สวัสดี ขอเชิญชวนทุกคนให้ร่วมลงชื่อสนับสนุน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ น้ะค้ะเพื่อให้เกิดช่องว่างมากขึ้นระหว่าง ยาสูบกับเยาวชน รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ใต้ลิงค์นี้น้ะค้ะ หากสวนใจลงชื่อ เข้าไปลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88?recruiter=199255301&utm_source=share_petition&utm_medium=facebook&utm_campaign=autopublish&utm_term=des-md-share_petition-no_msg
ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่เพื่อเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต ซึ่งต้องการการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยทุกคน
1. ข้อเท็จจริง
• กฎหมายบุหรี่ (พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่) ได้มีการบังคับใช้มากว่ายี่สิบปีแล้ว ในขณะที่บริษัทบุหรี่ได้พัฒนาเทคนิคการตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ทำให้มีผู้เสพติดบุหรี่รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
• ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมยาสูบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 179 รัฐภาคี ที่ต้องควบคุมการทำการตลาดของบริษัทบุหรี่
• จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ในปี พ.ศ.2556 ลดลงจากปี พ.ศ.2534 เพียงเล็กน้อย แต่แนวโน้มอัตราการสูบกลับสูงขึ้นในกลุ่มเยาวชนและสตรี จากสถิติพบว่าเยาวชนไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะติดไปตลอดชีวิต และใน 3 คนที่เหลือ ต้องสูบบุหรี่เฉลี่ย 20 ปีก่อนที่จะเลิกได้
2. ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
• แก้ไขคำนิยามให้ทันกับกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่
- คำว่า “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” ให้หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ ๆ อาทิ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่
- คำว่า “การโฆษณา” ให้ครอบคลุมการสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การใช้สื่อบุคคล “พริตตี้”
• เพิ่มมาตรการป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชน
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 18 ปี)
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ปัจจุบันมีนโยบายห้าม แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ)
- ห้ามขายบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน
- ห้ามแบ่งขายบุหรี่ซิกาแรตเป็นมวน ๆ (ปัจจุบันห้ามอยู่แล้ว แต่กฎหมายเขียนไว้ไม่ชัดเจน)
• เพิ่มข้อห้ามการโฆษณาทางอ้อม
- ห้ามการสื่อสารการตลาดในสื่อต่าง ๆ รวมถึงการใช้สื่อบุคคล (พริตตี้)
- ห้ามเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ “กิจกรรมเพื่อสังคม” (CSR) ของบริษัทบุหรี่ ในทุกสื่อ (ปัจจุบันห้ามเพียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์)
• เพิ่มมาตรการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก
- ห้ามส่วนราชการรับการอุปถัมภ์จากธุรกิจยาสูบ (ปัจจุบันห้ามโดยมติ ครม.)
- กำหนดลักษณะของจุดขายปลีกยาสูบ
- กำหนดให้บริษัทบุหรี่ต้องจัดส่งรายงานประจำปีให้คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ
- กำหนดแนวทางและขั้นตอนการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบริษัทบุหรี่ ในกรณีที่มีความจำเป็น
• เพิ่มมาตรการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่
- กำหนดให้ผู้ดำเนินการ (เจ้าของสถานที่สาธารณะ) มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่
- ปรับปรุงขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายเขตปลอดบุหรี่
• ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการควบคุมยาสูบในทุกระดับ
- กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับประเทศ และคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมยาสูบ
ทั้งนี้ เนื่องจากงานควบคุมยาสูบของประเทศไทย ยังขาดโครงสร้างองค์กรรัฐที่จะสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด ทั้ง ๆ ที่มีคนไทยที่สูบบุหรี่กว่าร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดในร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด
3. ผลดีของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
• มาตรการต่าง ๆ ที่ปรับปรุงจะมีผลทำให้
- จำนวนเยาวชนรายใหม่ที่เสพติดบุหรี่ลดลง
- จำนวนผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น
- รัฐบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มากขึ้น
• ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาควบคุมยาสูบได้และไม่ขัดต่อกฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์การการค้าโลก
• ตลาดบุหรี่ซิกาแรตจะไม่สามารถขยายตัวได้ หรือมีขนาดค่อย ๆ เล็กลง ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบจะขยายตลาดได้ยากขึ้น
พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เน้นควบคุมอุตสาหกรรมยาสูบ ไม่ให้สร้างการตลาดเพื่อดึงดูดให้เยาวชนสนใจยาสูบทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ การพัฒนารสชาติใหม่ ๆ การออกผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ การลดราคาด้วยการขายแยกซอง และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การส่งเสริมการขายที่ร้านค้าปลีก เช่น การโฆษณาที่จุดขาย ห้ามการตลาดด้วยสื่อต่าง รวมทั้งการใช้สื่อบุคคลเช่น พริตตี้ และการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ โดยไม่มีมาตราใดบังคับเกี่ยวกับการปลูกยาสูบหรือการขายใบยาสูบ
หาก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ คาดว่าจะส่งผลต่อการลดอุปสงค์ยาสูบของเยาวชนและป้องกันรายใหม่ปีละไม่ต่ำกว่า1 แสนคน ซึ่งจะลดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ได้เฉลี่ย 15,800 ล้านบาทต่อปี และแทบจะไม่กระทบรายได้ภาษีสรรพสามิตของกระทรวงการคลัง ที่ควรจะปรับอัตราตาค่าเงินเฟ้อทุกปี ซึ่งปัจจุบันเก็บภาษีบุหรี่ได้ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี เป็นสัดส่วนรายได้ภาษีจากบุหรี่นอกร้อยละ38 มาจากบุหรี่ภายในประเทศร้อยละ 62
ส่วนชาวไร่ผู้ปลูกใบยาสูบมีช่องทางการขายใบยาสูบหลายช่องทาง ตั้งแต่การขายให้โรงงานยาสูบมูลค่ากว่า 1,ุ600 ล้านบาทและการส่งออกมูลค่ากว่า 2,250 ล้านบาท ส่วนที่เหลือขายให้กับผู้ประกอบการยาเส้นภายในประเทศ ดังนั้น ชาวไร่จะได้รับผลกระทบจากการลดอุปสงค์ภายในประเทศไม่มาก และมีระยะเวลาในการปรับตัวไปปลูกพืชอื่นๆที่มีผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่าร่วมด้วย
มาตรการที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ล้วนเป็นมาตรการสากลที่กำหนดอยู่ในอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ ที่ประเทศไทยรวมทั้ง 178 ประเทศ เป็นรัฐภาคีและเป็นมาตรการที่ประเทศต่างๆ เขาทำกันอยู่แล้ว เพื่อคุ้มครองเยาวชนจากการเสพติดบุหรี่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังมีการขับเคลื่อนกฏหมายฉบับนี้ออกมา ก็ได้รับแรงต้านจากบริษัทบุหรี่ และนอมินีของบริษัทบุหรี่ ในนามของชมรมและสมาคมต่างๆ เราจึงอยากวิงวอนชาวไทยให้ร่วมกันลงชื่อสนับสนุน พรบ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่นี้ให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด
เชิญชวนร่วมกันลงชื่อสนับสนุน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
ขอบคุณค่ะ
https://www.change.org/p/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88?recruiter=199255301&utm_source=share_petition&utm_medium=facebook&utm_campaign=autopublish&utm_term=des-md-share_petition-no_msg
ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่เพื่อเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต ซึ่งต้องการการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยทุกคน
1. ข้อเท็จจริง
• กฎหมายบุหรี่ (พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่) ได้มีการบังคับใช้มากว่ายี่สิบปีแล้ว ในขณะที่บริษัทบุหรี่ได้พัฒนาเทคนิคการตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ทำให้มีผู้เสพติดบุหรี่รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
• ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมยาสูบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 179 รัฐภาคี ที่ต้องควบคุมการทำการตลาดของบริษัทบุหรี่
• จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ในปี พ.ศ.2556 ลดลงจากปี พ.ศ.2534 เพียงเล็กน้อย แต่แนวโน้มอัตราการสูบกลับสูงขึ้นในกลุ่มเยาวชนและสตรี จากสถิติพบว่าเยาวชนไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะติดไปตลอดชีวิต และใน 3 คนที่เหลือ ต้องสูบบุหรี่เฉลี่ย 20 ปีก่อนที่จะเลิกได้
2. ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
• แก้ไขคำนิยามให้ทันกับกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่
- คำว่า “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” ให้หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ ๆ อาทิ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่
- คำว่า “การโฆษณา” ให้ครอบคลุมการสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การใช้สื่อบุคคล “พริตตี้”
• เพิ่มมาตรการป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชน
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 18 ปี)
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ปัจจุบันมีนโยบายห้าม แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ)
- ห้ามขายบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน
- ห้ามแบ่งขายบุหรี่ซิกาแรตเป็นมวน ๆ (ปัจจุบันห้ามอยู่แล้ว แต่กฎหมายเขียนไว้ไม่ชัดเจน)
• เพิ่มข้อห้ามการโฆษณาทางอ้อม
- ห้ามการสื่อสารการตลาดในสื่อต่าง ๆ รวมถึงการใช้สื่อบุคคล (พริตตี้)
- ห้ามเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ “กิจกรรมเพื่อสังคม” (CSR) ของบริษัทบุหรี่ ในทุกสื่อ (ปัจจุบันห้ามเพียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์)
• เพิ่มมาตรการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก
- ห้ามส่วนราชการรับการอุปถัมภ์จากธุรกิจยาสูบ (ปัจจุบันห้ามโดยมติ ครม.)
