สวัสดีครับ
กระทู้ครั้งนี้ อาจจะไม่ได้มีสาระเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลเท่าไร (มีมาถามกันมากมายใน Tag ทีวีดิจิตอล และมีผู้รู้ช่วยตอบกันหลายท่านเลย ก็เลยไม่ได้ตอบอะไรมากมาย) แต่เอาสิ่งที่ผมไปเห็นมาแล้วคิดว่าน่าจะนำมาฝากให้สมาชิก Pantip ได้ดูกันเยอะ สวยๆงามๆ ในที่นี้ก็คือ Ident ปิด-เปิดสถานีโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่นครับ
ตามที่ทราบกันดี และผมเคยทำกระทู้เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับทีวีท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น (>>>
http://ppantip.com/topic/31057859 ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยอ่านไปแล้ว) ว่าสถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่น ถ้านับกันจริงๆ มีเป็นร้อยครับ แต่ท้องถิ่นในที่นี้ คือการอยู่กับเครือกับทางเครือข่ายฟรีทีวีใหญ่ในโตเกียว โดยแบ่งเป็น...
NHK = Nippon Hoso Kyokai = NHK (ช่องสาธารณะในญี่ปุ่น)
ANN = All-Nippon News Network = TV Asahi (ไม่เกี่ยวกับสายการบิน ANA นะครับ)
JNN = Japan News Network = TBS
NNN = Nippon News Network = NTV หรือ Nippon TV
FNN = Fuji News Network = Fuji TV
TXN (TX) = TV Tokyo Network = TV Tokyo
JAITS = Japanese Association of Independent Television Stations = ช่องท้องถิ่นที่ไม่ผูกกับเครือใดๆ
สถานีส่วนใหญ่ จะอยู่ตามแต่ละจังหวัด จังหวัดไหนไม่มี ก็ต้องรับสัญญาณจากจังหวัดข้างๆ (สถานีต้องไปตั้งเสาที่จังหวัดนั้นด้วยนะ) บางสถานีก็รับหลายเครือก็มี (สูงสุดคือ 3เครือ ต้องแบ่งเวลาออกอากาศกันยุ่งเลย) สำหรับฮอกไกโดจะพิเศษตรงที่ NHK G ในจังหวัดนี้ จะซอยย่อยเป็น 7 โซนบริการ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดมีขนาดใหญ่ถึง 8หมื่นตารางกิโลเมตร และประชากรกระจายตัว ไม่ได้กระจุกแต่ในซับโปโร
* ฟรีทีวีและวิทยุในญี่ปุ่น ถ้าจะอ้างอิงถึงตัวสถานีแต่ช่อง จะมีการอ้างอิงได้ 2แบบ จากทั้งชื่อสถานี และ Callsign ซึ่งจะมีให้ทุกสถานี (ญี่ปุ่นใช้ตัวอักษร 4ตัว นำหน้าด้วยตัว JOxx-xx ทีวีอนาล๊อกลงท้าย -TV, ทีวีดิจิตอล -DTV, FM -FM, AM -AM)
การทำงานของแต่ละสถานีนั้น ส่วนใหญ่จะรับรายการจากเครือที่ตัวเองอยู่ (รับจากโตเกียวหรือโอซาก้า) แล้วมาออกอากาศ จะออกอากาศตรงกับโตเกียวหรือจะปรับวันเวลาใหม่ก็แล้วแต่สถานี (แต่ถ้ารายการสด ก็จะตรงกันหมด) และจะมีรายการข่าวและทั่วไปจากท้องถิ่นแล้วแต่ทางสถานี (ส่วนมากไม่เกิน 4-6ชม. ต่อวัน โดยประมาณ) การดำเนินงานโดยรวม จึงมีการจัดการจากทางสถานีเองค่อนข้างมาก ไม่ต้องอิงกับสถานีหลักทางโตเกียวมาก แม้แต่ Ident ก็ไม่ต้องตามเค้า คิดเองได้ โลโก้คิดเองได้
สำหรับ Ident ปิด-เปิดสถานีในญี่ปุ่นนั้น ที่ผมได้หาจากใน Youtube ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องธรรมชาติและภูมิทัศน์ที่สวยงามของจังหวัดนั้นๆ บางสถานีก็จะเป็นตัวการ์ตูนน่ารักๆ บางสถานีก็จะเป็น Mascot ของสถานี บางสถานีจะเล่าเป็นเนื้อเรื่อง ความยาวส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1นาที (บางสถานีก็ 2นาที หรือ 1.30นาที) ผมก็จะยกตัวอย่างที่ผมคิดว่าสวยๆและน่าสนใจ มาให้ดูกันครับ (ถ้าจะหาใน Youtube ให้ใช้คำว่า オープニング สำหรับวิดีโอเปิดสถานี และ クロージング สำหรับวิดีโอปิดสถานี)
オープニング (Opening) = เปิดสถานี
* ช่วงเวลาของการเปิดสถานีในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 4.30-5.00น.
