ฟาร์มเห็ดลัลณ์ลลิล สระบุรี ตอนพาดูงานเพาะเห็ดที่ไต้หวัน ตอนที่1

กระทู้สนทนา
ต้องขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะคับ เนื่องจากกระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผมหลังจากที่ไม่ได้โพสในพันทิยมากกว่า 4 - 5 ปี โดยหลังจากเลิกเป็นตากล้อง ก็ กลับมาอยู่บ้านแต่งงานและได้เริ่มทำอาชีพเพาะเห็ดขึ้น (สนใจโทรมาพูดคุยกันได้นะคับ) และ ได้มีโอกาสไปดูงานที่ไต้หวันเลย ลองนำมาเขียนเป็นบทความเพื่อแบ่งปันความรู้กันนะคับ
บทความแรกของกระทู้นี้คือพาไปเที่ยวฟาร์มเห็ดต่างแดนกันนะคับ ประเทศที่เราจะพาไปคือประเทศไต้หวัน เพราะว่าที่ประเทศไต้หวันที่อาชีพการเพาะเห็ดเจริญและก้าวหน้าไปไกลกว่าเรา ไม่ว่าจะเรื่องความรู้ การจัดการ และ การนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาร่วมด้วย ในฉบับที่แล้วทางผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในด้านเทคโนโลยการเกษตรของเห็ดในประเทศไต้หวันและประเทศไทย แต่ในฉบับนี้จะเขียนรวมๆ ไปด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการ การดูแลผลผลิต การนำมาแปรรูปและการทำเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ซื่งประเทศเราน่าลองนำมาประยุคเป็นแบบอย่างกัน
    จากทางที่ผู้เขียนได้มีโอกาศมาเที่ยวชมฟาร์มเห็ดที่ไต้หวันกับคณะสมาคมเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ในการมาเที่ยวชมฟาร์มเห็ดในครั้งนี้เราได้มีโอกาศเข้าไปดูฟาร์มใหย่ๆถึง 3 ฟาร์ม ฟาร์มใหญ่ทั้งสามฟาร์มมีขนาดใหญ่ และ อุปกรณ์เครื่องจักรหนักมาใช้ร่วม เพื่อลดต้นทุนในด้านแรงงานลง ซึ่งทุกๆ คนคงทราบอยู่แล้วว่าค่าแรงในประเทศไต้หวันค่อนข้างสูง ดันนั้นการลดต้นทุนค่าแรงลงได้ ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุนในระยะยาวได้อย่างดี      
    ฟาร์มต่อไปที่เราจะพาไปคือฟาร์มเห็ดหอมที่มีขนาดใหญ่อีกที่นึง มีโรงเรือนทำก้อนขนาดใหญ่ กำลังการผลิตมากกว่า 1 หมื่นก้อนต่อวัน ใช้การลำเลียงแบบระบบ ราง วิ่งจากแหล่งทำก้อนไปยังเตานึ่ง จนไปสุดที่ห้องหยอดเขื้อ และได้มีการลำเลียงส่งต่อไปยัง โรงบ่มก้อนขนาดใหญ่ที่ต้องใช้รถหกล้อขนลำเลียงไปยังโรงบ่มที่สามารถบ่มก้อนได้มากว่า แสนก้อน  ก่อนที่จะนำไปเปิดดอกเองและนำส่งลูกฟาร์มที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ฟาร์มเล็กๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้นำก้อนจากแหล่งผลิตแห่งนี้นำไปเปิดดอก และทางฟาร์มรับประกันการซื้อดอกคืน ทั้งหมด ทางผู้เขียนได้ยินมาว่า ฟาร์มชาวบ้านขนาดเล็กๆ ของเค้าก็เปิดก้อนเห็ดหอมมากกว่า แสนก้อน  โดนไม่ได้ทำก้อนเอง เหตุผล เพราะว่า ไม่ต้องมาลงทุนเครื่องจักรในการทำก้อนให้เปลืองเงินลงทุน และทางฟาร์มเห็ดที่เป็นแหล่งผลิตก้อนก็รับซื้อดอกเห็ดทั้งหมดในราคาที่พีงพอใจ ดังนั้นการรับก้อนมาปลูกให้เป็นดีที่สุด อาจจะมีอีกเหตุผลนึงคือ ทางผู้รับซื้อก็ไม่ได้กดราคาดอกเห็ดที่ซื้อกลับมากจนรู้สึกเอาเปรียบก็เป็ฯได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทย ฟาร์มเห็ดทำก้อนขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มักจะขายขาด ไม่ได้รับซื้อดอกเห็ดคืน หรือ การรับคืนก็จะมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย  และส่วนมากมักจะโดนกดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง จนผู้เปิดดอกเองจากการซื้อก้อนมา มักจะได้กำไรไม่เท่าที่ควร หรือ บางครั้งอาจจะขาดทุนซะด้วยซ้ำ ช่องว่างตรงนี้เอง ที่อาจเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้ วงการผู้เพาะเห็ดในประเทศไทยไม่เดินไปข้างหน้าเท่าที่ควร จริงๆ แล้วการให้ความรู้แก่ฟาร์มเห็ดที่สนใจนำก้อนเราไปเปิดดอกนั้นจำเป็นมากๆ เพราะจะได้ให้เค้ารู้ถึงการดูแล ก้อนเห็ดและดอกเห็ดอย่างถูกวิธี ถ้าฟาร์มเห็ดหรือเกษตรกรที่นำก้อนเราไปเปิดดอก มีความรู้ที่ถูกต้องและปฎิบัตถูกต้องก็อาจจะทำให้ อาชีพเพาะเห็ดเดินไปข้างหน้าได้ดีกว่านี้ แต่ทุกวันนี้ฟาร์มใหญ่ๆที่ทำก้อนเชื้อขายมักจะไม่มีความรู้ในเรื่องการเปิดดอกหรือการดูแลดอกเห็ดในชนิดนั้นๆอย่างแท้จริง อาจจะเก่งและชำนาญในการทำก้อนเชื้อเห็ดจริงๆ แต่ก็ไม่ได้มีประสบกาณ์ในการดูแลดอกเห็ดจริงๆ ก็ได้ แต่ก็อาจจะไม่เสมอไปนะคับ มีหลายๆฟาร์มที่ผู้เขียนรู้จัก ก็มีทั้งจำหน่ายก่อนและเปิดดอกเห็ดเอง มีความรู้รอบด้านและพร้อมที่จะให้ความรู้ แต่บางครั้งตัวผู้ซื้อก้อนเห็ดไปเพาะมักคิดว่าง่ายและไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ให้มากเท่าที่ควรจนนำไปถึงความเสียหายในอนาคตได้ซึ่งเป็นเหตุจากผู้นำก้อนไปเปิดดอกเอง
    นำออกนอกเรื่องไปไกลเรากลับไปประเทศไต้หวันต่อดีกว่า หลังจากที่ฟาร์มแห่งนี้รับซื้อกลับมาแล้วก็ ยังนำมาแปรรูปโดยการอบแห้ง และนำไปจำหน่ายอีกทีนึง สิ่งนึงที่ทางผู้เขียนเห็น หัวเชื้อหรือที่ไต้หวันไม่ได้ใช้เมล็ดข้าวฟ่างในการหยอด แต่ใช้ลัษณะหัวเชื้อขี้เลื่อยต่อขี้เลื่อยซะมากกว่า พูดถึงหัวเชื้อ จริงๆแล้วในสมัยก่อนไทยเราก็ได้มีการต่อหัวเชื้อในแบบ ขี้เลื่อยต่อขี่เลื่อยกันมาแล้ว แต่อาจะเป็นเพราะไม่สะดวกในการใช้งานหรือเหตุผลอื่นๆ จึงลดความนิยมลงและหันมาใช้หัวเชื้อข้าวฟ่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อทางผู้เขียนได้เดินไปเรื่อยในฟาร์ม ผู้เขียนถึงกับตกใจเพราะบริเวณหลังฟาร์มเป็นสถานที่เก็บขี้เลื่อยของทางฟาร์มเห็ดมีขนาดใหญ่และเยอะมาก พอๆ กับภูเขาลูกเล็กๆ หลายๆลูก มีรถตักวิ่งไปวิ่งมาคอยกลับกองและมีการฉีดน้ำหนักอยู่ทุกๆวัน  เท่าที่ทางผู้เขียนทราบมาคือ ขี้เลื่อยในประเทศไต้หวันไม่ได้ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่เป็นขี้เลื่อยไม้ฉำฉา และขี้เลื่อยที่เราเห็ดนั้นจิงๆ แล้วอาจจะไม่ใช้ขี้เลื่อย แต่เป็นการป่นไม้ทั้งต้นให้ละเอียดเหมือนขี้เลื่อยแล้วนำมาใช้ทำเห็ดโดนเฉพาะทั้งต้น ซึ้งต่างจากเมืองไทยที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเป็นขี้เลื่อยจริงๆ ที่ได้หลังจากการเลื่อยไม้เป็นท่อนๆออกมาพร้อมนำไปแปรรูป ก่อนที่ทางฟาร์มไต้หวันจะนำกองขี้เลื่อยเหล่านี้ไปใช้ก็ต้องมีการหมักก่อนใช้ทุกครั้ง เท่าที่ทราบที่ประเทศไต้หวันไมได้ใช้ EM เหมือนบ้านเราแต่เค้าใช้ นมเปรียวหมักเลี้ยงจุลินทรีย์ แล้วนำไปใช้ในขบวนการช่วยย่อยสลายในกองขี้เลื่อย แล้วใช้รถตักขนาดใหญ่ตักเข้าเครื่องผสมซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่แพ้กัน เครื่องจักรในการทำก้อนเห็ดหอมในฟาร์มนี้บทความแรกของกระทู้นี้คือพาไปเที่ยวฟาร์มเห็ดต่างแดนกันนะคับ ประเทศที่เราจะพาไปคือประเทศไต้หวัน