- กำหนดลักษณะของจุดขายปลีกยาสูบ
- กำหนดให้บริษัทบุหรี่ต้องจัดส่งรายงานประจำปีให้คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ
- กำหนดแนวทางและขั้นตอนการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบริษัทบุหรี่ ในกรณีที่มีความจำเป็น
• เพิ่มมาตรการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่
- กำหนดให้ผู้ดำเนินการ (เจ้าของสถานที่สาธารณะ) มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่
- ปรับปรุงขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายเขตปลอดบุหรี่
• ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการควบคุมยาสูบในทุกระดับ
- กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับประเทศ และคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมยาสูบ
ทั้งนี้ เนื่องจากงานควบคุมยาสูบของประเทศไทย ยังขาดโครงสร้างองค์กรรัฐที่จะสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด ทั้ง ๆ ที่มีคนไทยที่สูบบุหรี่กว่าร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดในร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด
3. ผลดีของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
• มาตรการต่าง ๆ ที่ปรับปรุงจะมีผลทำให้
- จำนวนเยาวชนรายใหม่ที่เสพติดบุหรี่ลดลง
- จำนวนผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น
- รัฐบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มากขึ้น
• ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาควบคุมยาสูบได้และไม่ขัดต่อกฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์การการค้าโลก
• ตลาดบุหรี่ซิกาแรตจะไม่สามารถขยายตัวได้ หรือมีขนาดค่อย ๆ เล็กลง ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบจะขยายตลาดได้ยากขึ้น
พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เน้นควบคุมอุตสาหกรรมยาสูบ ไม่ให้สร้างการตลาดเพื่อดึงดูดให้เยาวชนสนใจยาสูบทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ การพัฒนารสชาติใหม่ ๆ การออกผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ การลดราคาด้วยการขายแยกซอง และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การส่งเสริมการขายที่ร้านค้าปลีก เช่น การโฆษณาที่จุดขาย ห้ามการตลาดด้วยสื่อต่าง รวมทั้งการใช้สื่อบุคคลเช่น พริตตี้ และการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ โดยไม่มีมาตราใดบังคับเกี่ยวกับการปลูกยาสูบหรือการขายใบยาสูบ
หาก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ คาดว่าจะส่งผลต่อการลดอุปสงค์ยาสูบของเยาวชนและป้องกันรายใหม่ปีละไม่ต่ำกว่า1 แสนคน ซึ่งจะลดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ได้เฉลี่ย 15,800 ล้านบาทต่อปี และแทบจะไม่กระทบรายได้ภาษีสรรพสามิตของกระทรวงการคลัง ที่ควรจะปรับอัตราตาค่าเงินเฟ้อทุกปี ซึ่งปัจจุบันเก็บภาษีบุหรี่ได้ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี เป็นสัดส่วนรายได้ภาษีจากบุหรี่นอกร้อยละ38 มาจากบุหรี่ภายในประเทศร้อยละ 62
ส่วนชาวไร่ผู้ปลูกใบยาสูบมีช่องทางการขายใบยาสูบหลายช่องทาง ตั้งแต่การขายให้โรงงานยาสูบมูลค่ากว่า 1,ุ600 ล้านบาทและการส่งออกมูลค่ากว่า 2,250 ล้านบาท ส่วนที่เหลือขายให้กับผู้ประกอบการยาเส้นภายในประเทศ ดังนั้น ชาวไร่จะได้รับผลกระทบจากการลดอุปสงค์ภายในประเทศไม่มาก และมีระยะเวลาในการปรับตัวไปปลูกพืชอื่นๆที่มีผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่าร่วมด้วย
มาตรการที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ล้วนเป็นมาตรการสากลที่กำหนดอยู่ในอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ ที่ประเทศไทยรวมทั้ง 178 ประเทศ เป็นรัฐภาคีและเป็นมาตรการที่ประเทศต่างๆ เขาทำกันอยู่แล้ว เพื่อคุ้มครองเยาวชนจากการเสพติดบุหรี่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังมีการขับเคลื่อนกฏหมายฉบับนี้ออกมา ก็ได้รับแรงต้านจากบริษัทบุหรี่ และนอมินีของบริษัทบุหรี่ ในนามของชมรมและสมาคมต่างๆ เราจึงอยากวิงวอนชาวไทยให้ร่วมกันลงชื่อสนับสนุน พรบ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่นี้ให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด