นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ให้ความเห็นสนับสนุนแนวคิดของนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะอนุคณะกรรมาธิการพิจารณากรอบจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ 3 เสนอวิธีการเลือกตั้งของไทยใหม่โดยยึดแบบของประเทศเยอรมนี
ไชยันต์ รัชชกูล
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เห็นด้วยอย่างมากว่า ควรจะเดินตามโมเดลการเลือกตั้งของเยอรมนี โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง คือ เยอรมนีเป็นสหพันธรัฐ แยกเลือกตั้งแต่ละรัฐ เหมือนปกครองดำเนินการด้วยตัวเอง แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยก็ขึ้นกับรัฐ หมายความว่ามหาวิทยาลัยยังขึ้นอยู่กับการบริหารงานของรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เหมือนกับตำรวจ เหมือนโรงพยาบาล เป็นการที่แต่ละรัฐสามารถบริหารกิจการภายในรัฐของตัวเองได้
ประเด็นที่สอง คือว่า ยังไม่มีประเทศไหนที่ทำ คือไม่ให้มีเสียงของพลเมืองที่ลงคะแนนเสียสูญเปล่า อันนี้คือหลักเลย ไม่ใช่ว่าแพ้หรือคะแนนน้อยกว่าแล้วจะหมดค่าไป อันนี้เป็นหลักการ เช่น ถ้าเราสมัคร ส.ส. เราได้เป็นคนที่ 2 สมมุติคนที่ 1 ได้ 50,000 เสียง แล้วคนที่ 2 ได้ 45,000 เสียง คนแรกก็ได้เป็น ส.ส.ไป แต่คนที่ 2 ก็ไม่ได้หมดความหมายเพราะแพ้ เขาไม่ละเลยเสียง 45,000 เสียง เขารวมเอาทั้งหมดของคนที่โหวตให้พรรคที่ 2 ไปรวมกัน แล้วก็คิดว่าควรจะได้ ส.ส. เท่าไร คือทำให้ทุกคะแนนเสียงมีค่าและไม่ถูกตัดทิ้ง พูดได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แม้กระทั่งอังกฤษก็ยังไม่ทำแบบนี้เลย
ไชยันต์ รัชชกูล - พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
เราต้องยกย่องเยอรมนีในแง่ที่ว่าได้บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่2เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่มากที่เยอรมนีพยายามที่คำนึงถึงคุณค่าของพลเมือง และไม่ให้พวกเผด็จการอย่างนาซีซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ มานำเยอรมนีให้เป็นเช่นนั้นอีก ที่ประเทศเยอรมนีก้าวหน้าทางด้านนี้ก็เพราะเกิดจากบทเรียนอันเจ็บปวดนี้
ประเทศไทยเอง คิดว่าสมควรจะเดินตามโมเดลการเลือกตั้งของเยอรมนี ถ้าเราคำนึงถึงคุณค่าเสียงของพลเมือง ซึ่งไม่ยากในทางเทคนิค แต่ยากตรงชนชั้นผู้ปกครองจะเห็นชอบ ยินยอมหรือไม่ ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากอะไร ความยากอยู่ที่ทัศนคติของชนชั้นนำทั้งเก่าและใหม่ในสังคมไทย ที่ไม่เชื่อในความเห็นและดุลพินิจของประชาชน อันนี้คือปัญหา อย่าว่าแต่เลือกตั้งแบบเยอรมนีเลย เลือกตั้งแบบพื้นๆ ก็ยังไม่เชื่อกันเลย
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนีดีกว่าระบบปัจจุบันที่ประเทศไทยใช้อยู่คือระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปหรือ Simple Majority ระบบนี้มีช่องว่างในเรื่องของการสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะมีเสียงประชาชนจำนวนหนึ่งถูกโยนทิ้งน้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 คน นาย ก. ได้รับ 4,000 เสียง นาย ข. ได้รับ 3,000 เสียง และนาย ค.ได้รับ 3,000 เสียง ในระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากนาย ก. ชนะการเลือกตั้ง เสียงนาย ข. และนาย ค. ไม่ถูกนับมาคิด หากรวมกันแล้วมีถึง 6,000 เสียง ระบบนี้จึงไม่ได้สะท้อนทุกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง จึงมีการหาวิธีที่จะให้ระบบการเลือกตั้งสะท้อนทุกเจตนารมณ์ของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี
นอกจากนี้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปยังก่อให้เกิดระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร การที่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงมากเป็นพิเศษ อาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรามักเรียกว่า "เผด็จการรัฐสภา" ซึ่งในปัจจุบันก็เกิดการตั้งคำถามของทั้งสองประเทศที่มีการใช้อยู่ว่า ควรมีการแก้ไขหรือไม่
ส่วนการเลือกตั้งแบบเยอรมนีจะทำให้เกิดลักษณะแบบหลายพรรคการเมือง แต่ก็เกิดคำถามในเรื่องเสถียรภาพการทำงานของฝ่ายบริหาร หากมีระบบหลายพรรค ในที่นี้ยังไม่ทราบรายละเอียดของคณะกรรมาธิการว่าต้องการให้เป็นไปในทิศทางใด จึงไม่สามารถที่จะตอบได้ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ดีกว่าระบบเดิม