RKB (JNN ฟุกุโอกะ)
* อันนี้โชว์อุปกรณ์และความพร้อมของสถานีไปในตัว
MBS (JNN โอซาก้า)
KTV (FNN โอซาก้า)
SUN (JAITS เฮียวโกะ)
TV Asahi (ANN โตเกียว)
uhb (FNN ฮอกไกโด)
iTV (JNN เอฮิเมะ)
มาเน้นดูวิวดูธรรมชาติบ้าง...
WTV (JAITS วาคายามะ)
* ติดโอซาก้า แต่ธรรมชาตินี่สุดยอด โดยเฉพาะ Koyasan
RBC (JNN โอกินาวะ)
KAB (ANN คุมาโมโตะ)
NBS (FNN นากาโนะ)
KTK (NNN อิชิคาวะ)
SUT (JAITS ซิชุโอกะ)
* 12วินาทีแรก ภาพเหมือนกับตัวปิดสถานีของช่อง SBS (JNN ชิซุโอกะ)
クロージング (Closing) = ปิดสถานี
* ส่วนใหญ่สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นจะปิดสถานีประมาณ 3.00-4.00น. ซึ่งแปลว่าสถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่น จะปิดสถานีในแต่ละวันแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้นเอง (บางสถานีอาจจะ 2ชั่วโมง แต่บางสถานีแค่ครึ่งชั่วโมง ไม่มีเปิด 24ชั่วโมง)
ITC (FNN อิชิคาวะ)
* คาวะซัง เป็น Mascot ของทางสถานีที่มีชื่อเสียงมาก มีของที่ระลึกและคาเฟ่ของ Mascot ตัวนี้ด้วยนะเออ
อันนี้ความแตกต่างระหว่างระบบอนาล๊อกกับดิจิตอล ตอนปิดสถานี จะเห็นได้ว่าทีวีดิจิตอล (ฝั่งซ้าย) ลงท้าย Callsign ด้วย -DTV ส่วนอนาล๊อก (ฝั่งขวา) ลงท้าย Callsign ด้วย -TV
Fuji TV (FNN โตเกียว)
* สั้นๆ ง่ายๆ ช่องนี้เน้นล้ำอนาคตอยู่แล้ว ดูจากตึกของเค้าสิ
อันนี้รวม Closing ของช่องทีวีในโตเกียวครับ (แบ่งเป็นช่องเล็กๆ ทั้งหมด 8ช่อง)
BS-TBS (ช่องดาวเทียมของ TBS)
KBS (JAITS เกียวโต)
*ไม่เกี่ยวข้องกับช่อง KBS ของเกาหลีแต่อย่างใด ชื่อช่องนี้ย่อมาจาก Kyoto Broadcasting System
SUN (JAITS เฮียวโงะ)
KAB (ANN คุมาโมโตะ)
CBC (JNN นาโกย่า)
* ตัวท้ายเป็นของระบบอนาล๊อกครับ อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว
CTV (NNN นาโกย่า)
* อันนี้แอบหลอนนิดนึง
RKB (ANN ฟุกุโอกะ)
* เป็นตัวก่อนหน้า Opening ครับ ต่อเนื่องกัน
MBS (JNN โอซาก้า)
* คลิปตัวแรกเป็นของปี 2003-2011 ส่วนตัวสองปัจจุบัน ใช้ตัวเดียวกันกับ Opening ครับ
มาชมวิวและธรรมชาติกันต่อครับ...
