ผมเข้าใจว่า ช่วงไม่สบาย ก็จะหงุดหงิดไม่พอใจเป็นเรื่องธรรมดา เพราะผมก็เจออยู่ทุกวัน คนไข้ที่ไม่พอใจ ในการรักษา และก็มีแบบนี้ หลายๆ คนต่อวัน
แต่ ประโยคที่ว่า "คงอยากให้เป็นเยอะๆ จะได้ชาร์ตเยอะๆ" คือเพราะประเด็นปล่อยให้ไข้ขึ้นจาก 38.9 เป็น 39.1 และรอนาน 2 ชม.
ผมคิดว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลไหนจะปล่อยให้คนไข้รอ หากเป็นเพราะ ความจำเป็น และความเหมาะสม ต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในคนไข้แต่ละราย หากพบว่าคนไข้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน เช่น ไข้มีอาการชัก ซึมไม่รู้สึกตัว หรือมีสัญญาณชีพอื่น ที่ผิดปกติไป ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็วมากผิดปกติ ออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ หายใจเร็วมาก ก็อาจจะให้การรักษาไปก่อนเลย ไม่จำเป็นต้องรอระบบ
ระบบที่ว่า คือ การรอประวัติเวชระเบียน เพราะคนไข้บางรายอาจจะมีโรคประจำตัวหรือมีการแพ้ยา อีกทั้ง ได้เขียนประวัติการตรวจและการรักษา ไปด้วย ก่อนจะให้ยา จำเป็นต้องผ่านหลายกระบวนการ แม้เพียงแค่ยาพาราเซตามอล 1-2 เม็ด จะต้องผ่านการซักประวัติของพยาบาล และมีเจ้าหน้าที่ไปห้องยา และเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยามาให้ เพื่อให้ทั้งหมด ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดต่อคนไข้
จริงๆ แล้วการมีไข้ เป็นเพียงสัญญาณของร่างกายที่บอกว่า ร่างกายผิดปกติ และหากบางคนมั่นใจ จริงๆ แล้ว การกินยาพาราเซตามอล หรือการเช็ดตัว เป็นการดูแลตัวเอง ขั้นต้นอยู่แล้ว ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีในร้านสะดวกซื้อ สามารถกินได้เลย ก่อนมาโรงพยาบาลด้วยครับ ไม่ได้มีผลต่อการตรวจรักษาแต่อย่างใด
การมาโรงพยาบาลเพียงเพื่อขอให้ตัวเองมีไข้ที่ลดลงนั้น อาจจะไม่ง่าย บางโรคไข้ 5-7 วัน เช่นโรคไข้เลือดออก ขนาดรู้ว่าเป็นโรคนี้แล้ว แต่แพทย์ พยาบาล ก็ทำอะไรได้ไม่มาก ได้แค่ให้ยาพาราเซต เช็ดตัว รักษาตามอาการ ไม่ใช่แค่คนไข้ที่อดทน แพทย์และพยาบาลก็ต้องอดทน และให้กำลังใจคนไข้ไปด้วย จนกว่าไข้จะลดลง และคนไข้ปลอดภัย
หากคิดว่า ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ มีคนไข้ ที่มีไข้ เกินกว่า 39.1 แค่ รพ.ผมเล็กๆ 60 เตียง ยังมีไข้ เป็น 20 ราย ตรวจผู้ป่วยนอกต่อวัน 300 ราย มีไข้ 30 ราย สรุป 50 รายต่อวัน นะครับ ส่วนใหญ่ ส่วนมาก หรือเกือบทั้งหมด ก็จะหายดี ไม่ได้เสียชีวิต อย่างที่คนไข้ในข่าวกลัว
สรุป คงเป็นเพราะเรื่องทั้งหมดนี้เกิดจาก ความหงุดหงิดไม่พอใจของคนไข้ ทำให้มองทุกอย่าง ในแง่ลบไปหมด แค่กินยาลดไข้ช้า ก็กลัวจะเสียชีวิต คิดว่า รพ. จะทำให้ตัวเองอาการหนักจะได้ชาร์ตค่ารักษาพยาบาลแพงๆ มันก็เท่านั้นเอง หากลดความหงุดหงิดลง มองสิ่งรอบข้าง มองคนที่ไม่สบายข้างๆ ในห้องฉุกเฉิน คนไข้คนนี้ อาจจะสบายใจขึ้น ที่ได้มีโอกาสเข้าโรงพยาบาล ได้เข้าฉุกเฉิน สามารถได้นอนโรงพยาบาล เพราะผมจะบอกว่า มีคนไข้ที่ไข้สูงกว่า คนไข้ในข่าว แต่ไม่ได้รับการรักษาคล้ายคนไข้ในข่าวเลย
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141092
อยากชวนให้ความเห็น กรณี ข่าว “ต่าย” ยัวะ! โพสต์จวก รพ.ดัง ฉุนชาร์จเงินแพงแต่บริการแย่
แต่ ประโยคที่ว่า "คงอยากให้เป็นเยอะๆ จะได้ชาร์ตเยอะๆ" คือเพราะประเด็นปล่อยให้ไข้ขึ้นจาก 38.9 เป็น 39.1 และรอนาน 2 ชม.
ผมคิดว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลไหนจะปล่อยให้คนไข้รอ หากเป็นเพราะ ความจำเป็น และความเหมาะสม ต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในคนไข้แต่ละราย หากพบว่าคนไข้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน เช่น ไข้มีอาการชัก ซึมไม่รู้สึกตัว หรือมีสัญญาณชีพอื่น ที่ผิดปกติไป ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็วมากผิดปกติ ออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ หายใจเร็วมาก ก็อาจจะให้การรักษาไปก่อนเลย ไม่จำเป็นต้องรอระบบ
ระบบที่ว่า คือ การรอประวัติเวชระเบียน เพราะคนไข้บางรายอาจจะมีโรคประจำตัวหรือมีการแพ้ยา อีกทั้ง ได้เขียนประวัติการตรวจและการรักษา ไปด้วย ก่อนจะให้ยา จำเป็นต้องผ่านหลายกระบวนการ แม้เพียงแค่ยาพาราเซตามอล 1-2 เม็ด จะต้องผ่านการซักประวัติของพยาบาล และมีเจ้าหน้าที่ไปห้องยา และเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยามาให้ เพื่อให้ทั้งหมด ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดต่อคนไข้
จริงๆ แล้วการมีไข้ เป็นเพียงสัญญาณของร่างกายที่บอกว่า ร่างกายผิดปกติ และหากบางคนมั่นใจ จริงๆ แล้ว การกินยาพาราเซตามอล หรือการเช็ดตัว เป็นการดูแลตัวเอง ขั้นต้นอยู่แล้ว ซึ่งหาซื้อได้ง่าย มีในร้านสะดวกซื้อ สามารถกินได้เลย ก่อนมาโรงพยาบาลด้วยครับ ไม่ได้มีผลต่อการตรวจรักษาแต่อย่างใด
การมาโรงพยาบาลเพียงเพื่อขอให้ตัวเองมีไข้ที่ลดลงนั้น อาจจะไม่ง่าย บางโรคไข้ 5-7 วัน เช่นโรคไข้เลือดออก ขนาดรู้ว่าเป็นโรคนี้แล้ว แต่แพทย์ พยาบาล ก็ทำอะไรได้ไม่มาก ได้แค่ให้ยาพาราเซต เช็ดตัว รักษาตามอาการ ไม่ใช่แค่คนไข้ที่อดทน แพทย์และพยาบาลก็ต้องอดทน และให้กำลังใจคนไข้ไปด้วย จนกว่าไข้จะลดลง และคนไข้ปลอดภัย
หากคิดว่า ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ มีคนไข้ ที่มีไข้ เกินกว่า 39.1 แค่ รพ.ผมเล็กๆ 60 เตียง ยังมีไข้ เป็น 20 ราย ตรวจผู้ป่วยนอกต่อวัน 300 ราย มีไข้ 30 ราย สรุป 50 รายต่อวัน นะครับ ส่วนใหญ่ ส่วนมาก หรือเกือบทั้งหมด ก็จะหายดี ไม่ได้เสียชีวิต อย่างที่คนไข้ในข่าวกลัว
สรุป คงเป็นเพราะเรื่องทั้งหมดนี้เกิดจาก ความหงุดหงิดไม่พอใจของคนไข้ ทำให้มองทุกอย่าง ในแง่ลบไปหมด แค่กินยาลดไข้ช้า ก็กลัวจะเสียชีวิต คิดว่า รพ. จะทำให้ตัวเองอาการหนักจะได้ชาร์ตค่ารักษาพยาบาลแพงๆ มันก็เท่านั้นเอง หากลดความหงุดหงิดลง มองสิ่งรอบข้าง มองคนที่ไม่สบายข้างๆ ในห้องฉุกเฉิน คนไข้คนนี้ อาจจะสบายใจขึ้น ที่ได้มีโอกาสเข้าโรงพยาบาล ได้เข้าฉุกเฉิน สามารถได้นอนโรงพยาบาล เพราะผมจะบอกว่า มีคนไข้ที่ไข้สูงกว่า คนไข้ในข่าว แต่ไม่ได้รับการรักษาคล้ายคนไข้ในข่าวเลย
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141092