จากมติชนออนไลน์
ร็อบ พาร์โด ผู้อำนวยการสร้างเกมคอมพิวเตอร์จากค่าย ′บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนท์′ และเป็นดีไซเนอร์ของเกมดังๆ อาทิ สตาร์คราฟท์ และบลัด วอร์ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า การแข่งขันวีดีโอเกมส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ′อี-สปอร์ตส์′ นั้นพัฒนาอย่างมากจากอดีตที่ผ่านมา จนมีผู้คนให้ความสนใจการแข่งขันดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่น่าจะมีการบรรจุการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ ลงไปในมหกรรมกีฬาระดับโลก รวมทั้งโอลิมปิกเกมส์
พาร์โด ระบุว่า ตนคิดว่าเมื่อทุกคนได้ดูการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ที่แท้จริงจากเหล่านักกีฬา (เล่นเกม) มืออาชีพ พวกเราจะเห็นถึงทักษะ ปฏิกิริยาตอบสนอง และการตัดสินใจที่รวดเร็วราวกับสายฟ้าของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การแข่งขันอี-สปอร์ตส์นั้นแตกต่างจากการแข่งขันกีฬาอื่นๆ ที่เอาชนะกันด้วยทักษะทางด้านร่างกาย แต่การแข่งขันชนิดนี้ ผู้เข้าแข่งขันต่างขับเคี่ยวและเอาชนะกันด้วยทักษะทางด้านสมอง
ในปัจจุบัน การแข่งขันอี-สปอร์ตส์ กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ผู้คน และประมาณการว่าสามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกได้นับล้านคน อาทิ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับเมเจอร์ครั้งล่าสุดที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีผู้เข้าชมการแข่งขันในสนามกว่า 40,000 คน และยังมีผู้ชมอีกจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกที่ดูการถ่ายทอดสดผ่านทางออนไลน์
ขณะที่การยื่นเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาบรรจุการแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตส์ ลงในรายชื่อกีฬาที่ยอมรับให้มีการแข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาตินั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เนื่องจากการจะอนุมัติให้มีการแข่งขันกีฬาใดก็ตาม ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาในหลายๆ ด้านอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งต่อให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากลรับพิจารณา ก็ไม่ได้หมายความว่าการแข่งขันอี-สปอร์ตส์จะถูกบรรจุลงในรายชื่อกีฬาที่จะมีการแข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับโลกแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้สนับสนุนจำนวนมากยังคงผลักดันให้คณะกรรมการโอลิมปิกบรรจุการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ ลงในรายชื่อกีฬาที่ได้รับการยอมรับโดยไอโอซี พร้อมกันนั้น ผู้พัฒนาวงการอี-สปอร์ตส์ ก็อาจจะต้องพยายามหามาตรการที่จะทำให้การแข่งขันเกมประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับการแข่งขันกีฬาทั่วๆ ไปให้มากที่สุด อาทิ การออกมาตรการป้องกันการใช้สารกระตุ้น เป็นต้น
ผู้สร้างเกมดังออกมารณรงค์ ให้ "อี-สปอร์ตส์" ถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิก
ร็อบ พาร์โด ผู้อำนวยการสร้างเกมคอมพิวเตอร์จากค่าย ′บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนท์′ และเป็นดีไซเนอร์ของเกมดังๆ อาทิ สตาร์คราฟท์ และบลัด วอร์ ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า การแข่งขันวีดีโอเกมส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ′อี-สปอร์ตส์′ นั้นพัฒนาอย่างมากจากอดีตที่ผ่านมา จนมีผู้คนให้ความสนใจการแข่งขันดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่น่าจะมีการบรรจุการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ ลงไปในมหกรรมกีฬาระดับโลก รวมทั้งโอลิมปิกเกมส์
พาร์โด ระบุว่า ตนคิดว่าเมื่อทุกคนได้ดูการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ที่แท้จริงจากเหล่านักกีฬา (เล่นเกม) มืออาชีพ พวกเราจะเห็นถึงทักษะ ปฏิกิริยาตอบสนอง และการตัดสินใจที่รวดเร็วราวกับสายฟ้าของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การแข่งขันอี-สปอร์ตส์นั้นแตกต่างจากการแข่งขันกีฬาอื่นๆ ที่เอาชนะกันด้วยทักษะทางด้านร่างกาย แต่การแข่งขันชนิดนี้ ผู้เข้าแข่งขันต่างขับเคี่ยวและเอาชนะกันด้วยทักษะทางด้านสมอง
ในปัจจุบัน การแข่งขันอี-สปอร์ตส์ กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ผู้คน และประมาณการว่าสามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกได้นับล้านคน อาทิ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับเมเจอร์ครั้งล่าสุดที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีผู้เข้าชมการแข่งขันในสนามกว่า 40,000 คน และยังมีผู้ชมอีกจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกที่ดูการถ่ายทอดสดผ่านทางออนไลน์
ขณะที่การยื่นเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาบรรจุการแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตส์ ลงในรายชื่อกีฬาที่ยอมรับให้มีการแข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาตินั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เนื่องจากการจะอนุมัติให้มีการแข่งขันกีฬาใดก็ตาม ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาในหลายๆ ด้านอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งต่อให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากลรับพิจารณา ก็ไม่ได้หมายความว่าการแข่งขันอี-สปอร์ตส์จะถูกบรรจุลงในรายชื่อกีฬาที่จะมีการแข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับโลกแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผู้สนับสนุนจำนวนมากยังคงผลักดันให้คณะกรรมการโอลิมปิกบรรจุการแข่งขันอี-สปอร์ตส์ ลงในรายชื่อกีฬาที่ได้รับการยอมรับโดยไอโอซี พร้อมกันนั้น ผู้พัฒนาวงการอี-สปอร์ตส์ ก็อาจจะต้องพยายามหามาตรการที่จะทำให้การแข่งขันเกมประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับการแข่งขันกีฬาทั่วๆ ไปให้มากที่สุด อาทิ การออกมาตรการป้องกันการใช้สารกระตุ้น เป็นต้น