เพราะว่าที่ประเทศไต้หวันที่อาชีพการเพาะเห็ดเจริญและก้าวหน้าไปไกลกว่าเรา ไม่ว่าจะเรื่องความรู้ การจัดการ และ การนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาร่วมด้วย ในฉบับที่แล้วทางผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในด้านเทคโนโลยการเกษตรของเห็ดในประเทศไต้หวันและประเทศไทย แต่ในฉบับนี้จะเขียนรวมๆ ไปด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการ การดูแลผลผลิต การนำมาแปรรูปและการทำเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ซื่งประเทศเราน่าลองนำมาประยุคเป็นแบบอย่างกัน
    จากทางที่ผู้เขียนได้มีโอกาศมาเที่ยวชมฟาร์มเห็ดที่ไต้หวันกับคณะสมาคมเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ในการมาเที่ยวชมฟาร์มเห็ดในครั้งนี้เราได้มีโอกาศเข้าไปดูฟาร์มใหย่ๆถึง 3 ฟาร์ม ฟาร์มใหญ่ทั้งสามฟาร์มมีขนาดใหญ่ และ อุปกรณ์เครื่องจักรหนักมาใช้ร่วม เพื่อลดต้นทุนในด้านแรงงานลง ซึ่งทุกๆ คนคงทราบอยู่แล้วว่าค่าแรงในประเทศไต้หวันค่อนข้างสูง ดันนั้นการลดต้นทุนค่าแรงลงได้ ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุนในระยะยาวได้อย่างดี      
    ฟาร์มต่อไปที่เราจะพาไปคือฟาร์มเห็ดหอมที่มีขนาดใหญ่อีกที่นึง มีโรงเรือนทำก้อนขนาดใหญ่ กำลังการผลิตมากกว่า 1 หมื่นก้อนต่อวัน ใช้การลำเลียงแบบระบบ ราง วิ่งจากแหล่งทำก้อนไปยังเตานึ่ง จนไปสุดที่ห้องหยอดเขื้อ และได้มีการลำเลียงส่งต่อไปยัง โรงบ่มก้อนขนาดใหญ่ที่ต้องใช้รถหกล้อขนลำเลียงไปยังโรงบ่มที่สามารถบ่มก้อนได้มากว่า แสนก้อน  ก่อนที่จะนำไปเปิดดอกเองและนำส่งลูกฟาร์มที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ฟาร์มเล็กๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้นำก้อนจากแหล่งผลิตแห่งนี้นำไปเปิดดอก และทางฟาร์มรับประกันการซื้อดอกคืน ทั้งหมด ทางผู้เขียนได้ยินมาว่า ฟาร์มชาวบ้านขนาดเล็กๆ ของเค้าก็เปิดก้อนเห็ดหอมมากกว่า แสนก้อน  โดนไม่ได้ทำก้อนเอง เหตุผล เพราะว่า ไม่ต้องมาลงทุนเครื่องจักรในการทำก้อนให้เปลืองเงินลงทุน และทางฟาร์มเห็ดที่เป็นแหล่งผลิตก้อนก็รับซื้อดอกเห็ดทั้งหมดในราคาที่พีงพอใจ ดังนั้นการรับก้อนมาปลูกให้เป็นดีที่สุด อาจจะมีอีกเหตุผลนึงคือ ทางผู้รับซื้อก็ไม่ได้กดราคาดอกเห็ดที่ซื้อกลับมากจนรู้สึกเอาเปรียบก็เป็ฯได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทย ฟาร์มเห็ดทำก้อนขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มักจะขายขาด ไม่ได้รับซื้อดอกเห็ดคืน หรือ การรับคืนก็จะมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย  และส่วนมากมักจะโดนกดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง จนผู้เปิดดอกเองจากการซื้อก้อนมา มักจะได้กำไรไม่เท่าที่ควร หรือ บางครั้งอาจจะขาดทุนซะด้วยซ้ำ ช่องว่างตรงนี้เอง ที่อาจเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้ วงการผู้เพาะเห็ดในประเทศไทยไม่เดินไปข้างหน้าเท่าที่ควร จริงๆ แล้วการให้ความรู้แก่ฟาร์มเห็ดที่สนใจนำก้อนเราไปเปิดดอกนั้นจำเป็นมากๆ เพราะจะได้ให้เค้ารู้ถึงการดูแล ก้อนเห็ดและดอกเห็ดอย่างถูกวิธี ถ้าฟาร์มเห็ดหรือเกษตรกรที่นำก้อนเราไปเปิดดอก มีความรู้ที่ถูกต้องและปฎิบัตถูกต้องก็อาจจะทำให้ อาชีพเพาะเห็ดเดินไปข้างหน้าได้ดีกว่านี้ แต่ทุกวันนี้ฟาร์มใหญ่ๆที่ทำก้อนเชื้อขายมักจะไม่มีความรู้ในเรื่องการเปิดดอกหรือการดูแลดอกเห็ดในชนิดนั้นๆอย่างแท้จริง อาจจะเก่งและชำนาญในการทำก้อนเชื้อเห็ดจริงๆ แต่ก็ไม่ได้มีประสบกาณ์ในการดูแลดอกเห็ดจริงๆ ก็ได้ แต่ก็อาจจะไม่เสมอไปนะคับ มีหลายๆฟาร์มที่ผู้เขียนรู้จัก ก็มีทั้งจำหน่ายก่อนและเปิดดอกเห็ดเอง มีความรู้รอบด้านและพร้อมที่จะให้ความรู้ แต่บางครั้งตัวผู้ซื้อก้อนเห็ดไปเพาะมักคิดว่าง่ายและไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ให้มากเท่าที่ควรจนนำไปถึงความเสียหายในอนาคตได้ซึ่งเป็นเหตุจากผู้นำก้อนไปเปิดดอกเอง
    นำออกนอกเรื่องไปไกลเรากลับไปประเทศไต้หวันต่อดีกว่า หลังจากที่ฟาร์มแห่งนี้รับซื้อกลับมาแล้วก็ ยังนำมาแปรรูปโดยการอบแห้ง และนำไปจำหน่ายอีกทีนึง สิ่งนึงที่ทางผู้เขียนเห็น หัวเชื้อหรือที่ไต้หวันไม่ได้ใช้เมล็ดข้าวฟ่างในการหยอด แต่ใช้ลัษณะหัวเชื้อขี้เลื่อยต่อขี้เลื่อยซะมากกว่า พูดถึงหัวเชื้อ จริงๆแล้วในสมัยก่อนไทยเราก็ได้มีการต่อหัวเชื้อในแบบ ขี้เลื่อยต่อขี่เลื่อยกันมาแล้ว แต่อาจะเป็นเพราะไม่สะดวกในการใช้งานหรือเหตุผลอื่นๆ จึงลดความนิยมลงและหันมาใช้หัวเชื้อข้าวฟ่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อทางผู้เขียนได้เดินไปเรื่อยในฟาร์ม ผู้เขียนถึงกับตกใจเพราะบริเวณหลังฟาร์มเป็นสถานที่เก็บขี้เลื่อยของทางฟาร์มเห็ดมีขนาดใหญ่และเยอะมาก พอๆ กับภูเขาลูกเล็กๆ หลายๆลูก มีรถตักวิ่งไปวิ่งมาคอยกลับกองและมีการฉีดน้ำหนักอยู่ทุกๆวัน  เท่าที่ทางผู้เขียนทราบมาคือ ขี้เลื่อยในประเทศไต้หวันไม่ได้ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่เป็นขี้เลื่อยไม้ฉำฉา และขี้เลื่อยที่เราเห็ดนั้นจิงๆ แล้วอาจจะไม่ใช้ขี้เลื่อย แต่เป็นการป่นไม้ทั้งต้นให้ละเอียดเหมือนขี้เลื่อยแล้วนำมาใช้ทำเห็ดโดนเฉพาะทั้งต้น ซึ้งต่างจากเมืองไทยที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเป็นขี้เลื่อยจริงๆ ที่ได้หลังจากการเลื่อยไม้เป็นท่อนๆออกมาพร้อมนำไปแปรรูป ก่อนที่ทางฟาร์มไต้หวันจะนำกองขี้เลื่อยเหล่านี้ไปใช้ก็ต้องมีการหมักก่อนใช้ทุกครั้ง เท่าที่ทราบที่ประเทศไต้หวันไมได้ใช้ EM เหมือนบ้านเราแต่เค้าใช้ นมเปรียวหมักเลี้ยงจุลินทรีย์ แล้วนำไปใช้ในขบวนการช่วยย่อยสลายในกองขี้เลื่อย แล้วใช้รถตักขนาดใหญ่ตักเข้าเครื่องผสมซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่แพ้กัน เครื่องจักรในการทำก้อนเห็ดหอมในฟาร์มนี้  (คอยติดตามต่อตอนที่2)
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638660.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638642.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638657.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638652.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638647.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638654.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638676.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638663.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638667.jpg
http://upload.siamza.com/file_upload/modify/071214/1638658.jpg
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่