ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายของอุตสาหกรรมประมงไทยโดยเฉพาะกุ้ง เพราะปัญหาอุปสรรคที่ต้องเผชิญนั้นนอกจากปัญหาจากธรรมชาติและโรคระบาดที่ยากจะควบคุมแล้ว ยังมีเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า (Unfair Trade Practice) อีกด้วย เริ่มจากข้อกล่าวหาการใช้แรงงานทาส การทำประมงที่ผิดกฏหมาย ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นข้ออ้างที่ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ยกขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barrier) มาใช้กีดกันการนำเข้าจากประเทศไทย แรงงานประมง
ขอยกตัวอย่างล่าสุดและเป็นกรณีเร่งด่วนของประเทศไทย กล่าวคือ สินค้าประมงไทยต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันและการปฏิบัติไม่เป็นธรรมทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งตลาดทั้งสองแห่งนี้เป็นผู้นำเข้ากุ้งไทยรายใหญ่ โดยสหภาพยุโรปส่งสัญญาณเตือนไทยว่า ยังไม่เข้มงวดในการดำเนินการขจัดการทำประมงที่ผิดกฏหมาย ตามระเบียบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึ่งส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและแรงงาน กรณีนี้อาจทำให้ไทยตกอยู่ในสถานะประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าโดน “ใบเหลือง” ถือเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าระยะสั้น เพราะอียู จะให้เวลา 6 เดือนกับประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนปรังปรุงวิธีการ การตรวจสอบและกฏหมายให้มีความเข้มข้นและเข็มแข็งในการบังคับใช้ให้มากขึ้นสอดคล้องกับข้อเรียกร้องตามมาตรฐานสากลและประเทศผู้นำเข้า หลังจากระยะเวลาดังกล่าว หากไทยไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว อียูจะมีการประกาศ “ใบแดง” กับประเทศไทยนั่นหมายความว่า อียู จะระงับการนำเข้าสินค้าประมงของไทยได้ในที่สุด
นอกจากนี้ อียูประกาศจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกรกร (GSP) จากสินค้าไทย ซึ่งกุ้งเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย และจะส่งผลกระทบตรงต่อส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาดอียู โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหายไปทันทีจำนวน 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้ากุ้งสดจาก 4.2% เป็น 12% และสินค้ากุ้งต้มสุกจาก 7% เป็น 20% จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของกุ้งไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีดังกล่าว
อีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอียูไม่นาน แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการใช้แรงงานบนเรือประมงเช่นกัน เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศลดระดับประเทศไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report - Trafficking in Persons Report) ประจำปี 2014 ให้ตกลงไปอยู่ในบัญชีกลุ่ม Tier 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด จากปัญหาแรงงานทาสบนเรือประมง ส่งผลกระทบให้ “กุ้งไทย” ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดนี้ได้ระยะหนึ่ง ทั้งๆที่กุ้งไทยเป็นผลผลิตที่เกิดจากการเลี้ยงจากฟาร์มประมาณ 90% ไม่ใช่กุ้งทะเลที่จับโดยแรงงานบนเรือประมง แม้ไทยจะแก้ข้อกล่าวหานี้ได้ สหรัฐยังมีความพยายามผูกโยงว่ากุ้งที่เลี้ยงในฟาร์มก็กินอาหารที่มาจากปลาตัวเล็กตัวน้อยที่นำไปทำเป็นปลาป่นนั้นได้มาจากแรงงานบนเรือประมงเป็นผู้จับมาเช่นกัน แม้ว่าในความเป็นจริงปลาป่นจะเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยไม่ถึง 10% ของอาหารกุ้ง ต่อกรณีสหรัฐนี้ แม้ไทยยังสามารถส่งออกกุ้งได้ตามปกติ แต่ก็ต้องระมัดระวังและปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
