เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านใน ต. ทุ่งมน อ. ปราสาท จ. สุรินทร์ ว่า ขณะนี้ได้เกิดข้อพิพาท เรื่องการแย่งชิงมรดก และทรัพย์สินของพระครูประสาท พรหมคุณหรือหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี ต. ทุ่งมน เกจิอาจารย์ชื่อดังที่มรณภาพไปเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 57 จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วทั้งจังหวัด เนื่องจากหลวงปู่หงษ์ เป็นที่นับถือเลื่อมใสของผู้คนทั้งใน และต่างประเทศ และมีผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สินและที่ดินให้จำนวนมาก ทำให้มีทรัพย์สินอยู่ในความครอบครองเป็นจำนวนมหาศาล ผู้สื่อข่าวจึงติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับทางวัด ต่อมาเวลา 15.00 น. วันเดียวกัน นายทวีศักดิ์ ยงยิ่งยืน อายุ 55 ปี เลขานุการฝ่ายฆราวาส พระสมชาย คเวสโก รองเจ้าอาวาสวัดเพชรบุรี รักษาการแทนไวยาวัจกร และนางรัตนาเกษมบุญ อายุ 57 ปี กรรมการวัดเพชรบุรี ได้ร่วมกันแถลงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยนางรัตนา กล่าวว่า หลังจากหลวงปู่หงษ์ละสังขารเมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้เก็บสรีระของท่านไว้ในโลงแก้วที่วัด ตามความประสงค์ของท่าน เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ เดินทางมากราบไหว้ ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้มีจิตศรัทธาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เดินทางมาทำพิธีเคารพศพอย่างเนืองแน่น ในส่วนของทรัพย์สินนั้น ทางวัดและกรรมการวัดกว่า 20 คน ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่เป็นชื่อของท่านเอง และลูกศิษย์ ญาติพี่น้อง หรือผู้ใกล้ชิด ควรตกเป็นของวัดและแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้พัฒนาวัดและทำนุบำรุงพระศาสนาตามเจตนาของผู้บริจาค ไม่ควรนำไปใช้ส่วนตัวหรือพวกพ้องซึ่งเป็นการผิดเจตนารมณ์ของผู้บริจาค โดยเมื่อเดือนส.ค. 57 ทางวัดได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและทรัพท์สินทั้งหมด ต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ จนเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามเลขคดีดำที่ 654/57 และคดีแดงที่ 761/ 57 ระหว่างวัดเพชรบุรี กับนายกิตติศักดิ์ คันธกุล ผู้คัดค้าน ที่อ้างว่าเป็นผู้ได้รับมรดกจากหลวงปู่หงษ์ โดยให้วัดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินและมรดกของหลวงปู่หงษ์ทั้งหมด ซึ่งยังไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอนแต่คาดว่าน่าจะถึง 5 พันล้านบาท
นางรัตนา กล่าวต่อว่า ต่อมานายวิสิทธิ์ มีศรี อายุ 76ปี ประธานกรรมการฝ่ายฆารวาสได้ประชุมคณะกรรมการวัด ประมาณ 50 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องอาทิ ตำรวจสภ.ทุ่งมน เพื่อขอให้ศาลอนุมัติออกหมายค้น และเข้าตรวจสอบทรัพย์สินที่กุฎิหลวงปู่หงษ์เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทราบว่าเป็นที่เก็บเงินสด วัตถุมงคลล้ำค่า และทองรูปพรรณ รวมทั้งโฉนดที่ดินจำนวนมาก แต่ได้รับการคัดค้านและขัดขวางจากกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวเป็นเครือญาติของหลวงปู่หงษ์ โดยการล้อกประตูคล้องโซ่กุญแจ จนทางวัดต้องไปแจ้งความจับผู้ขัดขวางที่สภ.ทุ่งมนในวันเดียวกัน ขณะที่ทรัพย์สินอื่นๆ อาทิ สุสานทุ่งมนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ที่หลวงปู่หงษ์ พัฒนาจากป่าช้าเป็นสุสานและใช้เป็นสถานที่ให้พุทธศาสนิกชนเข้าปฎิบัติธรรม อาคารบ้านเช่า รถยนต์ประมาณ 10-20 คัน บัญชีเงินฝาก และที่ดินอีกหลายพันไร่ ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน ทางวัดได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 57 เพื่อให้มีคำสั่ง อายัดบัญชีเบื้องต้น 7 บัญชี วงเงิน 49 ล้านบาท เลขคดีดำที่ 588/57, 586/57, 587/57, 603/57, 604/57 และ 947/57 ฟ้องนายเสกสันต์ พรมมนุษย์ กับพวก อีก 6 คน อายัดเงินทั้งหมดเพื่อขอตรวจสอบ เบื้องต้นศาลแยกเป็น 2 คดี คดีแรก นัดตัดสินในวงเงิน 24 ล้านบาท ที่ตรวจสอบได้ในวันที่ 26 ธ.ค. นี้ เวลา 09.00 น. อีกทั้งเตรียมขออายัดโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์อีก 21 แปลง เนื้อที่นับพันไร่ใน จ. สุนิทร์ และจ. บุรีรัมย์ รวมทั้งสวนป่าอีกหลายร้อยไร่ เช่นกัน พร้อมจะดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์กับผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวนมากและจะฟ้องขับไล่ผู้ที่บุกรุกวัดและขัดขวางในการตรวจสอบทรัพย์สินในครั้งนี้ด้วย
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า บุคคลที่บวชพระถือเป็นบุคคลสาธารณะ ตามพ.ร.บ. สงฆ์ ขาดจากทางโลก ไม่เกี่ยวข้องกับญาติพี่น้อง เมื่อมรณภาพจึงต้องเรียกคืนทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของวัดและของแผนดินเพื่อนำมาใช้พัฒนาวัดและทำนุบำรุงพระศาสนา รวมทั้งใช้ในกิจของสงฆ์ ส่วนที่ดินก็ให้ตกเป็นของธรณีสงฆ์ ไม่ใช่เป็นที่ส่วนบุคคล การดำเนินการทั้งหมดทางวัดและกรรมการไม่ได้ทำเพื่อตัวเองแต่ทำเพื่อส่วนรวม เนื่องจากตรวจสอบพบว่า ทรัพย์สินทั้งหมดไม่มีชื่อเป็นของวัดแม้แต่รายการเดียว อย่างไรก็ตามแม้หลวงปู่หงษ์จะมรณภาพแล้วแต่ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธามาทำบุญที่วัดอย่างเนืองแน่น ล่าสุดการทอดผ้าป่าและทอดผ้ากฐินที่ผ่านมาได้ยอดเงินทำบุญไม่ต่ำกว่าครั้งละ 10 ล้านบาท แต่ทางวัดก็ไม่สามารถตรวจสอบว่ามีที่ไปอย่างไร สมบัติทุกชิ้นจึงควรตกเป็นของวัด ใครจะเป็นผู้ครอบครองไม่ได้ หวังว่าพุทธศาสนิกชนจะเข้าใจในการดำเนินการครั้งนี้ อย่าคิดว่าเปิดศึกชิงมรดกกันแต่อย่างใดเลย.