***** นักวิชาการเชียร์ เลือกตั้ง นายก - ครม โดยตรงจากประชาชน ***** (อินทรีเเดง รีเทิร์น)
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ให้ความเห็นสนับสนุนแนวคิดของนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะอนุคณะกรรมาธิการพิจารณากรอบจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ 3 เสนอวิธีการเลือกตั้งของไทยใหม่โดยยึดแบบของประเทศเยอรมนี
ไชยันต์ รัชชกูล
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เห็นด้วยอย่างมากว่า ควรจะเดินตามโมเดลการเลือกตั้งของเยอรมนี โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง คือ เยอรมนีเป็นสหพันธรัฐ แยกเลือกตั้งแต่ละรัฐ เหมือนปกครองดำเนินการด้วยตัวเอง แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยก็ขึ้นกับรัฐ หมายความว่ามหาวิทยาลัยยังขึ้นอยู่กับการบริหารงานของรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เหมือนกับตำรวจ เหมือนโรงพยาบาล เป็นการที่แต่ละรัฐสามารถบริหารกิจการภายในรัฐของตัวเองได้
ประเด็นที่สอง คือว่า ยังไม่มีประเทศไหนที่ทำ คือไม่ให้มีเสียงของพลเมืองที่ลงคะแนนเสียสูญเปล่า อันนี้คือหลักเลย ไม่ใช่ว่าแพ้หรือคะแนนน้อยกว่าแล้วจะหมดค่าไป อันนี้เป็นหลักการ เช่น ถ้าเราสมัคร ส.ส. เราได้เป็นคนที่ 2 สมมุติคนที่ 1 ได้ 50,000 เสียง แล้วคนที่ 2 ได้ 45,000 เสียง คนแรกก็ได้เป็น ส.ส.ไป แต่คนที่ 2 ก็ไม่ได้หมดความหมายเพราะแพ้ เขาไม่ละเลยเสียง 45,000 เสียง เขารวมเอาทั้งหมดของคนที่โหวตให้พรรคที่ 2 ไปรวมกัน แล้วก็คิดว่าควรจะได้ ส.ส. เท่าไร คือทำให้ทุกคะแนนเสียงมีค่าและไม่ถูกตัดทิ้ง พูดได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แม้กระทั่งอังกฤษก็ยังไม่ทำแบบนี้เลย
ไชยันต์ รัชชกูล - พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
เราต้องยกย่องเยอรมนีในแง่ที่ว่าได้บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่2เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่มากที่เยอรมนีพยายามที่คำนึงถึงคุณค่าของพลเมือง และไม่ให้พวกเผด็จการอย่างนาซีซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ มานำเยอรมนีให้เป็นเช่นนั้นอีก ที่ประเทศเยอรมนีก้าวหน้าทางด้านนี้ก็เพราะเกิดจากบทเรียนอันเจ็บปวดนี้
ประเทศไทยเอง คิดว่าสมควรจะเดินตามโมเดลการเลือกตั้งของเยอรมนี ถ้าเราคำนึงถึงคุณค่าเสียงของพลเมือง ซึ่งไม่ยากในทางเทคนิค แต่ยากตรงชนชั้นผู้ปกครองจะเห็นชอบ ยินยอมหรือไม่ ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากอะไร ความยากอยู่ที่ทัศนคติของชนชั้นนำทั้งเก่าและใหม่ในสังคมไทย ที่ไม่เชื่อในความเห็นและดุลพินิจของประชาชน อันนี้คือปัญหา อย่าว่าแต่เลือกตั้งแบบเยอรมนีเลย เลือกตั้งแบบพื้นๆ ก็ยังไม่เชื่อกันเลย
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนีดีกว่าระบบปัจจุบันที่ประเทศไทยใช้อยู่คือระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปหรือ Simple Majority ระบบนี้มีช่องว่างในเรื่องของการสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะมีเสียงประชาชนจำนวนหนึ่งถูกโยนทิ้งน้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 คน นาย ก. ได้รับ 4,000 เสียง นาย ข. ได้รับ 3,000 เสียง และนาย ค.ได้รับ 3,000 เสียง ในระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากนาย ก. ชนะการเลือกตั้ง เสียงนาย ข. และนาย ค. ไม่ถูกนับมาคิด หากรวมกันแล้วมีถึง 6,000 เสียง ระบบนี้จึงไม่ได้สะท้อนทุกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง จึงมีการหาวิธีที่จะให้ระบบการเลือกตั้งสะท้อนทุกเจตนารมณ์ของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี
นอกจากนี้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปยังก่อให้เกิดระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร การที่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงมากเป็นพิเศษ อาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรามักเรียกว่า "เผด็จการรัฐสภา" ซึ่งในปัจจุบันก็เกิดการตั้งคำถามของทั้งสองประเทศที่มีการใช้อยู่ว่า ควรมีการแก้ไขหรือไม่
ส่วนการเลือกตั้งแบบเยอรมนีจะทำให้เกิดลักษณะแบบหลายพรรคการเมือง แต่ก็เกิดคำถามในเรื่องเสถียรภาพการทำงานของฝ่ายบริหาร หากมีระบบหลายพรรค ในที่นี้ยังไม่ทราบรายละเอียดของคณะกรรมาธิการว่าต้องการให้เป็นไปในทิศทางใด จึงไม่สามารถที่จะตอบได้ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ดีกว่าระบบเดิม