เป็นที่น่าสังเกตุว่าการกีดกันทางการค้าทั้งจากอียูและสหรัฐ แม้จะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยมุ่งประเด็นไปที่การทำประมง แต่การกีดกันทางการค้ามีการพุ่งเป้ามาที่สินค้ากุ้ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงน้อยมากตามที่ได้ให้เหตุผลไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ การผลิตกุ้งของไทยและหลายประเทศในเอเซียยังประสบภาวะอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome หรือ EMS) และโรคตัวแดงดวงขาว มาเกือบ 2 ปีแล้ว สมาคมกุ้งไทย รายงานว่า EMS ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตกุ้งหายไปกว่า 50% จากปี 2012 ที่มีผลผลิต 540,000 ตัน เหลือเพียง 250,000 ตันในปี 2013 โดยมูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันลดลงจาก 3,075 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 92,250 ล้านบาท) เหลือ 2,169 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 65,070 ล้านบาท) ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนของไทยทั้งรัฐและเอกชนต่างก็พยายามร่วมมือกันหาหนทางแก้ปัญหา ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน EMS เริ่มคลี่คลายและคาดว่าปริมาณผลผลิตจะกลับมาสู่ภาวะปกติในไม่ช้า
สำหรับมูลค่าการส่งออกกุ้งไทย ระหว่าง มกราคม-สิงหาคม ปีนี้ ลดลงมาเหลือเพียง 36,910 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ส่งออกได้ 41,766 ล้านบาท ตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนอกจากเป็นผลมาจากปัญหาผลผลิตที่น้อยลงแล้ว ยังเกิดจากการกีดกันทางการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย
จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ประเมินได้ว่าหนทางการส่งออกสินค้าประมงไทยคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างแน่นอนแต่เต็มไปด้วยขวากหนาม โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีถือเป็นมาตรการฝ่ายเดียวที่ประเทศผู้นำเข้าแต่ละประเทศสามารถยกขึ้นมาอ้างเหตุผลของตนเองได้โดยประเทศผู้ส่งออกไม่สามารถโต้แย้งได้ โดยเฉพาะอียูนอกเหนือจากกฏเกณฑ์ทางการค้าที่ไทยจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการส่งออกแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับมาตรฐานของบรรดาผู้ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ที่สามารถกำหนดมาตรฐานและมาตรการเสริมของตนเองขึ้นอีกชั้นหนึ่งได้ โดยอ้างผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลักซึ่งเป็นผลให้ต้นทุนการส่งออกของไทยสูงขึ้น เท่ากับว่าประเทศไทยเจอการกีดกัน “สองเด้ง” จากตลาดนี้
พระเอกที่จะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้คงหนีไม่พ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งภาคเอกชนเป็นต้น ที่จะต้องให้ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่จะแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐจะต้องเร่งเดินหน้าสื่อสารทำความเข้าใจกับสหรัฐฯและอียู เกี่ยวกับการปรับปรุงและดำเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่นานาประเทศยอมรับ เพื่อรักษาไว้ซึ่งตลาดสินค้าประมงและกุ้งของไทยที่ในอดีตเคยทำรายได้เข้าสู่ประเทศนับแสนล้านบาทต่อปี รวมถึงการรักษาอาชีพให้ผู้คนในห่วงโซ่การผลิตนี้อีกนับล้านคนให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ และอุตสาหกรรมประมงไทยเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของปรเทศอย่างยั่งยืน
ในบริบทของภาคเอกชน เท่าที่ติดตามสังเกตุการณ์ พบว่าบริษัทที่กระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัญหาดังกล่าวขณะนี้เริ่มจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ออกมาชี้แจงโดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับห่วงโซ่การผลิตกุ้ง (Supply Chain) ซึ่งจุดที่เป็นปัญหาคือการใช้ปลาป่นเข้ามาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ โดยย้ำการวางมาตรการเพื่อจัดการซัพพลายเชนตามหลักสากล ภายใต้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน มีการประกาศใช้แผนดำเนินการ 10 ประการ ตามแนวทางสนับสนุนการประมงอย่างยั่งยืน (CPF Fish Fight Ten-Point-Plan) ซึ่งกำหนดจะหยุดใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในปี 2021 การเดินหน้าไปสู่แผนดังกล่าวจะมีการยกระดับมาตรฐานโรงงานปลาป่น การผลักดันให้ปฏิบัติตามระเบียบ IUU ตลอดจนวิจัยพัฒนาวัตถุดิบทดแทนโปรตีน เพื่อลดการใช้ปลาป่นลงเป็นลำดับควบคู่ไปกับเร่งงานวิจัยโปรตีนจากพืชมาทดแทนโปรตีนจากสัตว์ รวมถึงการเข้าร่วมกับ 8 สมาคมสินค้าประมงไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาทิ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ฯลฯ เพื่อร่วมกันทำมาตรฐานการจับปลาและการประมงอย่างยั่งยืน ครอบคลุมการควบคุมการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นทางให้ได้ภายในต้นปี 2015
สิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย คือ กรมประมง ต้องเดินหน้าเป็นหัวหอกในการกำหนด “กฏเหล็ก” เพื่อเดินหน้าประเทศไทยทั้งในเรื่องการทำประมงอย่างยั่งยืนถูกต้องตามกฏหมายและหลักสากล ในส่วนของภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นการประกาศจุดยืนของบริษัทเอกชนในการกำจัดการใช้แรงงานทาสหรือการทำประมงอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หรือ จะเป็นการรวมตัวกันผ่านสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดบทบาทและจุดยืนของอุตสาหกรรมอย่างเข้มแข็งและเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังในการร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น การขึ้นทะเบียนเรือ การตรวจสอบการทำประมงในเขตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น การส่งรายชื่อแรงงานต่างชาติก่อนออกเรือและหลังเรือกลับเข้าฝั่ง (port-in port-out) การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฏหมาย ตลอดจนการสื่อสารอธิบายไปยังประเทศคู่ค้าให้เข้าใจ ถือเป็นงานด่วนที่ต้องดำเนินการทันทีเพื่อเป็นมาตรการป้องกันของไทย ก่อนที่อุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะจากอียูจะเกิดขึ้น และนำไปสู่การระงับนำเข้าสินค้ากุ้งและสินค้าประมงของไทย ก่อนที่จะกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของประเทศในอนาคตอันใกล้./
วิบากกรรม “สินค้าประมงไทย” กับการแก้ปัญหาห่วงโซ่การผลิต โดย สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย
ขอยกตัวอย่างล่าสุดและเป็นกรณีเร่งด่วนของประเทศไทย กล่าวคือ สินค้าประมงไทยต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันและการปฏิบัติไม่เป็นธรรมทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งตลาดทั้งสองแห่งนี้เป็นผู้นำเข้ากุ้งไทยรายใหญ่ โดยสหภาพยุโรปส่งสัญญาณเตือนไทยว่า ยังไม่เข้มงวดในการดำเนินการขจัดการทำประมงที่ผิดกฏหมาย ตามระเบียบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึ่งส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและแรงงาน กรณีนี้อาจทำให้ไทยตกอยู่ในสถานะประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าโดน “ใบเหลือง” ถือเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าระยะสั้น เพราะอียู จะให้เวลา 6 เดือนกับประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนปรังปรุงวิธีการ การตรวจสอบและกฏหมายให้มีความเข้มข้นและเข็มแข็งในการบังคับใช้ให้มากขึ้นสอดคล้องกับข้อเรียกร้องตามมาตรฐานสากลและประเทศผู้นำเข้า หลังจากระยะเวลาดังกล่าว หากไทยไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว อียูจะมีการประกาศ “ใบแดง” กับประเทศไทยนั่นหมายความว่า อียู จะระงับการนำเข้าสินค้าประมงของไทยได้ในที่สุด
นอกจากนี้ อียูประกาศจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกรกร (GSP) จากสินค้าไทย ซึ่งกุ้งเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย และจะส่งผลกระทบตรงต่อส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาดอียู โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหายไปทันทีจำนวน 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้ากุ้งสดจาก 4.2% เป็น 12% และสินค้ากุ้งต้มสุกจาก 7% เป็น 20% จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของกุ้งไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีดังกล่าว
อีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอียูไม่นาน แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการใช้แรงงานบนเรือประมงเช่นกัน เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศลดระดับประเทศไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report - Trafficking in Persons Report) ประจำปี 2014 ให้ตกลงไปอยู่ในบัญชีกลุ่ม Tier 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด จากปัญหาแรงงานทาสบนเรือประมง ส่งผลกระทบให้ “กุ้งไทย” ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดนี้ได้ระยะหนึ่ง ทั้งๆที่กุ้งไทยเป็นผลผลิตที่เกิดจากการเลี้ยงจากฟาร์มประมาณ 90% ไม่ใช่กุ้งทะเลที่จับโดยแรงงานบนเรือประมง แม้ไทยจะแก้ข้อกล่าวหานี้ได้ สหรัฐยังมีความพยายามผูกโยงว่ากุ้งที่เลี้ยงในฟาร์มก็กินอาหารที่มาจากปลาตัวเล็กตัวน้อยที่นำไปทำเป็นปลาป่นนั้นได้มาจากแรงงานบนเรือประมงเป็นผู้จับมาเช่นกัน แม้ว่าในความเป็นจริงปลาป่นจะเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยไม่ถึง 10% ของอาหารกุ้ง ต่อกรณีสหรัฐนี้ แม้ไทยยังสามารถส่งออกกุ้งได้ตามปกติ แต่ก็ต้องระมัดระวังและปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
เป็นที่น่าสังเกตุว่าการกีดกันทางการค้าทั้งจากอียูและสหรัฐ แม้จะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยมุ่งประเด็นไปที่การทำประมง แต่การกีดกันทางการค้ามีการพุ่งเป้ามาที่สินค้ากุ้ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงน้อยมากตามที่ได้ให้เหตุผลไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ การผลิตกุ้งของไทยและหลายประเทศในเอเซียยังประสบภาวะอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome หรือ EMS) และโรคตัวแดงดวงขาว มาเกือบ 2 ปีแล้ว สมาคมกุ้งไทย รายงานว่า EMS ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตกุ้งหายไปกว่า 50% จากปี 2012 ที่มีผลผลิต 540,000 ตัน เหลือเพียง 250,000 ตันในปี 2013 โดยมูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันลดลงจาก 3,075 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 92,250 ล้านบาท) เหลือ 2,169 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 65,070 ล้านบาท) ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนของไทยทั้งรัฐและเอกชนต่างก็พยายามร่วมมือกันหาหนทางแก้ปัญหา ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน EMS เริ่มคลี่คลายและคาดว่าปริมาณผลผลิตจะกลับมาสู่ภาวะปกติในไม่ช้า
สำหรับมูลค่าการส่งออกกุ้งไทย ระหว่าง มกราคม-สิงหาคม ปีนี้ ลดลงมาเหลือเพียง 36,910 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ส่งออกได้ 41,766 ล้านบาท ตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนอกจากเป็นผลมาจากปัญหาผลผลิตที่น้อยลงแล้ว ยังเกิดจากการกีดกันทางการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย
จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ประเมินได้ว่าหนทางการส่งออกสินค้าประมงไทยคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างแน่นอนแต่เต็มไปด้วยขวากหนาม โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีถือเป็นมาตรการฝ่ายเดียวที่ประเทศผู้นำเข้าแต่ละประเทศสามารถยกขึ้นมาอ้างเหตุผลของตนเองได้โดยประเทศผู้ส่งออกไม่สามารถโต้แย้งได้ โดยเฉพาะอียูนอกเหนือจากกฏเกณฑ์ทางการค้าที่ไทยจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการส่งออกแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับมาตรฐานของบรรดาผู้ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ที่สามารถกำหนดมาตรฐานและมาตรการเสริมของตนเองขึ้นอีกชั้นหนึ่งได้ โดยอ้างผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลักซึ่งเป็นผลให้ต้นทุนการส่งออกของไทยสูงขึ้น เท่ากับว่าประเทศไทยเจอการกีดกัน “สองเด้ง” จากตลาดนี้
พระเอกที่จะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้คงหนีไม่พ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งภาคเอกชนเป็นต้น ที่จะต้องให้ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่จะแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐจะต้องเร่งเดินหน้าสื่อสารทำความเข้าใจกับสหรัฐฯและอียู เกี่ยวกับการปรับปรุงและดำเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่นานาประเทศยอมรับ เพื่อรักษาไว้ซึ่งตลาดสินค้าประมงและกุ้งของไทยที่ในอดีตเคยทำรายได้เข้าสู่ประเทศนับแสนล้านบาทต่อปี รวมถึงการรักษาอาชีพให้ผู้คนในห่วงโซ่การผลิตนี้อีกนับล้านคนให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ และอุตสาหกรรมประมงไทยเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของปรเทศอย่างยั่งยืน
ในบริบทของภาคเอกชน เท่าที่ติดตามสังเกตุการณ์ พบว่าบริษัทที่กระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัญหาดังกล่าวขณะนี้เริ่มจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ออกมาชี้แจงโดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับห่วงโซ่การผลิตกุ้ง (Supply Chain) ซึ่งจุดที่เป็นปัญหาคือการใช้ปลาป่นเข้ามาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ โดยย้ำการวางมาตรการเพื่อจัดการซัพพลายเชนตามหลักสากล ภายใต้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน มีการประกาศใช้แผนดำเนินการ 10 ประการ ตามแนวทางสนับสนุนการประมงอย่างยั่งยืน (CPF Fish Fight Ten-Point-Plan) ซึ่งกำหนดจะหยุดใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในปี 2021 การเดินหน้าไปสู่แผนดังกล่าวจะมีการยกระดับมาตรฐานโรงงานปลาป่น การผลักดันให้ปฏิบัติตามระเบียบ IUU ตลอดจนวิจัยพัฒนาวัตถุดิบทดแทนโปรตีน เพื่อลดการใช้ปลาป่นลงเป็นลำดับควบคู่ไปกับเร่งงานวิจัยโปรตีนจากพืชมาทดแทนโปรตีนจากสัตว์ รวมถึงการเข้าร่วมกับ 8 สมาคมสินค้าประมงไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาทิ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ฯลฯ เพื่อร่วมกันทำมาตรฐานการจับปลาและการประมงอย่างยั่งยืน ครอบคลุมการควบคุมการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นทางให้ได้ภายในต้นปี 2015
สิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย คือ กรมประมง ต้องเดินหน้าเป็นหัวหอกในการกำหนด “กฏเหล็ก” เพื่อเดินหน้าประเทศไทยทั้งในเรื่องการทำประมงอย่างยั่งยืนถูกต้องตามกฏหมายและหลักสากล ในส่วนของภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นการประกาศจุดยืนของบริษัทเอกชนในการกำจัดการใช้แรงงานทาสหรือการทำประมงอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หรือ จะเป็นการรวมตัวกันผ่านสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดบทบาทและจุดยืนของอุตสาหกรรมอย่างเข้มแข็งและเคร่งครัด สามารถตรวจสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังในการร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น การขึ้นทะเบียนเรือ การตรวจสอบการทำประมงในเขตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น การส่งรายชื่อแรงงานต่างชาติก่อนออกเรือและหลังเรือกลับเข้าฝั่ง (port-in port-out) การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฏหมาย ตลอดจนการสื่อสารอธิบายไปยังประเทศคู่ค้าให้เข้าใจ ถือเป็นงานด่วนที่ต้องดำเนินการทันทีเพื่อเป็นมาตรการป้องกันของไทย ก่อนที่อุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะจากอียูจะเกิดขึ้น และนำไปสู่การระงับนำเข้าสินค้ากุ้งและสินค้าประมงของไทย ก่อนที่จะกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของประเทศในอนาคตอันใกล้./