ่งเป็นผู้สนับสนุนบอลไทยตอนหลังนี่เองครับ หลังจากหมดยุคโตโยต้าคัพ เพราะบอลไทยตอนนั้นเริ่มมีมูลค่าการตลาดมากขึ้นแล้ว
แต่การเข้ามาของโตโยต้า ก็ยังดีนะครับ ช่วยสนับสนุนบอลไทย ผมอยากให้เราคิดถึงสปอนเซอร์ไทยลีกสมัยก่อนด้วย จำได้เลยว่า บางปีนี่หาสปอนเซอร์กันแทบตาย
ตอบ จขกท นะครับ บอลไทยตกต่ำ เพราะสมาคมไม่มีการวางแผนครับ ห่วยเสมอต้นเสมอปลาย ไล่ดูวีรกรรมในกูเกิ้ลได้
ทุกอย่างมาจากความทรงจำ ผิดพลาดหรือพาดพิงใครขออภัยด้วยนะครับ
หลังจากไทยจบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกและไทเกอร์คัพปี 2002 ไทยและผ่านรอบคัดเลือกเอเชี่ยนคัพ 2004 ได้อย่างทุลักทุเล และจบรายการนั้นด้วยการพ่ายแพ้ 3 นัดรวด ชนิดที่ว่าแพ้โอมานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ความพ่ายแพ้คาบ้านต่อเกาหลีเหนือ 1-4 ในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือกต่อหน้าคุณทักกี้ คือ ฟางเส้นสุดท้าย คำพูดของผู้ใหญ่ที่ไม่มีความรู้เรื่องฟุตบอลบางคน ทำให้นักเตะตัวเก๋าต้องหันหลังให้ทีมชาติเป็นการชั่วคราวด้วยความน้อยใจ แนวคิดทีมชาติชุดยังบลัด(ซบ) จึงเกิดขึ้น ด้วยความคิดที่แสนจะโก้หรูในหน้ากระดาษ แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง
เช่น การยุบรวมทีมชาติให้เหลือเพียงชุดยังบลัด โดยมีการกำหนดจำนวนนักเตะตามสัดส่วนอายุอย่างชัดเจน การให้ปีเตอร์ วิธ กับ คาร์ลอส ทำงานร่วมกัน การกำหนดอัตราเงินเดินตามเกรดฝีเท้า การช่วยเหลือนักเตะปลดระวางในการบรรจุทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
สัญญานดับอันแรก คือ การที่ไทยตกรอบแรก AFF ASEAN cup 2004 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นัดที่สำคัญคือการเสมอเมียนมาแบบไม่น่าเสีย 1-1 และการที่ไทยแพ้มาเลเซีย 1-2 ทั้งๆที่โจ้อุตส่าซัดนำไปก่อน ตอนนั้นสื่อและกระแสทางนี้ด่าซิกกี้ เฮลด์ โค้ชที่มารับเผือกร้อนแทน ในเรื่องที่ไม่เน้นเกมรับและไม่ประกบเมียว ฮเลงวิน จนทำให้เสียประตูตีเสมอช่วงท้ายเกมสำคัญ จากนั้นไทยก็กู่ไม่กลับ ซีเกมส์คือความหวังและสิ่งเชิดหน้าชูตาเกียวของสมาคม แต่การตกรอบแรกที่เวียงจันทร์เกมส์ ทุกอย่างก็จบสิ้น
ยังดีที่กระแสบอลลีกช่วยวงการฟุตบอลไทยไว้ ช่วงที่แบงค์กรุงไทยได้แชมป์ลีกสองครั้งผมไม่ได้ตามเลย ยิ่งตอน ม.กรุงเทพได้แชมป์ ผมงงเข้าไปใหญ่ จุดเปลี่ยนสำคัญ คือเมื่อมีการยุบรวมไทยลีกและโปรลีก (แก้ไข: โปรลีกคือผลงานของคุณจุรินทร์ พรรค ปชป. ส่วนการรวมลีก ผมไม่แน่ใจว่าของคุณสนธยาหรือบิ๊กแน็ต/27-12-57) กระแสทีมภูธรก็มาตอนนั้น ชัยชนะเหนือเมลเบิร์นวิคตอรี่และการบุกไปเสมอกัมบะ แชมปฺในปีนั้นในรายการ ACL แบบน่าด่าโกสินทร์ในช่วงท้ายเกม คือ สิ่งที่ทุกคนมองเห็นอนาคต ทุกคนให้ความสำคัญกับบอลลีก แต่อาจจะมากเกินไปจนลืมฟีฟ่าเดย์ หลังๆมานี่สมาคมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับทีมชาติสักเท่าไหร่ เน้นไปในรายการแข่งขันสโมสรในประเทศมากกว่า อย่างโตโยตะจิโดฉะโคเกียว เขาเพิ่งเป็นผู้สนับสนุนบอลไทยตอนหลังนี่เองครับ หลังจากหมดยุคโตโยต้าคัพ เพราะบอลไทยตอนนั้นเริ่มมีมูลค่าการตลาดมากขึ้นแล้ว
แต่การเข้ามาของโตโยต้า ก็ยังดีนะครับ ช่วยสนับสนุนบอลไทย ผมอยากให้เราคิดถึงสปอนเซอร์ไทยลีกสมัยก่อนด้วย จำได้เลยว่า บางปีนี่หาสปอนเซอร์กันแทบตาย
ตอบ จขกท นะครับ บอลไทยตกต่ำ เพราะสมาคมไม่มีการวางแผนครับ ห่วยเสมอต้นเสมอปลาย ไล่ดูวีรกรรมในกูเกิ้ลได้
ทุกอย่างมาจากความทรงจำ ผิดพลาดหรือพาดพิงใครขออภัยด้วยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ศรัทธาฟุตบอลไทย.... มันหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ ถึงเพิ่งเริ่มได้กลับมา...
ส่วนตัวผมตั้งแต่หมดยุคดรีมทีมของ บิ๊กหอย ธวชชัย สัจจกุล ( สมัยนั้นผม 20 ปลายๆแล้วคับ )ผมแทบไม่ได้ติดตามบอลแบบละเอียดเลยครับ ชีวิตช่วงนั้นก็เข้าสู่โหมดการทำงานหาเงินเต็มที่ คนวันทำงานน่าจะรู้น่าครับ วัยกำลังมีครอบครัว กำลังทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ความสนใจในกีฬามันจะลดน้อยไปตาม step ของชีวิต แต่ก็พอดูข่าวเป็นระยะๆ แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจมากมายเหมือนเมื่อก่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ช็อคสุดๆก็คือ.ตอนตกรอบแรกซีเกมส์ที่ลาวเมื่อปี 2009 อันนั้นยอมรับว่าตกใจจริงๆครับ แบบว่าในซีเกมส์นี่ผมแทบมองข้ามไปเลย
เห็นช่วงนี้ในวงสนทนาพูดกันบ่อยว่า ศรัทธาบอลไทยเริ่มกลับมาแล้ว ผมก็เลยสงสัยครับว่า แล้วหมดศรัทธากันตั้งแต่เมื่อไหร่ สำหรับส่วนตัวผมเองแค่ไม่ได้ติดตาม ไม่เคยดู อย่างนี้เขาเรียกว่า หมดศรัทธาหรือเปล่าครับ...
พอดีช่วงหลังนี่กลับไปสนใจวอลเลย์บอลหญิงมากกว่าครับ
ขอบคุณล่วงหน้าทุกคำตอบครับ