http://www.dailynews.co.th/
หลวงปู่หงษ์ไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือแสดงความประสงค์ให้ญาติโยมรู้ไว้ก่อนหรือครับว่าต้องการนำสมบัติทั้งหมดไปทำอะไร และการจัดเก็บทำบัญชีทรัพย์สินต่างๆ สมัยท่านยังอยู่ทำเป็นระบบระเบียบแค่ไหนอย่างไรครับ
ชิงมรดกหลวงปู่หงษ์ ห้าพันล้าน
นางรัตนา กล่าวต่อว่า ต่อมานายวิสิทธิ์ มีศรี อายุ 76ปี ประธานกรรมการฝ่ายฆารวาสได้ประชุมคณะกรรมการวัด ประมาณ 50 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องอาทิ ตำรวจสภ.ทุ่งมน เพื่อขอให้ศาลอนุมัติออกหมายค้น และเข้าตรวจสอบทรัพย์สินที่กุฎิหลวงปู่หงษ์เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทราบว่าเป็นที่เก็บเงินสด วัตถุมงคลล้ำค่า และทองรูปพรรณ รวมทั้งโฉนดที่ดินจำนวนมาก แต่ได้รับการคัดค้านและขัดขวางจากกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวเป็นเครือญาติของหลวงปู่หงษ์ โดยการล้อกประตูคล้องโซ่กุญแจ จนทางวัดต้องไปแจ้งความจับผู้ขัดขวางที่สภ.ทุ่งมนในวันเดียวกัน ขณะที่ทรัพย์สินอื่นๆ อาทิ สุสานทุ่งมนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ที่หลวงปู่หงษ์ พัฒนาจากป่าช้าเป็นสุสานและใช้เป็นสถานที่ให้พุทธศาสนิกชนเข้าปฎิบัติธรรม อาคารบ้านเช่า รถยนต์ประมาณ 10-20 คัน บัญชีเงินฝาก และที่ดินอีกหลายพันไร่ ก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน ทางวัดได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 57 เพื่อให้มีคำสั่ง อายัดบัญชีเบื้องต้น 7 บัญชี วงเงิน 49 ล้านบาท เลขคดีดำที่ 588/57, 586/57, 587/57, 603/57, 604/57 และ 947/57 ฟ้องนายเสกสันต์ พรมมนุษย์ กับพวก อีก 6 คน อายัดเงินทั้งหมดเพื่อขอตรวจสอบ เบื้องต้นศาลแยกเป็น 2 คดี คดีแรก นัดตัดสินในวงเงิน 24 ล้านบาท ที่ตรวจสอบได้ในวันที่ 26 ธ.ค. นี้ เวลา 09.00 น. อีกทั้งเตรียมขออายัดโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์อีก 21 แปลง เนื้อที่นับพันไร่ใน จ. สุนิทร์ และจ. บุรีรัมย์ รวมทั้งสวนป่าอีกหลายร้อยไร่ เช่นกัน พร้อมจะดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์กับผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวนมากและจะฟ้องขับไล่ผู้ที่บุกรุกวัดและขัดขวางในการตรวจสอบทรัพย์สินในครั้งนี้ด้วย
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า บุคคลที่บวชพระถือเป็นบุคคลสาธารณะ ตามพ.ร.บ. สงฆ์ ขาดจากทางโลก ไม่เกี่ยวข้องกับญาติพี่น้อง เมื่อมรณภาพจึงต้องเรียกคืนทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของวัดและของแผนดินเพื่อนำมาใช้พัฒนาวัดและทำนุบำรุงพระศาสนา รวมทั้งใช้ในกิจของสงฆ์ ส่วนที่ดินก็ให้ตกเป็นของธรณีสงฆ์ ไม่ใช่เป็นที่ส่วนบุคคล การดำเนินการทั้งหมดทางวัดและกรรมการไม่ได้ทำเพื่อตัวเองแต่ทำเพื่อส่วนรวม เนื่องจากตรวจสอบพบว่า ทรัพย์สินทั้งหมดไม่มีชื่อเป็นของวัดแม้แต่รายการเดียว อย่างไรก็ตามแม้หลวงปู่หงษ์จะมรณภาพแล้วแต่ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธามาทำบุญที่วัดอย่างเนืองแน่น ล่าสุดการทอดผ้าป่าและทอดผ้ากฐินที่ผ่านมาได้ยอดเงินทำบุญไม่ต่ำกว่าครั้งละ 10 ล้านบาท แต่ทางวัดก็ไม่สามารถตรวจสอบว่ามีที่ไปอย่างไร สมบัติทุกชิ้นจึงควรตกเป็นของวัด ใครจะเป็นผู้ครอบครองไม่ได้ หวังว่าพุทธศาสนิกชนจะเข้าใจในการดำเนินการครั้งนี้ อย่าคิดว่าเปิดศึกชิงมรดกกันแต่อย่างใดเลย.
http://www.dailynews.co.th/
หลวงปู่หงษ์ไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือแสดงความประสงค์ให้ญาติโยมรู้ไว้ก่อนหรือครับว่าต้องการนำสมบัติทั้งหมดไปทำอะไร และการจัดเก็บทำบัญชีทรัพย์สินต่างๆ สมัยท่านยังอยู่ทำเป็นระบบระเบียบแค่ไหนอย่างไรครับ