FBC (NNN/ANN ฟุคุอิ)
BSN (JNN นีงาตะ)
KTV (FNN โอซาก้า)
TVh (TXN ฮอกไกโด)
KBC (ANN ฟุกุโอกะ)
* อันนี้เน้นเรื่องความรักครับ
SBS (JNN ชิซุโอกะ)
* ภูเขาไฟฟูจิล้วนๆ / ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ SBS ของเกาหลี ชื่อช่องนี้ย่อมาจาก Shizuoka Broadcasting System
RKC (NNN โคจิ)
BSS (JNN ทตโตริ)
* จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดในญี่ปุ่น (5แสนกว่าคน) กับพื้นที่ 3,507 ตร.กม.
NIB (NNN นางาซากิ)
* เป็นวิวกลางคืน ซึ่งถือว่าที่นี่มีวิวกลางคืนสวยที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
ปิดอนาล๊อกทีวี
สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นทั้งหมด มีแผนปิดทีวีอนาล๊อก (ภาคพื้นดินและดาวเทียม BS) พร้อมกันในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.2011 เวลา 12.00น. เพื่อขึ้นคำเตือนในการเปลี่ยนผ่าน (เฉพาะในระบบอนาล๊อก) และตัดสัญญาณถาวรเวลา 24.00น. แต่เนื่องจากเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี ค.ศ.2011
ทางกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งชาติ ต้องออกกฎให้สิทธิพิเศษเลื่อนปิดทีวีอนาล๊อกใน 3จังหวัด ในพื้นที่จังหวัดมิยากิ, อิวาเตะ และฟุคุชิมะ ให้เลื่อนเป็น 31 มีนาคม ค.ศ.2012 (ใช้รูปแบบเวลาเดิม คือ 12.00น. ขึ้นคำเตือน และ 24.00น. ตัดสัญญาณ) โดยประกาศใช้กฎนี้เป็นทางการเมื่อ 5 กรกฎาคม ค.ศ.2011
http://www.soumu.go.jp/main_sosiki/joho_tsusin/dtv/111207_1/pdf/120116_1.pdf
* หน่วยงานที่ดูแลด้านการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลในประเทศญี่ปุ่น (ภาคพื้นดิน, ดาวเทียม และเคเบิ้ล) คือหน่วยงาน DPA ที่จัดตั้งโดยกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งชาติ
ตอนปิดอนาล๊อกเวลาเที่ยงตรง บางช่องอาจจะจัดรายการพิเศษหรือช่วงพิเศษนับถอยหลังให้แล้วขึ้นเตือน บางช่องก็วิ่งโฆษณาของ DPA จนหมดแล้วขึ้นเตือน บางช่องก็ไม่ได้ทำรายการพิเศษหรือ Event พิเศษให้ แต่ก็ยังมีขึ้นนับถอยหลังที่มุมจอให้เหมือนกัน
วิดีโอตัวปิดอนาล๊อกตอนเที่ยงคืนของแต่ละสถานีนั้น ส่วนใหญ่จะใช้วิดีโอปิดอนาล๊อกตัวเก่า (ผ่านมาหลายสิบปี เค้าก็ทำวิดีโอปิดไว้หลายตัวนะ) บางสถานีก็ปิดแบบปกติแล้วตัดสัญญาณไปเลย แต่บางสถานีจะทำขึ้นมาใหม่เป็นพิเศษ เพื่อให้รำลึกถึงประวัติของสถานีสักเล็กน้อย
รวมปิดทีวีอนาล๊อกโซนโอซาก้า (คันไซ) (มุมขวาบนของคลิปไม่เกี่ยวกันนะครับ)
* 24.00น.
รวมปิดทีวีอนาล๊อกโซนโตเกียว (คันโต)
* 24.00น.
TVQ (TXN ฟุกุโอกะ)
* 12.00น.
HTB (ANN ฮอกไกโด)
* 12.00น.
CTV (NNN นาโกย่า)
* 24.00น. (วิดีโอตัวปิดเริ่มนาทีที่ 7.42)
ของช่องอื่นๆ มีอีกเยอะ มีให้ดูที่ User "Konata Izumi" ใน Youtube ครับ คลิปที่ชื่อนำหน้าด้วย Last shot of Japanese Analog TV (ผมไม่ใช่เจ้าของ User น่ะ ไม่มั่นใจว่าเจ้าของ User นี้เป็นคนไทยหรือเปล่า?)
>>>
https://www.youtube.com/user/RPGMusicdotOrg2/videos
-------------
ก็ถือว่า ได้เห็นอะไรแปลกใหม่นะครับ เกี่ยวกับเปิดปิดสถานี ที่ทางแต่ละสถานีเค้าก็ทำวิดีโอ หรือ Ident ออกมา ซึ่งก็ไม่ได้มีเฉพาะในญี่ปุ่น ทั่วโลกก็มี แต่อันนี้ผมเจาะเน้นญี่ปุ่น เพราะผมสนใจเป็นพิเศษ และดูแปลกตาดีครับ (ความชอบส่วนบุคคล) ของไทยผมไม่ค่อยได้เห็นแหะ เพราะไม่ได้นั่งดูจนถึงปิดสถานี (และสถานีส่วนใหญ่ในไทย เปิด 24 ชม. ด้วย) กระทู้ก็ยาว ตัวอักษรก็ใกล้เต็มละ งั้นก็ขอจบกระทู้แต่เพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ...
เอาวิดีโอ "ปิด-เปิดสถานีโทรทัศน์" และ "ปิดอนาล๊อก" ของช่องทีวีญี่ปุ่นมาให้ดูกันครับ
กระทู้ครั้งนี้ อาจจะไม่ได้มีสาระเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลเท่าไร (มีมาถามกันมากมายใน Tag ทีวีดิจิตอล และมีผู้รู้ช่วยตอบกันหลายท่านเลย ก็เลยไม่ได้ตอบอะไรมากมาย) แต่เอาสิ่งที่ผมไปเห็นมาแล้วคิดว่าน่าจะนำมาฝากให้สมาชิก Pantip ได้ดูกันเยอะ สวยๆงามๆ ในที่นี้ก็คือ Ident ปิด-เปิดสถานีโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่นครับ
ตามที่ทราบกันดี และผมเคยทำกระทู้เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับทีวีท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น (>>>http://ppantip.com/topic/31057859 ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยอ่านไปแล้ว) ว่าสถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่น ถ้านับกันจริงๆ มีเป็นร้อยครับ แต่ท้องถิ่นในที่นี้ คือการอยู่กับเครือกับทางเครือข่ายฟรีทีวีใหญ่ในโตเกียว โดยแบ่งเป็น...
NHK = Nippon Hoso Kyokai = NHK (ช่องสาธารณะในญี่ปุ่น)
ANN = All-Nippon News Network = TV Asahi (ไม่เกี่ยวกับสายการบิน ANA นะครับ)
JNN = Japan News Network = TBS
NNN = Nippon News Network = NTV หรือ Nippon TV
FNN = Fuji News Network = Fuji TV
TXN (TX) = TV Tokyo Network = TV Tokyo
JAITS = Japanese Association of Independent Television Stations = ช่องท้องถิ่นที่ไม่ผูกกับเครือใดๆ
สถานีส่วนใหญ่ จะอยู่ตามแต่ละจังหวัด จังหวัดไหนไม่มี ก็ต้องรับสัญญาณจากจังหวัดข้างๆ (สถานีต้องไปตั้งเสาที่จังหวัดนั้นด้วยนะ) บางสถานีก็รับหลายเครือก็มี (สูงสุดคือ 3เครือ ต้องแบ่งเวลาออกอากาศกันยุ่งเลย) สำหรับฮอกไกโดจะพิเศษตรงที่ NHK G ในจังหวัดนี้ จะซอยย่อยเป็น 7 โซนบริการ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดมีขนาดใหญ่ถึง 8หมื่นตารางกิโลเมตร และประชากรกระจายตัว ไม่ได้กระจุกแต่ในซับโปโร
* ฟรีทีวีและวิทยุในญี่ปุ่น ถ้าจะอ้างอิงถึงตัวสถานีแต่ช่อง จะมีการอ้างอิงได้ 2แบบ จากทั้งชื่อสถานี และ Callsign ซึ่งจะมีให้ทุกสถานี (ญี่ปุ่นใช้ตัวอักษร 4ตัว นำหน้าด้วยตัว JOxx-xx ทีวีอนาล๊อกลงท้าย -TV, ทีวีดิจิตอล -DTV, FM -FM, AM -AM)
การทำงานของแต่ละสถานีนั้น ส่วนใหญ่จะรับรายการจากเครือที่ตัวเองอยู่ (รับจากโตเกียวหรือโอซาก้า) แล้วมาออกอากาศ จะออกอากาศตรงกับโตเกียวหรือจะปรับวันเวลาใหม่ก็แล้วแต่สถานี (แต่ถ้ารายการสด ก็จะตรงกันหมด) และจะมีรายการข่าวและทั่วไปจากท้องถิ่นแล้วแต่ทางสถานี (ส่วนมากไม่เกิน 4-6ชม. ต่อวัน โดยประมาณ) การดำเนินงานโดยรวม จึงมีการจัดการจากทางสถานีเองค่อนข้างมาก ไม่ต้องอิงกับสถานีหลักทางโตเกียวมาก แม้แต่ Ident ก็ไม่ต้องตามเค้า คิดเองได้ โลโก้คิดเองได้
สำหรับ Ident ปิด-เปิดสถานีในญี่ปุ่นนั้น ที่ผมได้หาจากใน Youtube ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องธรรมชาติและภูมิทัศน์ที่สวยงามของจังหวัดนั้นๆ บางสถานีก็จะเป็นตัวการ์ตูนน่ารักๆ บางสถานีก็จะเป็น Mascot ของสถานี บางสถานีจะเล่าเป็นเนื้อเรื่อง ความยาวส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1นาที (บางสถานีก็ 2นาที หรือ 1.30นาที) ผมก็จะยกตัวอย่างที่ผมคิดว่าสวยๆและน่าสนใจ มาให้ดูกันครับ (ถ้าจะหาใน Youtube ให้ใช้คำว่า オープニング สำหรับวิดีโอเปิดสถานี และ クロージング สำหรับวิดีโอปิดสถานี)
オープニング (Opening) = เปิดสถานี
* ช่วงเวลาของการเปิดสถานีในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 4.30-5.00น.
RKB (JNN ฟุกุโอกะ)
* อันนี้โชว์อุปกรณ์และความพร้อมของสถานีไปในตัว
MBS (JNN โอซาก้า)
KTV (FNN โอซาก้า)
SUN (JAITS เฮียวโกะ)
TV Asahi (ANN โตเกียว)
uhb (FNN ฮอกไกโด)
iTV (JNN เอฮิเมะ)
มาเน้นดูวิวดูธรรมชาติบ้าง...
WTV (JAITS วาคายามะ)
* ติดโอซาก้า แต่ธรรมชาตินี่สุดยอด โดยเฉพาะ Koyasan
RBC (JNN โอกินาวะ)
KAB (ANN คุมาโมโตะ)
NBS (FNN นากาโนะ)
KTK (NNN อิชิคาวะ)
SUT (JAITS ซิชุโอกะ)
* 12วินาทีแรก ภาพเหมือนกับตัวปิดสถานีของช่อง SBS (JNN ชิซุโอกะ)
クロージング (Closing) = ปิดสถานี
* ส่วนใหญ่สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นจะปิดสถานีประมาณ 3.00-4.00น. ซึ่งแปลว่าสถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่น จะปิดสถานีในแต่ละวันแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้นเอง (บางสถานีอาจจะ 2ชั่วโมง แต่บางสถานีแค่ครึ่งชั่วโมง ไม่มีเปิด 24ชั่วโมง)
ITC (FNN อิชิคาวะ)
* คาวะซัง เป็น Mascot ของทางสถานีที่มีชื่อเสียงมาก มีของที่ระลึกและคาเฟ่ของ Mascot ตัวนี้ด้วยนะเออ
อันนี้ความแตกต่างระหว่างระบบอนาล๊อกกับดิจิตอล ตอนปิดสถานี จะเห็นได้ว่าทีวีดิจิตอล (ฝั่งซ้าย) ลงท้าย Callsign ด้วย -DTV ส่วนอนาล๊อก (ฝั่งขวา) ลงท้าย Callsign ด้วย -TV
Fuji TV (FNN โตเกียว)
* สั้นๆ ง่ายๆ ช่องนี้เน้นล้ำอนาคตอยู่แล้ว ดูจากตึกของเค้าสิ
อันนี้รวม Closing ของช่องทีวีในโตเกียวครับ (แบ่งเป็นช่องเล็กๆ ทั้งหมด 8ช่อง)
BS-TBS (ช่องดาวเทียมของ TBS)
KBS (JAITS เกียวโต)
*ไม่เกี่ยวข้องกับช่อง KBS ของเกาหลีแต่อย่างใด ชื่อช่องนี้ย่อมาจาก Kyoto Broadcasting System
SUN (JAITS เฮียวโงะ)
KAB (ANN คุมาโมโตะ)
CBC (JNN นาโกย่า)
* ตัวท้ายเป็นของระบบอนาล๊อกครับ อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว
CTV (NNN นาโกย่า)
* อันนี้แอบหลอนนิดนึง
RKB (ANN ฟุกุโอกะ)
* เป็นตัวก่อนหน้า Opening ครับ ต่อเนื่องกัน
MBS (JNN โอซาก้า)
* คลิปตัวแรกเป็นของปี 2003-2011 ส่วนตัวสองปัจจุบัน ใช้ตัวเดียวกันกับ Opening ครับ
มาชมวิวและธรรมชาติกันต่อครับ...
FBC (NNN/ANN ฟุคุอิ)
BSN (JNN นีงาตะ)
KTV (FNN โอซาก้า)
TVh (TXN ฮอกไกโด)
KBC (ANN ฟุกุโอกะ)
* อันนี้เน้นเรื่องความรักครับ
SBS (JNN ชิซุโอกะ)
* ภูเขาไฟฟูจิล้วนๆ / ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ SBS ของเกาหลี ชื่อช่องนี้ย่อมาจาก Shizuoka Broadcasting System
RKC (NNN โคจิ)
BSS (JNN ทตโตริ)
* จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดในญี่ปุ่น (5แสนกว่าคน) กับพื้นที่ 3,507 ตร.กม.
NIB (NNN นางาซากิ)
* เป็นวิวกลางคืน ซึ่งถือว่าที่นี่มีวิวกลางคืนสวยที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
ปิดอนาล๊อกทีวี
สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นทั้งหมด มีแผนปิดทีวีอนาล๊อก (ภาคพื้นดินและดาวเทียม BS) พร้อมกันในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.2011 เวลา 12.00น. เพื่อขึ้นคำเตือนในการเปลี่ยนผ่าน (เฉพาะในระบบอนาล๊อก) และตัดสัญญาณถาวรเวลา 24.00น. แต่เนื่องจากเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี ค.ศ.2011
ทางกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งชาติ ต้องออกกฎให้สิทธิพิเศษเลื่อนปิดทีวีอนาล๊อกใน 3จังหวัด ในพื้นที่จังหวัดมิยากิ, อิวาเตะ และฟุคุชิมะ ให้เลื่อนเป็น 31 มีนาคม ค.ศ.2012 (ใช้รูปแบบเวลาเดิม คือ 12.00น. ขึ้นคำเตือน และ 24.00น. ตัดสัญญาณ) โดยประกาศใช้กฎนี้เป็นทางการเมื่อ 5 กรกฎาคม ค.ศ.2011
http://www.soumu.go.jp/main_sosiki/joho_tsusin/dtv/111207_1/pdf/120116_1.pdf
* หน่วยงานที่ดูแลด้านการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลในประเทศญี่ปุ่น (ภาคพื้นดิน, ดาวเทียม และเคเบิ้ล) คือหน่วยงาน DPA ที่จัดตั้งโดยกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งชาติ
ตอนปิดอนาล๊อกเวลาเที่ยงตรง บางช่องอาจจะจัดรายการพิเศษหรือช่วงพิเศษนับถอยหลังให้แล้วขึ้นเตือน บางช่องก็วิ่งโฆษณาของ DPA จนหมดแล้วขึ้นเตือน บางช่องก็ไม่ได้ทำรายการพิเศษหรือ Event พิเศษให้ แต่ก็ยังมีขึ้นนับถอยหลังที่มุมจอให้เหมือนกัน
วิดีโอตัวปิดอนาล๊อกตอนเที่ยงคืนของแต่ละสถานีนั้น ส่วนใหญ่จะใช้วิดีโอปิดอนาล๊อกตัวเก่า (ผ่านมาหลายสิบปี เค้าก็ทำวิดีโอปิดไว้หลายตัวนะ) บางสถานีก็ปิดแบบปกติแล้วตัดสัญญาณไปเลย แต่บางสถานีจะทำขึ้นมาใหม่เป็นพิเศษ เพื่อให้รำลึกถึงประวัติของสถานีสักเล็กน้อย
รวมปิดทีวีอนาล๊อกโซนโอซาก้า (คันไซ) (มุมขวาบนของคลิปไม่เกี่ยวกันนะครับ)
* 24.00น.
รวมปิดทีวีอนาล๊อกโซนโตเกียว (คันโต)
* 24.00น.
TVQ (TXN ฟุกุโอกะ)
* 12.00น.
HTB (ANN ฮอกไกโด)
* 12.00น.
CTV (NNN นาโกย่า)
* 24.00น. (วิดีโอตัวปิดเริ่มนาทีที่ 7.42)
ของช่องอื่นๆ มีอีกเยอะ มีให้ดูที่ User "Konata Izumi" ใน Youtube ครับ คลิปที่ชื่อนำหน้าด้วย Last shot of Japanese Analog TV (ผมไม่ใช่เจ้าของ User น่ะ ไม่มั่นใจว่าเจ้าของ User นี้เป็นคนไทยหรือเปล่า?)
>>> https://www.youtube.com/user/RPGMusicdotOrg2/videos
-------------
ก็ถือว่า ได้เห็นอะไรแปลกใหม่นะครับ เกี่ยวกับเปิดปิดสถานี ที่ทางแต่ละสถานีเค้าก็ทำวิดีโอ หรือ Ident ออกมา ซึ่งก็ไม่ได้มีเฉพาะในญี่ปุ่น ทั่วโลกก็มี แต่อันนี้ผมเจาะเน้นญี่ปุ่น เพราะผมสนใจเป็นพิเศษ และดูแปลกตาดีครับ (ความชอบส่วนบุคคล) ของไทยผมไม่ค่อยได้เห็นแหะ เพราะไม่ได้นั่งดูจนถึงปิดสถานี (และสถานีส่วนใหญ่ในไทย เปิด 24 ชม. ด้วย) กระทู้ก็ยาว ตัวอักษรก็ใกล้เต็มละ งั้นก็ขอจบกระทู้แต่เพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ...