อันตรธาน ๕ แห่งหนึ่ง ได้แสดงอันตรธาน คือความเสื่อมสิ้นแห่งพระศาสนาไว้ ๕ ได้แก่
๑.
อธิคมอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งมรรคผลนิพพาน
ความเสื่อมสิ้นแห่งมรรคผลนิพพานนั้นหมายความว่า เมื่อไม่มีพระอรหันต์เรื่อยมาจนถึงไม่มีพระโสดาบันเมื่อใด
เมื่อนั้นก็ชื่อว่าเป็นความ เสื่อมสิ้นแห่งอธิคมคือมรรคผลนิพพาน
๒.
ปฏิปัตติอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งการปฏิบัติ
ความเสื่อมสิ้นแห่งการปฏิบัตินั้นในเบื้องต้นก็เสื่อมสิ้นการปฏิบัติเพื่อฌานวิปัสสนามรรคผลก่อน คือว่าบุคคลผู้ปฏิบัติไม่ได้มุ่งฌาน
ไม่ได้มุ่งวิปัสสนา ไม่ได้มุ่งผล เมื่อการปฏิบัติในด้านนี้เสื่อมลงไปแล้วก็เหลือแต่การปฏิบัติพระวินัย ในการปฏิบัติพระวินัยนั้นข้อเล็กๆ
ก็เสื่อมไปก่อน คือไม่ใส่ใจในข้อปฏิบัติพระวินัยที่เป็นส่วนเล็กน้อย ก็ขาดวิ่นเรื่อยไปจนถึงเหลือแต่ปาราชิก ๔ แปลว่ารักษาศีล ๔
คือรักษาการเว้นปาราชิก ๔ ข้อไว้ จนเมื่อไม่รักษาสิกขาบททั้ง ๔ ข้อนี้ไว้เมื่อใดด้วยกันทั้งหมด
เมื่อนั้นก็เป็นอันว่าถึงความเสื่อมสิ้นของการปฏิบัติ
๓.
ปริยัติอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นของปริยัติคือการเรียนพระศาสนา
เมื่อยังมีการเรียนพระศาสนายังมีการทรงจำอยู่ มากบ้างน้อยบ้างก็ยังไม่เสื่อมสิ้น จนเมื่อใดไม่มีใครทรงจำพระพุทธศาสนาไว้ได้
ก็เรียกว่าเป็นปริยัติอันตรธาน
๔.
ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งเพศ
คือเมื่อยังทรงเพศอยู่ เพศก็ยังไม่เสื่อมสิ้น เมื่อใดเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเครื่องหมายที่เป็นเพศบรรพชิตไว้เลย
เมื่อนั้นก็ชื่อว่าเป็นลิงคอันตรธาน
๕.
ธาตุอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งธาตุ
หมายความว่าความเสื่อมสิ้นพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งท่านพยากรณ์ว่าในอนาคตข้างหน้า โอกาสหนึ่งพระบรมสารีริกธาตุก็จะเสื่อมสิ้นไป
นี่เป็นเค้าของเรื่องศาสนาอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งพระศาสนาที่มีแต่งกัน เป็นหลักฐานในลังกา
แต่ในชั้นบาลีก็มีพบเท่าที่อ้างมาข้างต้น ซึ่งท่านอธิบายว่า ที่ตรัสว่าพรหมจรรย์หรือว่าสัทธรรมจะตั้งอยู่พันปีนั้นก็หมายถึงว่า
จะมีพระอรหันต์ที่เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา คือความแตกฉาน ในปฏิสัมภิทาอยู่ตลอดพันปี ส่วน ๕๐๐ ปีนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติครุธรรมป้องกันไว้ จึงไม่เป็นไปดั่งนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานครุธรรมเป็นการประทานอุปสมบทแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ได้โปรดให้ภิกษุทั้งหลาย
อุปสมบทเจ้าหญิงสากิยานีที่ตามเสด็จมานั้นให้เป็นภิกษุณีด้วยกันสิ้น แต่ก็ต้องรับปฏิบัติในครุธรรมทั้ง ๘ ประการ นั้นด้วย
ต่อมามีครั้งหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ขอให้ท่านพระอานนท์ทูลขอ พระพุทธเจ้าข้อหนึ่ง คือขอให้ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย
กราบไหว้กันตามอ่อนแก่ พระพุทธเจ้าไม่ทรงยินยอมอำนวยตามและในคราวหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
และได้ทรงขอให้ ทรงแสดงธรรมโดยย่อซึ่งเมื่อได้ทรงสดับ ธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็จะได้หลีกออกปฏิบัติ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ เป็นไปเพื่อความประกอบอยู่กับทุกข์ เป็นไปเพื่อความสั่งสมกองกิเลส
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ก็พึงทรงไว้ว่านั่นไม่ใช่ธรรม นั่น มิใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์
คือคำสอนของพระศาสดา
ส่วนธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสิ้นกำหนัดย้อมใจ เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบอยู่กับทุกข์ เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
เป็นไปเพื่อความปรารถนาน้อย เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ เป็นไปเพื่อความหลีกออกสงบสงัด
เป็นไปเพื่อความปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่ายก็ให้ พึงทรงไว้ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย นี่เป็นสัตถุศาสน์
ธรรมที่ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนี้ ในนวโกวาทได้นำมาไว้ในหมวด ๘
และได้เรียกว่า ลักษณะตัดสินพระธรรม วินัย ๘ อย่าง (พ.พ. ๑๓๐-๑๓๑)
---------------
จากหนังสือ ธรรมาภิธาน
คำค้น "อันตรธาน"
พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
http://www.sangharaja.org/dic/index.php
อันตรธาน ๕
๑. อธิคมอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งมรรคผลนิพพาน
ความเสื่อมสิ้นแห่งมรรคผลนิพพานนั้นหมายความว่า เมื่อไม่มีพระอรหันต์เรื่อยมาจนถึงไม่มีพระโสดาบันเมื่อใด
เมื่อนั้นก็ชื่อว่าเป็นความ เสื่อมสิ้นแห่งอธิคมคือมรรคผลนิพพาน
๒. ปฏิปัตติอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งการปฏิบัติ
ความเสื่อมสิ้นแห่งการปฏิบัตินั้นในเบื้องต้นก็เสื่อมสิ้นการปฏิบัติเพื่อฌานวิปัสสนามรรคผลก่อน คือว่าบุคคลผู้ปฏิบัติไม่ได้มุ่งฌาน
ไม่ได้มุ่งวิปัสสนา ไม่ได้มุ่งผล เมื่อการปฏิบัติในด้านนี้เสื่อมลงไปแล้วก็เหลือแต่การปฏิบัติพระวินัย ในการปฏิบัติพระวินัยนั้นข้อเล็กๆ
ก็เสื่อมไปก่อน คือไม่ใส่ใจในข้อปฏิบัติพระวินัยที่เป็นส่วนเล็กน้อย ก็ขาดวิ่นเรื่อยไปจนถึงเหลือแต่ปาราชิก ๔ แปลว่ารักษาศีล ๔
คือรักษาการเว้นปาราชิก ๔ ข้อไว้ จนเมื่อไม่รักษาสิกขาบททั้ง ๔ ข้อนี้ไว้เมื่อใดด้วยกันทั้งหมด
เมื่อนั้นก็เป็นอันว่าถึงความเสื่อมสิ้นของการปฏิบัติ
๓. ปริยัติอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นของปริยัติคือการเรียนพระศาสนา
เมื่อยังมีการเรียนพระศาสนายังมีการทรงจำอยู่ มากบ้างน้อยบ้างก็ยังไม่เสื่อมสิ้น จนเมื่อใดไม่มีใครทรงจำพระพุทธศาสนาไว้ได้
ก็เรียกว่าเป็นปริยัติอันตรธาน
๔. ลิงคอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งเพศ
คือเมื่อยังทรงเพศอยู่ เพศก็ยังไม่เสื่อมสิ้น เมื่อใดเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเครื่องหมายที่เป็นเพศบรรพชิตไว้เลย
เมื่อนั้นก็ชื่อว่าเป็นลิงคอันตรธาน
๕. ธาตุอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งธาตุ
หมายความว่าความเสื่อมสิ้นพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งท่านพยากรณ์ว่าในอนาคตข้างหน้า โอกาสหนึ่งพระบรมสารีริกธาตุก็จะเสื่อมสิ้นไป
นี่เป็นเค้าของเรื่องศาสนาอันตรธาน ความเสื่อมสิ้นแห่งพระศาสนาที่มีแต่งกัน เป็นหลักฐานในลังกา
แต่ในชั้นบาลีก็มีพบเท่าที่อ้างมาข้างต้น ซึ่งท่านอธิบายว่า ที่ตรัสว่าพรหมจรรย์หรือว่าสัทธรรมจะตั้งอยู่พันปีนั้นก็หมายถึงว่า
จะมีพระอรหันต์ที่เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา คือความแตกฉาน ในปฏิสัมภิทาอยู่ตลอดพันปี ส่วน ๕๐๐ ปีนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติครุธรรมป้องกันไว้ จึงไม่เป็นไปดั่งนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานครุธรรมเป็นการประทานอุปสมบทแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ได้โปรดให้ภิกษุทั้งหลาย
อุปสมบทเจ้าหญิงสากิยานีที่ตามเสด็จมานั้นให้เป็นภิกษุณีด้วยกันสิ้น แต่ก็ต้องรับปฏิบัติในครุธรรมทั้ง ๘ ประการ นั้นด้วย
ต่อมามีครั้งหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ขอให้ท่านพระอานนท์ทูลขอ พระพุทธเจ้าข้อหนึ่ง คือขอให้ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย
กราบไหว้กันตามอ่อนแก่ พระพุทธเจ้าไม่ทรงยินยอมอำนวยตามและในคราวหนึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
และได้ทรงขอให้ ทรงแสดงธรรมโดยย่อซึ่งเมื่อได้ทรงสดับ ธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็จะได้หลีกออกปฏิบัติ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ เป็นไปเพื่อความประกอบอยู่กับทุกข์ เป็นไปเพื่อความสั่งสมกองกิเลส
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ก็พึงทรงไว้ว่านั่นไม่ใช่ธรรม นั่น มิใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์
คือคำสอนของพระศาสดา
ส่วนธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความสิ้นกำหนัดย้อมใจ เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบอยู่กับทุกข์ เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
เป็นไปเพื่อความปรารถนาน้อย เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ เป็นไปเพื่อความหลีกออกสงบสงัด
เป็นไปเพื่อความปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่ายก็ให้ พึงทรงไว้ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย นี่เป็นสัตถุศาสน์
ธรรมที่ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนี้ ในนวโกวาทได้นำมาไว้ในหมวด ๘
และได้เรียกว่า ลักษณะตัดสินพระธรรม วินัย ๘ อย่าง (พ.พ. ๑๓๐-๑๓๑)
---------------
จากหนังสือ ธรรมาภิธาน
คำค้น "อันตรธาน"
พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
http://www.sangharaja.org/dic/index.php